ผมไม่เข้าใจจริงๆครับ ทำไมการเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เป็นรัฐบาลที่มาจากมติมหาชน และยังเป็นรัฐบาลที่มีเสียงข้างมาก แต่แทนที่จะมีเสถียรภาพมั่นคง มีสมาธิในการแก้ไขปัญหากับประเทศ กลับกลายเป็นรัฐบาลที่บริหารประเทศลำบากยากเย็นเสียยิ่งกว่ารัฐบาลที่มาจากค่ายทหารเป็นไหนๆ
รัฐบาลมีนโยบายต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างชัดเจน จนได้ฉันทามติจากประชาชนให้เข้ามาทำตามนั้น แต่ศาลรัฐธรรมนูญแทนที่จะตีความว่าแก้ได้หรือไม่ได้ กลับออกมาแสดงความคิดเห็นให้ทำประชาพิจารณ์ถามความเห็นประชาชนก่อน เฮ่อ เวลาฉีกรัฐธรรมนูญ ไม่เคยถามความเห็นประชาชนสักนิด อย่างนี้กลับไม่เป็นไร นี่คือหนึ่งเวรกรรมของประเทศไทยครับ
รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราตามความคิดเห็นของศาลท่าน ศาลท่านก็รับคำร้องที่มีคนไปร้องว่า “อาจ”เข้าข่ายการล้มล้างการปกครอง ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติยักตื้นติดกัก ยังลึกติดกึกอยู่จนถึงทุกวันนี้ เฮ่อ ทีพวกที่ออกมาประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่า จะปิดประเทศ แช่แข็งนักการเมือง ศาลที่ก็ยกคำร้องเพราะ “เหตุ”ยังไม่เกิด เวรกรรมประเทศไทยอีกแล้วครับท่าน
รัฐบาลจะแก้มาตรา 68 ให้สอดคล้องกับเจตนาของคนร่างรัฐธรรมนูญ นั่นคือต้องยื่นเรื่องให้กับอัยการสูงสุดเสียก่อน เพราะศาลท่านได้ตีความคำว่า “และ”กับ “หรือ”มีความหมายเดียวกัน ทำให้คนยื่นสามารถยื่นเรื่องผ่านศาลโดยตรง ทำให้ขัดกับเจตนารมณ์ของคนร่าง (ซึ่งหนึ่งในศาลคณะนี้เป็น สสร.เสียด้วย) เพราะหลังจากศาลตีความอย่างนั้นแล้ว ไม่ปรากฏว่าจะมีใครยื่นเรื่องให้กับอัยการสูงสุดอีกต่อไป
ดังนั้นตามเจตนารมณ์ของผู้ร่าง ถ้าต้องการให้ยื่นโดยตรงได้ แล้วจะกำหนดให้ยื่นผ่านอัยการสูงสุดให้งวยงงวุ่นวายสับสน จนต้องตีความอีกทำไมกัน จริงไหมครับ ประเด็นจึงไม่ใช่การลิดรอนสิทธิของประชาชน แต่เป็นการเพิ่มสิทธิให้กับศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไปหรือเปล่าต่างหากครับ อีกหนึ่งเรื่องเศร้าของประเทศไทย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญตามที่ได้แถลงไว้ จะมีมือดีนำไปฟ้องศาลที่รัฐบาลไม่ทำตามนโยบายที่แถลงแบบเดียวกับเรื่องจำนำข้าวหรือเปล่าก็ไม่รู้ เวรกรรม
รัฐบาลสับเปลี่ยนเลขา สมช. ที่มีจุดยืนชัดเจนว่าเป็นคนของอีกฝ่าย นี่มันเป็นเรื่องของความมั่นคงอย่างแท้จริง ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำกันอย่างนี้มาตลอด แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่ง ฝ่ายบริหารก็คงต้องเอาหอกข้างแคร่มาไว้ข้างตัวต่อไป ซึ่งก็ไม่รู้จะถูกแทงข้างหลังเมื่อไหร่ นี่ก็อีกหนึ่งความลำบากที่รัฐบาลของประชาชนต้องเผชิญในด้านบริหารความมั่นคงต่อไป เศร้าครับเศร้า
