พึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย พึงก้าวล่วงสังโยชน์เสียทั้งหมด

พึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย พึงก้าวล่วงสังโยชน์เสียทั้งหมด

[๒๗]     บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย พึงก้าวล่วง
                           สังโยชน์เสียทั้งหมด ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกตามบุคคลนั้น
                           ผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล บุคคลใดแล พึง
                           ห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ ดุจบุคคลห้ามรถซึ่งกำลัง
                           แล่นไปได้ ฉะนั้น เรากล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นสารถี คนนอกนี้
                           เป็นคนถือเชือก พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงชนะ
                           ความไม่ดีด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้  พึง
                           ชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัตย์ พึงกล่าวคำสัตย์

                          ไม่พึงโกรธ แม้เมื่อมีของน้อย ถูกขอแล้วก็พึงให้ บุคคล

                          พึงไปในสำนักแห่งเทวดาทั้งหลาย เพราะเหตุ ๓ ประการนี้
                           มุนีเหล่าใดผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์

                          มุนีเหล่านั้นย่อมไปสู่สถานที่ไม่จุติ ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่

                          เศร้าโศก อาสวะทั้งหลายของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ศึกษาเนืองๆ
                           ทั้งกลางวันและกลางคืน ผู้น้อมไปแล้วสู่นิพพาน ย่อมถึง

                          ความไม่มี ดูกรอตุละ การนินทาหรือการสรรเสริญนี้มีมาแต่

                          โบราณ มิใช่มีเพียงวันนี้ คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง แม้ผู้พูด
                           มาก แม้พูดพอประมาณ ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก บุรุษ

                          ผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียว
                           ไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้ ถ้าว่าผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว

                          ทุกวัน ย่อมสรรเสริญบุคคลใด ผู้มีความประพฤติไม่ขาด
                          เป็นนักปราชญ์ ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล ใครย่อมควร

                          เพื่อจะนินทาบุคคลนั้นผู้เหมือนดังแท่งแห่งทองชมพูนุช แม้

                          เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น แม้

                          พรหมก็สรรเสริญบุคคลนั้น ภิกษุพึงรักษาความกำเริบทางกาย

                          พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย ละกายทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริต

                          ด้วยกาย พึงรักษาความกำเริบทางวาจา พึงเป็นผู้สำรวมด้วย

                          วาจา ละวจีทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยวาจา พึงรักษา

                          ความกำเริบทางใจ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยใจ ละมโนทุจริตแล้ว

                          พึงประพฤติสุจริตด้วยใจ นักปราชญ์ทั้งหลาย สำรวมแล้วด้วย
                         กาย สำรวมแล้วด้วยวาจา สำรวมแล้วด้วยใจ ท่านเหล่านั้น
                          แล สำรวมเรียบร้อยแล้ว ฯ

***บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย พึงก้าวล่วง สังโยชน์เสียทั้งหมด .....ล้วนเป็นผลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระอริยะสาวกผู้มีปัญญาประกอบ แต่การทำเหตุแห่งการละความโกรธ ละมานะ ก้าวล่วงสังโยชน์ คือ การวิปัสสนาพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ อย่างหนักแน่น สม่ำเสมอ ตั้งมั่น เห็นความไม่เที่ยง เกิด ดับไปของความโกรธ เห็นโทษในมานะความเป็นตัวตน ความสำคัญผิดในตน และละสังโยชน์ ๑๐ สิ่งไม่ดีในตนได้ ฝึกฝนได้ด้วยตนเอง...สร้างเหตุปัจจัยในการทำบุญ กุศลให้ถึงพร้อม...ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย..แน่นอน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่