อย่ามัวแต่สนใจ พรบ.นิรโทษ ม.190 แก้แล้วเรียบร้อยแล้ว ประชาธิปไตย โคตรๆเลยครับพี่น้องแดง

กระทู้คำถาม
เจตนารมณ์ของมาตรา 190 ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 คือ เพื่อสร้างธรรมาภิบาลในกระบวนการเจรจา สร้างความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และเป็นกลไกสร้างระบบการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้ผลจากการทำหนังสือสัญญาเกิดประโยชน์โดยรวมมากที่สุดต่อประเทศชาติ
เมื่อวันที่ 4 พ.ยย. 2556 ที่ประชุมรัฐสภามีมติเห็นชอบวาระ 3 ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ…… (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 ) ด้วยมติ 381 ต่อ 165 เสียง งดออกเสียง 9 เสียง ซึ่งนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ในฐานะประธานในที่ประชุมได้แจ้งว่า ผลการลงมติถือว่าเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ถือว่าที่ประชุมเห็นชอบในวาระ 3

มาตรา 190 ที่เสนอให้แก้ไขมีการตัดสาระสำคัญโดยเฉพาะลักษณะหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เข้าข่ายต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คือ (1) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ (2) หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง และ (3) หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งการเสนอให้แก้ไขจะทำให้หนังสือสัญญาทั้งสามประเภท ไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีไม่ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะรัฐมนตรีไม่ต้องชี้แจงต่อรัฐสภา และไม่ต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา นอกจากนี้ ก่อนลงนามในหนังสือสัญญาเพื่อให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญารวมถึงให้ยกเลิกขั้นตอนในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาอย่างรวดเร็ว เหมาะสมและเป็นธรรม

การเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ในสาระเช่นนี้ จะเป็นการสร้างอำนาจผูกขาดให้กับฝ่ายบริหารตัดกระบวนการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติและประชาชน เป็นการกีดกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รัฐบาลสามารถที่จะนำทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไปทำสัมปทานกับต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นจากรัฐสภา ประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่ารัฐบาลจะสามารถรักษาผลประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติได้ ไม่ใช่ผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

รัฐบาลสามารถทำหนังสือสัญญาแบ่งผลประโยชน์ปิโตรเลียมในอ่าวไทย หรืออาจทำหนังสือสัญญาสัมปทานด้านพลังงานหรือก๊าซธรรมชาติให้กับบริษัทใดๆ จากประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง โดยไม่ต้องนำเสนอต่อรัฐสภาและศึกษาถึงผลดีและผลเสียเพื่อจัดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเป็นการตัดบทบาทของรัฐสภาออกไปโดยสิ้นเชิง ซ้ำร้ายกว่านั้นยังตัดบทบัญญัติที่ให้รัฐบาลต้องเยียวยาแก่ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการสัญญาระหว่างประเทศของรัฐบาลออกไป

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เท่ากับเป็นการแก้ไขกลไกการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติในกระบวนการจัดหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ และเป็นการปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้รับรู้ในเรื่องใดๆ เป็นการตัดไม่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการและขั้นตอนในการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับผลประโยชน์จากการแก้ไขมาตรา 190 จริงหรือ?

นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 5 พ.ย. 2556
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
หนังสือพิมพ์  "แนวเน่า?"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่