สงสัยว่า “สภาขี้ข้า” กำลังพยายามจะทำคลอด “สภาทาสในเรือนเบี้ย” หรือเปล่า?
1) รูปแบบ สว.ที่เสียงข้างมากของ “สภาขี้ข้า” พยายามจะแก้ไขที่มา สว. :
จะให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน คิดตามจำนวนประชากร
(ประชากร 3 แสนต่อ สว. 1 คน) เช่น กทม.จะมี สว.เลือกตั้ง 18 คน
ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็คิดสัดส่วนตามประชากร
คุณสมบัติ : ตัดคุณสมบัติต้องห้ามของผู้จะสมัครรับเลือกตั้งเป็น สว.
“...ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง...”
รวมทั้งตัดเงื่อนไขที่ผู้ลงสมัครสว.ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
หรือ สส. 5 ปีเสียก่อนเท่ากับว่า เปิดทางให้พ่อ-แม่-ผัว-เมีย-ลูก ของ
สส.และรัฐมนตรีทั้งหลายลงเลือกตั้ง สว.ได้เต็มที่
แถม สส. รัฐมนตรี หรือสมาชิกพรรคการเมืองใด อยากจะส่งใครลง
สว.ก็ให้ลาออก แล้วลงสมัครได้ทันที
แล้วก็จะสามารถใช้ฐานเสียง ฐานคะแนน หัวคะแนน จากฐานของ
สส.ของพรรคการเมืองนั่นเอง เพราะเขตเลือกตั้งทับซ้อนกับการเลือกตั้ง สส.
สุดท้าย ก็จะได้พรรคพวกของ สส. รัฐมนตรี นักการเมืองในปัจจุบันเข้ามาเป็น สว.
ซึ่งจะไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของรัฐบาลได้อย่างแท้จริง
2) วุฒิสภาตามแนวทางนี้ ก็จะคล้ายๆ กับวุฒิสภาในยุครัฐบาลทักษิณ
เป็นอย่างไร...ก็ถึงขนาดว่า สื่อมวลชน ปี 2548 ที่เคยให้ฉายาสภาผู้แทนราษฎร
เป็น “ปลอกคอพันธุ์ชิน”เขาให้ฉายาวุฒิสภาว่า “สภาทาส”
เนื่องจากเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2540 ต้องการให้ สว.ทำงานตรวจสอบ
ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร กลั่นกรองกฎหมาย และแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่องค์กรอิสระ
โดย สว.จะต้องมีความเป็นอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง เป็นตัวของตัวเอง
แต่จากพฤติกรรมของวุฒิสภาขณะนั้น กลับไม่อิสระจริง
แถมบ่อยครั้งลงมติตามโพยที่ออกมาก่อนหน้า จึงอุปมาเหมือนทาสที่ต้องปฏิบัติ
ตามคำสั่งของนายเงินแม้แต่ประธานวุฒิสภา ก็ยังได้ฉายาว่า “สุ(ด) ทน”
ซึ่งสะท้อนบทบาทและการทำงานของนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ถูก
วิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วง ถูกไล่กลางสภา แต่ไม่รู้สึกรู้สา และไม่แสดงความรับผิดชอบ
อยากให้วุฒิสภากลับไปเป็น “สภาทาสในเรือนเบี้ย” – “สภาผัวเมียของขี้ข้า”
อย่างนั้นหรือ?
3) วุฒิสภาแบบนี้เองที่ถูกทักษิณแทรกแซง ครอบงำ
กระทั่งนำไปสู่การกินรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ทั้งในวุฒิสภา องค์กรอิสระ
ระบบตรวจสอบเป็นอัมพาตไปหมดคำพิพากษาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
ในคดียุบพรรค บางตอนได้สืบให้เห็นการครอบงำวุฒิสภาและแทรกแซง
องค์กรอิสระ มีใจความน่าสนใจว่า“...พฤติกรรมการแทรกแซงองค์กรอิสระ
ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ และบุคคลใกล้ชิด
เองในหลายกรณี เช่น ติดต่อวิ่งเต้นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายเรื่อง
เพื่อขอความช่วยเหลือให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดจากคดีซุกหุ้น
โดยเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน
ในส่วนของวุฒิสภานั้น เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ
ได้เข้าไปแทรกแซง และครอบงำการทำงานของวุฒิสภา
เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาเสียงข้างมากมีมติในหลายเรื่อง เป็นไปตาม
ความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลตลอดมา อาทิ
การลงมติเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ
ตามรัฐธรรมนูญได้มีการลงมติตามที่รัฐบาลต้องการ
ทุกครั้ง และเป็นที่ทราบทั่วไปว่าสมาชิกวุฒิสภาลงมติโดยมีการกำหนดตัวบุคคล
บล็อกโหวตตามความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาล
พรรคไทยรักไทย โดยมีพยานสนับสนุน คือ นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์...
