http://www.share2trade.com/index.php?route=content/content&path=9&content_id=2957
ท้ายที่สุดแล้ว หากไม่มีการประมูล ก็จะเข้าสู่กระบวนการเยียวยาไปจนกว่าจะมีการประมูลได้ หรือไม่การนำคลื่นความถี่ไปใช้ ตรงนี้เป็นประเด็นที่ถูกถามถึงกันมาก เรียกได้ว่า มีการเยียวยาไปเรื่อยๆ แต่ก็ใช่ว่า "ดีแทค" เจ้าของสัมปทานเดิม 1800 MHz จะสามารถใช้คลื่นได้ฟรีๆ นะครับ ยังคงต้องจ่ายเงินค่าสัมปทานไปเรื่อยๆ เนื่องจากคลื่นความถี่เป็นของภาครัฐ โดยการจ่ายค่าใช้คลื่น ให้หักค่าใช้จ่ายแล้วส่งเงินให้รัฐ และกสทช.เรียกได้ว่า ถึงจะใช้คลื่นได้ แต่ไม่สามารถเอาคลื่นที่ว่า ไปทำกำไรได้ เพราะหักค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง เท่ากับว่า "ดีแทค" ไม่ได้ประโยชน์ใดๆ จากการใช้คลื่นที่ว่า จะได้ประโยชน์ตรงลูกค้าดีแทคเท่านั้น ที่ "ซิมจะไม่ดับ"
ที่สำคัญในช่วงก่อนหน้า "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" มั่นใจมาก ว่าจะมีการเข้าประมูลแน่ๆ เพราะค่ายอย่างเอไอเอส คงไม่ยอมให้ดีแทค มีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ที่กว้างกว่า ซึ่งจะมีความได้เปรียบกว่า รวมไปถึงการพูดคุยถึงสล็อตในการประมูล แต่พอมาวันนี้ "อาการออก" และระบุว่า กสทช.เปิดประมูลคลื่นแล้วถ้าเกิดไม่มีใครเข้าร่วมประมูลความหมายคือ "จะเข้าสู่มาตรการเยียวยาได้หรือเปล่า" เพราะเปิดประมูลแล้วแต่ไม่มีคนเข้าประมูล และเมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงก็ต้องถือว่าสิ้นสุดลง หรือจะให้เข้าสู่มาตรการเยียวยา
อาการแบบนี้ เสมือนโดน "ตีแสกหน้า" เพราะนักวิเคราะห์มีการถามย้ำหลายครั้งเหมือนกัน ว่าถ้าไม่มีผู้เข้าประมูล จะทำอย่างไรได้บ้าง และต้องมีเงื่อนเวลาก่อนจะประมูลครั้งใหม่อย่างไร ซึ่งดูเหมือนว่า ความมั่นใจในครั้งนั้น คือ มั่นใจว่าอย่างไรเสีย ก็ต้องมีคนเข้าประมูลอย่างน้อย 1 รายแน่ๆ แม้จะไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใครจะเข้า แต่การพูดคุยเจรจา เสมือนหนึ่ง "รู้กัน" ว่ารายที่ว่านั้นคือใคร
การอาการหน้าแตกของ กสทช.จะเกิดขึ้น กสทช.ได้เปิดประมูลคลื่น 1800 MHz ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน แต่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ซึ่งเป็นเป็นผู้รับสัมปทานคลื่นรายเดิม กลับไม่ใช้สิทธิเข้าประมูล แต่ต้องการใช้สิทธิในมาตรการเยียวยาเพื่อคุ้มครองลูกค้าที่ใช้บริการก่อนที่จะมีเอกชนรายใหม่เข้ามาดำเนินการต่อ ซึ่งนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มองว่าการกระทำของ DTAC เป็นเหมือนการกดดันให้ กสทช.ทบทวนราคาประมูลที่ DTAC เห็นว่าสูงเกินไป
เรื่องราคาสูงเกินไป มีสิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่ทราบ คือ สัญญาใบอนุญาตที่เข้าร่วมประมูลที่ว่าสูงเกินไปนั้น ก็ต้องยอมรับว่า "สูง" แต่สูงที่ว่านี้ยังมีอีกเงื่อนไขหนึ่งก็คือ อายุสิ้นสุดของสัญญา จะสิ้นสุดพร้อมกันกับผู้ประมูลไปเมื่อปีที่แล้ว นั่นหมายความว่า ราคาประมูล เป็นราคาเดิม แต่สิ้นสุดปีเดียวกัน ตรงนี้กระมัง ที่ทำให้ดีแทครู้สึกว่า "แพง" เพราะจำนวนปีใบอนุญาตน้อยกว่า 1 ปี และอย่าคิดว่า "สาระ" ไม่มีนะครับ เพราะมันคือเงินที่ต้องจ่าย
