อนาคามี ไปเกิดในพรหมโลก เป็นความเฟ้อ ของอรรถกถาจารย์(หรือใคร?)

หลังจากที่ปล่อยให้ "แถกแถ" อยู่นานสองนาน ก็เป็นอันสรุปความได้ว่า ล็อกอิน cantona_z กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
บิดเบือนพระธรรมวินัย รวมไปถึง กล่าวตู่พระอภิธรรมปิฎก ด้วยการ โมเม บิดเบือน และ ตีความ เอาตามใจชอบว่า .......

"อนาคามีบุคคล เมื่อตายกายแตก สามารถไปเกิดในพรหมโลกได้โดยไม่ต้องมีฌาน"



นับจากนี้  จึงเหลือแต่เพียงว่า ล็อกอิน cantona_z จะแสดงความรับผิดชอบ ในการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า กล่าวตู่พระธรรมวินัย
รวมไปถึง กล่าวตู่พระอภิธรรมปิฎก ด้วยการ กล่าวขอขมาพระรัตนตรัย หรือ ด้วยการ "แกล้งตาย" ไปเรื่อยๆ อย่างที่พยายามทำอยู่

ถามว่า ประเด็นเรื่อง ผู้ไปพรหมโลก จักต้องหมายถึงผู้ได้ฌานสมาบัติ เท่านั้น มีความสำคัญอย่างไร ?
ตอบว่า มีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจ พระบาลีพุทธพจน์ และคำอธิบายของอรรถกถา และ คำแปล ของผู้แปลไทย เป็นอย่างมากว่า
กระบวนการทั้งหมดนั้น เป็นไปอย่างถูกต้องสอดคล้องกับพระพุทธประสงค์ หรือเป็นเพียงแค่ "ความเฟ้อ" ของอรรถกถาจารย์ กันแน่ ?

อย่างน้อยที่สุด ท่านทั้งหลายย่อมทราบอย่างแน่นอนแล้วว่า อนาคามีผู้ไปพรหมโลก(หลังกายแตก) ต้องเป็นผู้ได้ฌานเท่านั้น
ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ ไม่จำเป็นต้องอ้าง อภิธรรมปิฎก แต่อย่างใด เพราะพระพุทธเจ้า ก็ตรัสอย่างชัดเจนว่า อนาคามีบุคคล
ผู้ได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน เมื่อตายกายแตก ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส !



แต่ประเด็นปัญหาที่แท้จริง อยู่ที่คำว่า "โอปปาติก" ที่ใช้ตรัสเรียก อนาคามีบุคคล ว่าแท้ที่จริงแล้ว ทรงหมายถึงอะไรกันแน่ ?



ทั้งนี้ ก็เพราะ อรรถกถาจารย์มักอธิบายเรื่องนี้ โดยโยงไปถึง เทวโลก พรหมโลก สุทธาวาส เสมือนประหนึ่งว่า
อนาคามีทุกๆ คนจักต้องไปเกิดและ ปริพพานในสุทธาวาส ทั้งๆ ที่มันไม่เป็นความจริงเลย



เหตุผลข้อแรก ก็คือ แท้ที่จริงแล้ว พระบาลีพุทธพจน์ ในส่วนที่ตรัสถึง อริยบุคคลระดับต่างๆ นั้น
มิได้ตรัสถึง เทวโลก พรหมโลก สุทธาวาส หรือ อุปัตติเทพ แต่อย่างใดทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าตรัสแต่เพียงว่า ......

ปญฺจนฺนํ   โอรมฺภาคิยานํ   สญฺโญชนานํ   ปริกฺขยา(ความสิ้นไป)  
โอปปาติโก ตตฺถ(ในที่นั้น) ปรินิพฺพายี(ดับรอบ) อนาวตฺติธมฺโม(ไม่หวนกลับมาอีกเป็นธรรมดา)
ตสฺมา(เพราะเหตุนั้น) โลกาติ(โลกนี้=กามภพ) ฯ  

เหตุผลข้อที่ ๒ ซึ่งสำคัญมาก ก็คือ ข้อเท็จจริงประการหนึ่ง ซึ่งท่านทั้งหลายย่อมทราบเป็นอย่างดีแล้วว่า
อนาคามีบุคคล นี้ย่อมมีทั้งที่เป็นผู้ได้ฌานสมบัติ และผู้ที่เป็นพวกวิปัสสนาล้วน ไม่ได้ฌานสมาบัติใดๆ เลย

นั่นจึงหมายความว่า เมื่อกล่าวถึง อนาคามีบุคคล ย่อมมีความเป็นไปได้ของคำตอบ ๒ ประการคือ (๑) ผู้มีฌาน (๒) ผู้ไม่มีฌาน
ทั้งนี้ เฉพาะก็แต่ ผู้มีฌานเท่านั้น ที่เราสามารถกล่าวได้ว่า เมื่อกายแตก จักไปเกิดในพรหมโลก โดยเรามิอาจกล่าวได้ว่า
อนาคามีบุคคล ผู้ไม่มีฌาน สามารถไปพรหมโลกได้ เนื่องจากการกล่าวอย่างนี้ ผิดไปจาก ข้อเท็จจริง !

