ชำแหละ 2 ปี นโยบาย ศก.ยิ่งลักษณ์ อนาคตประเทศไทย ความฝัน หรือ ความจริง ?
updated: 15 ต.ค. 2556 เวลา 08:16:15 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จากที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศเมื่อปี 2554 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ปี 2554 อยู่ที่ 0.1% หนี้สาธารณะต่อจีดีพี 42.2% และปี 2555 จีดีพี 6.4% หนี้สาธารณะต่อจีดีพี 43.3%
ขณะที่ปีนี้หลายหน่วยงานปรับลดประมาณการจีดีพีจาก 5% เมื่อต้นปี ลงมาอยู่ที่ต่ำกว่า 4% และหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ราว 44% บ่งชี้ถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และความท้าทายต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ประกาศไว้เมื่อ 2 ปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท รับจำนำข้าว 15,000 บาท/ตัน ปรับลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
งานสัมมนาวิชาการประจำปีของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงนำเสนองานวิจัย "2 ปีนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ความฝัน กับความจริง" เพื่อร่วมสร้างเส้นทางสร้างอนาคตประเทศไทย บนพื้นฐานความจริง ไม่ใช่เพียงภาพฝัน
ค่าแรง 300 แต่ผลิตภาพมีแนวโน้มลดลง
"ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ" อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. นำเสนอผลกระทบของนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ว่า เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของผู้ประกันตนพบว่า หลังนโยบายดังกล่าวการจ้างงานมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 13 เดือนติดต่อกัน (เม.ย. 2555-พ.ค. 2556) 4.75% ขณะที่การเลิกจ้างลดลง 31.37% และอัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.9% ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับต่ำ
แม้ภาพรวมของการกระจายตัวของรายได้ดีขึ้น แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มพบว่า ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีแรงงาน 1-9 คน ปรับค่าจ้างน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีแรงงาน 100 คนขึ้นไป ขณะที่การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) พบว่าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ผลิตภาพยังคงที่และเริ่มลดลง และยังห่างจากเป้าหมายการเพิ่มผลิตภาพให้ได้ 8.4% ของจีดีพี เพื่อพยุงให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ติดลบ และการเพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำยังไม่ได้ทำให้ระดับราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด แม้จะพบว่ามีการขึ้นราคาสินค้าหลายรายการ
ลดภาษี-ไม่ลดเหลื่อมล้ำ/ไม่ดึงดูดทุนข้ามชาติ
"ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล" นำเสนอผลวิจัย จากนโยบายปรับโครงสร้างภาษีภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งได้ดำเนินการ 2 ส่วน คือ การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งอ้างอิงเอกสารงบประมาณปี 2557 พบว่านโยบายการปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีทั้ง 2 ประเภท ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ระหว่างปี 2556-2563 ราว 2.6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสูญเสียรายได้จากการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 2.32 ล้านล้านบาท และการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3.05 แสนล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมเวลา 7 ปีนับว่ารัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีมากกว่าการใช้เงินเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 2 ล้านล้านบาท
