[๑๔๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดง
ปริหานธรรม อปริหานธรรม และ
อภิภายตนะ ๖ แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังเถิด
ก็
ปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริแล่นไป
เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ให้หายไป
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า
เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป
เป็นฝ่ายสังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป
เป็นฝ่ายสังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสียไม่ให้หายไป
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมย่อมมีอย่างนี้แล ฯ
[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็
อปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร
อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
ถ้าภิกษุ
ไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัดให้หายไป
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง
อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป
เป็นฝ่ายสังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุ
ไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หายไป
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมย่อมมีอย่างนี้แล ฯ
----------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก
ปริหานสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑๙๓๒ - ๑๙๗๒. หน้าที่ ๘๓ - ๘๕.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=1932&Z=1972&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=140
เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เราจักแสดงปริหานธรรม อปริหานธรรม และ อภิภายตนะ ๖ แก่เธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงฟังเถิด
ก็ปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสีย ไม่ให้หายไป
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
ถ้าภิกษุให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ไม่ละ ไม่บรรเทา ไม่กำจัดเสียไม่ให้หายไป
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความเสื่อม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริหานธรรมย่อมมีอย่างนี้แล ฯ
[๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อปริหานธรรมย่อมมีอย่างไร
อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ
ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัดให้หายไป
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย มีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลบาปธรรมทั้งหลายมีความดำริแล่นไป เป็นฝ่ายสังโยชน์
ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้ เพราะได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ถ้าภิกษุไม่ให้กิเลสนั้นอยู่อาศัย ละ บรรเทา กำจัด ให้หายไป
ข้อนั้นภิกษุพึงทราบว่า เราย่อมไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เหตุนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อปริหานธรรมย่อมมีอย่างนี้แล ฯ
----------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก
ปริหานสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑๙๓๒ - ๑๙๗๒. หน้าที่ ๘๓ - ๘๕.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=18&A=1932&Z=1972&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=140