มาว่ากันด้วยเรื่อง "ซิมดับ" ที่ผ่านมา "กสทช." ยืนยันว่าปัญหาซิมดับจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน กรณีการเปลี่ยนถ่าย เพราะได้มีการออกมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองไว้แล้ว โดยผู้ให้บริการทั้งหมด ยังให้บริการต่อไปแม้สิ้นสุดสัมปทาน จนกว่าผู้ใช้บริการทั้งหมดจะย้ายค่ายแล้วเสร็จ
ที่ผ่านมา "กสทช." ได้ยืนยันถึงอำนาจตัวเอง ตามตามมาตรา 47 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่ต้องกำกับดูแลเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน รวมทั้งอำนาจตามพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ที่ต้องกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ กำกับดูแลการใช้เลขหมายอันเป็นทรัพยากรโทรคมนาคม และคุ้มครองสิทธิประชาชนผู้บริโภค
และตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ที่กำหนด "หน้าที่" ห้ามหยุดให้บริการโดยพลการ หน้าที่นี้ทั้งรัฐวิสาหกิจและเอกชนล้วนมีอยู่แล้วในฐานะที่เป็นผู้รับใบอนุญาต โดยต้องแยกเรื่อง "คลื่น"และ "การเยียวยาลูกค้า" พิจารณาแยกจากกันคนละส่วน เพราะแม้สิทธิการใช้คลื่นสิ้นสุดไปแล้วแต่หน้าที่ของผู้ให้บริการยังคงมีอยู่
ไม่แค่นั้น ตามหลัก "กฎหมายปกครอง" กำหนดให้ การบริการโทรคมนาคม ที่เป็นการบริการสาธารณะ ต้องมีความต่อเนื่องไม่สะดุดหยุดลง ตรงนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายปกครอง และ กสทช. ก็เป็นองค์กรฝ่ายปกครอง ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการจัดทำบริการสาธารณะให้เกิดความต่อเนื่อง ไม่กระทบกับประชาชนที่คงค้างในระบบหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยสามารถใช้ได้กับกรณีเมื่อหมดอายุสัญญาสัมปทาน เพราะที่ไม่ว่าคลื่นใด ค่ายใด เมื่อหมดสัญญาสัมปทานแล้ว ทุกกรณีจะมีผู้ใช้บริการเดิมเหลือคงค้างอยู่ในระบบ "การป้องกับซิมดับ" จึงจำเป็นกับทุกกรณี เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ใช่การขยายระยะเวลาให้กับค่ายใดค่ายหนึ่งเป็นพิเศษ
นั่นหมายความว่า โอกาส "ซิมดับ" แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อีกทั้งการที่ไม่มีการประมูล คลื่นความถี่ที่ว่าก็ถือว่าว่าง แต่การจ่ายเงินค่าสัมปทาน ดีแทคยังต้องจ่าย แค่ไม่สามารถนำไปทำกำไรได้แค่นั้นเอง แสดงให้เห็นว่า ไม่มีประโยชน์อันใด กับลูกค้าที่ยังอยู่ในระบบอีกประมาณ 470,000 เลขหมาย ตรงนี้สามารถหาโปรโมชั่นดีๆ ให้ย้ายคลื่นได้สบายๆ ไม่ต้องห่วงเอกชน ว่าจะทำอย่างไร
