http://www.tairomdham.net/index.php?topic=7874.0
(ถ้าผิดกฎต้องขออภัยครับ เพราะอ่านแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์)
โยนิโสมนสิการในทัศนะของพระธรรมปิฏก {ป.อ.ปยุตโต}(จากคุณฐิตา)
พระธรรมปิฎกอธิบายความหมายของโยนิโสมนสิการ (Crltical Reflection) ไว้ดังนี้ ในระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการ เป็นการฝึกใช้ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบรู้จักคิดวิเคราะห์ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้นผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์ เป็นอิสระทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ และนำไปสู่จุดมุ่งหมายของพุทธธรรมอย่างถ่องแท้”
มีกิจกรรมหลายอย่างที่ คนทั่วไปมักจะเรียกว่า “การคิด” เช่นคนคนหนึ่งพยายามนึกถึงที่อยู่เก่าของตน เราก็อาจพูดว่าเขากำลังคิดถึงเลขบ้าน หรืออีกคนหนึ่งคิดว่าพรุ่งนี้เขาจะไปเล่นเทนนิส การคิดที่กล่าวมานี้ตรรกวิทยาไม่ถือว่าเป็น“การคิดด้วยเหตุผล” (reasoning) เพื่อการตัดสินใจ
ขอทำความเข้าใจว่าการคิดด้วย เหตุและผลต่างจากการนึกคิดเรื่องในอนาคตอย่างไร โปรดดูตัวอย่างต่อไปนี้ สมมติว่าเรานัดเพื่อนคนหนึ่งว่าจะไปถึงบ้านของเขาในเวลาอีกหนึ่งชั่วโมง แต่เมื่อสำรวจดูว่าจะไปได้อย่างไร ก็พบว่าถ้าเดินไปจะต้องใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง แต่ถ้าคอยอีก 15 นาทีแล้วไปรถประจำทางจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที รวมเวลาโดยใช้ 45 นาที ถ้าจะไปโดยรถประจำทางทันเวลาที่นัดหมายกันไว้ ดังนั้น จึงตัดสินใจใช้รถประจำทาง การตัดสินใจเช่นนี้เป็นการใช้เหตุผล
อย่างไร ก็ตามการคิดด้วยเหตุผลยังแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่นการคิดโดยแยกประเภท (thinking by classification) การคิดโดยตัดประเด็น (thinking by classification) การคิดโดยตัดประเด็น (thinking by elimination) การคิดแบบอุปนัย (inductive thinking) การคิดแบบนิรนัย (deductive thinking) และการคิดแบบไตร่ตรองหรือการคิดสะท้อน (reflective thinking) ทั้งหมดนี้เป็นการคิดตามแนวปรัชญาตะวันตก ผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านได้จากวารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 8 สาขาปรัชญาการศึกษา เรื่องการคิด โดย ดร.สาโรช บัวศรี สำหรับการคิดแบบโยนิโสมนสิการเป็นการคิดตามแนวปรัชญาตะวันออก โดยอาศัยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีผู้กล่าวพาดพิงถึงการคิดแบบโยนิโสมนสิการหลายท่าน อาทิ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ และพระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต) แต่ผู้ที่ได้วิเคราะห์และเสนอแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการอย่างละเอียด คือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) ดังนั้นจึงเป็นการสมควรที่จะนำข้อคิดเห็นของท่านมาเสนอไว้ในที่นี้ ว่า โดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยโยนิโส กับมนสิการ โยสิโส มาจาก โยนิ แปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญาอุบาย วิธี ทาง ส่วนมนสิการ แปลว่า การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ ท่านแปลสืบทอดกันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย…”
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การทำในใจโดยแยบคายก็คือการคิดเป็น คือคิดถูกต้องตามความเป็นจริงอาศัยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และคิดเชื่อมโยงตีความข้อมูลเพื่อนำไปใช้ต่อไป
การทำในใจโดยแยบคายนี้ ความหมายอาจแยกเป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้...
