บล.เอเซีย พลัส เปิดโผหุ้นน่าทยอยสะสมเข้าพอร์ต คาดหวังผลตอบแทนดีในระยะ 1 ปี กำไรปี 2568 โตเด่น
นายภราดร เตียรณปราโมทย์ รองผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า หลังเหตุการณ์โควิดปี 2563 ถึงปัจจุบัน การลงทุนในตลาดหุ้นไทยยากขึ้น ถูกกดดันจากเศรษฐกิจที่เติบโตช้า โดยปัจจุบันมูลค่าเศรษฐกิจไทยเพิ่งกลับไปเหนือช่วงก่อนเกิคโควิดเพียง 3% เท่านั้น ต่ำกว่าหลาย ๆ ประเทศ
เช่น สหรัฐ 54.1%, จีน 23.7%, ยุโรป 4.7% รวมถึงกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ชะลอตัว สะท้อนได้จากกำไรต่อหุ้น (EPS) ปี 2565 ที่ 80.8 บาท/หุ้น ยังต่ำกว่า EPS ปี 2562 ที่ 88.1 บาท/หุ้น อยู่ถึง -8.2% นอกจากนี้ยังมีประเด็นการเมืองไม่นิ่ง และเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (Fund Flow) ชะลอไหลเข้า
กดดันให้ SET Index ปัจจุบัน 1,452 จุด ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดที่ 1,579.84 จุด ที่สำคัญหากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีก พบว่าการสร้างผลตอบแทนในตลาดหุ้นไทยยากขึ้น สังเกตได้จากในอดีต ปี 2552-2559 (8 ปี) หุ้นทั้งหมดในดัชนี SET และ mai มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกในแต่ละปีเฉลี่ยสูงถึง 62.1% แต่ตั้งแต่ปี 2560-2567 (YTD) (8 ปี) มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกในแต่ละปีเฉลี่ยลดลงเหลือ 36.8%
โดยเฉพาะ 3 ปีหลังสุด 2565, 2566, 2567 มีสัดส่วนจำนวนหุ้นทั้งหมดในดัชนี SET และ mai ที่ให้ผลตอบแทนรายปีเป็นบวกเหลือเพียง 31%, 14%, 26% ตามลำดับ
“ทั้งหมดที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า โอกาสการสร้างผลตอบแทนที่ดีในตลาดหุ้นไทยยากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการลงทุนหรือตัดสินใจซื้อหุ้นในแต่ละครั้ง นักลงทุนจำเป็นต้องพิถีพิถันในการเลือกพิจารณารอบด้าน และรอจังหวะในการซื้อที่เหมาะสมมากขึ้น” นายภราดรกล่าว
นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567-15 พ.ย. 2567 (1 เดือนครึ่ง) แม้เม็ดเงินจากกองทุนวายุภักษ์ 1.5 แสนล้านบาท เข้ามาช่วยพยุงตลาดหุ้นไทยหนุน SET Index ทรง ๆ ตัวที่ 1,442 จุด (-0.18%) และ SET100 บวกเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2,009 จุด (+0.49%) แต่หากพิจารณาผลตอบแทนหุ้นใน SET100 ออกเป็นรายบริษัทพบว่า มีผลตอบแทนเฉลี่ยที่ติดลบแรงถึง -7.4% ต่ำกว่า SET100 Index +0.5%
อีกทั้งยังมีหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียง 21 จาก 100 บริษัทเท่านั้น แสดงให้เห็นการขึ้นของดัชนี SET100 เป็นการถูกผลักดันด้วยการกระจุกตัวอยู่เพียงหุ้นบางกลุ่มเท่านั้น เช่น DELTA ใน 1 เดือนครึ่ง +52.8% (หนุน SET100 ถึง 3.9%)
ส่งผลให้ปัจจุบันมีหุ้นหลายบริษัทย่อตัวลงมาลึกและอยู่ในระดับที่น่าสะสม เพิ่มเติมเข้ามาในพอร์ต สะท้อนได้จากหุ้นรายบริษัทใน SET100 กระจายกันลงลึก จนมีค่า RSI น้อยกว่า 30 (เข้าเขตภาวะขายมากเกินไป) มากถึง 38 บริษัท/100 บริษัท
