โพธิปักขิยธรรม ๓๗
ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมเหล่านั้น พวกเธอทั้งหลาย พึงรับเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรม กระทำให้มาก
โดยอาการที่พรหมจรรย์นี้ จักมั่นคง ดำรงอยู่ได้ ตลอดกาลนาน.
ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก,
และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขทั้งแก่ เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงด้วยปัญญาอันยิ่ง ? ธรรมเหล่านั้นได้แก่
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.
ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่านี้แล ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
เป็นสิ่งที่พวกเธอทั้งหลาย พึงรับเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรม กระทำให้มาก
โดยอาการที่พรหมจรรย์นี้ จักมั่นคง ดำรงอยู่ได้ ตลอดกาลนาน.
ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่คนเป็นอัน
มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก, และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่ เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สติปัฏฐาน ๔
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ๑
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สัมมัปปธาน ๔
ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑
ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑
ยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่เพื่อความไม่เลือนหายเพื่อความมียิ่งๆขึ้นไปเพื่อความไพบูลย์เพื่อความเจริญเพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อิทธิบาท ๔
๑. สมาธิอาศัยฉันทะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อ เจริญยิ่งๆ
ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
ฉันทะนี้ด้วย ฉันทสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทสมาธิและปธานสังขาร.
๒. สมาธิอาศัยวิริยะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิริยสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อ เจริญยิ่งๆ
ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิริยะนี้ด้วย วิริยสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร.
๓. สมาธิอาศัยจิตตะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อ เจริญยิ่งๆ
ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
จิตนี้ด้วย จิตตสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร.
๔. สมาธิอาศัยวิมังสา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ
เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น
เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิด ขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่งๆ
ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร
วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย และ ปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ และปธานสังขาร.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อินทรีย์ ๕
๑. สัทธินทรีย์
เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มี
พระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง โดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม สั่งสอนสัตว์
๒. วิริยินทรีย์
เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง
ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย
๓. สตินทรีย์
เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำที่พูดแม้นานได้
๔. สมาธินทรีย์
เป็นผู้กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต
๕. ปัญญินทรีย์
เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สัทธาพละ
๑. สัทธาพละ
สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์
๒. วิริยพละ
สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์
๓. สติพละ
สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์
๔. สมาธิพละ
สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็นสมาธินทรีย์
๕. ปัญญาพละ
สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญาพละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โพชฌงค์ ๗
๑. สติสัมโพชฌงค์ : สติเป็นอันบุคคลเข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง
๒. ธัมวิจยสัมโพชฌงค์ : เมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา
๓. วิริยสัมโพชฌงค์ : เมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ
๔. ปีติสัมโพชฌงค์ : ปีติปราศจากอามิส ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ
๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ : ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ : ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ : ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี
บุคคลผู้จริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?
บุคคลย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ(ความจางคลาย) อันอาศัยนิโรธ(ความดับ) อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ(ความสละ);
ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ;
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มรรค๘
๑. สัมมาทิฎฐิ
เป็นความรู้ในทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค
๒. สัมมาสังกัปปะ
ความดำริในการออกจากกาม, ความดำริในการออกจากพยาบาท, ดำริในการไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดโกหก, พูดส่อเสียด, พูดหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ
๔. สัมมากัมมันตะ
เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า, จากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว, จากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
๕. สัมมาอาชีวะ
ละการเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ
๖. สัมมาวายามะ
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร,
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น, ย่อมพยายาม, ปรารภความเพียร,
ประคองตั้งจิตไว้, เพื่อจะละอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร
ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
๗. สัมมาสติ
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส ในโลกออกเสียได้
๘. สัมมาสมาธิ
เพราะสงัดจากกามอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงเข้าถึงปฐมฌาน,
อันประกอบด้วยวิตกวิจาร,มีปีติและสุข อันเกิดจากวิเวกแล้วแลอยู่;
เพราะความที่วิตกวิจารทั้งสองระงับลงจึงเข้าถึงทุติยฌาน, เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่
อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา, มีสติและสัมปชัญญะ, และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกาย,
ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า“เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้เธอย่อม เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่;
เพราะละสุขเสียได้, เพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน,
เธอย่อมเข้าถึงจตุตฌาน, ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข, มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
โ พ ธิ ปั ก ขิ ย ธ ร ร ม 37
ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
ธรรมเหล่านั้น พวกเธอทั้งหลาย พึงรับเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรม กระทำให้มาก
โดยอาการที่พรหมจรรย์นี้ จักมั่นคง ดำรงอยู่ได้ ตลอดกาลนาน.
ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก,
และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขทั้งแก่ เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงด้วยปัญญาอันยิ่ง ? ธรรมเหล่านั้นได้แก่
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.
ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่านี้แล ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
เป็นสิ่งที่พวกเธอทั้งหลาย พึงรับเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่วถึง พึงอบรม กระทำให้มาก
โดยอาการที่พรหมจรรย์นี้ จักมั่นคง ดำรงอยู่ได้ ตลอดกาลนาน.
ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่คนเป็นอัน
มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก, และเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่ เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้