1. อุบาย มนสิการ แปลว่า คิดพิจารณาโดยอุบาย คือคิดอย่างมีวิธีหรือคิดถูกวิธี หมายถึง ถูกวิธีที่จะเข้าถึงความจริง สอดคล้องเข้าแนวสัจจะทำให้หยั่งรู้สภาวะลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
2. ปถมสิการ แปลว่า คิดเป็นทาง หรือคิดถูกทาง คือคิดได้ต่อเนื่องเป็นลำดับจัดลำดับได้หรือมีลำดับมีขั้นตอนแล่นไปเป็นแถว เป็นแนว หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบตามแนวเหตุผล เป็นต้น ไม่ยุ่งเหยิงสับสน ไม่ใช่วกเวียนติดพันประเดี๋ยวเรื่องนี้ ที่นี่ เดี๋ยวเตลิดออกไปเรื่องนั้นที่โน้น หรือกระโดดไปกระโดดมา ต่อเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้ ทั้งนี้รวมทั้งความสามารถที่จะชักความนึกคิดเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง
3. กา รณมนสิการ แปลว่าคิดตามเหตุ คิดค้นเหตุ คิดหาผล หรือคิดอย่างมีเหตุผล หมายถึง การคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยที่สืบทอดกัน พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตามลำดับ
4. อุป ปาทกมนสิการ แปลว่าคิดให้เกิดผล คือใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์เล็งถึงกาคิดอย่างมีเป้าหมาย ท่านหมายถึง การคิดพิจารณาที่ทำให้เกิดกุศลธรรม เช่น ปลุกเร้าให้เกิดความเพียรการรู้จักคิดที่จะทำให้หายหวาดกลัวให้หายโกรธ การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น
ลักษณะต่าง ๆ ของความคิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นพอสรุปได้ว่า คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล และคิดเป็นกุศล
พระธรรมปิฎกได้นำเอาคำแปลเป็นภาษาอังกฤษมาลงไว้ให้พิจารณาด้วยดังนี้
“Proper mind-work; proper attention; systematic attention; reasoned attention; attentive consideration; reasoned
consideration; considered attention; careful consideration; careful attention; ordered thinking; orderly reasoning; genetical reflection; critical reflection; analytical reflection.”
พระธรรมปิฏกยังกล่าวต่อไปว่า “ถ้ามองในแง่ของขอบเขต โยนิโสมนสิการ กินความกว้าง ครอบคลุมตั้งแต่ความคิดในแนวทางของศีลธรรมการคิดตามหลักความดีงามและหลัก ความจริงต่างๆ ที่ตนได้ศึกษาหรือรับการอบรมสั่งสอนมา มีความรู้ความเข้าใจดีอยู่แล้ว เช่น คิดในทางที่จะเป็นมิตรคิดรัก คิดปรารถนาดีมีเมตตา คิดที่จะให้หรือช่วยเหลือเกื้อกูล คิดในทางที่จะเข้มแข็ง ทำการจริงจังไม่ย่อท้อ เป็นต้น ซึ่งไม่ต้องใช้ปัญญาลึกซึ้งอะไร ตลอดขึ้นไปจนถึงการคิดแยกแยะองค์ประกอบและสืบสาวหาสาเหตุปัจจัยที่ต้องใช้ ปัญญาละเอียดประณีต เนื่องด้วยโยนิโสมนสิการมีขอบเขตกว้างขวางอย่างนี้ ปกติชนทุกคนสามารถใช้โยนิโสมนสิการได้”
ถ้ามองในแง่หน้าที่ โยนิโสมนสิการก็คือ ความคิดที่สกัดอวิชชาตัณหา หรือการคิดเพื่อสกัดตัดหน้าอวิชชาและตัณหา
ลักษณะของความคิดตามอวิชชาตัณหาเป็นดังต่อไปนี้...
1. เมื่อ อวิชชาเป็นตัวเด่น ความคิดมีลักษณะติดตันวกวนอยู่ที่แง่หนึ่งตอนหนึ่งอย่างพร่ามัวขาดความ สัมพันธ์ไม่รู้ทางไป หรือไม่ก็ฟุ้งซ่านสับสนไม่เป็นระเบียบ ปรุงแต่งอย่างไร้เหตุผล เช่นภาพในความคิดของคนหวาดกลัว
2. เมื่อ ตัณหาเป็นตัวเด่น ความคิดมีลักษณะโน้มเอียงไปตามความยินดียินร้าย ความชอบใจไม่ชอบใจ หรือความติดใจขัดใจ ติดพันครุ่นอยู่กับสิ่งหรือเรื่องที่ชอบหรือชังนั้นและปรุงแต่งความคิดไปตาม ความชอบความชังของตน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดลึกลงไปอีกในด้านสภาวะอวิชชาเป็นฐานก่อตัวของตัณหาและตัณหาเป็นตัว เสริมกำลังให้แก่อวิชชา ดังนั้น ถ้าจะกำจัดความชั่วร้ายให้สิ้นเชิงก็จะต้องกำจัดให้ถึงอวิชชา
