“ชินวรณ์” ปลุก โรงเรียน-ชุมชน ลุกต้าน รัฐ สั่งยุบ ร.ร.ขนาดเล็ก ซัดขัดรธน. ไม่ตอบโจทย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ไร้มาตรการรองรับ หวั่นสร้างปัญหาเพิ่ม วอนเปิดทางชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ
วันนี้ (9 พ.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรมว.ศึกษาธิการ แถลงถึงกรณีที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ เตรียมสั่งยุบโรงเรียนขนาดเล็ก คุณภาพต่ำ มีนักเรียนไม่ถึง 60 คน ทั่วประเทศ ว่า ตนไม่เห็นด้วย เพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ที่ระบุให้รัฐจัดการศึกษาให้ทั่วถึง โดยนักเรียนที่อยู่ในสภาพลำบาก รัฐต้องจัดให้มีความทัดเทียมกัน หากยุบโรงเรียนขนาดเล็กก็ยังไม่สามารถตอบคำถามให้ชัดเจนได้ว่า จะจัดให้มีการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพได้อย่างไร ในสมัยที่ตนเป็น รมว.ศึกษาธิการ ได้วางแนวทางการสร้างโรงเรียนดีประจำตำบล เพื่อให้โรงเรียนในชนบทมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับโรงเรียนในเมือง เพื่อรองรับการยุบโรงเรียนในอนาคต แม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก แต่อยู่ในชุมชนที่ห่างไกล ก็ควรมีสิทธิชุมชนในการที่ดูแลเรื่องการศึกษา เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียโอกาสของนักเรียน อีกทั้งจะมีปัญหาเรื่องเด็กออกจากการเรียนกลางคัน และการห่างไกลจากผู้ปกครอง
นายชินวรณ์ กล่าวอีกว่า ดังนั้นตนจึงเห็นว่า 1.รัฐควรสร้างโรงเรียนดีประจำตำบล จะเป็นการสร้างโอกาสที่ดีและเป็นตัวเลือกของนักเรียน ซึ่งจะดีกว่าการใช้มาตรการเชิงนโยบายอย่างเดียว 2.ต้องส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการเพิ่มงบประมาณรายหัวให้ 2 เท่า ซึ่งขณะนี้โรงเรียนขนาดเล็กหลายโรงเรียนมีการพัฒนาในระดับที่น่าพอใจ และถ้ามีการยุบโรงเรียนจริง รัฐบาลก็มีทางเลือกหลายทาง เช่น การไปรวมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ หรือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือชุมชนมีส่วนร่วมในการรับส่งนักเรียน
“นโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้ว มีแนวทางการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก แต่แตกต่างจากรัฐบาลชุดนี้คือ รัฐบาลชุดนี้มองคุณภาพของนักเรียนที่โรงเรียนขนาดเล็กอย่างเดียว แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ มองว่า คุณภาพนักเรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพครู โรงเรียน และการบริหารจัดการ ในการให้ชุมชนมีส่วนร่วม ฉะนั้นการยุบโรงเรียนขนาดเล็กลงจึงไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพอย่างแท้จริง รัฐควรมีทางเลือกหลาย ๆ ทาง การใช้แนวทางยุบโรงเรียนที่มีเด็กต่ำกว่า 60 คน จะมีผลกระทบตามมา 4 เรื่อง คือ 1.ปัญหาที่กระทบกับนักเรียน เช่น เรื่องการเดินทาง 2.ปัญหาของผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3.ปัญหาสังคมที่เด็กต้องอยู่ไกลบ้าน และ 4.ควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการมากขึ้น ผมอยากเรียกร้องไปยังโรงเรียนที่มีความพร้อมและชุมชนว่า ถ้าเห็นว่า เราควรรักษาสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็ควรออกมาเรียกร้อง โดยผมพร้อมขับเคลื่อนในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้รัฐบาลมีมาตรการรองรับที่ชัดเจนก่อนยุบโรงเรียน ”นายชินวรณ์ กล่าว
ถ้าเป็นคนอื่นพูด ผมก็ยังพอเข้าใจ แต่นี้ ชินวรณ์พูดเอง ไม่หนาจริงทำไม่ได้นะครับอย่างนี้