เราสามารถกล่าวให้ชัดเจนขึ้นไปอีกได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่า .........

"ภิกษุเหล่าใด ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็น โอปปาติกะ
ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่มีการกลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ"

สิ่งแรกที่พึงพิจารณาให้รอบคอบ ก็คือ พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องนี้ โดยระบุว่า ทรงหมายถึง
ภิกษุทั้งหมด ที่ละ สังโยชน์ ๕ ประการได้ ไม่ว่าจะหมายถึง ผู้ได้ฌาน หรือ ผู้ไม่มีฌาน ก็ตาม

ต่างจาก ข้อความจาก ฌานสูตร ซึ่งตรัสเฉพาะ อนาคามีผู้ได้ฌานเท่านั้นว่า เมื่อตายกายแตก จักไปสุทธาวาสพรหมโลก !

เมื่อเป็นดังนี้ เราจึงมิอาจกล่าวว่า โอปปาติกะ ในพระบาลีนี้ จะหมายถึง พรหม หรือ เทวดาอะไรทำนองนั้นได้เลย
เนื่องจาก หากระบุเช่นนั้น ข้อเท็จจริง ก็จะขัดแย้งกันเอง !

หรือมิใช่ ?

************************************************************************************

ก่อนอื่น ท่านทั้งหลาย จักต้องทำความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง เอกังสิกธรรม กับ อเนกังสิกธรรม ให้ได้เสียก่อน
เพราะมิเช่นนั้น มันจะกลายเป็นว่า จากพระบาลีเดิม ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นไปโดยส่วนเดียว(เอกังสิกธรรม)
แต่อรรถกถาจารย์ และผู้แปลไทย กลับทำให้เป็น "อเนกังสิกธรรม" แล้วกล่าวเลยเถิด จนในที่สุดกลายเป็น อัพยากฤตปัญหา ไปเสียดื้อๆ
และนำมาซึ่ง การกล่าวตู่บิดเบือนพุทธพจน์ อย่างไม่สมควร !



(๑) เอกังสิกธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นไปโดยส่วนเดียว กล่าวคือ มีข้อเท็จจริงเพียงหนึ่งเดียว หรือ มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว
ดังกรณี อริสัจจ ๔ นี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมที่เป็นไปโดยส่วนเดียว ไม่เป็นอย่างอื่นได้อีก คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

(๒) อเนกังสิกธรรม หมายถึง ธรรมที่ไม่เป็นไปโดยส่วนเดียว กล่าวคือ มีข้อเท็จจริง หรือคำตอบที่ถูกต้อง หรือเป็นไปได้ มากกว่าหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น สัตว์ตายแล้วเกิดอีก หรือ สัตว์ตายแล้วไม่เกิดอีก
เหล่านี้ จัดเป็น อเนกังสิกธรรม เป็นธรรมที่มีหลายแง่ มีข้อเท็จจริงที่เป็นไปได้มากกว่าหนึ่ง
แต่เมื่อใด ก็ตาม ที่เข้าใจว่า นี้เท่านั้นถูก อื่นจากนี้ผิด ก็จะกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า อัพยากฤตปัญหา ซึ่งพระพุทธเจ้าจะไม่ตรัสตอบปัญหาแบบนี้

หมายความว่า หากเป็นธรรมแง่เดียว ก็ตรัสตอบเพียงหนึ่งเดียว หากเป็นธรรมหลายแง่ ก็จะตรัสเพียงแง่ใดแง่หนึ่งที่ถูกต้องที่สุดอย่างมีเงื่อนไข เช่น

หากถามว่า สัตว์ตายแล้วไปเกิดอีกหรือไม่ ?
ก็จะตรัสตอบด้วยธรรมแง่เดียว ที่ถูกต้องที่สุด อย่างมีเงื่อนไขว่า ......

