เมื่อต้องเขียนจากใจ โดย วีรพงษ์ รามางกูร
(ที่มา:มติชนรายวัน 4 เม.ย.2556)
หลังจากโดนเกลี้ยกล่อมจากทีมมติชนรายวัน นำโดยคุณจรัญ พงษ์จีน คุณวรศักดิ์ ประยูรศุข
คุณทวีศักดิ์ บุตรตัน และพรรคพวกอยู่หลายเพลาให้มาเป็นคอลัมนิสต์ของมติชน ในที่สุดก็
ยอมตกลงจะเพิ่มอาชีพจากการเป็นนักธุรกิจ เป็นประธานบริษัทหลายแห่ง มาเป็นนักเขียน
ประจำค่ายมติชนรายวัน โดยสัญญากันว่าจะเขียนสัปดาห์ละครั้ง ก็ลองดูว่าจะไปได้กี่น้ำ หลัง
จากเขียนให้ประชาชาติในคอลัมน์ "คนเดินตรอก" เป็นประจำมาถึง 12 ปี ไม่เคยคิดว่าจะเขียน
หนังสือเป็นประจำได้ แต่ก็เขียนให้ประชาชาติได้ และสามารถพิมพ์รวมเป็นเล่มได้ถึง 12 เล่มแล้ว
ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปได้ ดูแล้วบ้านเมืองเรา บางอย่างก็เปลี่ยนไปหมด
ไข่เป็ดเคยถูกกว่าไข่ไก่ เดี๋ยวนี้ไข่เป็ดก็แพงกว่าไข่ไก่ เนื้อวัวเคยถูกกว่าเนื้อหมูเดี๋ยวนี้ก็แพงกว่า
ไข่ไก่รัฐบาลสมัยจอมพล ป. เคยโฆษณาว่าดีรับประทาน มากๆ ได้ เดี๋ยวนี้ก็ว่าไม่ดี จะเพิ่มไขมัน
ในเส้นเลือด
สุภาษิตสมัยก่อนกล่าวว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เดี๋ยวนี้ก็ตีลูกไม่ได้เสียแล้ว แต่วัวยังผูกได้หรือ
เปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าต้องเลี้ยงด้วยเบียร์แล้วคนก็ต้องนวดให้วัว
เคยท่องกันว่ากฎหมายห้ามใช้ย้อนหลังในทางที่จะเป็นโทษ เดี๋ยวนี้ก็ใช้กันหน้าตาเฉย เคยพร่ำ
สอนกันตามภาษิตกฎหมายว่า "ไม่มีกฎหมาย ไม่มีผิด" หรือคนทำผิดได้ต้องมีกฎหมายบอกว่าผิด
แต่รัฐธรรมนูญของเราก็บอกว่าทำได้ แล้วแต่กรณี แล้วศาลก็เคยตัดสินมาแล้วด้วย
เคยเข้าใจว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นสถาบันที่ควรจะต้องได้รับการยอมรับ และความเคารพนับถือมาก
ที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันศาลอื่นๆ ผูกพันรัฐสภา
ผูกพันคณะรัฐมนตรี ผูกพันองค์กรอิสระต่างๆ
ก็เลยเข้าใจว่าศาลสูงสุดเช่นนี้ ต้องได้ตุลาการที่เข้าใจซาบซึ้งในเรื่องระบอบการปกครองประชาธิปไตย
ซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ระบอบนี้เป็นระบอบที่อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย นอกจาก
เข้าใจตัวหนังสือที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ
ที่สำคัญต้องมีจิตเป็นอุเบกขาปราศจากเสียซึ่งความรัก ความเกลียด และต้องเข้าใจถึงบทบาทของตน
แต่เมื่อประธานออกมาสารภาพเสียเองว่าการวินิจฉัยตัดสินคดีนายกรัฐมนตรีสมัคร น่าจะวินิจฉัยแบบสุก
เอาเผากิน ยกข้อกฎหมายมาก่อนข้อเท็จจริง รวมทั้งนิยามการกระทำตามพจนานุกรม
ในกรณีคดีนายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตัดสินไปด้วยมูลเหตุจูงใจที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ถ้าพรรคฝ่ายค้านจับมือกับพรรครัฐบาลก็จะตัดสินอีกอย่างหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเมื่อตัดสินไป ความขัด
แย้งนอกจากจะไม่ยุติแล้วยังกลับกลายเป็นความขัดแย้งถาวรไป เพราะคนระดับรากหญ้าทนไม่ได้กับ
การมีสองมาตรฐาน รู้สึกว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกดูถูกเหยียดหยามว่าเป็นเสียงที่ไม่มีคุณภาพ
เป็นเสียงที่ซื้อได้ ไม่เหมือนเสียงของคนชั้นสูง เป็นเสียงที่มีคุณภาพซื้อไม่ได้ เมื่อถูกถามว่าแล้วจะ
เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ก็ตอบว่าเป็น "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" ซึ่งไม่ทราบแปลว่าอะไร
การที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะยืมคำเศรษฐศาสตร์ที่นิยามเศรษฐกิจ
อังกฤษยุคที่พรรคแรงงานเฟื่องฟู ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบ "เดินหน้าและถอยหลัง" หรือ "stop and
going" กล่าวคือพอเศรษฐกิจเริ่มขยับตัวไปข้างหน้า สหภาพแรงงานของอังกฤษก็ขอขึ้นค่าแรง ทำให้
เกิดเงินเฟ้อ เศรษฐกิจก็ชะงักงันไปพักใหญ่ สหภาพก็หยุดเรียกร้องการขึ้นค่าแรง พอเศรษฐกิจจะเริ่ม
ฟื้นอีก สหภาพแรงงานก็เอาอีกอยู่อย่างนี้
การเมืองไทยตลอด 80 ปีที่ผ่านมาก็เหมือนกัน มีประชาธิปไตยบ้าง ปฏิวัติบ้าง ครึ่งใบบ้าง สลับกันไป
มาจนถึงปี 2549 แต่ตอนนี้ทำท่าเหมือนจะต้องไปในแนวทางประชาธิปไตยถาวร เพราะเกิดมีขบวน
การประชาชนถาวรขึ้นทั้ง 2 ข้าง แต่ข้างประชาธิปไตยมีคนมากกว่า เลือกตั้งทีไรก็ชนะทุกที
ต่างประเทศก็จ้องดูอยู่ คงทำแบบ stop and go ลำบากขึ้น และจะมีเรื่องตั้งข้อสังเกตได้อีกมาก
บ่นมามากแล้ว ต่อไปก็จะพบกันทุกวันพฤหัสบดี คงจะเขียนเบาบ้าง หนักบ้าง ไม่เหมือนที่เขียนให้
ประชาชาติธุรกิจ ซึ่งหนักไปทางเรื่องที่เป็นกึ่งวิชาการ เขียนที่มติชนตั้งใจจะไม่เขียนอย่างนั้น แต่อยาก
จะเขียนจาก "ใจ" มากกว่า ความยาวก็คงประมาณนี้
เอาไว้พบกันทุกวันพฤหัสบดี
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365048537&grpid=01&catid=&subcatid=
ดีใจที่จะได้เจอกับ อ.จ.พี่โกร่ง ...ใน "มติชน" รายวัน แต่ปัญหาคือ ..."มติชน"
จะเอามาใส่ใน เว็ป ให้พวกเราๆ ได้อ่านกันฟรีๆ ไหม
ถ้ามันอยู่ใน "มติชนออนไลน์" สัญญาว่าจะเอามาปะให้อ่านกัน ....
วันนี้ แค่ เขียนเปิดตัว ก็รู้สึกว่า มันส์แล้ว .... ชอบสไตล์การเขียนแบบนี้
ของ "พี่โกร่ง" มากกว่าเขียนแบบวิชาการ รอดู... พฤหัสหน้ากันนะคะ ...
