ถามว่า
การใส่อุปสรรค (prefix) เพื่อแสดงความตรงกันข้ามในบาลี ในคำว่า อัตตา
คือ นัตตา หรือ อนัตตา ครับ
ที่มาของความสงสัยมาจาก
1. กัจจานโคตตสูตร
2. การแสดงธรรมของพระคึกฤทธิ์ว่า นิพพาน ไม่นับเป็นอัตตา ไม่นับเป็นอนัตตา
1. กัจจานโคตตสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๕. กัจจานโคตตสูตร
[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัย
ส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี ๑- ๑ ความไม่มี ๒- ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลก
ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็น
ความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี
โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่
เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย
อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า
ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวก
นั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ
จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ
[๔๓] ทฺวยนิสฺสิโต โขยํ กจฺจาน ๑ โลโก เยภุยฺเยน อตฺถิตญฺเจว นตฺถิตญฺจ ฯ โลกสมุทยํ จ ๒ โข กจฺจาน ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสโต ยา โลเก นตฺถิตา สา น โหติ ฯ โลกนิโรธํ โข กจฺจาน ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสโต ยา โลเก อตฺถิตา สา น โหติ ฯ อุปายุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ ๓ ขฺวายํ กจฺจาน โลโก เยภุยฺเยน ตญฺจายํ อุปายุปาทานํ เจตโส อธิฏฺฐานํ อภินิเวสานุสยํ น อุเปติ น อุปาทิยติ นาธิฏฺฐาติ อตฺตา เมติ ฯ ทุกฺขเมว อุปฺปชฺชมานํ อุปฺปชฺชติ ทุกฺขํ นิรุชฺฌมานํ นิรุชฺฌตีติ น กงฺขติ น วิจิกิจฺฉติ ฯ อปรปฺปจฺจยา ญาณเมวสฺส เอตฺถ โหติ ฯ เอตฺตาวตา โข กจฺจาน สมฺมาทิฏฺฐิ โหติ ฯ
ความมี = อตฺถิตา
ความไม่มี = นตฺถิตา
สังเกตว่า พระสูตรนี้ไม่ได้ใช้ว่า อนตฺถิตา
2. การแสดงธรรมของพระคึกฤทธิ์ว่า นิพพาน ไม่นับเป็นอัตตาและไม่นับเป็นอนัตตา
โดยอธิบายความจาก สังขตสูตร และ อสังขตสูตร
สังขตสูตร
[๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓
ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขต-
*ธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
อสังขตสูตร
[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓
ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความ
เสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
ของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
ว่า
1. นิพพานไม่เป็นอัตตา เพราะ ความเกิดแห่งนิพพานย่อมไม่ปรากฏ
2. นิพพานไม่เป็นอนัตตา เพราะ "อนัตตา" ที่ปรากฏทั้งหมดในพระไตรปิฎกถูกใช้อธิบายขันธ์ห้าเท่านั้น ไม่มีอนัตตาที่ใช้อธิบายสิ่งที่ไม่ใช่ขันธ์ห้า ดังนั้น "อนัตตา" จึงควรใช้กับสิ่งที่เป็นสังขตเท่านั้น
3. "สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก "สัพเพ ธัมมา" หมายถึง สังขตเท่านั้น เพราะการบัญญัติธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายนั้นต้องเป็นนามรูป เป็นสังขตเท่านั้น
ในอัตตโนมติของผมเอง
ผมว่าการวิเคราะห์ของพระคึกฤทธิ์ แปลกและน่าสนใจดีครับ
โดยเฉพาะข้อที่ว่า อนัตตา ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกถูกใช้อธิบายขันธ์ห้าเท่านั้น
น่าคิดนะครับ
อย่างไรก็ตาม "สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" ก็น่าคิดนะครับ
ถ้านิพพานไม่เป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าน่าจะตรัส สัพเพ สังขารา อนัตตาติ มากกว่านะครับ
บางทีอนัตตา น่าจะแปลง่าย ๆ ว่า "ไม่มีเจ้าของที่บังคับได้จริง" ก็ได้นะครับ
ซึ่งทั้งสังขตและอสังขต มันก็น่าจะ "ไม่มีเจ้าของที่บังคับได้จริง" ไม่ใช่เหรอครับ
บางทีอนัตตา น่าจะแปลง่าย ๆ ว่า Ego is pure illusion. ก็ได้นะครับ
[บาลี] สิ่งที่ตรงกันข้ามกับ อัตตา คือ นัตตา หรือ อนัตตา ครับ
การใส่อุปสรรค (prefix) เพื่อแสดงความตรงกันข้ามในบาลี ในคำว่า อัตตา
คือ นัตตา หรือ อนัตตา ครับ