ไม่น่าเชื่อว่าเป็นเหมือนกันทั้งพรรคจริงๆ
“ชินวรณ์” ปลุก โรงเรียน-ชุมชน ลุกต้าน รัฐ สั่งยุบ ร.ร.ขนาดเล็ก ซัดขัดรธน. ไม่ตอบโจทย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ไร้มาตรการรองรับ หวั่นสร้างปัญหาเพิ่ม วอนเปิดทางชุมชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการ
วันนี้ (9 พ.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรมว.ศึกษาธิการ แถลงถึงกรณีที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ เตรียมสั่งยุบโรงเรียนขนาดเล็ก คุณภาพต่ำ มีนักเรียนไม่ถึง 60 คน ทั่วประเทศ ว่า ตนไม่เห็นด้วย เพราะขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ที่ระบุให้รัฐจัดการศึกษาให้ทั่วถึง โดยนักเรียนที่อยู่ในสภาพลำบาก รัฐต้องจัดให้มีความทัดเทียมกัน หากยุบโรงเรียนขนาดเล็กก็ยังไม่สามารถตอบคำถามให้ชัดเจนได้ว่า จะจัดให้มีการศึกษาอย่างทั่วถึง และมีคุณภาพได้อย่างไร ในสมัยที่ตนเป็น รมว.ศึกษาธิการ ได้วางแนวทางการสร้างโรงเรียนดีประจำตำบล เพื่อให้โรงเรียนในชนบทมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับโรงเรียนในเมือง เพื่อรองรับการยุบโรงเรียนในอนาคต แม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก แต่อยู่ในชุมชนที่ห่างไกล ก็ควรมีสิทธิชุมชนในการที่ดูแลเรื่องการศึกษา เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียโอกาสของนักเรียน อีกทั้งจะมีปัญหาเรื่องเด็กออกจากการเรียนกลางคัน และการห่างไกลจากผู้ปกครอง
นายชินวรณ์ กล่าวอีกว่า ดังนั้นตนจึงเห็นว่า 1.รัฐควรสร้างโรงเรียนดีประจำตำบล จะเป็นการสร้างโอกาสที่ดีและเป็นตัวเลือกของนักเรียน ซึ่งจะดีกว่าการใช้มาตรการเชิงนโยบายอย่างเดียว 2.ต้องส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีการเพิ่มงบประมาณรายหัวให้ 2 เท่า ซึ่งขณะนี้โรงเรียนขนาดเล็กหลายโรงเรียนมีการพัฒนาในระดับที่น่าพอใจ และถ้ามีการยุบโรงเรียนจริง รัฐบาลก็มีทางเลือกหลายทาง เช่น การไปรวมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ หรือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือชุมชนมีส่วนร่วมในการรับส่งนักเรียน
“นโยบายของรัฐบาลชุดที่แล้ว มีแนวทางการยุบโรงเรียนขนาดเล็ก แต่แตกต่างจากรัฐบาลชุดนี้คือ รัฐบาลชุดนี้มองคุณภาพของนักเรียนที่โรงเรียนขนาดเล็กอย่างเดียว แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ มองว่า คุณภาพนักเรียนขึ้นอยู่กับคุณภาพครู โรงเรียน และการบริหารจัดการ ในการให้ชุมชนมีส่วนร่วม ฉะนั้นการยุบโรงเรียนขนาดเล็กลงจึงไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพอย่างแท้จริง รัฐควรมีทางเลือกหลาย ๆ ทาง การใช้แนวทางยุบโรงเรียนที่มีเด็กต่ำกว่า 60 คน จะมีผลกระทบตามมา 4 เรื่อง คือ 1.ปัญหาที่กระทบกับนักเรียน เช่น เรื่องการเดินทาง 2.ปัญหาของผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3.ปัญหาสังคมที่เด็กต้องอยู่ไกลบ้าน และ 4.ควรให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการมากขึ้น ผมอยากเรียกร้องไปยังโรงเรียนที่มีความพร้อมและชุมชนว่า ถ้าเห็นว่า เราควรรักษาสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็ควรออกมาเรียกร้อง โดยผมพร้อมขับเคลื่อนในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้รัฐบาลมีมาตรการรองรับที่ชัดเจนก่อนยุบโรงเรียน ”นายชินวรณ์ กล่าว
ถ้าเป็นคนอื่นพูด ผมก็ยังพอเข้าใจ แต่นี้ ชินวรณ์พูดเอง ไม่หนาจริงทำไม่ได้นะครับอย่างนี้