โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ในสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้เกี่ยวกับการกินอาหารมื้อเดียวว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายตามพระไตรปิฎกเล่ม 12 ข้อ 265 "กกจูปมสูตร" ดังนี้
"เราฉันอาหาร ณ ที่แห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหารหนเดียวอยู่รู้สึกว่า 1. มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุข
ดูก่อนถึงพวกเธอทั้งหลายก็จงฉันหนเดียวเถิด แม้พวกเธอก็จะรู้สึกว่า 1. มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากกายน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุข"
การอดอาหารของพระพุทธเจ้าตามพระไตรปิฎกนั้นหมายถึง การรับประทานอาหารมื้อเดียวและหยุดพักการกินติดต่อกันหลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ชั่วโมง แล้วจึงกลับมารับประทานอาหารใหม่ ทำเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน โดยเฉลี่ยก็น่าจะกินอาหารที่มีจำนวนแคลอรี่น้อยกว่าคนปกติที่รับประทานอาหาร 3 มื้อประมาณ 66%
ความจริงแล้วมนุษย์มีความจำเป็นต้องมีการหยุดพักการกินอาหาร เพื่อให้ร่างกายพักจากการใช้พลังงานอันมหาศาลในการย่อยอาหาร ต้องการเวลาพักเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือเจริญเติบโต ตลอดจนต้องการเวลาเพื่อขจัดสารพิษหรือฟื้นฟูภูมิต้านทานของตัวเอง และช่วงเวลาการพักที่ดีที่สุดก็คือช่วงเวลาที่เรานอนหลับ
สำหรับคนที่รับประทานอาหาร 3 มื้อ คือ มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น มักจะมีการพักการกินหรืออดอาหารตามธรรมชาติ (fasting) ในช่วงเวลานอนหลับประมาณ 12 ชั่วโมง และเราจะหยุด (break) การอดอาหารเมื่อถึงมื้อเช้า อาหารมื้อเช้าจึงเป็นมื้อแรกที่หยุดการอดอาหาร ภาษาอังกฤษจึงใช้คำว่า "Breakfast" มาจากคำว่า Break (หยุด) + fast (อดอาหาร) นั่นเอง
ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมรับประทานอาหารดึกๆ นอนดึก และต้องตื่นเช้าเป็นประจำ ร่างกายจะทรุดโทรมเร็ว และเป็นโรคมาก เพราะร่างกายมีโอกาสฟื้นฟูร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้น้อย เพราะมัวแต่ใช้พลังงานในการย่อยอาหารอย่างต่อเนื่องยาวนาน
คนที่ป่วยจำนวนไม่น้อยจึงมักจะไม่ค่อยอยากกินอาหาร เช่น เป็นไข้หวัดแล้วปากขม หรือ รู้สึกไม่หิว เพราะร่างกายมีกลไกที่ต้องการหยุดพักการย่อยเพื่อมารักษาเยียวยาตัวเอง แต่เรากลับถูกสอนให้ทำตรงกันข้ามคือให้รับประทานอาหารไปเยอะๆมากขึ้นเพื่อจะได้มีพลังงานไปสู้กับโรคร้าย
เช่นเดียวกับคนที่รับประทานอาหารมากเกินไปก็จะง่วงเร็วมาก เพราะร่างกายต้องการให้ร่างกายหยุดพักการใช้พลังงานในการทำอย่างอื่น เพราะร่างกายมีภาระอันหนักหน่วงใช้พลังงานในการย่อยอาหารในเวลานั้น
ในหลักสูตรล้างพิษตับของชาวอโศก หรือ สูตรยา 9 เม็ดของหมอเขียว ต่างก็มีขบวนการในการล้างพิษออกจากร่างกายด้วยการอดอาหารหลายวัน และดื่มได้เฉพาะเครื่องดื่มผักผลไม้ที่ไร้กากอาหารเท่านั้น เพราะต่างพิสูจน์แล้วว่าการอดอาหารให้ผลดีต่อร่างกายหลายประการ
มีศัพท์คำหนึ่งที่จำเป็นต้องกล่าวถึงควบคู่ไปกับการอดอาหาร นั่นคือ เมตาบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งรวมถึงกระบวนการสังเคราะห์พลังงานที่เรารับประทานเข้าไป หรือสลายโมเลกุลจากกระบวนการสังเคราะห์ที่เก็บสำรองให้เป็นโมเลกุลเล็กเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที
มีงานวิจัยที่อ้างอิงว่า เมตาบอลิซึม (Metabolism) ของมนุษย์เรานั้นจะสูงที่สุดในมื้อเช้า ประกอบกับคนเราได้อดอาหารต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายชั่วโมงจึงควรกินอาหารมื้อเช้าให้มากที่สุด เพื่อรองรับการที่เมตาบอลิซึมของเราที่สูงขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้ว เมตาบอลิซึมของเราจะสูงเมื่อไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งเป็นพลังงานสำรองในตับเหลือน้อย ดังนั้นในระหว่างที่อดอาหารเมื่อปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดลดลงหรือร่างกายอดอาหาร หากถึงขั้นสารอาหารตับจะเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคสเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายต่อไป
ดังนั้นหากเรางดมื้อเช้า เมตาบอลิซึม ก็จะสูงมากขึ้นไปอีกในมื้อกลางวันแทน !!!