โยนิโสมนสิการในทัศนะของพระธรรมปิฏก {ป.อ.ปยุตโต}
(ถ้าผิดกฎต้องขออภัยครับ เพราะอ่านแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์)
โยนิโสมนสิการในทัศนะของพระธรรมปิฏก {ป.อ.ปยุตโต}(จากคุณฐิตา)
พระธรรมปิฎกอธิบายความหมายของโยนิโสมนสิการ (Crltical Reflection) ไว้ดังนี้ ในระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการ เป็นการฝึกใช้ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบรู้จักคิดวิเคราะห์ไม่มองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างตื้นผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์ เป็นอิสระทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ และนำไปสู่จุดมุ่งหมายของพุทธธรรมอย่างถ่องแท้”
มีกิจกรรมหลายอย่างที่ คนทั่วไปมักจะเรียกว่า “การคิด” เช่นคนคนหนึ่งพยายามนึกถึงที่อยู่เก่าของตน เราก็อาจพูดว่าเขากำลังคิดถึงเลขบ้าน หรืออีกคนหนึ่งคิดว่าพรุ่งนี้เขาจะไปเล่นเทนนิส การคิดที่กล่าวมานี้ตรรกวิทยาไม่ถือว่าเป็น“การคิดด้วยเหตุผล” (reasoning) เพื่อการตัดสินใจ
ขอทำความเข้าใจว่าการคิดด้วย เหตุและผลต่างจากการนึกคิดเรื่องในอนาคตอย่างไร โปรดดูตัวอย่างต่อไปนี้ สมมติว่าเรานัดเพื่อนคนหนึ่งว่าจะไปถึงบ้านของเขาในเวลาอีกหนึ่งชั่วโมง แต่เมื่อสำรวจดูว่าจะไปได้อย่างไร ก็พบว่าถ้าเดินไปจะต้องใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง แต่ถ้าคอยอีก 15 นาทีแล้วไปรถประจำทางจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที รวมเวลาโดยใช้ 45 นาที ถ้าจะไปโดยรถประจำทางทันเวลาที่นัดหมายกันไว้ ดังนั้น จึงตัดสินใจใช้รถประจำทาง การตัดสินใจเช่นนี้เป็นการใช้เหตุผล
อย่างไร ก็ตามการคิดด้วยเหตุผลยังแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ เช่นการคิดโดยแยกประเภท (thinking by classification) การคิดโดยตัดประเด็น (thinking by classification) การคิดโดยตัดประเด็น (thinking by elimination) การคิดแบบอุปนัย (inductive thinking) การคิดแบบนิรนัย (deductive thinking) และการคิดแบบไตร่ตรองหรือการคิดสะท้อน (reflective thinking) ทั้งหมดนี้เป็นการคิดตามแนวปรัชญาตะวันตก ผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านได้จากวารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับที่ 8 สาขาปรัชญาการศึกษา เรื่องการคิด โดย ดร.สาโรช บัวศรี สำหรับการคิดแบบโยนิโสมนสิการเป็นการคิดตามแนวปรัชญาตะวันออก โดยอาศัยหลักธรรมในพระพุทธศาสนา มีผู้กล่าวพาดพิงถึงการคิดแบบโยนิโสมนสิการหลายท่าน อาทิ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ และพระราชวรมุนี (ประยูร ธมมจิตโต) แต่ผู้ที่ได้วิเคราะห์และเสนอแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการอย่างละเอียด คือ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) ดังนั้นจึงเป็นการสมควรที่จะนำข้อคิดเห็นของท่านมาเสนอไว้ในที่นี้ ว่า โดยรูปศัพท์ โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยโยนิโส กับมนสิการ โยสิโส มาจาก โยนิ แปลว่า เหตุ ต้นเค้า แหล่งเกิด ปัญญาอุบาย วิธี ทาง ส่วนมนสิการ แปลว่า การทำในใจ การคิด คำนึง นึกถึง ใส่ใจ พิจารณา เมื่อรวมเข้าเป็นโยนิโสมนสิการ ท่านแปลสืบทอดกันมาว่า การทำในใจโดยแยบคาย…”
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การทำในใจโดยแยบคายก็คือการคิดเป็น คือคิดถูกต้องตามความเป็นจริงอาศัยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และคิดเชื่อมโยงตีความข้อมูลเพื่อนำไปใช้ต่อไป
การทำในใจโดยแยบคายนี้ ความหมายอาจแยกเป็นลักษณะต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้...