ที่มาของความสงสัยมาจาก
1. กัจจานโคตตสูตร
2. การแสดงธรรมของพระคึกฤทธิ์ว่า นิพพาน ไม่นับเป็นอัตตา ไม่นับเป็นอนัตตา
1. กัจจานโคตตสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
๕. กัจจานโคตตสูตร
[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัย
ส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี ๑- ๑ ความไม่มี ๒- ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลก
ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็น
ความดับแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี
โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบายอุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวก ย่อมไม่
เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบายและอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย
อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า
ทุกข์นั่นแหละ เมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวก
นั้นมีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล กัจจานะ
จึงชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ
[๔๓] ทฺวยนิสฺสิโต โขยํ กจฺจาน ๑ โลโก เยภุยฺเยน อตฺถิตญฺเจว นตฺถิตญฺจ ฯ โลกสมุทยํ จ ๒ โข กจฺจาน ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสโต ยา โลเก นตฺถิตา สา น โหติ ฯ โลกนิโรธํ โข กจฺจาน ยถาภูตํ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสโต ยา โลเก อตฺถิตา สา น โหติ ฯ อุปายุปาทานาภินิเวสวินิพนฺโธ ๓ ขฺวายํ กจฺจาน โลโก เยภุยฺเยน ตญฺจายํ อุปายุปาทานํ เจตโส อธิฏฺฐานํ อภินิเวสานุสยํ น อุเปติ น อุปาทิยติ นาธิฏฺฐาติ อตฺตา เมติ ฯ ทุกฺขเมว อุปฺปชฺชมานํ อุปฺปชฺชติ ทุกฺขํ นิรุชฺฌมานํ นิรุชฺฌตีติ น กงฺขติ น วิจิกิจฺฉติ ฯ อปรปฺปจฺจยา ญาณเมวสฺส เอตฺถ โหติ ฯ เอตฺตาวตา โข กจฺจาน สมฺมาทิฏฺฐิ โหติ ฯ
ความมี = อตฺถิตา
ความไม่มี = นตฺถิตา
สังเกตว่า พระสูตรนี้ไม่ได้ใช้ว่า อนตฺถิตา
2. การแสดงธรรมของพระคึกฤทธิ์ว่า นิพพาน ไม่นับเป็นอัตตาและไม่นับเป็นอนัตตา
โดยอธิบายความจาก สังขตสูตร และ อสังขตสูตร
สังขตสูตร
[๔๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓
ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑
เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขตลักษณะของสังขต-
*ธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
อสังขตสูตร
[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓
ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ไม่ปรากฏความเกิด ๑ ไม่ปรากฏความ
เสื่อม ๑ เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
ของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ
ว่า
1. นิพพานไม่เป็นอัตตา เพราะ ความเกิดแห่งนิพพานย่อมไม่ปรากฏ
2. นิพพานไม่เป็นอนัตตา เพราะ "อนัตตา" ที่ปรากฏทั้งหมดในพระไตรปิฎกถูกใช้อธิบายขันธ์ห้าเท่านั้น ไม่มีอนัตตาที่ใช้อธิบายสิ่งที่ไม่ใช่ขันธ์ห้า ดังนั้น "อนัตตา" จึงควรใช้กับสิ่งที่เป็นสังขตเท่านั้น
3. "สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก "สัพเพ ธัมมา" หมายถึง สังขตเท่านั้น เพราะการบัญญัติธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายนั้นต้องเป็นนามรูป เป็นสังขตเท่านั้น
ในอัตตโนมติของผมเอง
ผมว่าการวิเคราะห์ของพระคึกฤทธิ์ แปลกและน่าสนใจดีครับ
โดยเฉพาะข้อที่ว่า อนัตตา ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกถูกใช้อธิบายขันธ์ห้าเท่านั้น
น่าคิดนะครับ
อย่างไรก็ตาม "สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ" ก็น่าคิดนะครับ
ถ้านิพพานไม่เป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าน่าจะตรัส สัพเพ สังขารา อนัตตาติ มากกว่านะครับ
บางทีอนัตตา น่าจะแปลง่าย ๆ ว่า "ไม่มีเจ้าของที่บังคับได้จริง" ก็ได้นะครับ
ซึ่งทั้งสังขตและอสังขต มันก็น่าจะ "ไม่มีเจ้าของที่บังคับได้จริง" ไม่ใช่เหรอครับ
บางทีอนัตตา น่าจะแปลง่าย ๆ ว่า Ego is pure illusion. ก็ได้นะครับ