ความจริงเทคนิคเริ่มต้นการอดอาหารอย่างง่ายสำหรับชีวิตประจำวันคือ รับประทานอาหารมื้อเช้าให้สายหน่อยประมาณ 10.00 น. และรับประทานอาหารมื้อเย็นให้เสร็จก่อน 18.00 น. เพียงเท่านี้เราก็อาจจะได้ช่วงเวลาการอดอาหารในช่วงตอนเย็นถึงตอนสายวันรุ่งขึ้นได้ถึงประมาณ 16 ชั่วโมงต่อเนื่องกันแล้ว
แต่การอดอาหารในต่างประเทศที่นิยมกันต่อมาก็คือ การงดอาหารมื้อเย็นวันนี้ และมื้อเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วมารับประทานอาหารในตอนกลางวันเราก็จะได้การอดอาหารได้ยาวถึง 23 ชั่วโมงติดต่อกัน และหากไม่สามารถทำได้ทุกวัน ก็สามารถเริ่มต้นด้วยการอดอาหารแบบนี้ 2 วันต่อสัปดาห์ที่เว้นห่างกัน เช่น วันอังคารกับวันศุกร์ หรือ วันจันทร์กับวันพฤหัสบดี ฯลฯ เราก็จะได้การอดอาหารเพื่อฟื้นฟูร่างกายแล้ว
แต่ถ้าทำได้มากกว่านั้นก็คือการอดที่เรียกว่า การอดวันเว้นวัน หรือที่เรียกว่า (Alternate Day Fasting) คือกินอาหาร 1 วัน หยุดกิน 1 วัน คือมื้อเย็นเป็นมื้อสุดท้ายก่อน 20.00 น. แล้วหยุดกินไปอีก 1 วัน และเริ่มตอนเช้าอีกวันในเวลา 8.00 น. ผลคือเราจะอดอาหารต่อเนื่องนับเวลาช่วงหลับด้วยรวมถึง 36 ชั่วโมงต่อเนื่องกัน
การอดอาหารอย่างถูกต้องมีผลคือทำให้ เมตาบอลิซึม หรือการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานดีขึ้น ทำให้นำไขมันส่วนเกินที่สะสมในร่างกายนำมาใช้ให้มากขึ้น ลดน้ำตาลในกระแสเลือด และเป็นการเพิ่มฮอร์โมนในการเจริญเติบโต อีกทั้งร่างกายจะสร้างสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ รวมถึงร่างกายจะนำเซลล์โปรตีนที่เสื่อมหรือเสียหายนำมาใช้ ตลอดจนร่างกายจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้
แต่การอดอาหารของคนปกติที่ไม่แนะนำคือการอดอาหารเกิน 72 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน เพราะเมื่อร่างกายเผาผลาญส่วนที่เกินไปแล้ว ร่างกายจะเริ่มปรับสภาพให้การเผาผลาญในร่างกายน้อยลงจนเริ่มรู้สึกไม่หิว ก็จะถึงขั้นเริ่มขาดสารอาหารและจะเริ่มเอาโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้แทน สิ่งที่น่าเป็นห่วงของคนที่อดอาหารเกิน 72 ชั่วโมง คือหากการเผาผลาญอยู่ในระดับต่ำที่ร่างกายปรับสภาพนั้นยังคงอยู่อย่างต่อเนื่องเมื่อพ้นจากการอดอาหารแล้ว คนๆนั้นกลับไปรับประทานอาหารในปริมาณเดิมที่เคยชิน เมื่อการเผาผลาญลดลงก็อาจจะส่งผลทำให้กลับกลายมาเป็นอ้วนกว่าเดิม (Yoyo Effect) หรือมีไขมันในเส้นเลือดมากกว่าเดิมได้
นอกจากการอดอาหารแล้ว หมอเจคอบ วาทักกันเชรี ที่มีโรงพยาบาลที่รักษาแนวทางธรรมชาติถึง 4 แห่งในอินเดีย ได้ใช้การลดหรืออดอาหารในรักษาหลายโรคในหลายรูปแบบ ซึ่งคุณหมอเจคอบเคยบรรยายเอาไว้ในประเทศไทยดังต่อไปนี้
โรคภูมิแพ้ หอบหืด ให้มื้อเช้าและเที่ยงรับประทานอาหารมังสวิรัติ มื้อเย็นให้รับประทานผลไม้อย่างเดียวให้เสร็จก่อน 18.00 น. รับประทานอย่างนี้ 1-2 สัปดาห์
ถ้ามีสุขภาพเจ็บป่วยหนักให้รับประทานผลไม้อย่างเดียว 2 สัปดาห์ ผลไม้สด น้ำผลไม้ หรือ น้ำเปล่า เท่านั้น
