อันนี้เป็นข้อมูลที่ไปหามาครับ ใครจะหาว่าผมเป็นสลิ่มก็ตามสบายครับ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 190 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติว่า “หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
1. ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสองคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย”
2. ตามบทบัญญัติข้างต้นมีการกำหนดประเภทของหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งรัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูล โดยต้องมีการศึกษาถึงผลดีและผลเสียและจัดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น รวมถึงชี้แจงต่อรัฐสภา โดยต้องเสนอกรอบการเจรจาด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ
----------------------------------------
มาตรา 190 ที่เสนอให้แก้ไขนั้น จะมีการตัดสาระสำคัญโดยเฉพาะลักษณะหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เข้าข่ายต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คือ
(1) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
(2) หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
(3) หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งการเสนอให้แก้ไขจะทำให้หนังสือสัญญาทั้งสามประเภท ไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีไม่ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะรัฐมนตรีไม่ต้องชี้แจงต่อรัฐสภา และไม่ต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา
เครดิต naewna.com
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเด็นการเสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 190 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติว่า “หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
1. ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสองคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย”
2. ตามบทบัญญัติข้างต้นมีการกำหนดประเภทของหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งรัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง และก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูล โดยต้องมีการศึกษาถึงผลดีและผลเสียและจัดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น รวมถึงชี้แจงต่อรัฐสภา โดยต้องเสนอกรอบการเจรจาด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารในการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ
----------------------------------------
มาตรา 190 ที่เสนอให้แก้ไขนั้น จะมีการตัดสาระสำคัญโดยเฉพาะลักษณะหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เข้าข่ายต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คือ
(1) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
(2) หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
(3) หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งการเสนอให้แก้ไขจะทำให้หนังสือสัญญาทั้งสามประเภท ไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีไม่ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะรัฐมนตรีไม่ต้องชี้แจงต่อรัฐสภา และไม่ต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา
เครดิต naewna.com