มองนัยยะ ทุกคนก็ต้องการเข้าสู่เทคโนโลยี 5G ในปี 63 ซึ่งต้องมีการลงทุนในปี 62 ประมาณ 5-6 หมื่นล้านบาทเพื่อเตรียมการ และยังมีคลื่นความถี่ที่ว่ากันว่า "ดีแทค" ต้องการมากว่า นั่นคือ 700 MHz ที่จะครอบคลุ่มพื้นที่ได้มากกว่า ส่วน 5G ที่จะเปิดให้บริการ จะใช้คลื่นความถี่สูง และระบบเสาสัญญาณก็แตกต่างจากปัจจุบัน การรอเทคโนโลยี และคลื่นความถี่ใหม่ๆ ที่จะมีการประมูลในอนาคต จึงน่าสนใจกว่า เนื่องจากปัจจุบันที่ดีแทคมีคลื่นความถี่อยู่คือ 2100 MHz จำนวน 15 MHz และคลื่น 2300 MHz ที่เซ็นสัญญากับ TOT จำนวน 60 MHz รวมแล้วเท่ากับ 75 MHz ถือว่ามีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) บนคลื่นความถี่เดียวที่กว้างกว่าคู่แข่งอีก 2 ราย แม้จะเป็นการใช้งานบน DATA แต่ปัจจุบันการใช้งานทั้งเสียงเป็นเทคโนโลยี VoIP หรือ Voice over Internet Protocol คือการสื่อสารทางเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับการโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่าย Internet ซึ่งมีข้อดีที่ชัดเจนก็คือ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการโทร ไม่ว่าจะเป็นการโทรภายในประเทศ หรือการโทรระหว่างประเทศก็ตาม
สุดท้าย "ดีแทค" ได้คลื่น 2300 MHz มาใช้กับเทคโนโลยีแบบใหม่นั่นคือ TDD หรือ Time Division Duplex เจ้าเทคโนโลยีตัวนี้จะเป็นอย่างไร พรุ่งนี้ครับ เรามาว่ากันต่อ และอย่าเพิ่งบ่นว่ามันช้านะครับ เพราะนี่แค่เริ่มต้น ซึ่งดีแทคกำลังเร่งติดตั้งเครือข่ายอยู่ น่าจะประมาณ 2 ปี ถึงจะแล้วเสร็จ เริ่มจากปีนี้เป็นต้นไป งานนี้ไม่ใช่แค่การแข่งขันเท่านั้นที่ดุเดือด แต่ประโยชน์ตกกับผู้ใช้บริการเต็มๆ ครับ
สงครามนี้ ไม่จบง่ายๆ ขอบอก
DTAC "ซิมดับ" หรือไม่? โดย มิตร กัลยาณมิตร เว็บ Share2Trade
ท้ายที่สุดแล้ว หากไม่มีการประมูล ก็จะเข้าสู่กระบวนการเยียวยาไปจนกว่าจะมีการประมูลได้ หรือไม่การนำคลื่นความถี่ไปใช้ ตรงนี้เป็นประเด็นที่ถูกถามถึงกันมาก เรียกได้ว่า มีการเยียวยาไปเรื่อยๆ แต่ก็ใช่ว่า "ดีแทค" เจ้าของสัมปทานเดิม 1800 MHz จะสามารถใช้คลื่นได้ฟรีๆ นะครับ ยังคงต้องจ่ายเงินค่าสัมปทานไปเรื่อยๆ เนื่องจากคลื่นความถี่เป็นของภาครัฐ โดยการจ่ายค่าใช้คลื่น ให้หักค่าใช้จ่ายแล้วส่งเงินให้รัฐ และกสทช.เรียกได้ว่า ถึงจะใช้คลื่นได้ แต่ไม่สามารถเอาคลื่นที่ว่า ไปทำกำไรได้ เพราะหักค่าใช้จ่ายที่จ่ายจริง เท่ากับว่า "ดีแทค" ไม่ได้ประโยชน์ใดๆ จากการใช้คลื่นที่ว่า จะได้ประโยชน์ตรงลูกค้าดีแทคเท่านั้น ที่ "ซิมจะไม่ดับ"
ที่สำคัญในช่วงก่อนหน้า "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" มั่นใจมาก ว่าจะมีการเข้าประมูลแน่ๆ เพราะค่ายอย่างเอไอเอส คงไม่ยอมให้ดีแทค มีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) ที่กว้างกว่า ซึ่งจะมีความได้เปรียบกว่า รวมไปถึงการพูดคุยถึงสล็อตในการประมูล แต่พอมาวันนี้ "อาการออก" และระบุว่า กสทช.เปิดประมูลคลื่นแล้วถ้าเกิดไม่มีใครเข้าร่วมประมูลความหมายคือ "จะเข้าสู่มาตรการเยียวยาได้หรือเปล่า" เพราะเปิดประมูลแล้วแต่ไม่มีคนเข้าประมูล และเมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงก็ต้องถือว่าสิ้นสุดลง หรือจะให้เข้าสู่มาตรการเยียวยา