สรุปคือแม้เห็นดัชนีทรง ๆ ตัว แต่หุ้นรายบริษัทถือว่าลงมาลึกมาก หลังผ่านช่วงรายงานกำไรงบไตรมาส 3/67 ที่ออกมาต่ำคาดราว -17% อยู่ที่ 1.9 แสนล้านบาท แต่น่าจะช่วยจำกัด Downside Risk และน่าจะมีหุ้นหลายบริษัทเข้าสู่เขตน่าสะสมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปกติตลาดหุ้นมักจะไม่ลบติดต่อกัน 2 ปี (ตลอด 25 ปี ช่วงปี 2543-2567) ทำให้หุ้นที่ย่อตัวลงมาในปีนี้ช่วยลด Downside Risk ลงไประดับหนึ่งแล้ว
ตลาดหุ้นไทยมักเคลื่อนไหวตามแนวโน้มกำไร สะท้อนได้จากถ้านำกราฟ SET Index มาเทียบกับ Forward EPS จะพบว่ามีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันเสมอ และหากลองวิเคราะห์ให้ลึกลงไป เฉพาะบริษัทที่ราคาหุ้นพุ่งแรงสุด 5 อันดับแรกของหุ้นใน SET100 ในแต่ละปีพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่กำไรปีนั้นเติบโตแรงเกือบทั้งสิ้น อาทิ
• ปี 2563 หุ้น DELTA ขึ้นแรงสุดใน SET100 ที่ 808% กำไรปีนั้นเติบโต 140%
• ปี 2564 หุ้น RCL ขึ้นแรงสุดใน SET100 ที่ 247% กำไรปีนั้นเติบโต 933%
• ปี 2565 หุ้น SISB ขึ้นแรงสุดใน SET100 ที่ 104% กำไรปีนั้นเติบโต 77%
• ปี 2566 หุ้น RCL ขึ้นแรงสุดใน SET100 ที่ 111% กำไรปีนั้นเติบโต 138%
ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงค้นหากลุ่มหุ้นที่ราคาย่อตัวลงมามาก แต่กำไรมี โอกาสเติบโตเด่นในปี 2568 อาทิ PETRO, CONS, MEDIA, CONMAT, TOURISM, ENERG, PKG, FIN
ส่วนหุ้นเด่น แนะนำหุ้นในกลุ่มดังกล่าวที่ย่อตัวลงมาลึก แต่กำไรปี 2568 มีโอกาสเติบโตโดดเด่น อย่าง CK, MINT, SCC, SCGP, PLANB, GPSC มีรายละเอียดทางพื้นฐานที่น่าสนใจดังนี้
SCC (ราคาเหมาะสม 270 บาท) ราคาหุ้นย่อตัวลงมาต่ำกว่าจุดต่ำสุดช่วงโควิด แม้ทิศทางผลประกอบการระยะสั้นยังไม่สดใส แต่ภาพระยะยาวเริ่มดูมีความหวังจากมาตรการรับมือการเปลี่ยนแปลงของ SCC ที่จะทยอยเกิดขึ้นนับจากนี้ และยังมีแรงหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนครั้งใหญ่เพิ่มเติม พร้อมกับเม็ดเงินจากกองทุน Thailand ESG Fund ทยอยเข้ามาหนุนช่วงท้ายของปี โดย SCC เป็น 1 ใน 34 บริษัท ที่ได้รับการประเมิน SET ESG Ratings AAA
GPSC (ราคาเหมาะสม 54 บาท) เป็นหุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ราคาหุ้นย่อตัวลงตอบรับกำไรงวดไตรมาส 3/67 ที่ลดลง 46.1% QOQ แต่อัพไซด์เริ่มเปิดกว้าง พร้อมกับคาดหวังการเติบโตกำไรในปี 2568 ที่สูงถึง 36%
SCGP (ราคาเหมาะสม 33.5 บาท) แนวโน้มกำไรไตรมาส 4/67 เริ่มฟื้นตัวจากต้นทุนที่ปรับลงและแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ ส่วนปี 2568 แผนงานสำคัญคือการพลิกฟื้น Fajar ให้กลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง
MINT (ราคาเหมาะสม 37 บาท) ราคาหุ้น Laggard กว่า หุ้นโรงแรมในยุโรป ที่ปีนี้บวก 30-60% YTD โทนกำไรงวดไตรมาส 4/67 ฟื้นตัว YOY ทั้งธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ด้านแผน 3 ปีคงเดิม รายได้และกำไรโตเฉลี่ย 8-10% ต่อปี และ 15-20% YOY ต่อปี ล่าสุดมีแผนการจัดตั้งกองรีทประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประเมินช่วยให้การบริหารโครงสร้างเงินทุนมีความคล่องตัวขึ้นในช่วง 2 ปีข้างหน้า
CK (ราคาเหมาะสม 28 บาท) เป็นบริษัทก่อสร้างที่มีความมั่นคงมาก ทั้งในด้านรายได้ที่มี Backlog สูงถึง 2.2 แสนล้านบาท พร้อมโอกาสรับงานเพิ่มเติมอีกจากโครงการลงทุนของ BEM รวมถึงงานประมูลภาครัฐอื่น ๆ ขณะที่บริษัทลูกทั้ง BEM และ CKP ก็มีแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่น