1. อุบาย มนสิการ แปลว่า คิดพิจารณาโดยอุบาย คือคิดอย่างมีวิธีหรือคิดถูกวิธี หมายถึง ถูกวิธีที่จะเข้าถึงความจริง สอดคล้องเข้าแนวสัจจะทำให้หยั่งรู้สภาวะลักษณะและสามัญลักษณะของสิ่งทั้งหลาย
2. ปถมสิการ แปลว่า คิดเป็นทาง หรือคิดถูกทาง คือคิดได้ต่อเนื่องเป็นลำดับจัดลำดับได้หรือมีลำดับมีขั้นตอนแล่นไปเป็นแถว เป็นแนว หมายถึง ความคิดเป็นระเบียบตามแนวเหตุผล เป็นต้น ไม่ยุ่งเหยิงสับสน ไม่ใช่วกเวียนติดพันประเดี๋ยวเรื่องนี้ ที่นี่ เดี๋ยวเตลิดออกไปเรื่องนั้นที่โน้น หรือกระโดดไปกระโดดมา ต่อเป็นชิ้นเป็นอันไม่ได้ ทั้งนี้รวมทั้งความสามารถที่จะชักความนึกคิดเข้าสู่แนวทางที่ถูกต้อง
3. กา รณมนสิการ แปลว่าคิดตามเหตุ คิดค้นเหตุ คิดหาผล หรือคิดอย่างมีเหตุผล หมายถึง การคิดสืบค้นตามแนวความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยที่สืบทอดกัน พิจารณาสืบสาวหาสาเหตุให้เข้าใจถึงต้นเค้า หรือแหล่งที่มาซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาตามลำดับ
4. อุป ปาทกมนสิการ แปลว่าคิดให้เกิดผล คือใช้ความคิดให้เกิดผลที่พึงประสงค์เล็งถึงกาคิดอย่างมีเป้าหมาย ท่านหมายถึง การคิดพิจารณาที่ทำให้เกิดกุศลธรรม เช่น ปลุกเร้าให้เกิดความเพียรการรู้จักคิดที่จะทำให้หายหวาดกลัวให้หายโกรธ การพิจารณาที่ทำให้มีสติ หรือทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคง เป็นต้น
ลักษณะต่าง ๆ ของความคิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นพอสรุปได้ว่า คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล และคิดเป็นกุศล
พระธรรมปิฎกได้นำเอาคำแปลเป็นภาษาอังกฤษมาลงไว้ให้พิจารณาด้วยดังนี้
“Proper mind-work; proper attention; systematic attention; reasoned attention; attentive consideration; reasoned
consideration; considered attention; careful consideration; careful attention; ordered thinking; orderly reasoning; genetical reflection; critical reflection; analytical reflection.”
พระธรรมปิฏกยังกล่าวต่อไปว่า “ถ้ามองในแง่ของขอบเขต โยนิโสมนสิการ กินความกว้าง ครอบคลุมตั้งแต่ความคิดในแนวทางของศีลธรรมการคิดตามหลักความดีงามและหลัก ความจริงต่างๆ ที่ตนได้ศึกษาหรือรับการอบรมสั่งสอนมา มีความรู้ความเข้าใจดีอยู่แล้ว เช่น คิดในทางที่จะเป็นมิตรคิดรัก คิดปรารถนาดีมีเมตตา คิดที่จะให้หรือช่วยเหลือเกื้อกูล คิดในทางที่จะเข้มแข็ง ทำการจริงจังไม่ย่อท้อ เป็นต้น ซึ่งไม่ต้องใช้ปัญญาลึกซึ้งอะไร ตลอดขึ้นไปจนถึงการคิดแยกแยะองค์ประกอบและสืบสาวหาสาเหตุปัจจัยที่ต้องใช้ ปัญญาละเอียดประณีต เนื่องด้วยโยนิโสมนสิการมีขอบเขตกว้างขวางอย่างนี้ ปกติชนทุกคนสามารถใช้โยนิโสมนสิการได้”
ถ้ามองในแง่หน้าที่ โยนิโสมนสิการก็คือ ความคิดที่สกัดอวิชชาตัณหา หรือการคิดเพื่อสกัดตัดหน้าอวิชชาและตัณหา
ลักษณะของความคิดตามอวิชชาตัณหาเป็นดังต่อไปนี้...
1. เมื่อ อวิชชาเป็นตัวเด่น ความคิดมีลักษณะติดตันวกวนอยู่ที่แง่หนึ่งตอนหนึ่งอย่างพร่ามัวขาดความ สัมพันธ์ไม่รู้ทางไป หรือไม่ก็ฟุ้งซ่านสับสนไม่เป็นระเบียบ ปรุงแต่งอย่างไร้เหตุผล เช่นภาพในความคิดของคนหวาดกลัว
2. เมื่อ ตัณหาเป็นตัวเด่น ความคิดมีลักษณะโน้มเอียงไปตามความยินดียินร้าย ความชอบใจไม่ชอบใจ หรือความติดใจขัดใจ ติดพันครุ่นอยู่กับสิ่งหรือเรื่องที่ชอบหรือชังนั้นและปรุงแต่งความคิดไปตาม ความชอบความชังของตน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดลึกลงไปอีกในด้านสภาวะอวิชชาเป็นฐานก่อตัวของตัณหาและตัณหาเป็นตัว เสริมกำลังให้แก่อวิชชา ดังนั้น ถ้าจะกำจัดความชั่วร้ายให้สิ้นเชิงก็จะต้องกำจัดให้ถึงอวิชชา