ทำใมผมจึงคิดแบบนี้และไม่ได้เกี่ยวข้องกับความคิดแบบธรรมกายนะครับเพียงอ่านจากพระสูตรก็เป็นอย่างนี้อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดต้องให้ผู้รู้ช่วยชี้แนะ ลองพิจารณาข้อต่อไปนี้ดูครับ
1.สังขตธรรมไม่อยู่ในสภาวะวิมุติและนิพพาน เป็นสภาวะธรรมทีมีการเกิดดับโดยอาศัยการปรุงแต่งจากเหตุปัจัยต่าง ๆ ของ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ดังกล่าวในพุทธพจน์ว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" และ "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา "
ภิกษุ ท.! สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ : ก. มีการเกิดปรากฏ ข. มีการเสื่อมปรากฏ
ค. เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
2.อสังขตธรรมยู่ในสภาวะวิมุติและนิพพาน อสังขตธรรมนี้เป็นสภาวะที่นามรูปได้หลุดพ้นจากบัญญัตของสังขตธรรมแล้ว จึงไม่น่าที่จะไปเกี่ยวข้องกับคำว่าอัตตาหรืออนัตตาอีกแแล้ว ทั้งนี้เวลาพระพุทธเจ้าจะอธิบายคำว่านิพพานให้ปุถุชนเข้าใจก็ต้องใช้บัญญัต ฝ่ายสังขธรรมมาเปรียบเทียบให้ฟังเช่น อธิบายว่านิพพาน ไม่มี ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีขันธ์ห้า ไม่มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์หรือ เปรียบเสมือน ปลา เต่านั้น พยายามอธิบายให้นกฟังเรื่อง ในใต้น้ำ ในใต้มหาสมุทร มีลักษณ์อย่างไร ซึ่งมันก็ยากที่จะเข้าใจเพราะนกนั้นไม่เคยอยู่ใต้มหาสมุทรนั่นเอง
ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :ก. ไม่ปรากฏมีการเกิด ข. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม
ค. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่ถูกว่าสมมติว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์บุคคลเราเขานี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุดแล้ว ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปก็เป็นอันสิ้นสุดลง จึงเปลี่ยนเป็นสภาวะความดับสนิทสิ้นสุดกระบวนการปรุงแต่งแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยง แปรปรวนเป็นธรรมดา แล้วเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามนั้นดับสนิท ดังนั้นนิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานนั้นตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่าอสังขตธรรม ในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้วไม่มีเชื้อแล้ว แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปแล้วนั้นดับไปอยู่ณะที่ใดหรืออยู่ในสภาพใด
นิพพานไม่น่าจะเป็นทั้งอัตตาและอนัตตา
1.สังขตธรรมไม่อยู่ในสภาวะวิมุติและนิพพาน เป็นสภาวะธรรมทีมีการเกิดดับโดยอาศัยการปรุงแต่งจากเหตุปัจัยต่าง ๆ ของ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ดังกล่าวในพุทธพจน์ว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" และ "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา "
ภิกษุ ท.! สังขตลักษณะของสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ : ก. มีการเกิดปรากฏ ข. มีการเสื่อมปรากฏ
ค. เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
2.อสังขตธรรมยู่ในสภาวะวิมุติและนิพพาน อสังขตธรรมนี้เป็นสภาวะที่นามรูปได้หลุดพ้นจากบัญญัตของสังขตธรรมแล้ว จึงไม่น่าที่จะไปเกี่ยวข้องกับคำว่าอัตตาหรืออนัตตาอีกแแล้ว ทั้งนี้เวลาพระพุทธเจ้าจะอธิบายคำว่านิพพานให้ปุถุชนเข้าใจก็ต้องใช้บัญญัต ฝ่ายสังขธรรมมาเปรียบเทียบให้ฟังเช่น อธิบายว่านิพพาน ไม่มี ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่มีขันธ์ห้า ไม่มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์หรือ เปรียบเสมือน ปลา เต่านั้น พยายามอธิบายให้นกฟังเรื่อง ในใต้น้ำ ในใต้มหาสมุทร มีลักษณ์อย่างไร ซึ่งมันก็ยากที่จะเข้าใจเพราะนกนั้นไม่เคยอยู่ใต้มหาสมุทรนั่นเอง
ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :ก. ไม่ปรากฏมีการเกิด ข. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม
ค. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ
ในคำสอนพระพุทธศาสนา ไม่มีอัตตาใดเข้าสู่นิพพาน และไม่มีอัตตาดับสูญในภาวะแห่งนิพพาน แม้ในโลกแห่งปรากฏการณ์ เบื้องหลังเบญจขันธ์อันไม่เที่ยงนั้น ก็มิได้มีอัตตาซึ่งเป็นผู้รับรู้หรือเป็นพื้นฐานแห่งตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอยู่ในรูปของกระบวนการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ทั้งรูปธรรมและนามธรรม กระบวนการแห่งนามรูปที่ถูกว่าสมมติว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์บุคคลเราเขานี้ เมื่อวิวัฒนาการไปจนกระทั่งถึงที่สุดแล้ว ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปก็เป็นอันสิ้นสุดลง จึงเปลี่ยนเป็นสภาวะความดับสนิทสิ้นสุดกระบวนการปรุงแต่งแห่งนามรูปที่ไม่เที่ยง แปรปรวนเป็นธรรมดา แล้วเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่านิพพาน เมื่อรูปและนามนั้นดับสนิท ดังนั้นนิพพานจึงไม่ใช่ทั้งจิตและสสารซึ่งต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการดำรงอยู่ พระนิพพานนั้นตั้งอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยเหตุปัจจัย จึงเรียกว่าอสังขตธรรม ในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้วไม่มีเชื้อแล้ว แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปแล้วนั้นดับไปอยู่ณะที่ใดหรืออยู่ในสภาพใด