โรคเรื้อรัง เช่น เนื้องอก มะเร็ง กระเพาะอักเสบ ให้รับประทานผลไม้และผักสด 2- 3 เดือน โดยเฉพาะโรคมะเร็งให้อดอาหารกินน้ำเปล่าอย่างเดียว 20 วัน ผลจะดีขึ้น
โรคเบาหวาน 1- 2 สัปดาห์แรกให้ทานได้แต่ผักสดอย่างเดียว น้ำตาลในเลือดจะลดเหลือ 100 mg/dL สัปดาห์ถัดไปให้รับประทานผักสด 2 มื้อ ผลไม้รสเปรี้ยว 1 มื้อ ป็นเวลาอีก 2 สัปดาห์ จากนั้นให้ทานผลไม้อย่างเดียวอีก 41 วัน โดยไม่ต้องใช้ยาเลย
สตรีปวดประจำเดือน รวมถึงเนื้องอก ซี้ด ในมดลูกหรือเต้านม วันแรกของรอบเดือนให้ดื่มน้ำผลไม้สด หรือน้ำมะพร้าวอ่อนเท่านั้น โดยไม่รับประทานยาอย่างอื่นเลย ส่วนวันที่ 2,3,4 ให้กินแต่ผลไม้สด ให้ทำอย่างนี้ทุกครั้งเมื่อรอบเดือนมา จะทำให้อาการดีขึ้น
ผมยังไม่แน่ใจว่าการักษาตามที่คุณหมอเจคอบ วาทักกันเชรี ได้บรรยายไว้จะสามารถรักษาโรคได้จริงทั้งหมดตามที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ แต่ก็เป็นทางเลือกให้คนได้ตัดสินใจข้อเสนอหนึ่งในแพทย์ทางเลือกที่มีอยู่ในเวลานี้
แต่ที่ต้องการหยิบยกแนวทางธรรมชาติบำบัดนั้น ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าการอดอาหารเป็นกลไกที่ร่างกายออกแบบมาเพื่อเยียวยารักษาโรคของตัวเราเองได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นที่นำเสนอมาสองตอนก่อนหน้านี้ จะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมหลักสูตรล้างพิษตับ หรือหลักสูตรในด้านสุขภาพนั้น จึงถือเอาเรื่องการอดอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000050362
---------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนตัว ผมคิดว่าเป็นไปได้ และเป็นอีกวิธีที่ร่างกายจะได้นำไขมันส่วนเกินออกมาใช้
แต่สงสัยว่า การอดอาหาร จะทำให้เป็นโรคกระเพราะ หรือโรคอื่นๆตามมาหรือไม่ เพราะไม่มีข้อมูลใส่ลงมาในข่าวด้วย
เพื่อนๆ อ่านแล้ว คิดว่า มีความเป็นไปได้ และ ตรงตามหลักวิทยาศาสตร์หรือไม่ครับ
คิดยังไงกับ การอดอาหารแล้วทำให้สุขภาพดี ต้านโรค บ้างครับ
ในสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้เกี่ยวกับการกินอาหารมื้อเดียวว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายตามพระไตรปิฎกเล่ม 12 ข้อ 265 "กกจูปมสูตร" ดังนี้
"เราฉันอาหาร ณ ที่แห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหารหนเดียวอยู่รู้สึกว่า 1. มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุข
ดูก่อนถึงพวกเธอทั้งหลายก็จงฉันหนเดียวเถิด แม้พวกเธอก็จะรู้สึกว่า 1. มีความเจ็บป่วยน้อย 2. มีความลำบากกายน้อย 3. มีความเบากาย 4. มีกำลัง 5. อยู่อย่างผาสุข"
การอดอาหารของพระพุทธเจ้าตามพระไตรปิฎกนั้นหมายถึง การรับประทานอาหารมื้อเดียวและหยุดพักการกินติดต่อกันหลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ชั่วโมง แล้วจึงกลับมารับประทานอาหารใหม่ ทำเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน โดยเฉลี่ยก็น่าจะกินอาหารที่มีจำนวนแคลอรี่น้อยกว่าคนปกติที่รับประทานอาหาร 3 มื้อประมาณ 66%
