พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปริหาน
ธรรม(มีความเสื่อมไปเป็นสภาพ) อปริหานธรรม และอภิภายตนะ ๖(อายตนะ๖ อันอบรมยิ่งแล้ว)
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด
ก็ปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย
มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็น
รูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่
ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริ
แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์(อกุศลธรรมอันเป็นเครื่องผูก คือเป็นปัจจัยแก่การผูกสัตว์ไว้ในภพ...
1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย
เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น
ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น
การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ)
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ
ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย
ไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมย่อมมี
อย่างนี้แล ฯ
[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร อกุศลบาป
ธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนา
นี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด
ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ
ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรส
ด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริ
แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หาย
ไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้
มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมย่อมมี
อย่างนี้แล ฯ
[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อภิภายตนะ ๖ เป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมไม่
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะ
นี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริ
แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มี
พระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เรากล่าวว่า
อภิภายตนะ ๖ ฯ
- ปริหานสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖
นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์
บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคล
เหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่
บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึง
บรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารัก
ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียงที่น่ารัก
และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึง
บรรเทาโทสะในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่
น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่น
ที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารัก
ใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่
พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และ
ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ
ติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัส
ที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า
แล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่
เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้าย
เพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความ
สำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุ
ให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคล
บรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา
ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน
อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้น
อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ
- สังคัยหสูตรที่ ๑
ว่าด้วยปริหานธรรม อปริหานธรรม และอภิภายตนะ ๖
ธรรม(มีความเสื่อมไปเป็นสภาพ) อปริหานธรรม และอภิภายตนะ ๖(อายตนะ๖ อันอบรมยิ่งแล้ว)
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังเถิด
ก็ปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย
มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็น
รูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่
ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริ
แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์(อกุศลธรรมอันเป็นเครื่องผูก คือเป็นปัจจัยแก่การผูกสัตว์ไว้ในภพ...
1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย
เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น
ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น
การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง
พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อแรกได้หมด
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ)
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ
ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย
ไม่ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมย่อมมี
อย่างนี้แล ฯ
[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร อกุศลบาป
ธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนา
นี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด
ให้หายไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความ
ดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรส
ด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริ
แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หาย
ไป ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้
มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมย่อมมี
อย่างนี้แล ฯ
[๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อภิภายตนะ ๖ เป็นไฉน ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมไม่
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะ
นี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริ
แล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจ ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า อายตนะนี้เราครอบงำแล้ว อายตนะนี้ พระผู้มี
พระภาคตรัสว่าเป็นอภิภายตนะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะเหล่านี้ เรากล่าวว่า
อภิภายตนะ ๖ ฯ
- ปริหานสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่สำรวมผัสสายตนะ ๖
นั่นแหละ เว้นการสำรวมในอายตนะใด ย่อมเข้าถึงทุกข์
บุคคลเหล่าใด ได้สำรวมระวังอายตนะเหล่านั้น บุคคล
เหล่านั้น มีศรัทธาเป็นเพื่อนสอง ย่อมเป็นผู้อันราคะไม่ชุ่มอยู่
บุคคลเห็นรูปที่ชอบใจและเห็นรูปที่ไม่ชอบใจแล้ว พึง
บรรเทาราคะในรูปที่ชอบใจ และไม่พึงเสียใจว่า รูปไม่น่ารัก
ของเรา (เราเห็นรูปไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ยินเสียงที่น่ารัก
และเสียงที่ไม่น่ารัก พึงสงบใจในเสียงที่น่ารัก และพึง
บรรเทาโทสะในเสียงที่ไม่น่ารัก และไม่พึงเสียใจว่า เสียงไม่
น่ารักของเรา (เราได้ฟังเสียงที่ไม่น่ารักเข้าแล้ว) ได้ดมกลิ่น
ที่ชอบใจอันน่ายินดี และได้ดมกลิ่นที่ไม่สะอาด ไม่น่ารัก
ใคร่ พึงบรรเทาความหงุดหงิดในกลิ่นที่ไม่น่าใคร่ และไม่
พึงพอใจในกลิ่นที่น่าใคร่ ได้ลิ้มรสที่อร่อยเล็กน้อย และ
ลิ้มรสที่ไม่อร่อยในบางคราว ไม่พึงลิ้มรสที่อร่อยด้วยความ
ติดใจ และไม่ควรยินร้ายในเมื่อลิ้มรสที่ไม่อร่อย ถูกสัมผัส
ที่เป็นสุขกระทบเข้าแล้ว และถูกผัสสะที่เป็นทุกข์กระทบเข้า
แล้ว ไม่พึงหวั่นไหวในระหว่างๆ ควรวางเฉยผัสสะทั้งที่
เป็นสุข ทั้งที่เป็นทุกข์ทั้งสอง ไม่ควรยินดี ไม่ควรยินร้าย
เพราะผัสสะอะไรๆ นรชนทั้งหลายที่ทรามปัญญา มีความ
สำคัญในกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีอยู่ด้วยกิเลสเป็นเหตุ
ให้เนิ่นช้า เป็นสัตว์ที่มีสัญญา ย่อมวกเวียนอยู่ ก็บุคคล
บรรเทาใจ ที่ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา
ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดีแล้วใน
อารมณ์ ๖ อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น จิตของบุคคลนั้น
อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหนๆ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว
ย่อมเป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและมรณะ ฯ
- สังคัยหสูตรที่ ๑