ICT จับมือ กสทช. จับมือแก้กฏหมาย3ฉบับ ชี้กระทบต่อการบริหารจัดสรรคลื่นความถี่//พร้อมตั้งกรรมการร่วมดึงคลื่นวางDTACให้CAT

29 สิงหาคม 2556 ICT จับมือ กสทช. จับมือแก้กฏหมาย (กสทช.2553,กทช.2544,กสช2551) ชี้กระทบต่อการบริหารจัดสรรคลื่นความถี่ // พร้อมตั้งกรรมการร่วมดึงคลื่นวางDTACให้CAT

ประเด็นหลัก


   น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวภายหลังหารือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ว่าในเบื้องต้นมีความร่วมมือกันที่จะเดินหน้าแก้ไขพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553(พ.ร.บ.กสทช.), พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างไอซีที และกสทช.เพื่อดำเนินการเสนอ ครม.พิจารณาในการแก้ไขข้อกฏหมายดังกล่าว ซึ่งไอซีทีมีอำนาจในการยื่นเรื่องแก้ไขข้อกฏหมาย
   
       สาเหตุที่ต้องมีการแก้ข้อกฏหมายนั้นเนื่องจากกฏหมายแต่ละฉบับมีความหมายขัดแย้งกันเองในบางมาตราทำให้การออกประกาศต่างๆของกสทช.เกิดปัญหาขึ้นภายหลังจากที่มีผลบังคับใช้แล้ว จึงเห็นสมควรร่วมกันว่าควรที่จะนำข้อขัดข้อง และข้อขัดแย้งของกฏหมายต่างๆมาแก้ไขต่อไปเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และประเทศชาติ







น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว หลังจากนี้จะตั้งคณะกรรมการร่วมโดยกระทรวงไอซีทีเป็นผู้เสนอให้ครม.พิจารณา เพื่อให้มีการปรับปรุงคลื่นความถี่ที่หมดสัญญาสัมปทานก็ต้องคืนคลื่นมายังกสทช.นำไปจัดสรรใหม่ ส่วนคลื่นที่ยังไม่หมดสัญญาสัมปทานก็ร่วมมือปรับปรุงคลื่นความถี่ไม่ให้กระทบต่อกฎหมาย และ เจรจาขอคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  ที่ยังไม่ได้ใช้งานให้กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำไปพัฒนาหารายได้ให้กับองค์กรต่อไป




http://www.dailynews.co.th/technology/229538
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000108500






______________________________________



ไอซีทีจับมือกสทช. แก้กฏหมาย3ฉบับ









ไอซีที จับมือ กสทช. เดินหน้าแก้พ.ร.บ.3ฉบับ หลังบางมาตราขัดแย้งกันเอง ส่วนร่างประกาศเยียวยา 1800 MHz รอประกาศใช้ก่อนเพื่อดูรายละเอียด และหารือหน่วยงานในสังกัดเพื่อเคลื่อนไหว
      
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) กล่าวภายหลังหารือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ว่าในเบื้องต้นมีความร่วมมือกันที่จะเดินหน้าแก้ไขพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553(พ.ร.บ.กสทช.), พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างไอซีที และกสทช.เพื่อดำเนินการเสนอ ครม.พิจารณาในการแก้ไขข้อกฏหมายดังกล่าว ซึ่งไอซีทีมีอำนาจในการยื่นเรื่องแก้ไขข้อกฏหมาย
      
       สาเหตุที่ต้องมีการแก้ข้อกฏหมายนั้นเนื่องจากกฏหมายแต่ละฉบับมีความหมายขัดแย้งกันเองในบางมาตราทำให้การออกประกาศต่างๆของกสทช.เกิดปัญหาขึ้นภายหลังจากที่มีผลบังคับใช้แล้ว จึงเห็นสมควรร่วมกันว่าควรที่จะนำข้อขัดข้อง และข้อขัดแย้งของกฏหมายต่างๆมาแก้ไขต่อไปเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และประเทศชาติ
      