ความจริงแล้วมนุษย์มีความจำเป็นต้องมีการหยุดพักการกินอาหาร เพื่อให้ร่างกายพักจากการใช้พลังงานอันมหาศาลในการย่อยอาหาร ต้องการเวลาพักเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหรือเจริญเติบโต ตลอดจนต้องการเวลาเพื่อขจัดสารพิษหรือฟื้นฟูภูมิต้านทานของตัวเอง และช่วงเวลาการพักที่ดีที่สุดก็คือช่วงเวลาที่เรานอนหลับ
สำหรับคนที่รับประทานอาหาร 3 มื้อ คือ มื้อเช้า มื้อกลางวัน และมื้อเย็น มักจะมีการพักการกินหรืออดอาหารตามธรรมชาติ (fasting) ในช่วงเวลานอนหลับประมาณ 12 ชั่วโมง และเราจะหยุด (break) การอดอาหารเมื่อถึงมื้อเช้า อาหารมื้อเช้าจึงเป็นมื้อแรกที่หยุดการอดอาหาร ภาษาอังกฤษจึงใช้คำว่า "Breakfast" มาจากคำว่า Break (หยุด) + fast (อดอาหาร) นั่นเอง
ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมรับประทานอาหารดึกๆ นอนดึก และต้องตื่นเช้าเป็นประจำ ร่างกายจะทรุดโทรมเร็ว และเป็นโรคมาก เพราะร่างกายมีโอกาสฟื้นฟูร่างกายและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้น้อย เพราะมัวแต่ใช้พลังงานในการย่อยอาหารอย่างต่อเนื่องยาวนาน
คนที่ป่วยจำนวนไม่น้อยจึงมักจะไม่ค่อยอยากกินอาหาร เช่น เป็นไข้หวัดแล้วปากขม หรือ รู้สึกไม่หิว เพราะร่างกายมีกลไกที่ต้องการหยุดพักการย่อยเพื่อมารักษาเยียวยาตัวเอง แต่เรากลับถูกสอนให้ทำตรงกันข้ามคือให้รับประทานอาหารไปเยอะๆมากขึ้นเพื่อจะได้มีพลังงานไปสู้กับโรคร้าย
เช่นเดียวกับคนที่รับประทานอาหารมากเกินไปก็จะง่วงเร็วมาก เพราะร่างกายต้องการให้ร่างกายหยุดพักการใช้พลังงานในการทำอย่างอื่น เพราะร่างกายมีภาระอันหนักหน่วงใช้พลังงานในการย่อยอาหารในเวลานั้น
ในหลักสูตรล้างพิษตับของชาวอโศก หรือ สูตรยา 9 เม็ดของหมอเขียว ต่างก็มีขบวนการในการล้างพิษออกจากร่างกายด้วยการอดอาหารหลายวัน และดื่มได้เฉพาะเครื่องดื่มผักผลไม้ที่ไร้กากอาหารเท่านั้น เพราะต่างพิสูจน์แล้วว่าการอดอาหารให้ผลดีต่อร่างกายหลายประการ
มีศัพท์คำหนึ่งที่จำเป็นต้องกล่าวถึงควบคู่ไปกับการอดอาหาร นั่นคือ เมตาบอลิซึม (Metabolism) ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ ซึ่งรวมถึงกระบวนการสังเคราะห์พลังงานที่เรารับประทานเข้าไป หรือสลายโมเลกุลจากกระบวนการสังเคราะห์ที่เก็บสำรองให้เป็นโมเลกุลเล็กเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานได้ทันที
มีงานวิจัยที่อ้างอิงว่า เมตาบอลิซึม (Metabolism) ของมนุษย์เรานั้นจะสูงที่สุดในมื้อเช้า ประกอบกับคนเราได้อดอาหารต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายชั่วโมงจึงควรกินอาหารมื้อเช้าให้มากที่สุด เพื่อรองรับการที่เมตาบอลิซึมของเราที่สูงขึ้น แต่ความเป็นจริงแล้ว เมตาบอลิซึมของเราจะสูงเมื่อไกลโคเจน (Glycogen) ซึ่งเป็นพลังงานสำรองในตับเหลือน้อย ดังนั้นในระหว่างที่อดอาหารเมื่อปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือดลดลงหรือร่างกายอดอาหาร หากถึงขั้นสารอาหารตับจะเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคสเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายต่อไป
ดังนั้นหากเรางดมื้อเช้า เมตาบอลิซึม ก็จะสูงมากขึ้นไปอีกในมื้อกลางวันแทน !!!
