จริง ๆ ผมว่าเรื่องนี้ ถ้ามองผลปลายทางแล้ว สุดท้ายยังไง ฝ่ายค้านก็ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความอยู่ดี ดังนั้นเส้นทางเดินที่เดินอยู่ตอนนี้ มันก็แค่เส้นทางที่ต้องเดินเพื่อให้ถึงปลายทางแค่นั้น แล้วมันก็มีทางเดินได้ 3 ทาง
1.สองฝ่ายทำหน้าที่ในสภาแบบตรงไปตรงมา พิจารณาเหตุและผลของอีกฝ่าย พูดในประเด็น ทำกฎหมายให้มีความรอบคอบรัดกุมมากขึ้น ซึ่งทางนี้ มันไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน เพราะเป้าหมายของฝ่ายค้านก็คือ ดึงเวลาให้ยาวไปเรื่อย ๆ ส่วนของรัฐบาลก็ไม่สนใจการแก้ไขที่อาจจะมีขึ้นอยู่แล้ว เพียงต้องการให้ผ่าน ๆ ไปตามที่กรรมาธิการแก้ไขมา
2.เมื่อฝ่ายค้านมีเป้าหมายในการยื้อเวลา ทางที่สองก็คือ ปล่อยฝ่ายค้านพูดไปเรื่อย ๆ กี่เดือน ก็ปล่อยพูดไป เพราะถึงจุดนึงอย่างมาตรา 3 ใช้เวลาไป 4-5 วัน ก็ต้องพูดกันจนครบอยู่ดี ถ้าปล่อยให้พูดไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องประท้วง ไม่ต้องขัดอะไรสักอย่าง อย่างมากก็ไม่เกิน 40-50 วันแค่นั้น
แล้วผมว่า ถ้าปล่อยแบบนี้ แล้วอภิปรายสักสัปดาห์ละวัน ผมว่า สัก 3 เดือน (ก็ 12 วัน) มันก็จบแล้ว เพราะฝ่ายค้านแค่อยากยื้อให้นานที่สุด ถ้าไม่ใช้เวลาต่อสัปดาห์มาก ก็คงลดเวลาพูดลงได้ เวลาสภาก็เอาไปทำอย่างอื่นได้ ตามระบบเดิม ๆ
3.ถ้าคิดว่า การปล่อยให้พูดไปยาว ๆ เสียเวลา ไม่มีประโยชน์ ก็ต้องใช้วิธีเสนอปิดอภิปรายไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องสนใจฝ่ายค้าน ถ้าเลือกใช้วิธีนี้ ผมว่า ไม่ต้องปล่อยให้พูดปรึกษาหารือแล้ว ขัดใจฝ่ายค้านไปตรง ๆ พูดชัด ๆ ฝ่ายค้านไม่ร่วมประชุมก็ปล่อยไป ประชุมอีกสัก 2-3 วันก็พอ เรื่องนี้จะได้จบสักที
การที่เล่นเกมแบบสองวันหลัง (พิจารณามาตรา 5 กับ มาตรา 6) ผมว่าเป็นการกระทำที่เสียเวลายิ่งกว่า เพราะไม่มีประโยชน์อะไร ตอนเช้าให้มีเรื่องทะเลาะกันไร้สาระไป อยากทะเลาะอะไร ก็ทะเลาะไป แต่เป้าหมายของรัฐบาลคือจะให้ผ่านไปวันละ่ 1 มาตรา พอถึงจะหมดวัน ไม่ว่าพูดไปมากน้อยแค่ไหน ก็เสนอปิดอภิปราย
จริง ๆ ถ้าเล่นแผนนี้ ก็ปิดอภิปรายตั้งแต่บ่ายไปเลย แล้ววันนึงให้ผ่านสัก 3-4 มาตราเลย 2-3 วันก็จบได้แล้ว ประหยัดไฟสภา ประหยัดเบี้ยประชุม
การประชุมรัฐสภา เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
1.สองฝ่ายทำหน้าที่ในสภาแบบตรงไปตรงมา พิจารณาเหตุและผลของอีกฝ่าย พูดในประเด็น ทำกฎหมายให้มีความรอบคอบรัดกุมมากขึ้น ซึ่งทางนี้ มันไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน เพราะเป้าหมายของฝ่ายค้านก็คือ ดึงเวลาให้ยาวไปเรื่อย ๆ ส่วนของรัฐบาลก็ไม่สนใจการแก้ไขที่อาจจะมีขึ้นอยู่แล้ว เพียงต้องการให้ผ่าน ๆ ไปตามที่กรรมาธิการแก้ไขมา
2.เมื่อฝ่ายค้านมีเป้าหมายในการยื้อเวลา ทางที่สองก็คือ ปล่อยฝ่ายค้านพูดไปเรื่อย ๆ กี่เดือน ก็ปล่อยพูดไป เพราะถึงจุดนึงอย่างมาตรา 3 ใช้เวลาไป 4-5 วัน ก็ต้องพูดกันจนครบอยู่ดี ถ้าปล่อยให้พูดไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องประท้วง ไม่ต้องขัดอะไรสักอย่าง อย่างมากก็ไม่เกิน 40-50 วันแค่นั้น
แล้วผมว่า ถ้าปล่อยแบบนี้ แล้วอภิปรายสักสัปดาห์ละวัน ผมว่า สัก 3 เดือน (ก็ 12 วัน) มันก็จบแล้ว เพราะฝ่ายค้านแค่อยากยื้อให้นานที่สุด ถ้าไม่ใช้เวลาต่อสัปดาห์มาก ก็คงลดเวลาพูดลงได้ เวลาสภาก็เอาไปทำอย่างอื่นได้ ตามระบบเดิม ๆ
3.ถ้าคิดว่า การปล่อยให้พูดไปยาว ๆ เสียเวลา ไม่มีประโยชน์ ก็ต้องใช้วิธีเสนอปิดอภิปรายไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องสนใจฝ่ายค้าน ถ้าเลือกใช้วิธีนี้ ผมว่า ไม่ต้องปล่อยให้พูดปรึกษาหารือแล้ว ขัดใจฝ่ายค้านไปตรง ๆ พูดชัด ๆ ฝ่ายค้านไม่ร่วมประชุมก็ปล่อยไป ประชุมอีกสัก 2-3 วันก็พอ เรื่องนี้จะได้จบสักที
การที่เล่นเกมแบบสองวันหลัง (พิจารณามาตรา 5 กับ มาตรา 6) ผมว่าเป็นการกระทำที่เสียเวลายิ่งกว่า เพราะไม่มีประโยชน์อะไร ตอนเช้าให้มีเรื่องทะเลาะกันไร้สาระไป อยากทะเลาะอะไร ก็ทะเลาะไป แต่เป้าหมายของรัฐบาลคือจะให้ผ่านไปวันละ่ 1 มาตรา พอถึงจะหมดวัน ไม่ว่าพูดไปมากน้อยแค่ไหน ก็เสนอปิดอภิปราย
จริง ๆ ถ้าเล่นแผนนี้ ก็ปิดอภิปรายตั้งแต่บ่ายไปเลย แล้ววันนึงให้ผ่านสัก 3-4 มาตราเลย 2-3 วันก็จบได้แล้ว ประหยัดไฟสภา ประหยัดเบี้ยประชุม