อีกทั้งยังพบว่ารายได้การจัดเก็บภาษีที่ลดลง ยังไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้ เนื่องจากเป็นการปรับโครงสร้างไม่ตรงจุด และยังไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจากการปรับลดภาษีไม่ใช่ปัจจัยสำคัญต่อการดึงดูดแรงงานทักษะสูงและเงินลงทุนจากบริษัทข้ามชาติมากเท่ากับปัจจัยอื่น ๆ อาทิ ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ความโปร่งใสของกฎหมายและการบังคับใช้ คุณภาพของสถาบันการเงิน การขนส่ง โทรคมนาคม ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค และคุณภาพแรงงาน
2 ล้านล้านไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้
"ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี" ประเมินผลการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งผ่านเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นสิ่งจำเป็นระดับหนึ่ง และควรดำเนินการภายใต้กรอบการศึกษาที่ชัดเจน เชื่อถือได้ และสอดคล้องกับเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ
โดยตามเป้าหมายของรัฐบาลในแผนการลงทุนนี้ คือ ต้องการลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีจากปัจจุบัน 15.2% ให้ลดลงกว่า 2% พร้อมกับปรับยุทธศาสตร์แบบการขนส่งจากถนนสู่การขนส่งระบบรางที่ต้นทุนต่ำกว่า และเชื่อมโยงภูมิภาค เชื่อมโยงอาเซียน
อย่างไรก็ตาม จากต้นทุนการขนส่งทางถนนปัจจุบันอยู่ที่ 1.72 บาท/ตันกิโลเมตร สูงกว่าขนส่งทางรางที่มีอยู่ 0.93 บาท/ตันกิโลเมตร และทางน้ำ 0.64 บาท/ตันกิโลเมตร แต่จากข้อมูลเอกสารของรัฐยังไม่รวมต้นทุนการจัดการการขนส่งต่อเนื่องหลายในการเชื่อมถนนไประบบรางและสถานีขนส่งสินค้า
ขณะที่ยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อภูมิภาคและอาเซียนที่ระบุในร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท มีข้อสังเกตว่า โครงการเชียงของ จ.เชียงราย จะเป็นการพัฒนาที่ครบถ้วนมากที่สุดในเรื่องการเชื่อมต่อเศรษฐกิจกับ สปป.ลาว เนื่องจาก
มีทั้งท่าเรือ โครงการรถไฟรางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และศูนย์เปลี่ยนถ่ายขนส่งสินค้าจากถนนสู่ระบบราง รวมทั้งการพัฒนาด่านศุลกากร ซึ่งหากการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าในภาพรวมตามรูปแบบนี้เกิดขึ้น ก็จะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์และเกิดการเชื่อมโยงภูมิภาคและเปิดประตูค้าชายแดนได้ แต่หลายโครงการในร่าง พ.ร.บ.กลับมีจุดมุ่งหมายเพื่อ "ขนคน" มากกว่า "ขนของ" และมีกว่า 17 โครงการที่ยังไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study)
รายจ่ายเชิงนโยบาย จุดเปราะบางทางการคลัง
"ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา" นำเสนอเรื่องความเปราะบางและความเสี่ยงทางการคลัง ภายใต้นโยบายการลงทุนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ว่านับตั้งแต่ที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ
ปลายปี 2554 ได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่จนต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาวผ่านโครงการต่าง ๆ ซึ่งสร้างภาระผูกพันทางงบประมาณจนอาจสร้างภาระความเสี่ยงต่อฐานะการคลังในอนาคต โดยจะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมาฐานรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ จากโครงสร้างรายจ่ายของรัฐบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อ 7-8 ปีก่อนหน้ารายจ่ายประจำของรัฐบาลเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 70% แต่ปัจจุบันรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นถึง 80% แล้ว
ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ชี้ถึงอัตราการเติบโตของรายได้และรายจ่ายที่เปลี่ยนไป โดยช่วงปี 2540 รัฐบาลมีการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 13.2% ขณะที่มีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น 15.6% ฐานห่างกันแค่ 2% แต่ช่วงปี 2543-2547 การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 10.3%