เศร้ายิ่งกว่านั่นคือ ปปช.กลับมาแสดงความคิดเห็นให้เลขา.สมช.ฟ้องรัฐบาลซะงั้น ทั้งๆที่บ่นว่ามีคดีค้างเติ่งอยู่หลายพันคดี แม้กระทั่งคดี ปรส.ที่ทำให้รัฐเสียหายหลายแสนล้านกำลังจะหมดอายุความ ก็ยังไม่รู้จะทันหรือเปล่า อย่างนี้จะเรียกว่า เรื่องของตัวไม่เร่งรีบ เรื่องคนอื่นกลับเสนอหน้าได้หรือเปล่าก็ไม่รู้สิครับ
รัฐบาลจะกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องทนทุกข์กับปัญหาเรื่องน้ำท่วม เรื่องภัยแล้งที่เกิดขึ้นมาแล้วทุกๆปี โดยไม่มีรัฐบาลไหนคิดจะแก้ไข นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้งๆไป แต่กลับต้องมาหยุดชะงักอีกแล้วครับท่าน เพราะศาลท่านสั่งให้ทำประชาพิจารณ์เสียก่อน เพราะกลัวกระทบกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นมันจึงเกิดขึ้น เพราะการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ แผนระยะสั้น ต้องรีบดำเนินการก่อนที่จะเกิดภัยน้ำท่วมอันใกล้ ส่วนแผนระยะยาวต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 ปี เมื่อศาลสั่งคุ้มครอง แล้วให้ทำประชาพิจารณ์ ซึ่งคงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี ดังนั้นในช่วง 2 ปีที่ประชาชนจะให้คำตอบได้ เราไม่รู้ว่าจะมีภัยน้ำท่วมที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศมากเพียงใด และถ้าเกิดน้ำท่วมอย่างที่เคยเกิดเมื่อปี 54 จะทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนมากแค่ไหน เรื่องเศรษฐกิจล่ะครับ ใครจะมารับผิดชอบกันครับ ผมงงจริงๆ
ที่ผมสงสัยเมื่อสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนยื่นฟ้องรัฐบาล เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งแผนบริหารจัดการน้ำ แล้วให้ร่วมกันทำประชามติรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และถ้าเกิดน้ำท่วมจนทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายมากมายเหมือนที่ผ่านมา ประชาชนจะลงชื่อกันฟ้องสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนได้หรือไม่ ผมอยากรู้ครับ
รัฐบาลมีนโยบายจำนำข้าว เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวนา ที่ประสบกับปัญหาการขาดทุนมาตลอด กลับได้รับการต่อต้านจากกลุ่มคนที่ไม่ใช่ชาวนาสักราย
ต่อต้านเรื่องการทุจริต ทำยังกับโครงการอื่นๆของรัฐบาลอื่นๆจะไม่มีการทุจริต
ต่อต้านเรื่องไม่ได้เป็นแชมป์ส่งออก โดยไม่สนใจกับความเป็นอยู่ของชาวนา
ต่อต้านการรับจำนำสูงเกินจริง จนอาจทำให้ประเทศล่มจม ป๊าดโธ่ ขาดทุนเพื่อชาวนาแสนสองแสนล้านก็จะเป็นจะตายกันเสียทั้งประเทศ แต่ไทยเข้มแข็งหมดกันไปเกือบครึ่งล้านล้าน เงียบกันเหมือนเป่าไม้ตีน้ำพริกกันหมดเลยเนาะ
ถ้าลำพังต่อต้านกันด้วยเหตุด้วยผลก็ยังพอทำเนา แต่ทำกันขนาดทำลายข้าวไทยด้วยกัน
ปล่อยข่าวเรื่องข้าวปนสารพิษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ปล่อยข่าวเรื่องอเมริกาสั่งกักข้าวไทย ซึ่งล้วนแต่เป็นข่าวเท็จ หวังล้มรัฐบาลโดยเอาชาวนาและข้าวไทยเป็นตัว