       ส่วนกรณีที่กสทช.ออกร่างประกาศเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(ร่างเยียวยา1800 MHz) เพื่อเป็นมาตรการรองรับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่15 ก.ย.2556เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อลูกค้าที่มีราว17 ล้านรายในระบบ1800 MHz นั้นเบื้องต้นทางกระทรวงไอซีทีได้ขอคำชี้แจงใน3ประเด็นจากกสทช. คือ1.กสทช.มีฐานอำนาจในการออกประกาศเยียวยา1800 MHz หรือไม่ 2.นิยามของผู้ให้บริการที่ร่างประกาศเยียวยาระบุ และ3.รายได้ภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน โดยทั้ง3ข้อไอซีทียึดหลักการ ผลประโยชน์ต้องตกเป็นของรัฐเป็นหลัก
      
       โดยทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าว นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.ได้ชี้แจงว่ากสทช.ยืนยันว่ามีฐานอำนาจทางกฎหมายรองรับคือ พ.ร.บ.กสทช.และพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ส่วนผู้ให้บริการในช่วงเยียวยา จะเป็นการให้บริการร่วมกันทั้งเจ้าของสัมปทาน และผู้รับสัมปทาน และยังย้ำว่าร่างประกาศเยียวยา1800 MHzไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ให้เอกชน เพราะเป็นมาตรการกำหนดหน้าที่ ไม่ได้เป็นการให้สิทธิหรือให้ใบอนุญาตใหม่ หรือขยายสัมปทานแต่อย่างใด แต่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคชั่วคราว
      
       ส่วนประเด็นเรื่องรายได้นั้นกสทช.จะตั้งคณะกรรมการที่จะมากำหนดต้นทุนของผู้ ประกอบการซึ่งจะมี 5 คน โดยเป็นตัวแทนจากกระทรวงการคลัง ,ไอซีที ,อัยการสูงสุด ,ผู้ทรงคุณวุฒิทางบัญชี และเศรษฐศาสตร์ เพื่อเข้ามาตรวจสอบก่อนนำเงินที่เหลือภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆแล้วส่งให้กระทรวงการคลังต่อไป
      
       น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่ายอมรับในหลักการเบื้องต้น แต่ในเรื่องรายละเอียดคงต้องขอรอดูประกาศที่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการก่อน หลังจากนั้นจะกลับไปหารือกับหน่วยงานใต้สังกัดที่ได้รับผลกระทบจากประกาศเยียวยา1800 MHz โดยเฉพาะบริษัท กสท โทรคมนาคมก่อนจะทำหนังสือแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศอีกครั้ง
      
       'ไอซีทีได้พิทักษ์สิทธิในร่างประกาศเยียวยา1800 MHz แล้วแต่ขอกลับไปหารือกับหน่วยงานใต้สังกัดอีกครั้ง ซึ่งหากมีความคิดที่แตกต่างกันโดยเฉพาะข้อกฏหมาย คงต้องให้กฤษฎีกาหรืออัยการสูงสุดตีความในที่สุด'
      
       ส่วนกรณีมติ ครม.ที่กระทรวงไอซีทีเสนอขอใช้คลื่นความถี่ต่อในลักษณะการปรับปรุงความถี่ตามการร้องขอของกสท กับบริษัท ทีโอที ภายหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง โดยให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาคุยกันนั้น ยังไม่ได้ข้อยุติ อาจต้องให้กฤษฎีกาหรืออัยการสูงสุดมาตีความข้อกฎหมายเพราะมีความเห็นที่แตกต่างกัน ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยไม่ว่าจะเป็นสหภาพฯหรือหน่วยงานก็สามารถฟ้องร้องได้หากคิดว่ายังมีสิทธิใช้ความถี่ต่อ ส่วนกระทรวงไอซีทีเป็นแค่ผู้กำกับนโยบาย กระบวนการพิทักษ์สิทธิเป็นเรื่องที่ผู้ถูกกระทบจะดำเนินการได้
      
