ข่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) ว่า ที่ประชุมพิจารณายุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาของคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา มีข้อเสนอให้มีการ ยุบ เลิก หรือรวมกลุ่มสถานศึกษา (Cluster) ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา โดยกำหนดจำนวนและที่ตั้งสถานศึกษา (Education Mapping ) และจัดทำแผนขั้นตอนการบริหารจัดการด้านการเงินและบุคลากร เพื่อรองรับการยุบ รวม เลิก หรือรวมกลุ่มสถานศึกษาที่หมดความจำเป็น หรือมีต้นทุนในการจัดการศึกษาสูง และด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการยุบ เลิก รวม ก็คือ โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 7,000 แห่ง
ทั้งนี้ การยุบ เลิก รวมโรงเรียนนั้น มีเป้าหมายเพื่อให้เหลือโรงเรียนในจำนวนที่เหมาะสม และเหลืองบประมาณจัดสรรให้แต่ละโรงเรียนได้มากขึ้น เพื่อจะได้นำงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลน ซึ่งจะส่งผลลดความแตกต่างในคุณภาพและมาตรฐานให้น้อยลง ซึ่งบางโรงเรียนที่ควรยุบหรือเลิกปัจจุบันไม่มีเด็กนักเรียนมาเรียนแล้ว เพราะเด็กเดินทางไปเรียนในตัวเมืองแทน หรือบางโรงเรียนในชุมชนที่มีประชากรในวัยเรียนจำนวนน้อยก็ไม่คุ้มค่าที่จะเปิดดำเนินการต่อ และควรยุบ เลิก รวมกับโรงเรียนอื่น ๆ
http://www.go6tv.com/2013/05/7000.html
ย้อนข่าวเก่า! รัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยรัฐมนตรีชินวรณ์ พรรคประชาธิปัตย์ "เห็นด้วย ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก 7,000 แห่ง"
ข่าวเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553 สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (กกศ.) ว่า ที่ประชุมพิจารณายุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการเงินเพื่อการศึกษาของคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา มีข้อเสนอให้มีการ ยุบ เลิก หรือรวมกลุ่มสถานศึกษา (Cluster) ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา โดยกำหนดจำนวนและที่ตั้งสถานศึกษา (Education Mapping ) และจัดทำแผนขั้นตอนการบริหารจัดการด้านการเงินและบุคลากร เพื่อรองรับการยุบ รวม เลิก หรือรวมกลุ่มสถานศึกษาที่หมดความจำเป็น หรือมีต้นทุนในการจัดการศึกษาสูง และด้อยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการยุบ เลิก รวม ก็คือ โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 7,000 แห่ง
ทั้งนี้ การยุบ เลิก รวมโรงเรียนนั้น มีเป้าหมายเพื่อให้เหลือโรงเรียนในจำนวนที่เหมาะสม และเหลืองบประมาณจัดสรรให้แต่ละโรงเรียนได้มากขึ้น เพื่อจะได้นำงบประมาณเพิ่มเติมให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลน ซึ่งจะส่งผลลดความแตกต่างในคุณภาพและมาตรฐานให้น้อยลง ซึ่งบางโรงเรียนที่ควรยุบหรือเลิกปัจจุบันไม่มีเด็กนักเรียนมาเรียนแล้ว เพราะเด็กเดินทางไปเรียนในตัวเมืองแทน หรือบางโรงเรียนในชุมชนที่มีประชากรในวัยเรียนจำนวนน้อยก็ไม่คุ้มค่าที่จะเปิดดำเนินการต่อ และควรยุบ เลิก รวมกับโรงเรียนอื่น ๆ
http://www.go6tv.com/2013/05/7000.html