นายนิพนธ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา)
และรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า
การเลือกตั้งประธานวุฒิสภาแทน พล.ต.มนูญกฤตรูปขจร ที่ลาออกเมื่อวันที่ 4 มกราคม
2547 มีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 5 คน คือ พล.ต.มนูญกฤต, นายพนัส ทัศนียานนท์,
พล.อ.วิชา ศิริธรรม,พยาน(นายนิพนธ์) และนายสุชน ชาลีเครือ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ
ให้การสนับสนุน และบุคคลที่มีโอกาสจะได้รับเลือกมีเพียง 3 คน คือ พล.ต.มนูญกฤต
พยาน(นายนิพนธ์) และนายสุชน กลุ่มผู้สนับสนุนแต่ละฝ่ายจึงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ....
พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องการให้พยาน(นายนิพนธ์) หรือ พล.ต.มนูญกฤต ได้รับเลือก เพราะ
พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นฝ่ายตรงข้ามกับ พล.ต.มนูญกฤต อย่างชัดเจน
ส่วนพยานเป็นเพื่อนกับนายชวน หลีกภัย และไม่สามารถสั่งการได้ เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ
เกรงว่านายสุชน จะไม่ได้รับเลือกจึงได้ให้นายศรีเมืองเจริญศิริ
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดมหาสารคามคนสนิท พ.ต.ท.ทักษิณ
มาเจรจาขอให้พยานถอนตัวจากการสมัครชิงตำแหน่ง พยานตอบปฏิเสธ
และแจ้งว่าไม่ต้องมาพูดเรื่องนี้อีก ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ พูดขอร้องให้นายวิกรม
อัยศิริ มาเจรจากับพยานเพื่อขอให้ถอนตัว
พร้อมกล่าวว่าคนเป็นพ่อค้านักธุรกิจอยากเป็นพวกกับรัฐบาลทั้งนั้น
ไม่มีใครอยากอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
เนื่องจากนายวิกรมเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมในประเทศพม่า
และประกอบธุรกิจสายการบินภูเก็ตแอร์ จะต้องมีการติดต่อกับกระทรวงคมนาคม
ซึ่งมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ
ทั้งนายสุริยะได้โทรศัพท์สอบถามถึงนายวิกรม
ถึงผลการเจรจาระหว่างนายวิกรมกับพยานด้วย พยานเกรงว่าธุรกิจของนายวิกรม
ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของพยาน และมีส่วนสนับสนุนให้พยานสมัครชิตำแหน่งประธานวุฒิสภา
จะได้รับความเสียหาย หรือผลกระทบ
พยานจึงยอมถอนชื่อออกจากการลงสมัครเพื่อหลีกทางให้นายสุชน
จนนายสุชนได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา ด้วยคะแนน 99
คะแนนจากจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาประชุมทั้งหมด 198 คน เท่ากับกึ่งหนึ่งพอดี
หากพยานไม่ถอนตัว โอกาสที่นายสุชนจะได้รับการคัดเลือกดังกล่าวย่อมเป็นไปได้ยาก...”
นอกจากประเด็นการเลือกประธานวุฒิสภาแล้ว
ยังมีพฤติกรรมการบล็อกโหวตในการเลือกองค์กรอิสระ การโหวตตามโพยที่ปรากฏ
ข่าวล่วงหน้า ฯลฯ ซึ่งถูกเปิดโปงในคำพิพากษาดังกล่าวด้วย
วันนี้ จึงดูเหมือนว่า “สภาขี้ข้า” กำลังจะใช้เสียงข้างมากแก้ไขเรื่อง
สว.เพื่อทำคลอด “สภาทาสในเรือนเบี้ย”
เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง!
http://www.naewna.com/politic/columnist/8207
สารส้ม
หึ หึ ไปเล่นนอกสภาฯดีกว่า เนอะ เพราะเราไม่ได้เป็ย "คี่ค่า" ใคร
‘สภาขี้ข้า’ ทำคลอด ‘สภาทาสในเรือนเบี้ย’? กวนน้ำให้ไส สารส้ม แนวหน้าออนไลน์
1) รูปแบบ สว.ที่เสียงข้างมากของ “สภาขี้ข้า” พยายามจะแก้ไขที่มา สว. :
จะให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน คิดตามจำนวนประชากร
(ประชากร 3 แสนต่อ สว. 1 คน) เช่น กทม.จะมี สว.เลือกตั้ง 18 คน
ส่วนจังหวัดอื่นๆ ก็คิดสัดส่วนตามประชากร
คุณสมบัติ : ตัดคุณสมบัติต้องห้ามของผู้จะสมัครรับเลือกตั้งเป็น สว.