อาการแบบนี้ เสมือนโดน "ตีแสกหน้า" เพราะนักวิเคราะห์มีการถามย้ำหลายครั้งเหมือนกัน ว่าถ้าไม่มีผู้เข้าประมูล จะทำอย่างไรได้บ้าง และต้องมีเงื่อนเวลาก่อนจะประมูลครั้งใหม่อย่างไร ซึ่งดูเหมือนว่า ความมั่นใจในครั้งนั้น คือ มั่นใจว่าอย่างไรเสีย ก็ต้องมีคนเข้าประมูลอย่างน้อย 1 รายแน่ๆ แม้จะไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใครจะเข้า แต่การพูดคุยเจรจา เสมือนหนึ่ง "รู้กัน" ว่ารายที่ว่านั้นคือใคร
การอาการหน้าแตกของ กสทช.จะเกิดขึ้น กสทช.ได้เปิดประมูลคลื่น 1800 MHz ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน แต่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ซึ่งเป็นเป็นผู้รับสัมปทานคลื่นรายเดิม กลับไม่ใช้สิทธิเข้าประมูล แต่ต้องการใช้สิทธิในมาตรการเยียวยาเพื่อคุ้มครองลูกค้าที่ใช้บริการก่อนที่จะมีเอกชนรายใหม่เข้ามาดำเนินการต่อ ซึ่งนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มองว่าการกระทำของ DTAC เป็นเหมือนการกดดันให้ กสทช.ทบทวนราคาประมูลที่ DTAC เห็นว่าสูงเกินไป
เรื่องราคาสูงเกินไป มีสิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่ทราบ คือ สัญญาใบอนุญาตที่เข้าร่วมประมูลที่ว่าสูงเกินไปนั้น ก็ต้องยอมรับว่า "สูง" แต่สูงที่ว่านี้ยังมีอีกเงื่อนไขหนึ่งก็คือ อายุสิ้นสุดของสัญญา จะสิ้นสุดพร้อมกันกับผู้ประมูลไปเมื่อปีที่แล้ว นั่นหมายความว่า ราคาประมูล เป็นราคาเดิม แต่สิ้นสุดปีเดียวกัน ตรงนี้กระมัง ที่ทำให้ดีแทครู้สึกว่า "แพง" เพราะจำนวนปีใบอนุญาตน้อยกว่า 1 ปี และอย่าคิดว่า "สาระ" ไม่มีนะครับ เพราะมันคือเงินที่ต้องจ่าย
มาว่ากันด้วยเรื่อง "ซิมดับ" ที่ผ่านมา "กสทช." ยืนยันว่าปัญหาซิมดับจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน กรณีการเปลี่ยนถ่าย เพราะได้มีการออกมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองไว้แล้ว โดยผู้ให้บริการทั้งหมด ยังให้บริการต่อไปแม้สิ้นสุดสัมปทาน จนกว่าผู้ใช้บริการทั้งหมดจะย้ายค่ายแล้วเสร็จ
ที่ผ่านมา "กสทช." ได้ยืนยันถึงอำนาจตัวเอง ตามตามมาตรา 47 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่ต้องกำกับดูแลเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน รวมทั้งอำนาจตามพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ที่ต้องกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ กำกับดูแลการใช้เลขหมายอันเป็นทรัพยากรโทรคมนาคม และคุ้มครองสิทธิประชาชนผู้บริโภค
และตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ที่กำหนด "หน้าที่" ห้ามหยุดให้บริการโดยพลการ หน้าที่นี้ทั้งรัฐวิสาหกิจและเอกชนล้วนมีอยู่แล้วในฐานะที่เป็นผู้รับใบอนุญาต โดยต้องแยกเรื่อง "คลื่น"และ "การเยียวยาลูกค้า" พิจารณาแยกจากกันคนละส่วน เพราะแม้สิทธิการใช้คลื่นสิ้นสุดไปแล้วแต่หน้าที่ของผู้ให้บริการยังคงมีอยู่