PLANB (ราคาเหมาะสม 10.6 บาท) ทิศทางธุรกิจสื่อนอกบ้านสดใส เตรียมเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นในไตรมาส 4 พร้อมเดินหน้าทำกำไร New High ต่อในปี 2568 จากแผนปรับ Package ขายโฆษณา เพิ่มกำลังการผลิตสื่อและเดินหน้ารุกธุรกิจมวยเวทีราชดำเนิน
ฝ่ายวิจัยค้นหาจุดเข้าซื้อและขายทำกำไรที่เหมาะสม จากการหา Optimization ในกรอบการซื้อขายผ่านตัวชี้วัดทางเทคนิคอย่าง RSI โดยการทดสอบย้อนหลังในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (ต้นเดือน ต.ค. 2563-กลางเดือน พ.ย. 2567) ผลลัพธ์จะได้ช่วงซื้อ (RSI กรอบล่าง) และช่วงขาย (RSI กรอบบน) ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีสุดสำหรับหุ้นตัวนั้น ๆ
ยกตัวอย่าง หากนักลงทุนซื้อและถือหุ้น SCC มา 4 ปี (1,505 วัน ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. 2563 ถึงกลางเดือน พ.ย. 2567) จะขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงราคาสูงถึง 34.7% แต่ถ้าซื้อหุ้นในกรอบ RSI ที่ผ่านการ Optimization คือ ซื้อหุ้น SCC หลังจาก RSI กรอบล่างต่ำ 20 แล้วขายทำกำไรหลัง RSI กรอบบนสูงกว่า 70 จะเกิดการซื้อขาย 3 รอบ ได้ผลตอบแทนสะสมพลิกมาเป็นบวก +22.4% ถือว่าสูงกว่าการซื้อและถือมายาวถึง +60.1%
ผลลัพธ์การหา Optimization ในกรอบ RSI ที่มักจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการ Buy and Hold ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ของ 6 หุ้นเด่นน่าทยอยสะสมคือ
1.SCC ซื้อขายในกรอบ RSI 20-70 มีโอกาสได้ผลตอบแทนสะสม 22.6% (ในการซื้อขาย 3 รอบ เฉลี่ยถือรอบละ 135 วัน ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อรอบ 7.0%) ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว -34.7%
2.GPSC ซื้อขายในกรอบ RSI 25-50 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 47.7% (ในการซื้อขาย 7 รอบ เฉลี่ยถือรอบละ 21 วัน ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อรอบ 5.7%) ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว -25.6%
3.SCGP ซื้อขายในกรอบ RSI 30-50 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 20.1% ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว -30.7%
4.MINT ซื้อขายในกรอบ RSI 30-70 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 59.8% ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว 32.1%
5.CK ซื้อขายในกรอบ RSI 35-75 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 81.1% ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว 14.2%
6.PLANB ซื้อขายในกรอบ RSI 35-75 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 84.3% ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว 31.7%
“สรุปการกำหนดช่วงซื้อ (RSI กรอบล่าง) พร้อมกับช่วงขาย (RSI กรอบบน) ที่เหมาะสมจากการ Optimization น่าจะช่วยเป็นไกด์ไลน์ในการกำหนดแผนการลงทุน หรือช่วยในการจับจังหวะหาจุดซื้อ และจุดขายที่ดีขึ้น สำหรับประกอบการตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมได้ ในหุ้น SCC, GPSC, SCGP, MINT, CK, PLANB ที่ราคาย่อตัวลงมาลึก แต่กำไรปี 2568 มีโอกาสเติบโตโดดเด่นมาก”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1699451