เขียนจากใจ .... วีรพงษ์ รามางกูร ...มติชนออนไลน์
(ที่มา:มติชนรายวัน 4 เม.ย.2556)
หลังจากโดนเกลี้ยกล่อมจากทีมมติชนรายวัน นำโดยคุณจรัญ พงษ์จีน คุณวรศักดิ์ ประยูรศุข
คุณทวีศักดิ์ บุตรตัน และพรรคพวกอยู่หลายเพลาให้มาเป็นคอลัมนิสต์ของมติชน ในที่สุดก็
ยอมตกลงจะเพิ่มอาชีพจากการเป็นนักธุรกิจ เป็นประธานบริษัทหลายแห่ง มาเป็นนักเขียน
ประจำค่ายมติชนรายวัน โดยสัญญากันว่าจะเขียนสัปดาห์ละครั้ง ก็ลองดูว่าจะไปได้กี่น้ำ หลัง
จากเขียนให้ประชาชาติในคอลัมน์ "คนเดินตรอก" เป็นประจำมาถึง 12 ปี ไม่เคยคิดว่าจะเขียน
หนังสือเป็นประจำได้ แต่ก็เขียนให้ประชาชาติได้ และสามารถพิมพ์รวมเป็นเล่มได้ถึง 12 เล่มแล้ว
ทุกอย่างมันเปลี่ยนไปได้ ดูแล้วบ้านเมืองเรา บางอย่างก็เปลี่ยนไปหมด
ไข่เป็ดเคยถูกกว่าไข่ไก่ เดี๋ยวนี้ไข่เป็ดก็แพงกว่าไข่ไก่ เนื้อวัวเคยถูกกว่าเนื้อหมูเดี๋ยวนี้ก็แพงกว่า
ไข่ไก่รัฐบาลสมัยจอมพล ป. เคยโฆษณาว่าดีรับประทาน มากๆ ได้ เดี๋ยวนี้ก็ว่าไม่ดี จะเพิ่มไขมัน
ในเส้นเลือด
สุภาษิตสมัยก่อนกล่าวว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เดี๋ยวนี้ก็ตีลูกไม่ได้เสียแล้ว แต่วัวยังผูกได้หรือ
เปล่าไม่รู้ รู้แต่ว่าต้องเลี้ยงด้วยเบียร์แล้วคนก็ต้องนวดให้วัว
เคยท่องกันว่ากฎหมายห้ามใช้ย้อนหลังในทางที่จะเป็นโทษ เดี๋ยวนี้ก็ใช้กันหน้าตาเฉย เคยพร่ำ
สอนกันตามภาษิตกฎหมายว่า "ไม่มีกฎหมาย ไม่มีผิด" หรือคนทำผิดได้ต้องมีกฎหมายบอกว่าผิด
แต่รัฐธรรมนูญของเราก็บอกว่าทำได้ แล้วแต่กรณี แล้วศาลก็เคยตัดสินมาแล้วด้วย
เคยเข้าใจว่าศาลรัฐธรรมนูญเป็นสถาบันที่ควรจะต้องได้รับการยอมรับ และความเคารพนับถือมาก
ที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันศาลอื่นๆ ผูกพันรัฐสภา
ผูกพันคณะรัฐมนตรี ผูกพันองค์กรอิสระต่างๆ
ก็เลยเข้าใจว่าศาลสูงสุดเช่นนี้ ต้องได้ตุลาการที่เข้าใจซาบซึ้งในเรื่องระบอบการปกครองประชาธิปไตย
ซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ระบอบนี้เป็นระบอบที่อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย นอกจาก
เข้าใจตัวหนังสือที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ
ที่สำคัญต้องมีจิตเป็นอุเบกขาปราศจากเสียซึ่งความรัก ความเกลียด และต้องเข้าใจถึงบทบาทของตน
แต่เมื่อประธานออกมาสารภาพเสียเองว่าการวินิจฉัยตัดสินคดีนายกรัฐมนตรีสมัคร น่าจะวินิจฉัยแบบสุก
เอาเผากิน ยกข้อกฎหมายมาก่อนข้อเท็จจริง รวมทั้งนิยามการกระทำตามพจนานุกรม
ในกรณีคดีนายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ตัดสินไปด้วยมูลเหตุจูงใจที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ถ้าพรรคฝ่ายค้านจับมือกับพรรครัฐบาลก็จะตัดสินอีกอย่างหนึ่ง แต่ปรากฏว่าเมื่อตัดสินไป ความขัด
แย้งนอกจากจะไม่ยุติแล้วยังกลับกลายเป็นความขัดแย้งถาวรไป เพราะคนระดับรากหญ้าทนไม่ได้กับ
การมีสองมาตรฐาน รู้สึกว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกดูถูกเหยียดหยามว่าเป็นเสียงที่ไม่มีคุณภาพ
เป็นเสียงที่ซื้อได้ ไม่เหมือนเสียงของคนชั้นสูง เป็นเสียงที่มีคุณภาพซื้อไม่ได้ เมื่อถูกถามว่าแล้วจะ
เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร ก็ตอบว่าเป็น "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" ซึ่งไม่ทราบแปลว่าอะไร
การที่สังคมไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลง ถ้าจะยืมคำเศรษฐศาสตร์ที่นิยามเศรษฐกิจ
อังกฤษยุคที่พรรคแรงงานเฟื่องฟู ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจแบบ "เดินหน้าและถอยหลัง" หรือ "stop and
going" กล่าวคือพอเศรษฐกิจเริ่มขยับตัวไปข้างหน้า สหภาพแรงงานของอังกฤษก็ขอขึ้นค่าแรง ทำให้
เกิดเงินเฟ้อ เศรษฐกิจก็ชะงักงันไปพักใหญ่ สหภาพก็หยุดเรียกร้องการขึ้นค่าแรง พอเศรษฐกิจจะเริ่ม
ฟื้นอีก สหภาพแรงงานก็เอาอีกอยู่อย่างนี้
การเมืองไทยตลอด 80 ปีที่ผ่านมาก็เหมือนกัน มีประชาธิปไตยบ้าง ปฏิวัติบ้าง ครึ่งใบบ้าง สลับกันไป
มาจนถึงปี 2549 แต่ตอนนี้ทำท่าเหมือนจะต้องไปในแนวทางประชาธิปไตยถาวร เพราะเกิดมีขบวน
การประชาชนถาวรขึ้นทั้ง 2 ข้าง แต่ข้างประชาธิปไตยมีคนมากกว่า เลือกตั้งทีไรก็ชนะทุกที
ต่างประเทศก็จ้องดูอยู่ คงทำแบบ stop and go ลำบากขึ้น และจะมีเรื่องตั้งข้อสังเกตได้อีกมาก
บ่นมามากแล้ว ต่อไปก็จะพบกันทุกวันพฤหัสบดี คงจะเขียนเบาบ้าง หนักบ้าง ไม่เหมือนที่เขียนให้
ประชาชาติธุรกิจ ซึ่งหนักไปทางเรื่องที่เป็นกึ่งวิชาการ เขียนที่มติชนตั้งใจจะไม่เขียนอย่างนั้น แต่อยาก
จะเขียนจาก "ใจ" มากกว่า ความยาวก็คงประมาณนี้
เอาไว้พบกันทุกวันพฤหัสบดี
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1365048537&grpid=01&catid=&subcatid=
ดีใจที่จะได้เจอกับ อ.จ.พี่โกร่ง ...ใน "มติชน" รายวัน แต่ปัญหาคือ ..."มติชน"
จะเอามาใส่ใน เว็ป ให้พวกเราๆ ได้อ่านกันฟรีๆ ไหม
ถ้ามันอยู่ใน "มติชนออนไลน์" สัญญาว่าจะเอามาปะให้อ่านกัน ....
วันนี้ แค่ เขียนเปิดตัว ก็รู้สึกว่า มันส์แล้ว .... ชอบสไตล์การเขียนแบบนี้
ของ "พี่โกร่ง" มากกว่าเขียนแบบวิชาการ รอดู... พฤหัสหน้ากันนะคะ ...