“...ไม่เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง...”
รวมทั้งตัดเงื่อนไขที่ผู้ลงสมัครสว.ต้องพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
หรือ สส. 5 ปีเสียก่อนเท่ากับว่า เปิดทางให้พ่อ-แม่-ผัว-เมีย-ลูก ของ
สส.และรัฐมนตรีทั้งหลายลงเลือกตั้ง สว.ได้เต็มที่
แถม สส. รัฐมนตรี หรือสมาชิกพรรคการเมืองใด อยากจะส่งใครลง
สว.ก็ให้ลาออก แล้วลงสมัครได้ทันที
แล้วก็จะสามารถใช้ฐานเสียง ฐานคะแนน หัวคะแนน จากฐานของ
สส.ของพรรคการเมืองนั่นเอง เพราะเขตเลือกตั้งทับซ้อนกับการเลือกตั้ง สส.
สุดท้าย ก็จะได้พรรคพวกของ สส. รัฐมนตรี นักการเมืองในปัจจุบันเข้ามาเป็น สว.
ซึ่งจะไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของรัฐบาลได้อย่างแท้จริง
2) วุฒิสภาตามแนวทางนี้ ก็จะคล้ายๆ กับวุฒิสภาในยุครัฐบาลทักษิณ
เป็นอย่างไร...ก็ถึงขนาดว่า สื่อมวลชน ปี 2548 ที่เคยให้ฉายาสภาผู้แทนราษฎร
เป็น “ปลอกคอพันธุ์ชิน”เขาให้ฉายาวุฒิสภาว่า “สภาทาส”
เนื่องจากเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2540 ต้องการให้ สว.ทำงานตรวจสอบ
ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร กลั่นกรองกฎหมาย และแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่องค์กรอิสระ
โดย สว.จะต้องมีความเป็นอิสระ ไม่สังกัดพรรคการเมือง เป็นตัวของตัวเอง
แต่จากพฤติกรรมของวุฒิสภาขณะนั้น กลับไม่อิสระจริง
แถมบ่อยครั้งลงมติตามโพยที่ออกมาก่อนหน้า จึงอุปมาเหมือนทาสที่ต้องปฏิบัติ
ตามคำสั่งของนายเงินแม้แต่ประธานวุฒิสภา ก็ยังได้ฉายาว่า “สุ(ด) ทน”
ซึ่งสะท้อนบทบาทและการทำงานของนายสุชน ชาลีเครือ ประธานวุฒิสภา ถูก
วิพากษ์วิจารณ์หนักหน่วง ถูกไล่กลางสภา แต่ไม่รู้สึกรู้สา และไม่แสดงความรับผิดชอบ
อยากให้วุฒิสภากลับไปเป็น “สภาทาสในเรือนเบี้ย” – “สภาผัวเมียของขี้ข้า”
อย่างนั้นหรือ?
3) วุฒิสภาแบบนี้เองที่ถูกทักษิณแทรกแซง ครอบงำ
กระทั่งนำไปสู่การกินรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ทั้งในวุฒิสภา องค์กรอิสระ
ระบบตรวจสอบเป็นอัมพาตไปหมดคำพิพากษาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
ในคดียุบพรรค บางตอนได้สืบให้เห็นการครอบงำวุฒิสภาและแทรกแซง
องค์กรอิสระ มีใจความน่าสนใจว่า“...พฤติกรรมการแทรกแซงองค์กรอิสระ
ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยการกระทำของ พ.ต.ท.ทักษิณ และบุคคลใกล้ชิด
เองในหลายกรณี เช่น ติดต่อวิ่งเต้นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายเรื่อง
เพื่อขอความช่วยเหลือให้ พ.ต.ท.ทักษิณ พ้นผิดจากคดีซุกหุ้น
โดยเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน
ในส่วนของวุฒิสภานั้น เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ
ได้เข้าไปแทรกแซง และครอบงำการทำงานของวุฒิสภา
เพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาเสียงข้างมากมีมติในหลายเรื่อง เป็นไปตาม
ความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลตลอดมา อาทิ
การลงมติเลือกบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในองค์กรอิสระต่างๆ
ตามรัฐธรรมนูญได้มีการลงมติตามที่รัฐบาลต้องการ
ทุกครั้ง และเป็นที่ทราบทั่วไปว่าสมาชิกวุฒิสภาลงมติโดยมีการกำหนดตัวบุคคล
บล็อกโหวตตามความต้องการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาล
พรรคไทยรักไทย โดยมีพยานสนับสนุน คือ นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์...
