พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
[๒] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
ธรรม ๒ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
ธรรม ๓ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
ธรรม ๗ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ ๑๐
@นิชชรวัตถุ ๑๐ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น รวมกับสัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ
@อีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๔)
---
ที่มา
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=3
-------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
นิชชรวัตถุสูตร
[๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เหตุแห่งการเสื่อมไปมี ๑๐ ประการนี้
๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความ
เห็นผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็น
ปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ
ความเห็นชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีความดำริผิดเสื่อมไป
มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และ
กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีวาจาผิดเสื่อมไป ...
และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะวาจาชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการงานผิดเสื่อมไป ...
และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการงานชอบเป็น
ปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด
เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการ
เลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความพยายามผิด
เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ
พยายามชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความระลึกผิด
เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ
ระลึกชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความตั้งใจผิด
เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ
ตั้งใจชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความรู้ผิดเสื่อมไป
มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และ
กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นผิด
เสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย
เสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ
หลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งการเสื่อมไปมี ๑๐ ประการ
นี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
---
ที่มา
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=4921&Z=4955
-----------------------------------
อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถาอภิญเญยยนิทเทส
อรรถกถาทสกนิทเทส
ว่าด้วยนิชชรวัตถุ ๑๐
คำว่า ทส นิชฺชรวตฺถูนิ - นิชชรวัตถุ ๑๐ ความว่า มิจฉาทิฏฐิเป็นต้น ย่อมเสื่อมลง ย่อมสลายไป ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชระ.
คำว่า วตฺถูนิ - วัตถุทั้งหลาย ได้แก่เหตุ. วัตถุคือเหตุนั้นด้วยเสื่อมลงด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชรวัตถุ. นิชชรวัตถุนี้ เป็นชื่อของกุศลธรรมมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น.
นิชชรวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน?
นิชชรวัตถุ ๑๐ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า๑-
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาทิฏฐิของผู้มี
สัมมาทิฏฐิ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มี
สัมมาทิฏฐินั้นก็ย่อมเสื่อมลงด้วย และกุศลธรรม
เป็นอเนกมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่ง
ความเจริญเต็มที่.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาสังกัปปะของ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอัน
ลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย
ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มี
สัมมาสังกัปปะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล
ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัยก็ย่อม
ถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาวาจาของผู้มี
สัมมาวาจา ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็น
อเนกเหล่าใด มีมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาวาจานั้น
ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมอันเป็นอเนกมี
สัมมาวาจาเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉากัมมันตะของผู้
มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัยย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมา
กัมมันตะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรม
เป็นอเนกมีสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่ง
ความเจริญเต็มที่.
๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาอาชีวะของผู้มี
สัมมาอาชีวะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็น
อเนกเหล่าใด มีมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาอาชีวะนั้น
ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมา
อาชีวะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาวายามะของ
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอัน
ลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย
ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มี
สัมมาวายามะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล-
ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวายามะเป็นปัจจัย ก็ย่อม
ถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาสติของผู้มี
สัมมาสติ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็น
อเนกมีมิจฉาสติเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศล-
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มีสัมมาสตินั้น ก็
ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัม-
มาสติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาสมาธิของผู้
มีสัมมาสมาธิ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัม-
มาสมาธินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรม
เป็นอเนกมีสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่ง
ความเจริญเต็มที่.
๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาญาณของผู้มี
สัมมาญาณ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาญาณเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมา-
ญาณนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็น
อเนกมีสัมมาญาณเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความ
เจริญเต็มที่.
๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาวิมุตติของผู้
มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มี
สัมมาวิมุตตินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล-
ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึง
ซึ่งความเจริญเต็มที่.๑-
____________________________
๑- องฺ. ทสก. เล่ม ๒๔/ข้อ ๑๐๖
---
ที่มา
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=2&p=2
-----------------------------
นิชชรวัตถุ 10
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
[๒] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม ๑ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้เพราะอาหาร
ธรรม ๒ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๒
ธรรม ๓ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ ธาตุ ๓
ธรรม ๔ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อริยสัจ ๔
ธรรม ๕ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ วิมุตตายตนะ ๕
ธรรม ๖ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุตตริยะ ๖
ธรรม ๗ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิททสวัตถุ ๗
ธรรม ๘ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อภิภายตนะ ๘
ธรรม ๙ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ อนุปุพพวิหาร ๙
ธรรม ๑๐ อย่างที่ควรรู้ยิ่ง คือ นิชชรวัตถุ ๑๐
@นิชชรวัตถุ ๑๐ หมายถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น รวมกับสัมมาญาณ และสัมมาวิมุตติ
@อีก ๒ จึงเป็น ๑๐ (ขุ.ป.อ. ๑/๒/๘๔)
---
ที่มา https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=3
-------------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
นิชชรวัตถุสูตร
[๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งการเสื่อมไปมี ๑๐ ประการนี้
๑๐ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความ
เห็นผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็น
ปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ
ความเห็นชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีความดำริผิดเสื่อมไป
มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และ
กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีวาจาผิดเสื่อมไป ...
และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะวาจาชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการงานผิดเสื่อมไป ...
และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการงานชอบเป็น
ปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด
เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะการ
เลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความพยายามผิด
เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ
พยายามชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความระลึกผิด
เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ
ระลึกชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความตั้งใจชอบ ย่อมมีความตั้งใจผิด
เสื่อมไป ... และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ
ตั้งใจชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความรู้ผิดเสื่อมไป
มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และ
กุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นผิด
เสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย
เสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความ
หลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งการเสื่อมไปมี ๑๐ ประการ
นี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
---
ที่มา https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=24&A=4921&Z=4955
-----------------------------------
อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถาอภิญเญยยนิทเทส
อรรถกถาทสกนิทเทส
ว่าด้วยนิชชรวัตถุ ๑๐
คำว่า ทส นิชฺชรวตฺถูนิ - นิชชรวัตถุ ๑๐ ความว่า มิจฉาทิฏฐิเป็นต้น ย่อมเสื่อมลง ย่อมสลายไป ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชระ.
คำว่า วตฺถูนิ - วัตถุทั้งหลาย ได้แก่เหตุ. วัตถุคือเหตุนั้นด้วยเสื่อมลงด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า นิชชรวัตถุ. นิชชรวัตถุนี้ เป็นชื่อของกุศลธรรมมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น.
นิชชรวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน?
นิชชรวัตถุ ๑๐ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า๑-
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิของผู้มี
สัมมาทิฏฐิ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มี
สัมมาทิฏฐินั้นก็ย่อมเสื่อมลงด้วย และกุศลธรรม
เป็นอเนกมีสัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่ง
ความเจริญเต็มที่.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสังกัปปะของ
ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอัน
ลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสังกัปปะเป็นปัจจัย
ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มี
สัมมาสังกัปปะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล
ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาสังกัปปะเป็นปัจจัยก็ย่อม
ถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวาจาของผู้มี
สัมมาวาจา ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็น
อเนกเหล่าใด มีมิจฉาวาจาเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาวาจานั้น
ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมอันเป็นอเนกมี
สัมมาวาจาเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉากัมมันตะของผู้
มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉากัมมันตะเป็นปัจจัยย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมา
กัมมันตะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรม
เป็นอเนกมีสัมมากัมมันตะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่ง
ความเจริญเต็มที่.
๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาอาชีวะของผู้มี
สัมมาอาชีวะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็น
อเนกเหล่าใด มีมิจฉาอาชีวะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น
อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมาอาชีวะนั้น
ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัมมา
อาชีวะเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวายามะของ
ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอัน
ลามกเป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวายามะเป็นปัจจัย
ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มี
สัมมาวายามะนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล-
ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวายามะเป็นปัจจัย ก็ย่อม
ถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสติของผู้มี
สัมมาสติ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามกเป็น
อเนกมีมิจฉาสติเป็นปัจจัย ย่อมเกิดขึ้น อกุศล-
ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มีสัมมาสตินั้น ก็
ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็นอเนกมีสัม-
มาสติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความเจริญเต็มที่.
๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาสมาธิของผู้
มีสัมมาสมาธิ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาสมาธิเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัม-
มาสมาธินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรม
เป็นอเนกมีสัมมาสมาธิเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่ง
ความเจริญเต็มที่.
๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาญาณของผู้มี
สัมมาญาณ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาญาณเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้นของผู้มีสัมมา-
ญาณนั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศลธรรมเป็น
อเนกมีสัมมาญาณเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึงซึ่งความ
เจริญเต็มที่.
๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิจฉาวิมุตติของผู้
มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเสื่อมลง, อกุศลธรรมอันลามก
เป็นอเนกเหล่าใด มีมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัย ย่อม
เกิดขึ้น อกุศลธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ของผู้มี
สัมมาวิมุตตินั้น ก็ย่อมเสื่อมลงด้วย, และกุศล-
ธรรมเป็นอเนกมีสัมมาวิมุตติเป็นปัจจัย ก็ย่อมถึง
ซึ่งความเจริญเต็มที่.๑-
____________________________
๑- องฺ. ทสก. เล่ม ๒๔/ข้อ ๑๐๖
---
ที่มา https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=2&p=2
-----------------------------