เปิดโผหุ้นน่าทยอยสะสมเข้าพอร์ต ผลตอบแทนดีระยะ 1 ปี กำไรปี’68 โตเด่น
นายภราดร เตียรณปราโมทย์ รองผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า หลังเหตุการณ์โควิดปี 2563 ถึงปัจจุบัน การลงทุนในตลาดหุ้นไทยยากขึ้น ถูกกดดันจากเศรษฐกิจที่เติบโตช้า โดยปัจจุบันมูลค่าเศรษฐกิจไทยเพิ่งกลับไปเหนือช่วงก่อนเกิคโควิดเพียง 3% เท่านั้น ต่ำกว่าหลาย ๆ ประเทศ
เช่น สหรัฐ 54.1%, จีน 23.7%, ยุโรป 4.7% รวมถึงกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ชะลอตัว สะท้อนได้จากกำไรต่อหุ้น (EPS) ปี 2565 ที่ 80.8 บาท/หุ้น ยังต่ำกว่า EPS ปี 2562 ที่ 88.1 บาท/หุ้น อยู่ถึง -8.2% นอกจากนี้ยังมีประเด็นการเมืองไม่นิ่ง และเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ (Fund Flow) ชะลอไหลเข้า
กดดันให้ SET Index ปัจจุบัน 1,452 จุด ยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิดที่ 1,579.84 จุด ที่สำคัญหากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปอีก พบว่าการสร้างผลตอบแทนในตลาดหุ้นไทยยากขึ้น สังเกตได้จากในอดีต ปี 2552-2559 (8 ปี) หุ้นทั้งหมดในดัชนี SET และ mai มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกในแต่ละปีเฉลี่ยสูงถึง 62.1% แต่ตั้งแต่ปี 2560-2567 (YTD) (8 ปี) มีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกในแต่ละปีเฉลี่ยลดลงเหลือ 36.8%
โดยเฉพาะ 3 ปีหลังสุด 2565, 2566, 2567 มีสัดส่วนจำนวนหุ้นทั้งหมดในดัชนี SET และ mai ที่ให้ผลตอบแทนรายปีเป็นบวกเหลือเพียง 31%, 14%, 26% ตามลำดับ
“ทั้งหมดที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า โอกาสการสร้างผลตอบแทนที่ดีในตลาดหุ้นไทยยากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการลงทุนหรือตัดสินใจซื้อหุ้นในแต่ละครั้ง นักลงทุนจำเป็นต้องพิถีพิถันในการเลือกพิจารณารอบด้าน และรอจังหวะในการซื้อที่เหมาะสมมากขึ้น” นายภราดรกล่าว
นับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567-15 พ.ย. 2567 (1 เดือนครึ่ง) แม้เม็ดเงินจากกองทุนวายุภักษ์ 1.5 แสนล้านบาท เข้ามาช่วยพยุงตลาดหุ้นไทยหนุน SET Index ทรง ๆ ตัวที่ 1,442 จุด (-0.18%) และ SET100 บวกเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2,009 จุด (+0.49%) แต่หากพิจารณาผลตอบแทนหุ้นใน SET100 ออกเป็นรายบริษัทพบว่า มีผลตอบแทนเฉลี่ยที่ติดลบแรงถึง -7.4% ต่ำกว่า SET100 Index +0.5%
อีกทั้งยังมีหุ้นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกเพียง 21 จาก 100 บริษัทเท่านั้น แสดงให้เห็นการขึ้นของดัชนี SET100 เป็นการถูกผลักดันด้วยการกระจุกตัวอยู่เพียงหุ้นบางกลุ่มเท่านั้น เช่น DELTA ใน 1 เดือนครึ่ง +52.8% (หนุน SET100 ถึง 3.9%)
ส่งผลให้ปัจจุบันมีหุ้นหลายบริษัทย่อตัวลงมาลึกและอยู่ในระดับที่น่าสะสม เพิ่มเติมเข้ามาในพอร์ต สะท้อนได้จากหุ้นรายบริษัทใน SET100 กระจายกันลงลึก จนมีค่า RSI น้อยกว่า 30 (เข้าเขตภาวะขายมากเกินไป) มากถึง 38 บริษัท/100 บริษัท