ขณะที่รายจ่ายลดลงอยู่ที่ 7.3% และปี 2548-2555 พบว่าฐานรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ที่ 9.9% ขณะที่การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 6.2% ซึ่งเมื่อรายจ่ายถีบตัวสูงขึ้น แต่จัดเก็บรายได้ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก จึงเป็นโจทย์ที่รัฐบาลตระหนักและเร่งแก้ไขจากภาระผูกพันทางการคลังทั้งที่อยู่ในและนอกงบประมาณยังสามารถรองรับด้วยฐานะการคลังที่มีอยู่ทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง แต่ระยะยาวที่ต้องนำผลขาดทุนจากการรับจำนำข้าวและสินค้าเกษตรอื่น ๆ มารวมในงบประมาณ ประเด็นนี้จะเป็นความเปราะบางทางการคลังในระยะต่อไป แม้ว่ายังพอมีช่องว่างการคลังเหลือให้รัฐบาลใช้จ่ายได้ แต่แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายโดยเฉพาะรายจ่าย "เชิงนโยบาย" จะส่งผลต่อศักยภาพการบริหารความเสี่ยงการคลังในอนาคตได้
สร้างอนาคตด้วยการลงมือทำจริง
"ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ กล่าวบนเวทีสัมมนา อนาคตประเทศไทยภายใต้นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่า สิ่งที่กังวลใจที่สุดในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลคือการกระทำที่หวังผลระยะสั้น แต่เรื่องสำคัญในระยะยาว เช่น เรื่องพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาคนไทย ภายใต้บริบทของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เอเชียกำลังจะเปลี่ยนแต่คนไทยอยู่ตรงจุดไหนเปลี่ยนแปลงได้ทันหรือไม่
พร้อมกับกล่าวถึงความกังวลในอนาคต 5 ด้านประกอบด้วย การดำเนินนโยบายรัฐที่ไม่ชัดเจนจะเป็นอุปสรรคให้เอกชนเดินต่อลำบาก การพัฒนาการศึกษาสร้างคนให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงบริบทใหม่ ๆ การพัฒนานวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่พูดกันมามากและนานแต่กลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การปรับปรุงกฎหมายทางการคลังและเศรษฐกิจให้ทันสมัย และสุดท้ายการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เพราะเมืองไทยชอบทำแผนงาน ทำเวิร์กช็อป แต่ไม่ค่อยลงมือปฏิบัติ ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน ก็อยากเปลี่ยนให้คนไทยทำอะไรเร็ว ๆ ขึ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381771077
ชำแหละ 2 ปี นโยบาย ศก.ยิ่งลักษณ์ อนาคตประเทศไทย ความฝัน หรือ ความจริง ?
updated: 15 ต.ค. 2556 เวลา 08:16:15 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จากที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เข้ามาบริหารประเทศเมื่อปี 2554 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ปี 2554 อยู่ที่ 0.1% หนี้สาธารณะต่อจีดีพี 42.2% และปี 2555 จีดีพี 6.4% หนี้สาธารณะต่อจีดีพี 43.3%
ขณะที่ปีนี้หลายหน่วยงานปรับลดประมาณการจีดีพีจาก 5% เมื่อต้นปี ลงมาอยู่ที่ต่ำกว่า 4% และหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ราว 44% บ่งชี้ถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และความท้าทายต่อการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ประกาศไว้เมื่อ 2 ปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท รับจำนำข้าว 15,000 บาท/ตัน ปรับลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
งานสัมมนาวิชาการประจำปีของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงนำเสนองานวิจัย "2 ปีนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ความฝัน กับความจริง" เพื่อร่วมสร้างเส้นทางสร้างอนาคตประเทศไทย บนพื้นฐานความจริง ไม่ใช่เพียงภาพฝัน
ค่าแรง 300 แต่ผลิตภาพมีแนวโน้มลดลง
"ดร.ศุภชัย ศรีสุชาติ" อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. นำเสนอผลกระทบของนโยบายปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ว่า เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของผู้ประกันตนพบว่า หลังนโยบายดังกล่าวการจ้างงานมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 13 เดือนติดต่อกัน (เม.ย. 2555-พ.ค. 2556) 4.75% ขณะที่การเลิกจ้างลดลง 31.37% และอัตราการว่างงานอยู่ที่ 0.9% ซึ่งนับว่าอยู่ในระดับต่ำ
