ขอความคิดเห็นของสาวกเพื่อไทยในที่นี้ด้วยนะครับ
อยากทราบเหตุผลที่ทำการแก้ไขมาตรานี้ เพื่อ???
ข้อมูล Share มาจากเพื่อนนักวิชาการ.. 'การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ก็น่ากลัวมาก รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งเรื่องเขตแดน การเจรจาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยตัดเรื่องการถ่วงดุลจากรัฐสภา และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนออกไปเลย' .. ก็ที่เป็นตอนนี้ ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง แค่ทำให้ถูก ก.ม มันซะเลย
มาตรา 190 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติว่า “หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสองคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย”
ตอนนี้มาตรา 190 แก้โดยตัดสาระสำคัญโดยเฉพาะลักษณะหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เข้าข่ายต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คือ (1) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ (2) หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง และ (3) หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งการเสนอให้แก้ไขจะทำให้หนังสือสัญญาทั้งสามประเภท ไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีไม่ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะรัฐมนตรีไม่ต้องชี้แจงต่อรัฐสภา และไม่ต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา นอกจากนี้ ก่อนลงนามในหนังสือสัญญาเพื่อให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญารวมถึงให้ยกเลิกขั้นตอนในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาอย่างรวดเร็ว เหมาะสมและเป็นธรรม
การเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 จึงเป็นการสร้างอำนาจผูกขาดให้กับฝ่ายบริหารตัดกระบวนการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติและประชาชน เป็นการกีดกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รัฐบาลสามารถที่จะนำทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไปทำสัมปทานกับต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นจากรัฐสภา ประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่ารัฐบาลจะสามารถรักษาผลประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติได้ ไม่ใช่ผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
credit: Roj Khunanake
คิดอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่ผ่านสภาเมื่อวานนี้
อยากทราบเหตุผลที่ทำการแก้ไขมาตรานี้ เพื่อ???
ข้อมูล Share มาจากเพื่อนนักวิชาการ.. 'การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ก็น่ากลัวมาก รัฐบาลมีอำนาจเบ็ดเสร็จทั้งเรื่องเขตแดน การเจรจาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยตัดเรื่องการถ่วงดุลจากรัฐสภา และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนออกไปเลย' .. ก็ที่เป็นตอนนี้ ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง แค่ทำให้ถูก ก.ม มันซะเลย
มาตรา 190 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติว่า “หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสองคณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย”
ตอนนี้มาตรา 190 แก้โดยตัดสาระสำคัญโดยเฉพาะลักษณะหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่เข้าข่ายต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คือ (1) หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย หรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ (2) หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง และ (3) หนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งการเสนอให้แก้ไขจะทำให้หนังสือสัญญาทั้งสามประเภท ไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีไม่ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คณะรัฐมนตรีไม่ต้องชี้แจงต่อรัฐสภา และไม่ต้องเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภา นอกจากนี้ ก่อนลงนามในหนังสือสัญญาเพื่อให้มีผลผูกพัน คณะรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญารวมถึงให้ยกเลิกขั้นตอนในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาอย่างรวดเร็ว เหมาะสมและเป็นธรรม
การเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 จึงเป็นการสร้างอำนาจผูกขาดให้กับฝ่ายบริหารตัดกระบวนการตรวจสอบจากฝ่ายนิติบัญญัติและประชาชน เป็นการกีดกันไม่ให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รัฐบาลสามารถที่จะนำทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไปทำสัมปทานกับต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นจากรัฐสภา ประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่ารัฐบาลจะสามารถรักษาผลประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติได้ ไม่ใช่ผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
credit: Roj Khunanake