สรุปคือแม้เห็นดัชนีทรง ๆ ตัว แต่หุ้นรายบริษัทถือว่าลงมาลึกมาก หลังผ่านช่วงรายงานกำไรงบไตรมาส 3/67 ที่ออกมาต่ำคาดราว -17% อยู่ที่ 1.9 แสนล้านบาท แต่น่าจะช่วยจำกัด Downside Risk และน่าจะมีหุ้นหลายบริษัทเข้าสู่เขตน่าสะสมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปกติตลาดหุ้นมักจะไม่ลบติดต่อกัน 2 ปี (ตลอด 25 ปี ช่วงปี 2543-2567) ทำให้หุ้นที่ย่อตัวลงมาในปีนี้ช่วยลด Downside Risk ลงไประดับหนึ่งแล้ว
ตลาดหุ้นไทยมักเคลื่อนไหวตามแนวโน้มกำไร สะท้อนได้จากถ้านำกราฟ SET Index มาเทียบกับ Forward EPS จะพบว่ามีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันเสมอ และหากลองวิเคราะห์ให้ลึกลงไป เฉพาะบริษัทที่ราคาหุ้นพุ่งแรงสุด 5 อันดับแรกของหุ้นใน SET100 ในแต่ละปีพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่กำไรปีนั้นเติบโตแรงเกือบทั้งสิ้น อาทิ
• ปี 2563 หุ้น DELTA ขึ้นแรงสุดใน SET100 ที่ 808% กำไรปีนั้นเติบโต 140%
• ปี 2564 หุ้น RCL ขึ้นแรงสุดใน SET100 ที่ 247% กำไรปีนั้นเติบโต 933%
• ปี 2565 หุ้น SISB ขึ้นแรงสุดใน SET100 ที่ 104% กำไรปีนั้นเติบโต 77%
• ปี 2566 หุ้น RCL ขึ้นแรงสุดใน SET100 ที่ 111% กำไรปีนั้นเติบโต 138%
ดังนั้นฝ่ายวิจัยจึงค้นหากลุ่มหุ้นที่ราคาย่อตัวลงมามาก แต่กำไรมี โอกาสเติบโตเด่นในปี 2568 อาทิ PETRO, CONS, MEDIA, CONMAT, TOURISM, ENERG, PKG, FIN
ส่วนหุ้นเด่น แนะนำหุ้นในกลุ่มดังกล่าวที่ย่อตัวลงมาลึก แต่กำไรปี 2568 มีโอกาสเติบโตโดดเด่น อย่าง CK, MINT, SCC, SCGP, PLANB, GPSC มีรายละเอียดทางพื้นฐานที่น่าสนใจดังนี้
SCC (ราคาเหมาะสม 270 บาท) ราคาหุ้นย่อตัวลงมาต่ำกว่าจุดต่ำสุดช่วงโควิด แม้ทิศทางผลประกอบการระยะสั้นยังไม่สดใส แต่ภาพระยะยาวเริ่มดูมีความหวังจากมาตรการรับมือการเปลี่ยนแปลงของ SCC ที่จะทยอยเกิดขึ้นนับจากนี้ และยังมีแรงหนุนจากการกระตุ้นเศรษฐกิจจีนครั้งใหญ่เพิ่มเติม พร้อมกับเม็ดเงินจากกองทุน Thailand ESG Fund ทยอยเข้ามาหนุนช่วงท้ายของปี โดย SCC เป็น 1 ใน 34 บริษัท ที่ได้รับการประเมิน SET ESG Ratings AAA
GPSC (ราคาเหมาะสม 54 บาท) เป็นหุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ราคาหุ้นย่อตัวลงตอบรับกำไรงวดไตรมาส 3/67 ที่ลดลง 46.1% QOQ แต่อัพไซด์เริ่มเปิดกว้าง พร้อมกับคาดหวังการเติบโตกำไรในปี 2568 ที่สูงถึง 36%
SCGP (ราคาเหมาะสม 33.5 บาท) แนวโน้มกำไรไตรมาส 4/67 เริ่มฟื้นตัวจากต้นทุนที่ปรับลงและแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ ส่วนปี 2568 แผนงานสำคัญคือการพลิกฟื้น Fajar ให้กลับมาทำกำไรได้อีกครั้ง
MINT (ราคาเหมาะสม 37 บาท) ราคาหุ้น Laggard กว่า หุ้นโรงแรมในยุโรป ที่ปีนี้บวก 30-60% YTD โทนกำไรงวดไตรมาส 4/67 ฟื้นตัว YOY ทั้งธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ด้านแผน 3 ปีคงเดิม รายได้และกำไรโตเฉลี่ย 8-10% ต่อปี และ 15-20% YOY ต่อปี ล่าสุดมีแผนการจัดตั้งกองรีทประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประเมินช่วยให้การบริหารโครงสร้างเงินทุนมีความคล่องตัวขึ้นในช่วง 2 ปีข้างหน้า
CK (ราคาเหมาะสม 28 บาท) เป็นบริษัทก่อสร้างที่มีความมั่นคงมาก ทั้งในด้านรายได้ที่มี Backlog สูงถึง 2.2 แสนล้านบาท พร้อมโอกาสรับงานเพิ่มเติมอีกจากโครงการลงทุนของ BEM รวมถึงงานประมูลภาครัฐอื่น ๆ ขณะที่บริษัทลูกทั้ง BEM และ CKP ก็มีแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่น