ประกันอย่างแท้จริง ไม่เจ็บปวดวันนี้แล้วจะให้ผมเจ็บปวดเมื่อไหร่ล่ะครับ
ให้ข่าวแสดงความห่วงใยจะเกิดวิกฤติฟองสบู่แตกรอบสอง โดยผู้หวังดีอย่างคุณบุญชัยงี้ คุณประชัยงี้ มันเป็นความพยายามช่วยเหลือประเทศได้ดีจริงๆเลยนะครับ
รัฐบาลต้องการปรับโครงสร้างประเทศ ก็ยังมีเหล่าผู้หวังดีทั้งหลายออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยบ้าง ออกมาแสดงคัดค้านบ้าง ก็ด้วยเหตุผลต่างๆนานา
กลัวโกงอย่างมโหฬารบ้าง
กลัวเป็นหนี้อย่างมากมายบ้าง
กลัวรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มบ้าง
กลัวจะชาติจะล้มละลายบ้าง
ล่าสุดก็กลัวการกู้เงินจะขัดกับรัฐธรรมนูญอีกแหละ ทั้งๆที่มันก็แบบเดียวกับการกู้ของโครงการอื่นในรัฐบาลที่แล้ว มันคนละมาตรฐานหรือเปล่าครับ
แล้วก็ต่างพากันออกมาแหกปากกันปาวๆ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปากท้อง ไม่สามารถแก้ไขเศรษฐกิจ ไม่สามารถป้องกันภัยต่างๆ แล้วก็ไม่มีผลงานที่จะแถลง เฮ่อ ค้านมันเสียทุกเรื่อง ฟ้องมันเสียทุกโอกาส แล้วจะให้รัฐบาลทำงานให้ลุล่วงสำเร็จได้อย่างไรวุ้ย แปลกคนจริงเชียว
หรือว่า รัฐบาลของประเทศไทย จะบริหารประเทศได้อย่างสะดวก ต้องเป็นรัฐบาลจากค่ายทหารเท่านั้นจริงๆหรือครับ รัฐบาลที่มาจากความเห็นชอบของคนเพียงไม่กี่คน มีความชอบธรรมมากกว่ารัฐบาลที่จากความต้องการของคนส่วนใหญ่ นี่จึงเป็นความเศร้าที่ผมไม่คิดว่าจะได้เจอในช่วงที่การสื่อสารไร้พรมแดนอย่างปัจจุบันเลยครับ
เป็นรัฐบาลของประชาชน ทำไมมันบริหารประเทศลำบากยากเย็นอย่างนี้ครับ
รัฐบาลมีนโยบายต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างชัดเจน จนได้ฉันทามติจากประชาชนให้เข้ามาทำตามนั้น แต่ศาลรัฐธรรมนูญแทนที่จะตีความว่าแก้ได้หรือไม่ได้ กลับออกมาแสดงความคิดเห็นให้ทำประชาพิจารณ์ถามความเห็นประชาชนก่อน เฮ่อ เวลาฉีกรัฐธรรมนูญ ไม่เคยถามความเห็นประชาชนสักนิด อย่างนี้กลับไม่เป็นไร นี่คือหนึ่งเวรกรรมของประเทศไทยครับ
รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราตามความคิดเห็นของศาลท่าน ศาลท่านก็รับคำร้องที่มีคนไปร้องว่า “อาจ”เข้าข่ายการล้มล้างการปกครอง ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติยักตื้นติดกัก ยังลึกติดกึกอยู่จนถึงทุกวันนี้ เฮ่อ ทีพวกที่ออกมาประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่า จะปิดประเทศ แช่แข็งนักการเมือง ศาลที่ก็ยกคำร้องเพราะ “เหตุ”ยังไม่เกิด เวรกรรมประเทศไทยอีกแล้วครับท่าน
รัฐบาลจะแก้มาตรา 68 ให้สอดคล้องกับเจตนาของคนร่างรัฐธรรมนูญ นั่นคือต้องยื่นเรื่องให้กับอัยการสูงสุดเสียก่อน เพราะศาลท่านได้ตีความคำว่า “และ”กับ “หรือ”มีความหมายเดียวกัน ทำให้คนยื่นสามารถยื่นเรื่องผ่านศาลโดยตรง ทำให้ขัดกับเจตนารมณ์ของคนร่าง (ซึ่งหนึ่งในศาลคณะนี้เป็น สสร.เสียด้วย) เพราะหลังจากศาลตีความอย่างนั้นแล้ว ไม่ปรากฏว่าจะมีใครยื่นเรื่องให้กับอัยการสูงสุดอีกต่อไป