แม้ภาพรวมของการกระจายตัวของรายได้ดีขึ้น แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มพบว่า ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีแรงงาน 1-9 คน ปรับค่าจ้างน้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีแรงงาน 100 คนขึ้นไป ขณะที่การเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) พบว่าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ผลิตภาพยังคงที่และเริ่มลดลง และยังห่างจากเป้าหมายการเพิ่มผลิตภาพให้ได้ 8.4% ของจีดีพี เพื่อพยุงให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ติดลบ และการเพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำยังไม่ได้ทำให้ระดับราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด แม้จะพบว่ามีการขึ้นราคาสินค้าหลายรายการ
ลดภาษี-ไม่ลดเหลื่อมล้ำ/ไม่ดึงดูดทุนข้ามชาติ
"ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล" นำเสนอผลวิจัย จากนโยบายปรับโครงสร้างภาษีภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งได้ดำเนินการ 2 ส่วน คือ การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งอ้างอิงเอกสารงบประมาณปี 2557 พบว่านโยบายการปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีทั้ง 2 ประเภท ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ระหว่างปี 2556-2563 ราว 2.6 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสูญเสียรายได้จากการลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 2.32 ล้านล้านบาท และการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3.05 แสนล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมเวลา 7 ปีนับว่ารัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีมากกว่าการใช้เงินเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม 2 ล้านล้านบาท
อีกทั้งยังพบว่ารายได้การจัดเก็บภาษีที่ลดลง ยังไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้ เนื่องจากเป็นการปรับโครงสร้างไม่ตรงจุด และยังไม่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เนื่องจากการปรับลดภาษีไม่ใช่ปัจจัยสำคัญต่อการดึงดูดแรงงานทักษะสูงและเงินลงทุนจากบริษัทข้ามชาติมากเท่ากับปัจจัยอื่น ๆ อาทิ ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ความโปร่งใสของกฎหมายและการบังคับใช้ คุณภาพของสถาบันการเงิน การขนส่ง โทรคมนาคม ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค และคุณภาพแรงงาน
2 ล้านล้านไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้
"ผศ.ดร.ประชา คุณธรรมดี" ประเมินผลการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งผ่านเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเป็นสิ่งจำเป็นระดับหนึ่ง และควรดำเนินการภายใต้กรอบการศึกษาที่ชัดเจน เชื่อถือได้ และสอดคล้องกับเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ
โดยตามเป้าหมายของรัฐบาลในแผนการลงทุนนี้ คือ ต้องการลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีจากปัจจุบัน 15.2% ให้ลดลงกว่า 2% พร้อมกับปรับยุทธศาสตร์แบบการขนส่งจากถนนสู่การขนส่งระบบรางที่ต้นทุนต่ำกว่า และเชื่อมโยงภูมิภาค เชื่อมโยงอาเซียน
อย่างไรก็ตาม จากต้นทุนการขนส่งทางถนนปัจจุบันอยู่ที่ 1.72 บาท/ตันกิโลเมตร สูงกว่าขนส่งทางรางที่มีอยู่ 0.93 บาท/ตันกิโลเมตร และทางน้ำ 0.64 บาท/ตันกิโลเมตร แต่จากข้อมูลเอกสารของรัฐยังไม่รวมต้นทุนการจัดการการขนส่งต่อเนื่องหลายในการเชื่อมถนนไประบบรางและสถานีขนส่งสินค้า
ขณะที่ยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อภูมิภาคและอาเซียนที่ระบุในร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท มีข้อสังเกตว่า โครงการเชียงของ จ.เชียงราย จะเป็นการพัฒนาที่ครบถ้วนมากที่สุดในเรื่องการเชื่อมต่อเศรษฐกิจกับ สปป.ลาว เนื่องจาก
