ออกตัวก่อนนะครับว่าโดยปกติแล้วเป็นคนที่ไม่ได้ตามข่าวสารแล้วก็ไม่รู้เรื่องการเมือง
แต่เรื่องมันเกิดจากเมื่อวานนี้เห็นข่าว สภาผ่านร่างแก้รธน. แต่ไม่มีรายละเอียดของการแก้ว่าเป็นอย่างไร เลยหาข้อมูลเพิ่มเติม ว่าเกี่ยวกับมาตรา 115 หลังจากนั้นก็เลยไปดาวโหลดรธน.ฉบับ 2550 มาดูประกอบแล้วรู้สึกว่า
ภาษาที่ใช้ในกฏหมายบ้านเราทำไมมันถึงเข้าใจยาก และใช้พลังในการอ่านเยอะกว่าหนังสือทั่วไปมาก
เข้าใจว่าผู้ร่างกฏหมายต้องการให้ตัวบทมันครอบคลุม และเป็นทางการ แต่ความพยายามนั้นมันกลับกลายเป็นว่าคนทั่วไปจะไม่อยากอ่าน หรือเมื่อต้องอ่านแล้วการทำความเข้าใจมันยากเกินจะเรียนรู้ด้วยตัวเองหรือเปล่าครับ
คำถามอยู่ตรงนี้ครับ
"จะดีไหมถ้าเรามีคู่มือประมาณว่า รธน.ไทยฉบับเข้าใจง่ายมาประกอบ หรือใช้คนที่สื่อสารด้วยตัวอักษรได้เข้าใจง่ายมาช่วยร่าง/เรียบเรียงให้อ่านง่ายขึ้น เพราะเท่าที่อ่านแต่ละมาตราของกฏหมายที่จะแก้นี่สำคัญพอสมควรเลย" (จริงๆคงสำคัญทั้งหมดเลยมั้ง)
อันแรกมาตรา 115 สำหรับร่างที่ผ่านไปแล้วเมื่อวาน ยังเข้าใจไม่ยาก ว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติของสว.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา ๑๑๕ บุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา
(๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์ในวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๔) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา
(ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
(๕) ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
(๖) ไม่เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองหรือเคยเป็นสมาชิกหรือเคยดำรงตำแหน่งและพ้นจากการเป็นสมาชิกหรือการดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมืองมาแล้วยังไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๗) ไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่เกินห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งหรือวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
(๘) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๒ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) หรือ (๑๔)
(๙) ไม่เป็นรัฐมนตรีหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเคยเป็นแต่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วยังไม่เกินห้าปี
วันที่ 2 ต.ค. เค้าจะมีเรื่องเกี่ยวกับ มาตรา 190,68,237 ทั้งหมดนี้งงล้วนๆ เลยครับ
มาตรา 190
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา ๑๙๐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก และสัญญาอื่น กับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ
หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
ก่อนการดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย
เมื่อลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันคณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น และในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็วเหมาะสม และเป็นธรรม
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป
ในกรณีที่มีปัญหาตามวรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ (๑) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม
มาตรา 237
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา ๒๓๗ ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา ๖๘ และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง
มาตราสุดท้าย 68
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา ๖๘ บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว
ปล.
หรือที่สุดแล้วมันเป็นปัญหาทางสติปัญญาของ จขกท. เองก็ไม่รู้นะ
เพราะตัวจขกท.เองถึงตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรเท่าไหร่ครับ แถมตั้งกระทู้ยังดูวกวนด้วย
ปล.2
ลิงก์ของตัวรัฐธรรมนูญที่ก็อปปี้มานะครับ
http://law.longdo.com/law/125/
ถามเรื่องภาษาที่ใช้ในกฏหมาย/รธน.ไทยครับ
แต่เรื่องมันเกิดจากเมื่อวานนี้เห็นข่าว สภาผ่านร่างแก้รธน. แต่ไม่มีรายละเอียดของการแก้ว่าเป็นอย่างไร เลยหาข้อมูลเพิ่มเติม ว่าเกี่ยวกับมาตรา 115 หลังจากนั้นก็เลยไปดาวโหลดรธน.ฉบับ 2550 มาดูประกอบแล้วรู้สึกว่า
ภาษาที่ใช้ในกฏหมายบ้านเราทำไมมันถึงเข้าใจยาก และใช้พลังในการอ่านเยอะกว่าหนังสือทั่วไปมาก
เข้าใจว่าผู้ร่างกฏหมายต้องการให้ตัวบทมันครอบคลุม และเป็นทางการ แต่ความพยายามนั้นมันกลับกลายเป็นว่าคนทั่วไปจะไม่อยากอ่าน หรือเมื่อต้องอ่านแล้วการทำความเข้าใจมันยากเกินจะเรียนรู้ด้วยตัวเองหรือเปล่าครับ
คำถามอยู่ตรงนี้ครับ
"จะดีไหมถ้าเรามีคู่มือประมาณว่า รธน.ไทยฉบับเข้าใจง่ายมาประกอบ หรือใช้คนที่สื่อสารด้วยตัวอักษรได้เข้าใจง่ายมาช่วยร่าง/เรียบเรียงให้อ่านง่ายขึ้น เพราะเท่าที่อ่านแต่ละมาตราของกฏหมายที่จะแก้นี่สำคัญพอสมควรเลย" (จริงๆคงสำคัญทั้งหมดเลยมั้ง)
อันแรกมาตรา 115 สำหรับร่างที่ผ่านไปแล้วเมื่อวาน ยังเข้าใจไม่ยาก ว่าด้วยเรื่องคุณสมบัติของสว.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วันที่ 2 ต.ค. เค้าจะมีเรื่องเกี่ยวกับ มาตรา 190,68,237 ทั้งหมดนี้งงล้วนๆ เลยครับ
มาตรา 190
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มาตรา 237
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มาตราสุดท้าย 68
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ปล.
หรือที่สุดแล้วมันเป็นปัญหาทางสติปัญญาของ จขกท. เองก็ไม่รู้นะ
เพราะตัวจขกท.เองถึงตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรเท่าไหร่ครับ แถมตั้งกระทู้ยังดูวกวนด้วย
ปล.2
ลิงก์ของตัวรัฐธรรมนูญที่ก็อปปี้มานะครับ
http://law.longdo.com/law/125/