       ขณะเดียวกันไอซีทีเตรียมทำเรื่องขอดำเนินการจัดการคลื่นความถี่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับคลื่นความถี่ที่ยังไม่หมดสัญญาสัมปทาน เนื่องจากหากขอปรับปรุงคลื่นตาม พ.ร.บ. จะต้องคืนคลื่นความถี่มาให้กับกสทช.ก่อน ถึงจะปรับปรุงได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าวคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เห็นว่าสามารถดำเนินการได้แต่คงต้องมาหารือกันอีกครั้งก่อน โดยคลื่นความถี่ที่ยังไม่หมดสัญญาสัมปทานที่ไอซีทีมีแผนจะขอนั้นคือคลื่น 1800 MHz จำนวน 25 MHz ที่เป็นคลื่นเปล่าไม่ได้มีการใช้งานมากว่า 20 ปีของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค ซึ่งคลื่นดังกล่าวจะหมดสัญญาสัมปทานลงในปี 2561 เพื่อมาให้กสท ดูแลลูกค้าต่อไป
      
       นอกจากนี้ไอซีทียัง เสนอให้มีการทำงานร่วมกัน อาทิ การประกอบกิจการดาวเทียม เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้กสทช. เป็นผู้ให้ใบอนุญาตประกอบกิจการ แต่ในการยื่นขอตำแหน่งวงโคจรหรือการใช้วงโคจรดาวเทียมเป็นหน้าที่ของไอซีที ดังนั้นกระบวนการต่างๆ จะต้องมีความชัดเจนกว่านี้ เพื่อให้มีความเป็นธรรมในการเข้ามาประกอบกิจการ
      
       พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กสทช.ในฐานะกรรมการกทค.กล่าวว่าที่ประชุมบอร์ดกทค.เมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ประชุมมีมติเห็นชอบปรับอัตราค่าธรรมเนียมUSO ลดลง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมขนาดกลางและย่อม จากเดิมเรียกเก็บผู้ประกอบการที่มีรายได้เกิน20 ล้านบาทขึ้นไป โดยปรับเพิ่มเป็นต้องมีรายได้ 40 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งใครที่มีรายได้ไม่ถึง 40 ล้านบาทก็ไม่ได้ต้องเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าว และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 60% จากเดิม50%

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000108500

______________________________________________________

ไอซีทีหารือกสทช.แก้กฎหมายคลื่นความถี่



กระทรวงไอซีที หารือ กสทช. แก้ไขกฎหมาย3 ฉบับ ชงตั้งคณะทำงานร่วมกัน ปรับปรุงคลื่นความถี่เพื่อไม่กระทบต่อกฎหมาย รับหลักการร่างเยียวยา 1800 เมกะเฮิร์ตซ ไปศึกษารายละเอียด
วันนี้(29ส.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) หารือร่วมกับพล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกสทช.และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) ในการเจรจาเพื่อแก้กฎหมาย 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องได้แก่ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553(พ.ร.บ.กสทช.)  ,พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2544 และพ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศนพ.ศ.2551   เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริหารจัดสรรคลื่นความถี่ และสอดรับกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน

น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว หลังจากนี้จะตั้งคณะกรรมการร่วมโดยกระทรวงไอซีทีเป็นผู้เสนอให้ครม.พิจารณา เพื่อให้มีการปรับปรุงคลื่นความถี่ที่หมดสัญญาสัมปทานก็ต้องคืนคลื่นมายังกสทช.นำไปจัดสรรใหม่ ส่วนคลื่นที่ยังไม่หมดสัญญาสัมปทานก็ร่วมมือปรับปรุงคลื่นความถี่ไม่ให้กระทบต่อกฎหมาย และ เจรจาขอคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค  ที่ยังไม่ได้ใช้งานให้กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำไปพัฒนาหารายได้ให้กับองค์กรต่อไป


นอกจากนี้ยังรับหลักการร่างมาตราการเยียวยาผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือป้องกันซิมดับ โดยมอบหมายให้ บริษัท ทรูมูฟ และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด  (ดีพีซี)  ดูแลบริหารลูกค้ากว่า 17 ล้านราย หลังสิ้นสุดสัมปทาน 1800 เมกะเฮิร์ตซเดือน ก.ย. 2556  แต่ขอนำไปพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง

http://www.dailynews.co.th/technology/229538
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่