มีทั้งท่าเรือ โครงการรถไฟรางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และศูนย์เปลี่ยนถ่ายขนส่งสินค้าจากถนนสู่ระบบราง รวมทั้งการพัฒนาด่านศุลกากร ซึ่งหากการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าในภาพรวมตามรูปแบบนี้เกิดขึ้น ก็จะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์และเกิดการเชื่อมโยงภูมิภาคและเปิดประตูค้าชายแดนได้ แต่หลายโครงการในร่าง พ.ร.บ.กลับมีจุดมุ่งหมายเพื่อ "ขนคน" มากกว่า "ขนของ" และมีกว่า 17 โครงการที่ยังไม่ได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study)
รายจ่ายเชิงนโยบาย จุดเปราะบางทางการคลัง
"ศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา" นำเสนอเรื่องความเปราะบางและความเสี่ยงทางการคลัง ภายใต้นโยบายการลงทุนของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ว่านับตั้งแต่ที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารประเทศ
ปลายปี 2554 ได้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่จนต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาวผ่านโครงการต่าง ๆ ซึ่งสร้างภาระผูกพันทางงบประมาณจนอาจสร้างภาระความเสี่ยงต่อฐานะการคลังในอนาคต โดยจะเห็นได้ว่าช่วงที่ผ่านมาฐานรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ จากโครงสร้างรายจ่ายของรัฐบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อ 7-8 ปีก่อนหน้ารายจ่ายประจำของรัฐบาลเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 70% แต่ปัจจุบันรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นถึง 80% แล้ว
ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ชี้ถึงอัตราการเติบโตของรายได้และรายจ่ายที่เปลี่ยนไป โดยช่วงปี 2540 รัฐบาลมีการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 13.2% ขณะที่มีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น 15.6% ฐานห่างกันแค่ 2% แต่ช่วงปี 2543-2547 การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 10.3%
ขณะที่รายจ่ายลดลงอยู่ที่ 7.3% และปี 2548-2555 พบว่าฐานรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ที่ 9.9% ขณะที่การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 6.2% ซึ่งเมื่อรายจ่ายถีบตัวสูงขึ้น แต่จัดเก็บรายได้ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก จึงเป็นโจทย์ที่รัฐบาลตระหนักและเร่งแก้ไขจากภาระผูกพันทางการคลังทั้งที่อยู่ในและนอกงบประมาณยังสามารถรองรับด้วยฐานะการคลังที่มีอยู่ทั้งในระยะสั้นและระยะกลาง แต่ระยะยาวที่ต้องนำผลขาดทุนจากการรับจำนำข้าวและสินค้าเกษตรอื่น ๆ มารวมในงบประมาณ ประเด็นนี้จะเป็นความเปราะบางทางการคลังในระยะต่อไป แม้ว่ายังพอมีช่องว่างการคลังเหลือให้รัฐบาลใช้จ่ายได้ แต่แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายโดยเฉพาะรายจ่าย "เชิงนโยบาย" จะส่งผลต่อศักยภาพการบริหารความเสี่ยงการคลังในอนาคตได้
สร้างอนาคตด้วยการลงมือทำจริง
"ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ กล่าวบนเวทีสัมมนา อนาคตประเทศไทยภายใต้นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่า สิ่งที่กังวลใจที่สุดในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลคือการกระทำที่หวังผลระยะสั้น แต่เรื่องสำคัญในระยะยาว เช่น เรื่องพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาคนไทย ภายใต้บริบทของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป เอเชียกำลังจะเปลี่ยนแต่คนไทยอยู่ตรงจุดไหนเปลี่ยนแปลงได้ทันหรือไม่
พร้อมกับกล่าวถึงความกังวลในอนาคต 5 ด้านประกอบด้วย การดำเนินนโยบายรัฐที่ไม่ชัดเจนจะเป็นอุปสรรคให้เอกชนเดินต่อลำบาก การพัฒนาการศึกษาสร้างคนให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงบริบทใหม่ ๆ การพัฒนานวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่พูดกันมามากและนานแต่กลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การปรับปรุงกฎหมายทางการคลังและเศรษฐกิจให้ทันสมัย และสุดท้ายการนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่เพราะเมืองไทยชอบทำแผนงาน ทำเวิร์กช็อป แต่ไม่ค่อยลงมือปฏิบัติ ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน ก็อยากเปลี่ยนให้คนไทยทำอะไรเร็ว ๆ ขึ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1381771077