ดังนั้นตามเจตนารมณ์ของผู้ร่าง ถ้าต้องการให้ยื่นโดยตรงได้ แล้วจะกำหนดให้ยื่นผ่านอัยการสูงสุดให้งวยงงวุ่นวายสับสน จนต้องตีความอีกทำไมกัน จริงไหมครับ ประเด็นจึงไม่ใช่การลิดรอนสิทธิของประชาชน แต่เป็นการเพิ่มสิทธิให้กับศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไปหรือเปล่าต่างหากครับ อีกหนึ่งเรื่องเศร้าของประเทศไทย
ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าไม่แก้รัฐธรรมนูญตามที่ได้แถลงไว้ จะมีมือดีนำไปฟ้องศาลที่รัฐบาลไม่ทำตามนโยบายที่แถลงแบบเดียวกับเรื่องจำนำข้าวหรือเปล่าก็ไม่รู้ เวรกรรม
รัฐบาลสับเปลี่ยนเลขา สมช. ที่มีจุดยืนชัดเจนว่าเป็นคนของอีกฝ่าย นี่มันเป็นเรื่องของความมั่นคงอย่างแท้จริง ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำกันอย่างนี้มาตลอด แต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่ง ฝ่ายบริหารก็คงต้องเอาหอกข้างแคร่มาไว้ข้างตัวต่อไป ซึ่งก็ไม่รู้จะถูกแทงข้างหลังเมื่อไหร่ นี่ก็อีกหนึ่งความลำบากที่รัฐบาลของประชาชนต้องเผชิญในด้านบริหารความมั่นคงต่อไป เศร้าครับเศร้า
เศร้ายิ่งกว่านั่นคือ ปปช.กลับมาแสดงความคิดเห็นให้เลขา.สมช.ฟ้องรัฐบาลซะงั้น ทั้งๆที่บ่นว่ามีคดีค้างเติ่งอยู่หลายพันคดี แม้กระทั่งคดี ปรส.ที่ทำให้รัฐเสียหายหลายแสนล้านกำลังจะหมดอายุความ ก็ยังไม่รู้จะทันหรือเปล่า อย่างนี้จะเรียกว่า เรื่องของตัวไม่เร่งรีบ เรื่องคนอื่นกลับเสนอหน้าได้หรือเปล่าก็ไม่รู้สิครับ
รัฐบาลจะกู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน เพื่อไม่ให้ประชาชนต้องทนทุกข์กับปัญหาเรื่องน้ำท่วม เรื่องภัยแล้งที่เกิดขึ้นมาแล้วทุกๆปี โดยไม่มีรัฐบาลไหนคิดจะแก้ไข นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้งๆไป แต่กลับต้องมาหยุดชะงักอีกแล้วครับท่าน เพราะศาลท่านสั่งให้ทำประชาพิจารณ์เสียก่อน เพราะกลัวกระทบกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นมันจึงเกิดขึ้น เพราะการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ แผนระยะสั้น ต้องรีบดำเนินการก่อนที่จะเกิดภัยน้ำท่วมอันใกล้ ส่วนแผนระยะยาวต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 ปี เมื่อศาลสั่งคุ้มครอง แล้วให้ทำประชาพิจารณ์ ซึ่งคงต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี ดังนั้นในช่วง 2 ปีที่ประชาชนจะให้คำตอบได้ เราไม่รู้ว่าจะมีภัยน้ำท่วมที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศมากเพียงใด และถ้าเกิดน้ำท่วมอย่างที่เคยเกิดเมื่อปี 54 จะทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนมากแค่ไหน เรื่องเศรษฐกิจล่ะครับ ใครจะมารับผิดชอบกันครับ ผมงงจริงๆ