นายนิพนธ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา)
และรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า
การเลือกตั้งประธานวุฒิสภาแทน พล.ต.มนูญกฤตรูปขจร ที่ลาออกเมื่อวันที่ 4 มกราคม
2547 มีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 5 คน คือ พล.ต.มนูญกฤต, นายพนัส ทัศนียานนท์,
พล.อ.วิชา ศิริธรรม,พยาน(นายนิพนธ์) และนายสุชน ชาลีเครือ ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ
ให้การสนับสนุน และบุคคลที่มีโอกาสจะได้รับเลือกมีเพียง 3 คน คือ พล.ต.มนูญกฤต
พยาน(นายนิพนธ์) และนายสุชน กลุ่มผู้สนับสนุนแต่ละฝ่ายจึงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ....
พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ต้องการให้พยาน(นายนิพนธ์) หรือ พล.ต.มนูญกฤต ได้รับเลือก เพราะ
พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นฝ่ายตรงข้ามกับ พล.ต.มนูญกฤต อย่างชัดเจน
ส่วนพยานเป็นเพื่อนกับนายชวน หลีกภัย และไม่สามารถสั่งการได้ เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ
เกรงว่านายสุชน จะไม่ได้รับเลือกจึงได้ให้นายศรีเมืองเจริญศิริ
สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดมหาสารคามคนสนิท พ.ต.ท.ทักษิณ
มาเจรจาขอให้พยานถอนตัวจากการสมัครชิงตำแหน่ง พยานตอบปฏิเสธ
และแจ้งว่าไม่ต้องมาพูดเรื่องนี้อีก ต่อมา พ.ต.ท.ทักษิณ พูดขอร้องให้นายวิกรม
อัยศิริ มาเจรจากับพยานเพื่อขอให้ถอนตัว
พร้อมกล่าวว่าคนเป็นพ่อค้านักธุรกิจอยากเป็นพวกกับรัฐบาลทั้งนั้น
ไม่มีใครอยากอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
เนื่องจากนายวิกรมเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรมในประเทศพม่า
และประกอบธุรกิจสายการบินภูเก็ตแอร์ จะต้องมีการติดต่อกับกระทรวงคมนาคม
ซึ่งมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ
ทั้งนายสุริยะได้โทรศัพท์สอบถามถึงนายวิกรม
ถึงผลการเจรจาระหว่างนายวิกรมกับพยานด้วย พยานเกรงว่าธุรกิจของนายวิกรม
ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของพยาน และมีส่วนสนับสนุนให้พยานสมัครชิตำแหน่งประธานวุฒิสภา
จะได้รับความเสียหาย หรือผลกระทบ
พยานจึงยอมถอนชื่อออกจากการลงสมัครเพื่อหลีกทางให้นายสุชน
จนนายสุชนได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา ด้วยคะแนน 99
คะแนนจากจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาประชุมทั้งหมด 198 คน เท่ากับกึ่งหนึ่งพอดี
หากพยานไม่ถอนตัว โอกาสที่นายสุชนจะได้รับการคัดเลือกดังกล่าวย่อมเป็นไปได้ยาก...”
นอกจากประเด็นการเลือกประธานวุฒิสภาแล้ว
ยังมีพฤติกรรมการบล็อกโหวตในการเลือกองค์กรอิสระ การโหวตตามโพยที่ปรากฏ
ข่าวล่วงหน้า ฯลฯ ซึ่งถูกเปิดโปงในคำพิพากษาดังกล่าวด้วย
วันนี้ จึงดูเหมือนว่า “สภาขี้ข้า” กำลังจะใช้เสียงข้างมากแก้ไขเรื่อง
สว.เพื่อทำคลอด “สภาทาสในเรือนเบี้ย”
เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิรูปการเมืองอย่างแท้จริง!
http://www.naewna.com/politic/columnist/8207
สารส้ม
หึ หึ ไปเล่นนอกสภาฯดีกว่า เนอะ เพราะเราไม่ได้เป็ย "คี่ค่า" ใคร