"เราย่อมบัญญัติความบังเกิดขึ้น สำหรับสัตว์ผู้ยังมีอุปาทานอยู่ ไม่ใช่สำหรับสัตว์ผู้ไม่มีอุปาทาน ฯลฯ"





ขอให้ท่านทั้งหลาย พิจารณาดูเถิดว่า ข้อความดังกล่าวย่อมเป็นคำตอบเพียงหนึ่ง(ภายใต้เงื่อนไข)
ที่ถูกต้องเสมอ ไม่มีทางจะเป็นอย่างอื่นไปได้ ซึ่งนี่คือ ความพิเศษ มหัศจรรย์ของพระพุทธดำรัส !

เฉกเช่นเดียวกับ กรณี อนาคามีบุคคล ที่เมื่อตายกายแตก แล้วไปเกิดในพรหมโลก
พระพุทธเจ้าก็ตรัสอย่างมีเงื่อนไขชัดเจนว่า จะต้องหมายถึงผู้ที่มี ฌาน เท่านั้น !



************************************************************************************

เมื่อหวนกลับมาพิจารณา ข้อความที่ตรัสถึง .......... ภิกษุเหล่านั้น "ทั้งหมด" ผู้ละสังโยชน์ ๕ ได้
จงสังเกตด้วยว่า ตรัสด้วยคำว่า "ทั้งหมด" โดยไม่มีเงื่อนไขในเรื่องของ "ฌาน"
ดังนั้น คำว่า "โอปปาติกะ" ที่ตรัสถึงนี้ จึงหมายรวมทั้ง อนาคามีผู้มีฌาน และ อนาคามีผู้ไม่มีฌาน

คำถาม ก็คือ แล้วเราจะแปลคำว่า "โอปปาติกะ" ที่ตรัสถึงนี้ ด้วยความหมายว่า "เทวดาในพรหมโลก หลังตายกายแตก" ได้อย่างไร ?
เนื่องจาก การให้ความหมายแบบนั้น จะมีผลทำให้พระพุทธดำรัสมีค่าความจริงเป็น "เท็จ" !
ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสยืนยันว่า ถ้อยคำของพระองค์ ย่อมเป็นจริงเสมอ มิอาจแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไปได้



อีกทั้ง อรรถกถาจารย์ ก็กล่าวยืนยันว่า เมื่อทรงแสดง สมมุติกถา ก็ทรงแสดงตามความเป็นจริงตามสภาพ ไม่เท็จ
แม้เมื่อทรงแสดงปรมัตถกถา ก็ทรงแสดงตามความจริง ตามสภาพ ไม่เท็จ !



แต่สุดท้าย มันกลับกลายเป็นว่า ด้วยคำอธิบายที่เลยเถิดของอรรถกถาจารย์ และการรับเชื่อ อย่างปราศจากวิจารณาญานของผู้แปล
กลับทำให้ พระพุทธดำรัสที่ถูกต้องชัดเจน กลายเป็นข้อความ "นิทานแฟนตาซี" ที่หาสาระใดๆ มิได้ อย่างไม่สมควร



ขอให้ท่านพิจารณาข้อความดังกล่าวโดยแยบคายดังนี้ว่า ด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสถึง อนาคามีทั้งหมด
ดังนั้น จึงไม่ระบุอย่างจำเพาะเจาะจงไปว่า การปรินิพพานในที่นั้น ........ ตตฺถ(ในที่นั้น) ปรินิพฺพายี(ดับรอบ) หมายถึง พรหมโลก

เพราะหากตรัสเช่นนั้น ก็จะกลายเป็นคำไม่จริง ต่างจากพระบาลีจาก ฌานสูตร ที่ตรัสจำเพาะเจาะจงถึง พรหมโลกชั้นสุทธาวาส
เพราะในพระสูตรนี้ ตรัสอย่างจำเพาะเจาะจงถึง อนาคามีผู้ได้ฌานสมาบัติ นี่คือความแตกต่างของข้อเท็จจริง จากพระพุทธดำรัส
ที่ชาวพุทธทั้งหลาย พึงพิจารณาอย่างรอบคอบ โดย ละเว้น "ฉันทาคติ" ในคำอธิบายชั้นสาวก แบบหลับหูหลับตาเชื่อ นะครับ




************************************************************************************

จากเหตุผลที่กล่าวอธิบายมาทั้งหมดนี้ ย่อมทำให้สามารถสรุปความได้ว่า
โอปปาติกะ ที่ใช้ตรัสเรียก อนาคามีบุคคล มิได้ทรงหมายถึง พรหม ในชั้นสุทธาวาส หลังตายกายแตก แน่ๆ

คำถาม ก็คือ หากว่า โอปปาติกะ ในที่นี้ มิได้หมายถึง การเกิดทางใจของพระอนาคามี  แล้วมันหมายถึงอะไรกันเล่าครับ ?



สวัสดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่