ความจริงเทคนิคเริ่มต้นการอดอาหารอย่างง่ายสำหรับชีวิตประจำวันคือ รับประทานอาหารมื้อเช้าให้สายหน่อยประมาณ 10.00 น. และรับประทานอาหารมื้อเย็นให้เสร็จก่อน 18.00 น. เพียงเท่านี้เราก็อาจจะได้ช่วงเวลาการอดอาหารในช่วงตอนเย็นถึงตอนสายวันรุ่งขึ้นได้ถึงประมาณ 16 ชั่วโมงต่อเนื่องกันแล้ว
แต่การอดอาหารในต่างประเทศที่นิยมกันต่อมาก็คือ การงดอาหารมื้อเย็นวันนี้ และมื้อเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วมารับประทานอาหารในตอนกลางวันเราก็จะได้การอดอาหารได้ยาวถึง 23 ชั่วโมงติดต่อกัน และหากไม่สามารถทำได้ทุกวัน ก็สามารถเริ่มต้นด้วยการอดอาหารแบบนี้ 2 วันต่อสัปดาห์ที่เว้นห่างกัน เช่น วันอังคารกับวันศุกร์ หรือ วันจันทร์กับวันพฤหัสบดี ฯลฯ เราก็จะได้การอดอาหารเพื่อฟื้นฟูร่างกายแล้ว
แต่ถ้าทำได้มากกว่านั้นก็คือการอดที่เรียกว่า การอดวันเว้นวัน หรือที่เรียกว่า (Alternate Day Fasting) คือกินอาหาร 1 วัน หยุดกิน 1 วัน คือมื้อเย็นเป็นมื้อสุดท้ายก่อน 20.00 น. แล้วหยุดกินไปอีก 1 วัน และเริ่มตอนเช้าอีกวันในเวลา 8.00 น. ผลคือเราจะอดอาหารต่อเนื่องนับเวลาช่วงหลับด้วยรวมถึง 36 ชั่วโมงต่อเนื่องกัน
การอดอาหารอย่างถูกต้องมีผลคือทำให้ เมตาบอลิซึม หรือการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานดีขึ้น ทำให้นำไขมันส่วนเกินที่สะสมในร่างกายนำมาใช้ให้มากขึ้น ลดน้ำตาลในกระแสเลือด และเป็นการเพิ่มฮอร์โมนในการเจริญเติบโต อีกทั้งร่างกายจะสร้างสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติ รวมถึงร่างกายจะนำเซลล์โปรตีนที่เสื่อมหรือเสียหายนำมาใช้ ตลอดจนร่างกายจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้
แต่การอดอาหารของคนปกติที่ไม่แนะนำคือการอดอาหารเกิน 72 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน เพราะเมื่อร่างกายเผาผลาญส่วนที่เกินไปแล้ว ร่างกายจะเริ่มปรับสภาพให้การเผาผลาญในร่างกายน้อยลงจนเริ่มรู้สึกไม่หิว ก็จะถึงขั้นเริ่มขาดสารอาหารและจะเริ่มเอาโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้แทน สิ่งที่น่าเป็นห่วงของคนที่อดอาหารเกิน 72 ชั่วโมง คือหากการเผาผลาญอยู่ในระดับต่ำที่ร่างกายปรับสภาพนั้นยังคงอยู่อย่างต่อเนื่องเมื่อพ้นจากการอดอาหารแล้ว คนๆนั้นกลับไปรับประทานอาหารในปริมาณเดิมที่เคยชิน เมื่อการเผาผลาญลดลงก็อาจจะส่งผลทำให้กลับกลายมาเป็นอ้วนกว่าเดิม (Yoyo Effect) หรือมีไขมันในเส้นเลือดมากกว่าเดิมได้
