เขื่อนขันธ์แรง!!! ด่าทีโอที'เสือนอนกิน'

เขื่อนขันธ์ นางแรงอ่ะ นางบอกว่าทีโอทีเป็นเสือนอนกิน

คมคิดคนเขียน

ยิ่ง.ใกล้ช่วงที่ประเทศไทยต้องก้าวเข้าสู่การ เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (เออีซี ) ภาคธุรกิจ และเกือบทุกภาคส่วนในบ้านเรา ต่างตื่นตัว พยายามเรียนรู้ พัฒนาองค์กรและบุคลากร ให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ประกอบกับกระแสการเปลี่ยน แปลงของเศรษฐกิจและสังคมของโลก

แต่ดูเหมือนว่า รัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นสององค์กรใหญ่ อย่างบริษัท กสท โทรคมนาคม และ บริษัท ทีโอที กำลังถูกวิจารณ์ว่าทำองค์กรให้กลายสภาพเป็น “เสือนอนกิน” ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทำทุกวิถีทาง เพื่อที่จะไม่ยอมเสียรายได้สัมปทานจำนวนมหาศาล

เห็นได้จากกิจกรรมเมื่อวันที่ 15 ส.ค. ซึ่งมีการใช้วิธีการประท้วงชุมนุมเรียกร้องให้ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยุติบทบาทการทำหน้าที่ อ้างเหตุผลว่า กสทช. ออก กฎระเบียบประมูลทีวีดิจิตอล และจัดสรรคลื่นโทรคมนาคมไม่เป็นธรรม ส่งผลกระทบต่อรายได้ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

หากพิจารณาตามข้อเท็จจริง สัญญาสัมปทานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่าง 2 รัฐวิสาหกิจ กับผู้ประกอบการจะเริ่มใกล้สิ้นสุดลง เริ่มจาก สัญญาสัมปทาน ระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม กับ บริษัท ทรู มูฟ และกับบริษัท ดิจิตอล โฟน บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะสิ้นสุดลงวันที่ 15 ก.ย. 56 ทั้งที่มีผู้ใช้บริการรวมกันประมาณ 18 ล้านเลขหมาย

ส่วน “ดีแทค” ที่ได้รับสัญญาสัมปทานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จาก กสท โทรคมนาคม จะสิ้นสุดลงปี 61 และ เอไอเอส ที่ได้รับสัญญาสัมปทานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จาก บริษัท ทีโอที จะหมดสัญญาสัมปทาน ในปี 58

ดังนั้น การที่ กสทช. มีมติ 9 ต่อ 2 เสียง ประกาศร่างมาตรการเยียวยา ป้องกันปัญหาซิมดับ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 56 ที่ผ่านมา เพื่อคุ้มครองให้ประชาชนหลายล้านคน ให้ยังคงสามารถใช้บริการโทรคมนาคมพื้นฐานได้ตามปกติ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกรอบกฎหมาย คำนึงถึงการบริหารคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ขณะเดียวกันการป้องกันปัญหา ’ซิมดับ“ ที่จะเกิดขึ้น ต้องมี มาตรการคุ้มครอง อันเป็นไปตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในการจัดบริการสาธารณะ ที่จะต้องยึดหลักความต่อเนื่องของการให้บริการ และการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ให้ประชาชนผู้ใช้บริการสามารถ ใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง

ในช่วงเวลา เปลี่ยนผ่านจากระบบสัญญาสัมปทาน ไปเป็นระบบผู้รับใบอนุญาต ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นจาก กสทช. เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีระยะเวลา และเปิดโอกาสในการเลือกโอนเลขหมายของตน ไปใช้โครงข่ายของผู้ให้บริการอื่น

อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มาตรา 15 วรรคท้าย ในกรณีมีเหตุสำคัญเพื่อคุ้มครองประโยชน์ สาธารณะ หรือกฎหมายหรือพฤติการณ์เปลี่ยนไป

ให้คณะกรรมการมีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไข ในการอนุญาต ได้ตามความจำเป็น ประกอบมาตรา 20 ’ผู้รับใบอนุญาตจะพักหรือหยุดการให้บริการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรม การกำหนด ผู้รับใบอนุญาตจะปฏิเสธการให้บริการแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรไม่ได้“ เพื่อใช้บังคับกับทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง ไม่ได้มุ่งหวังเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนหรือเอกชนรายใด

นอกจากนี้ การใช้หลักคุ้มครองประโยชน์สาธารณะเป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล จากการศึกษาของสหภาพโทรคมนาคม (ITU) และสมาคมผู้ประกอบการ (GSMA) ระบุชัดเจนว่า ในการเปลี่ยนผ่านจากระบบให้บริการของเทคโนโลยี 2 จี ไปเป็น 3 จี หลักสำคัญที่ ผู้กำกับดูแลต้องคำนึงถึง คือ การคงความต่อเนื่องของการให้บริการ (Ensure Continuity of Service) แม้ในช่วงที่ยังไม่มีการออกใบอนุญาตก็ตาม

เมื่อโลกเปลี่ยน กสท และ ทีโอที ต้องรู้จักเปลี่ยน ต้องปรับตัวรองรับกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมที่มีการเติบโต และพัฒนาอย่างรวดเร็ว จากอดีตที่มีสถานะเป็น Regulator หรือผู้ควบคุม นอนกอดรายได้จำนวนมหาศาลจากสัญญาสัมปทาน เปรียบเสมือน “เสือนอนกิน”

แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป ทั้งสององค์กรต้องปรับตัวแข่งขันในโลกธุรกิจ ต้องเปลี่ยนสถานะเป็น Operator หรือผู้ให้บริการโครงข่าย ต้องเร่งปรับตัว ปรับกลยุทธ์ การทำงานรับการแข่งขัน ไม่ใช่ค้านหัวชนฝา ทำตัวเป็น จระเข้ขวางคลอง ที่ไม่ต้องการเสียผลประโยชน์ส่วนตัว และไม่ต้องการให้ประเทศเดินหน้า.

เขื่อนขันธ์

m.dailynews.co.th/article/5/227564
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่