ที่ผมสงสัยเมื่อสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนยื่นฟ้องรัฐบาล เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งแผนบริหารจัดการน้ำ แล้วให้ร่วมกันทำประชามติรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และถ้าเกิดน้ำท่วมจนทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายมากมายเหมือนที่ผ่านมา ประชาชนจะลงชื่อกันฟ้องสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนได้หรือไม่ ผมอยากรู้ครับ
รัฐบาลมีนโยบายจำนำข้าว เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาวนา ที่ประสบกับปัญหาการขาดทุนมาตลอด กลับได้รับการต่อต้านจากกลุ่มคนที่ไม่ใช่ชาวนาสักราย
ต่อต้านเรื่องการทุจริต ทำยังกับโครงการอื่นๆของรัฐบาลอื่นๆจะไม่มีการทุจริต
ต่อต้านเรื่องไม่ได้เป็นแชมป์ส่งออก โดยไม่สนใจกับความเป็นอยู่ของชาวนา
ต่อต้านการรับจำนำสูงเกินจริง จนอาจทำให้ประเทศล่มจม ป๊าดโธ่ ขาดทุนเพื่อชาวนาแสนสองแสนล้านก็จะเป็นจะตายกันเสียทั้งประเทศ แต่ไทยเข้มแข็งหมดกันไปเกือบครึ่งล้านล้าน เงียบกันเหมือนเป่าไม้ตีน้ำพริกกันหมดเลยเนาะ
ถ้าลำพังต่อต้านกันด้วยเหตุด้วยผลก็ยังพอทำเนา แต่ทำกันขนาดทำลายข้าวไทยด้วยกัน
ปล่อยข่าวเรื่องข้าวปนสารพิษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ปล่อยข่าวเรื่องอเมริกาสั่งกักข้าวไทย ซึ่งล้วนแต่เป็นข่าวเท็จ หวังล้มรัฐบาลโดยเอาชาวนาและข้าวไทยเป็นตัว
ประกันอย่างแท้จริง ไม่เจ็บปวดวันนี้แล้วจะให้ผมเจ็บปวดเมื่อไหร่ล่ะครับ
ให้ข่าวแสดงความห่วงใยจะเกิดวิกฤติฟองสบู่แตกรอบสอง โดยผู้หวังดีอย่างคุณบุญชัยงี้ คุณประชัยงี้ มันเป็นความพยายามช่วยเหลือประเทศได้ดีจริงๆเลยนะครับ
รัฐบาลต้องการปรับโครงสร้างประเทศ ก็ยังมีเหล่าผู้หวังดีทั้งหลายออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยบ้าง ออกมาแสดงคัดค้านบ้าง ก็ด้วยเหตุผลต่างๆนานา
กลัวโกงอย่างมโหฬารบ้าง
กลัวเป็นหนี้อย่างมากมายบ้าง
กลัวรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มบ้าง
กลัวจะชาติจะล้มละลายบ้าง
ล่าสุดก็กลัวการกู้เงินจะขัดกับรัฐธรรมนูญอีกแหละ ทั้งๆที่มันก็แบบเดียวกับการกู้ของโครงการอื่นในรัฐบาลที่แล้ว มันคนละมาตรฐานหรือเปล่าครับ
แล้วก็ต่างพากันออกมาแหกปากกันปาวๆ รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปากท้อง ไม่สามารถแก้ไขเศรษฐกิจ ไม่สามารถป้องกันภัยต่างๆ แล้วก็ไม่มีผลงานที่จะแถลง เฮ่อ ค้านมันเสียทุกเรื่อง ฟ้องมันเสียทุกโอกาส แล้วจะให้รัฐบาลทำงานให้ลุล่วงสำเร็จได้อย่างไรวุ้ย แปลกคนจริงเชียว
หรือว่า รัฐบาลของประเทศไทย จะบริหารประเทศได้อย่างสะดวก ต้องเป็นรัฐบาลจากค่ายทหารเท่านั้นจริงๆหรือครับ รัฐบาลที่มาจากความเห็นชอบของคนเพียงไม่กี่คน มีความชอบธรรมมากกว่ารัฐบาลที่จากความต้องการของคนส่วนใหญ่ นี่จึงเป็นความเศร้าที่ผมไม่คิดว่าจะได้เจอในช่วงที่การสื่อสารไร้พรมแดนอย่างปัจจุบันเลยครับ