นอกจากการอดอาหารแล้ว หมอเจคอบ วาทักกันเชรี ที่มีโรงพยาบาลที่รักษาแนวทางธรรมชาติถึง 4 แห่งในอินเดีย ได้ใช้การลดหรืออดอาหารในรักษาหลายโรคในหลายรูปแบบ ซึ่งคุณหมอเจคอบเคยบรรยายเอาไว้ในประเทศไทยดังต่อไปนี้
โรคภูมิแพ้ หอบหืด ให้มื้อเช้าและเที่ยงรับประทานอาหารมังสวิรัติ มื้อเย็นให้รับประทานผลไม้อย่างเดียวให้เสร็จก่อน 18.00 น. รับประทานอย่างนี้ 1-2 สัปดาห์
ถ้ามีสุขภาพเจ็บป่วยหนักให้รับประทานผลไม้อย่างเดียว 2 สัปดาห์ ผลไม้สด น้ำผลไม้ หรือ น้ำเปล่า เท่านั้น
โรคเรื้อรัง เช่น เนื้องอก มะเร็ง กระเพาะอักเสบ ให้รับประทานผลไม้และผักสด 2- 3 เดือน โดยเฉพาะโรคมะเร็งให้อดอาหารกินน้ำเปล่าอย่างเดียว 20 วัน ผลจะดีขึ้น
โรคเบาหวาน 1- 2 สัปดาห์แรกให้ทานได้แต่ผักสดอย่างเดียว น้ำตาลในเลือดจะลดเหลือ 100 mg/dL สัปดาห์ถัดไปให้รับประทานผักสด 2 มื้อ ผลไม้รสเปรี้ยว 1 มื้อ ป็นเวลาอีก 2 สัปดาห์ จากนั้นให้ทานผลไม้อย่างเดียวอีก 41 วัน โดยไม่ต้องใช้ยาเลย
สตรีปวดประจำเดือน รวมถึงเนื้องอก ซี้ด ในมดลูกหรือเต้านม วันแรกของรอบเดือนให้ดื่มน้ำผลไม้สด หรือน้ำมะพร้าวอ่อนเท่านั้น โดยไม่รับประทานยาอย่างอื่นเลย ส่วนวันที่ 2,3,4 ให้กินแต่ผลไม้สด ให้ทำอย่างนี้ทุกครั้งเมื่อรอบเดือนมา จะทำให้อาการดีขึ้น
ผมยังไม่แน่ใจว่าการักษาตามที่คุณหมอเจคอบ วาทักกันเชรี ได้บรรยายไว้จะสามารถรักษาโรคได้จริงทั้งหมดตามที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ แต่ก็เป็นทางเลือกให้คนได้ตัดสินใจข้อเสนอหนึ่งในแพทย์ทางเลือกที่มีอยู่ในเวลานี้
แต่ที่ต้องการหยิบยกแนวทางธรรมชาติบำบัดนั้น ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าการอดอาหารเป็นกลไกที่ร่างกายออกแบบมาเพื่อเยียวยารักษาโรคของตัวเราเองได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นที่นำเสนอมาสองตอนก่อนหน้านี้ จะทำให้เราเข้าใจว่าทำไมหลักสูตรล้างพิษตับ หรือหลักสูตรในด้านสุขภาพนั้น จึงถือเอาเรื่องการอดอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000050362
---------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนตัว ผมคิดว่าเป็นไปได้ และเป็นอีกวิธีที่ร่างกายจะได้นำไขมันส่วนเกินออกมาใช้
แต่สงสัยว่า การอดอาหาร จะทำให้เป็นโรคกระเพราะ หรือโรคอื่นๆตามมาหรือไม่ เพราะไม่มีข้อมูลใส่ลงมาในข่าวด้วย
เพื่อนๆ อ่านแล้ว คิดว่า มีความเป็นไปได้ และ ตรงตามหลักวิทยาศาสตร์หรือไม่ครับ