ถามท่านสมาชิก 4432 ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย

ย่อบางส่วนจากพระสูตรนะครับ...

....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ.
และจะพึงได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.

....ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสังขารเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ.
และย่อมไม่ได้ในสังขารว่า ขอสังขารของเราจงเป็นอย่างนี้ สังขารของเราอย่าได้เป็นอย่างนี้เลย.

กับพระสูตรนี้...

[๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตต
นิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัมมัตต
นิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ
             ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ

ย่อยกมา ๑ ข้อ ที่เนื้อความตรงตัว ดังนี้

....ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ ...

    เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ
............................................................................................

คำว่า...
อัตตา อนัตตา  นิพพาน ในบทที่ว่ามานี้ มันจะเป็นคำนาม  คำกิริยา หรือคำวิเศษณ์
แบบไหนอย่างไร ข้อนี้จงยกไว้ก่อนเพราะมันเป็นแค่น้ำ ไม่ใช่เนื้อ

แต่ที่จะถามเนื้อๆ คือถามว่า...
(1) คำว่า อัตตา  อนัตตา และนิพพาน ในความรู้ ในความเข้าใจของท่านแต่ละอย่าง มันคืออะไร ?

(2) เอาแค่ศรัพท์ แค่ภาษาล้วน ๆเลย อัตตามันต่างจากอนัตตาอย่างไร ?

(3) ถ้าสังขารนี้จักเป็นอัตตาแล้วไซร้ สังขารนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ... คือ แบบไหน อย่างไร ?

(4) เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ...คือแบบไหน อย่างไร


(อย่าไปตั้งธงคนอื่นว่า เพราะคิดว่านิพพานเป็นเมืองแก้วเมืองนครอะไรนั่น) มันไร้เดียงสาเกินไป


จะดำน้ำ ดำดิน ขี่เมฆ  เชิญสนทนาตอบได้ตามอัฌาศัย.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่