ทั้งนี้ มองเป้า SET Index ปีนี้ที่ 1,570 จุด ค่า PE ที่ 15 เท่า โดยมองกรอบล่างที่ 1,400 จุด และ 1,350 จุด ซึ่งมีค่า P/E ต่ำกว่า 14 เท่า จึงเชื่อว่ามีแรงซื้อเพื่อลงทุนเข้ามารับทำให้ไม่น่าหลุดกรอบล่าง ขณะที่คาดว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้จะเติบโตประมาณ 23%
"ตลาดอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จากที่เคยถูกขับเคลื่อนด้วย fund flow แต่จากนี้จะเป็น earning ตลาดก็จะผันผวนระยะสั้น ราคาหุ้นอาจจะถูกดึงกลับด้วยผลกำไร บจ.เพราะเมื่อ earning ตามไม่ทัน อาจมีขายทำกำไร ซึ่งดัชนีตอนนี้ PE 14 เท่า เป็นรอยต่อที่จะถูกขับเคลื่อนขึ้นไปด้วยผลกำไร บจ. ซึ่งก็จะค่อยเป็นค่อยไป ความผันผวนก็จะมากขึ้น ถ้า PE 14 เท่า ยังมี upside เมื่อเทียบตลาดปลายปีที่คาดว่าจะไปที่ 1,570 จุด"นายเทิดศักดิ์ กล่าว
นายเทิดศักดิ์ มองว่า แม้ในขณะนี้แรงขายต่างชาติสงบลง แต่ยังมีความกังวลต่อแรงขายกองทุนในประเทศที่อาจกดดันตลาด เนื่องจากนักลงทุนสถาบันในประเทศอยู่ในภาวะถือครองหุ้นมากเกินไป เห็นได้จากยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน 6-7 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับกองทุน LTF ที่ยังไม่ถูกขายและมียอดซื้อสุทธิตั้งแต่ปี 52 ราว 2.58 หมื่นล้านบาท ต้นทุนดัชนีอยู่ที่ 670 จุด ตอนนี้ดัชนีขึ้นมาเกือบ 3 เท่า จึงอาจเห็นแรงขายออกมา แม้อาจจะไม่ได้ขายทิ้งแบบไม่มีเยื่อใยเหมือนนักลงทุนต่างชาติ แต่คงจะทำให้มีแรงกดดันต่อตลาดบ้าง
สำหรับแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 8 แสนล้านบาท เติบโต 23% นั้น ไตรมาสแรกมีกำไรแล้ว 2.42 แสนล้านบาท คิดเป็น 26% ของประมาณการ และในช่วงไตรมาส 2-4/56 ยังไม่เห็นสัญญาณที่กำไรจะเติบโตต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มพลังงานที่มีน้ำหนักต่อ SET Index ราว 30% นั้น ช่วงต้นปีคาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบในปีนี้จะอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และครึ่งปีผ่านไปก็ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และค่าการกลั่นที่ 4-5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรบ ซึ่งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย
ส่วนกลุ่มแบงก์ที่มีน้ำหนักต่อ SET Index ราว 20% ตั้งเป้าสินเชื่อในปีนี้ขยายตัว 12.8-12.9% ครึ่งแรกก็เติบโตได้แล้วครึ่งหนึ่ง และมองว่าครึ่งปีหลังก็ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ 2.99% ก็เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะรักษาระดับดังกล่าวเอาไว้ได้ จึงไม่กังวลเรื่องผลกำไร
นายเทิดศักดิ์ กล่าวว่า กลุ่มที่แนะนำลงทุนระยะยาวในช่วงครึ่งปีหลัง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแบงก์ คาดว่าจะมี EPS growth ที่ 30%, กลุ่มพลังงานก็ดูดีขึ้น ตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีที่ปรับตัวดีขึ้น, กลุ่มสื่อสารมี 3G คาดกำไรโต 40%, กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ยังมีกระแสการประมูลงานใหม่ มูลค่างานในมือของแต่ละบริษัทที่อยู่ในระดับสูง การรับงานที่มีอัตรากำไรดีขึ้น, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มองว่าคงไม่เกิดภาวะฟองสบู่ และรายได้กำไรยังเติบโต ไม่มีการเก็งกำไรที่ดิน
ขณะที่กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ หลังจากกระแสจางหายเมื่อสิ้นสุดนโยบายรถคันแรก, กลุ่มบริการการแพทย์ เพราะราคาแพงแล้วและกลุ่มขนส่งทางอากาศ
ด้านนายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วง 1-2 เดือนนี้น่าจะยังปรับตัวไปต่อได้ หากดูจากนักลงทุนต่างประเทศที่ยังซื้อในตลาดพันธบัตร ซื้อเงินสดในตลาดหุ้นและเปิดสถานะ long ในตลาดซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ซึ่งแรงขายก่อนหน้ามองเป็นการปรับพอร์ต แต่ก็ต้องจับตาการประชุมคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC)ในเดือนก.ย.นี้ครั้ง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนการปรับลดขนาดมาตรการ QE ว่าจะลดขนาดการซื้อสินทรัพย์จาก 8.5 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือน เหลือ 6.5 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือนหรือไม่