ไม่แค่นั้น ตามหลัก "กฎหมายปกครอง" กำหนดให้ การบริการโทรคมนาคม ที่เป็นการบริการสาธารณะ ต้องมีความต่อเนื่องไม่สะดุดหยุดลง ตรงนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายปกครอง และ กสทช. ก็เป็นองค์กรฝ่ายปกครอง ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการจัดทำบริการสาธารณะให้เกิดความต่อเนื่อง ไม่กระทบกับประชาชนที่คงค้างในระบบหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน โดยสามารถใช้ได้กับกรณีเมื่อหมดอายุสัญญาสัมปทาน เพราะที่ไม่ว่าคลื่นใด ค่ายใด เมื่อหมดสัญญาสัมปทานแล้ว ทุกกรณีจะมีผู้ใช้บริการเดิมเหลือคงค้างอยู่ในระบบ "การป้องกับซิมดับ" จึงจำเป็นกับทุกกรณี เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ใช่การขยายระยะเวลาให้กับค่ายใดค่ายหนึ่งเป็นพิเศษ
นั่นหมายความว่า โอกาส "ซิมดับ" แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย อีกทั้งการที่ไม่มีการประมูล คลื่นความถี่ที่ว่าก็ถือว่าว่าง แต่การจ่ายเงินค่าสัมปทาน ดีแทคยังต้องจ่าย แค่ไม่สามารถนำไปทำกำไรได้แค่นั้นเอง แสดงให้เห็นว่า ไม่มีประโยชน์อันใด กับลูกค้าที่ยังอยู่ในระบบอีกประมาณ 470,000 เลขหมาย ตรงนี้สามารถหาโปรโมชั่นดีๆ ให้ย้ายคลื่นได้สบายๆ ไม่ต้องห่วงเอกชน ว่าจะทำอย่างไร
มองนัยยะ ทุกคนก็ต้องการเข้าสู่เทคโนโลยี 5G ในปี 63 ซึ่งต้องมีการลงทุนในปี 62 ประมาณ 5-6 หมื่นล้านบาทเพื่อเตรียมการ และยังมีคลื่นความถี่ที่ว่ากันว่า "ดีแทค" ต้องการมากว่า นั่นคือ 700 MHz ที่จะครอบคลุ่มพื้นที่ได้มากกว่า ส่วน 5G ที่จะเปิดให้บริการ จะใช้คลื่นความถี่สูง และระบบเสาสัญญาณก็แตกต่างจากปัจจุบัน การรอเทคโนโลยี และคลื่นความถี่ใหม่ๆ ที่จะมีการประมูลในอนาคต จึงน่าสนใจกว่า เนื่องจากปัจจุบันที่ดีแทคมีคลื่นความถี่อยู่คือ 2100 MHz จำนวน 15 MHz และคลื่น 2300 MHz ที่เซ็นสัญญากับ TOT จำนวน 60 MHz รวมแล้วเท่ากับ 75 MHz ถือว่ามีแบนด์วิดท์ (Bandwidth) บนคลื่นความถี่เดียวที่กว้างกว่าคู่แข่งอีก 2 ราย แม้จะเป็นการใช้งานบน DATA แต่ปัจจุบันการใช้งานทั้งเสียงเป็นเทคโนโลยี VoIP หรือ Voice over Internet Protocol คือการสื่อสารทางเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับการโทรศัพท์ผ่านทางเครือข่าย Internet ซึ่งมีข้อดีที่ชัดเจนก็คือ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการโทร ไม่ว่าจะเป็นการโทรภายในประเทศ หรือการโทรระหว่างประเทศก็ตาม
สุดท้าย "ดีแทค" ได้คลื่น 2300 MHz มาใช้กับเทคโนโลยีแบบใหม่นั่นคือ TDD หรือ Time Division Duplex เจ้าเทคโนโลยีตัวนี้จะเป็นอย่างไร พรุ่งนี้ครับ เรามาว่ากันต่อ และอย่าเพิ่งบ่นว่ามันช้านะครับ เพราะนี่แค่เริ่มต้น ซึ่งดีแทคกำลังเร่งติดตั้งเครือข่ายอยู่ น่าจะประมาณ 2 ปี ถึงจะแล้วเสร็จ เริ่มจากปีนี้เป็นต้นไป งานนี้ไม่ใช่แค่การแข่งขันเท่านั้นที่ดุเดือด แต่ประโยชน์ตกกับผู้ใช้บริการเต็มๆ ครับ
สงครามนี้ ไม่จบง่ายๆ ขอบอก