PLANB (ราคาเหมาะสม 10.6 บาท) ทิศทางธุรกิจสื่อนอกบ้านสดใส เตรียมเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นในไตรมาส 4 พร้อมเดินหน้าทำกำไร New High ต่อในปี 2568 จากแผนปรับ Package ขายโฆษณา เพิ่มกำลังการผลิตสื่อและเดินหน้ารุกธุรกิจมวยเวทีราชดำเนิน
ฝ่ายวิจัยค้นหาจุดเข้าซื้อและขายทำกำไรที่เหมาะสม จากการหา Optimization ในกรอบการซื้อขายผ่านตัวชี้วัดทางเทคนิคอย่าง RSI โดยการทดสอบย้อนหลังในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา (ต้นเดือน ต.ค. 2563-กลางเดือน พ.ย. 2567) ผลลัพธ์จะได้ช่วงซื้อ (RSI กรอบล่าง) และช่วงขาย (RSI กรอบบน) ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีสุดสำหรับหุ้นตัวนั้น ๆ
ยกตัวอย่าง หากนักลงทุนซื้อและถือหุ้น SCC มา 4 ปี (1,505 วัน ตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. 2563 ถึงกลางเดือน พ.ย. 2567) จะขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงราคาสูงถึง 34.7% แต่ถ้าซื้อหุ้นในกรอบ RSI ที่ผ่านการ Optimization คือ ซื้อหุ้น SCC หลังจาก RSI กรอบล่างต่ำ 20 แล้วขายทำกำไรหลัง RSI กรอบบนสูงกว่า 70 จะเกิดการซื้อขาย 3 รอบ ได้ผลตอบแทนสะสมพลิกมาเป็นบวก +22.4% ถือว่าสูงกว่าการซื้อและถือมายาวถึง +60.1%
ผลลัพธ์การหา Optimization ในกรอบ RSI ที่มักจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการ Buy and Hold ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ของ 6 หุ้นเด่นน่าทยอยสะสมคือ
1.SCC ซื้อขายในกรอบ RSI 20-70 มีโอกาสได้ผลตอบแทนสะสม 22.6% (ในการซื้อขาย 3 รอบ เฉลี่ยถือรอบละ 135 วัน ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อรอบ 7.0%) ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว -34.7%
2.GPSC ซื้อขายในกรอบ RSI 25-50 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 47.7% (ในการซื้อขาย 7 รอบ เฉลี่ยถือรอบละ 21 วัน ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อรอบ 5.7%) ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว -25.6%
3.SCGP ซื้อขายในกรอบ RSI 30-50 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 20.1% ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว -30.7%
4.MINT ซื้อขายในกรอบ RSI 30-70 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 59.8% ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว 32.1%
5.CK ซื้อขายในกรอบ RSI 35-75 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 81.1% ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว 14.2%
6.PLANB ซื้อขายในกรอบ RSI 35-75 มีโอกาสได้ผลตอบแทน 84.3% ขณะที่ซื้อแล้วถือยาว 31.7%
“สรุปการกำหนดช่วงซื้อ (RSI กรอบล่าง) พร้อมกับช่วงขาย (RSI กรอบบน) ที่เหมาะสมจากการ Optimization น่าจะช่วยเป็นไกด์ไลน์ในการกำหนดแผนการลงทุน หรือช่วยในการจับจังหวะหาจุดซื้อ และจุดขายที่ดีขึ้น สำหรับประกอบการตัดสินใจลงทุนเพิ่มเติมได้ ในหุ้น SCC, GPSC, SCGP, MINT, CK, PLANB ที่ราคาย่อตัวลงมาลึก แต่กำไรปี 2568 มีโอกาสเติบโตโดดเด่นมาก”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1699451