พร้อมกันนั้น ยังต้องจับตาการใช้นโยบายอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ประกาศจะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ โดยมาตรการ QE ของสหรัฐจะมีสภาพคล่องเพิ่มเข้าไปในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น พันธบัตร แต่มาตรการ QE ของญี่ปุ่นจะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าไปในตลาดอื่น เช่น อัตราแลกเปลี่ยน
"ถึงแม้ QE สหรัฐจะชะลอไป แต่ก็อาจจะได้เม็ดเงินก้อนใหม่จากญี่ปุ่นมาช่วย นอกจากนี้ต้องจับตา bond yield ของสหรัฐ อย่างพันธบัตรอายุ 10 ปี ก็ขึ้นมาที่ 2.5% จาก 1.8% ซึ่งก็จะสะท้อนมาตการ QE ที่ปรับลด ตรงนี้ก็จะเป็นตัวชี้วัดตลาดทุน"นายวิศิษฐ์ กล่าว
ขณะที่นายชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัยลูกค้าบุคคล บล.บัวหลวง กล่าวว่า ชัดเจนแล้วว่าตลาดหุ้นที่ปรับขึ้นมาเป็นผลจากมาตรการ QE ของสหรัฐและหลายประเทศ ซึ่งจากนี้ไปบริษัทจดทะเบียนยังมีเวลาอีก 18 เดือนในการสร้างผลกำไรของตัวเองก่อนที่มาตรการที่ QE อาจจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางปีหน้า เพื่อให้ทั้ง 2 ปัจจัยมาบรรจบกัน ระหว่างนี้คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะแกว่งตัวในลักษณะ sideway แต่กรอบจะกว้างราว 100 จุด ทั้งนี้ มองดัชนี SET Index ในปีนี้เคลื่อนไหวอยู่แถวๆ 1,500-1,600 จุด
ส่วนนายเกียรติศักดิ์ เจนวิภากุล กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 3/56 น่าจะยังผันผวนอยู่ โดยในช่วงเดือนส.ค.นี้จะมีการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ อาจจะมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเป็นปัจจัยการลงทุน แต่ในไตรมาส 4/56 เชื่อว่าสถานการณ์ทุกอย่างน่าจะดีขึ้น โดยมองเป้าดัชนีที่ 1,500 จุด แนะลงทุนหุ้นกลุ่มสื่อสาร แบงก์ และพลังงาน
โบรกฯ มองตลาดหุ้นไทยเข้ายุคเปลี่ยนผ่านจากขับเคลื่อนด้วย fund flow สู่กำไร บจ.
"ตลาดอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จากที่เคยถูกขับเคลื่อนด้วย fund flow แต่จากนี้จะเป็น earning ตลาดก็จะผันผวนระยะสั้น ราคาหุ้นอาจจะถูกดึงกลับด้วยผลกำไร บจ.เพราะเมื่อ earning ตามไม่ทัน อาจมีขายทำกำไร ซึ่งดัชนีตอนนี้ PE 14 เท่า เป็นรอยต่อที่จะถูกขับเคลื่อนขึ้นไปด้วยผลกำไร บจ. ซึ่งก็จะค่อยเป็นค่อยไป ความผันผวนก็จะมากขึ้น ถ้า PE 14 เท่า ยังมี upside เมื่อเทียบตลาดปลายปีที่คาดว่าจะไปที่ 1,570 จุด"นายเทิดศักดิ์ กล่าว
นายเทิดศักดิ์ มองว่า แม้ในขณะนี้แรงขายต่างชาติสงบลง แต่ยังมีความกังวลต่อแรงขายกองทุนในประเทศที่อาจกดดันตลาด เนื่องจากนักลงทุนสถาบันในประเทศอยู่ในภาวะถือครองหุ้นมากเกินไป เห็นได้จากยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน 6-7 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับกองทุน LTF ที่ยังไม่ถูกขายและมียอดซื้อสุทธิตั้งแต่ปี 52 ราว 2.58 หมื่นล้านบาท ต้นทุนดัชนีอยู่ที่ 670 จุด ตอนนี้ดัชนีขึ้นมาเกือบ 3 เท่า จึงอาจเห็นแรงขายออกมา แม้อาจจะไม่ได้ขายทิ้งแบบไม่มีเยื่อใยเหมือนนักลงทุนต่างชาติ แต่คงจะทำให้มีแรงกดดันต่อตลาดบ้าง
สำหรับแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 8 แสนล้านบาท เติบโต 23% นั้น ไตรมาสแรกมีกำไรแล้ว 2.42 แสนล้านบาท คิดเป็น 26% ของประมาณการ และในช่วงไตรมาส 2-4/56 ยังไม่เห็นสัญญาณที่กำไรจะเติบโตต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มพลังงานที่มีน้ำหนักต่อ SET Index ราว 30% นั้น ช่วงต้นปีคาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบในปีนี้จะอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และครึ่งปีผ่านไปก็ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล และค่าการกลั่นที่ 4-5 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรบ ซึ่งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย
ส่วนกลุ่มแบงก์ที่มีน้ำหนักต่อ SET Index ราว 20% ตั้งเป้าสินเชื่อในปีนี้ขยายตัว 12.8-12.9% ครึ่งแรกก็เติบโตได้แล้วครึ่งหนึ่ง และมองว่าครึ่งปีหลังก็ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ 2.99% ก็เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะรักษาระดับดังกล่าวเอาไว้ได้ จึงไม่กังวลเรื่องผลกำไร
นายเทิดศักดิ์ กล่าวว่า กลุ่มที่แนะนำลงทุนระยะยาวในช่วงครึ่งปีหลัง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแบงก์ คาดว่าจะมี EPS growth ที่ 30%, กลุ่มพลังงานก็ดูดีขึ้น ตามราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีที่ปรับตัวดีขึ้น, กลุ่มสื่อสารมี 3G คาดกำไรโต 40%, กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ยังมีกระแสการประมูลงานใหม่ มูลค่างานในมือของแต่ละบริษัทที่อยู่ในระดับสูง การรับงานที่มีอัตรากำไรดีขึ้น, กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มองว่าคงไม่เกิดภาวะฟองสบู่ และรายได้กำไรยังเติบโต ไม่มีการเก็งกำไรที่ดิน
ขณะที่กลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชิ้นส่วนยานยนต์ หลังจากกระแสจางหายเมื่อสิ้นสุดนโยบายรถคันแรก, กลุ่มบริการการแพทย์ เพราะราคาแพงแล้วและกลุ่มขนส่งทางอากาศ
ด้านนายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการผู้จัดการ บล.ทรีนิตี้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วง 1-2 เดือนนี้น่าจะยังปรับตัวไปต่อได้ หากดูจากนักลงทุนต่างประเทศที่ยังซื้อในตลาดพันธบัตร ซื้อเงินสดในตลาดหุ้นและเปิดสถานะ long ในตลาดซื้อขายสัญญาล่วงหน้า ซึ่งแรงขายก่อนหน้ามองเป็นการปรับพอร์ต แต่ก็ต้องจับตาการประชุมคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐ(FOMC)ในเดือนก.ย.นี้ครั้ง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนการปรับลดขนาดมาตรการ QE ว่าจะลดขนาดการซื้อสินทรัพย์จาก 8.5 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือน เหลือ 6.5 หมื่นล้านเหรียญฯ/เดือนหรือไม่
พร้อมกันนั้น ยังต้องจับตาการใช้นโยบายอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางญี่ปุ่นที่ประกาศจะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ โดยมาตรการ QE ของสหรัฐจะมีสภาพคล่องเพิ่มเข้าไปในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น พันธบัตร แต่มาตรการ QE ของญี่ปุ่นจะทำให้มีเม็ดเงินไหลเข้าไปในตลาดอื่น เช่น อัตราแลกเปลี่ยน
"ถึงแม้ QE สหรัฐจะชะลอไป แต่ก็อาจจะได้เม็ดเงินก้อนใหม่จากญี่ปุ่นมาช่วย นอกจากนี้ต้องจับตา bond yield ของสหรัฐ อย่างพันธบัตรอายุ 10 ปี ก็ขึ้นมาที่ 2.5% จาก 1.8% ซึ่งก็จะสะท้อนมาตการ QE ที่ปรับลด ตรงนี้ก็จะเป็นตัวชี้วัดตลาดทุน"นายวิศิษฐ์ กล่าว
ขณะที่นายชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัยลูกค้าบุคคล บล.บัวหลวง กล่าวว่า ชัดเจนแล้วว่าตลาดหุ้นที่ปรับขึ้นมาเป็นผลจากมาตรการ QE ของสหรัฐและหลายประเทศ ซึ่งจากนี้ไปบริษัทจดทะเบียนยังมีเวลาอีก 18 เดือนในการสร้างผลกำไรของตัวเองก่อนที่มาตรการที่ QE อาจจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางปีหน้า เพื่อให้ทั้ง 2 ปัจจัยมาบรรจบกัน ระหว่างนี้คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะแกว่งตัวในลักษณะ sideway แต่กรอบจะกว้างราว 100 จุด ทั้งนี้ มองดัชนี SET Index ในปีนี้เคลื่อนไหวอยู่แถวๆ 1,500-1,600 จุด
ส่วนนายเกียรติศักดิ์ เจนวิภากุล กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บล.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 3/56 น่าจะยังผันผวนอยู่ โดยในช่วงเดือนส.ค.นี้จะมีการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ อาจจะมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเป็นปัจจัยการลงทุน แต่ในไตรมาส 4/56 เชื่อว่าสถานการณ์ทุกอย่างน่าจะดีขึ้น โดยมองเป้าดัชนีที่ 1,500 จุด แนะลงทุนหุ้นกลุ่มสื่อสาร แบงก์ และพลังงาน