ศรัทธา
คาดเชือก คาถาพัน
ไม่ใช่เฉพาะแต่ นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีศาลอาญาเท่านั้นที่ "มึนไปเลย" เมื่อรับทราบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจ-เชื้อพระวงศ์ซาอุดีอาระเบีย
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าคำร้องของจำเลยในคดีนี้ฟังขึ้น และกฎหมายสืบพยานต่างประเทศนั้น "ขัดรัฐธรรมนูญ" เพราะไม่คุ้มครองสิทธิ์จำเลย
คราวนี้ก็ป่วนสิครับ
ไหนจะผลต่อคดีนี้ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือหน้าตาของประเทศ
ไหนจะผลกับคดีอื่นๆ อย่างคดียาเสพติด คดีอาชญากรรมข้ามชาติ ที่สืบพยานกันอย่างนี้มาหลายครั้ง และยังต้องสืบกันอีกมากในอนาคต
แต่ที่ยิ่งทำให้ป่วนหนักข้อขึ้นไป ก็คือการอภิปรายของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ที่บอกว่าคำวินิจฉัยในคดี นายสมัคร สุนทรเวช นั้นผิดพลาดเพราะความสุกเอาเผากิน
ถึงจะแก้ตัวทีหลังว่าที่บอกว่าผิดพลาดนั้นหมายถึงการเขียนสำนวน ไม่ใช่เนื้อหาของคดี
แต่ก็ฟังไม่ค่อยขึ้น
เพราะตอนที่ท่านพูดนั้นมีการยกตัวอย่างประกอบด้วยว่า เวลาพิจารณาไปยกเอาข้อกฎหมายขึ้นมาก่อนข้อเท็จจริง ทั้งที่ควรจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นเบื้องต้นก่อน
จะให้เชื่อท่อนไหนดี?
ไหนจะเรื่องที่บอกว่ายุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมา เพราะกลัวว่าการจลาจลในบ้านเมืองขณะนั้นจะไม่จบอีก
ชาวบ้านเลยถึงบางอ้อว่า เดี๋ยวนี้เวลาท่านวินิจฉัยคดี นอกจากหลักกฎหมายแล้วยังเอาปัญหาการเมืองมาเป็นปัจจัยร่วมพิจารณาด้วย
แล้วต่อไปชาวบ้านจะรู้ไหมว่าคดีไหน สุกเอาเผากินหรือละเอียดรอบคอบ
คดีไหนใช้หลักกฎหมายหรือใช้หลักการเมืองพิจารณา
และขออนุญาตตบท้ายแบบธรรมะธัมโมหน่อยว่า ศรัทธาตามหลักพุทธศาสนานั้นมี 4 ประการ
ขึ้นมาข้อแรกเลยก็คือ
กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง
คือจงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk16Y3dOVEk1TWc9PQ==§ionid=
บ้านนี้เมืองนี้ จะใช้อะไรเป็นมาตรฐานในการตัดสินคดีความ
เมื่อกฎหมายมันหาความเที่ยงธรรมไม่ได้
ตัวบทกฎหมาย เป็นมารตฐานหาได้จากไหน
แม้แต่ขบวนการของศาลยังมึนไปกับการตัดสินของตลก.
ศรัทธา
คาดเชือก คาถาพัน
ไม่ใช่เฉพาะแต่ นายทวี ประจวบลาภ อธิบดีศาลอาญาเท่านั้นที่ "มึนไปเลย" เมื่อรับทราบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจ-เชื้อพระวงศ์ซาอุดีอาระเบีย
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าคำร้องของจำเลยในคดีนี้ฟังขึ้น และกฎหมายสืบพยานต่างประเทศนั้น "ขัดรัฐธรรมนูญ" เพราะไม่คุ้มครองสิทธิ์จำเลย
คราวนี้ก็ป่วนสิครับ
ไหนจะผลต่อคดีนี้ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือหน้าตาของประเทศ
ไหนจะผลกับคดีอื่นๆ อย่างคดียาเสพติด คดีอาชญากรรมข้ามชาติ ที่สืบพยานกันอย่างนี้มาหลายครั้ง และยังต้องสืบกันอีกมากในอนาคต
แต่ที่ยิ่งทำให้ป่วนหนักข้อขึ้นไป ก็คือการอภิปรายของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ที่บอกว่าคำวินิจฉัยในคดี นายสมัคร สุนทรเวช นั้นผิดพลาดเพราะความสุกเอาเผากิน
ถึงจะแก้ตัวทีหลังว่าที่บอกว่าผิดพลาดนั้นหมายถึงการเขียนสำนวน ไม่ใช่เนื้อหาของคดี
แต่ก็ฟังไม่ค่อยขึ้น
เพราะตอนที่ท่านพูดนั้นมีการยกตัวอย่างประกอบด้วยว่า เวลาพิจารณาไปยกเอาข้อกฎหมายขึ้นมาก่อนข้อเท็จจริง ทั้งที่ควรจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นเบื้องต้นก่อน
จะให้เชื่อท่อนไหนดี?
ไหนจะเรื่องที่บอกว่ายุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย และมัชฌิมา เพราะกลัวว่าการจลาจลในบ้านเมืองขณะนั้นจะไม่จบอีก
ชาวบ้านเลยถึงบางอ้อว่า เดี๋ยวนี้เวลาท่านวินิจฉัยคดี นอกจากหลักกฎหมายแล้วยังเอาปัญหาการเมืองมาเป็นปัจจัยร่วมพิจารณาด้วย
แล้วต่อไปชาวบ้านจะรู้ไหมว่าคดีไหน สุกเอาเผากินหรือละเอียดรอบคอบ
คดีไหนใช้หลักกฎหมายหรือใช้หลักการเมืองพิจารณา
และขออนุญาตตบท้ายแบบธรรมะธัมโมหน่อยว่า ศรัทธาตามหลักพุทธศาสนานั้นมี 4 ประการ
ขึ้นมาข้อแรกเลยก็คือ
กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง
คือจงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk16Y3dOVEk1TWc9PQ==§ionid=
บ้านนี้เมืองนี้ จะใช้อะไรเป็นมาตรฐานในการตัดสินคดีความ
เมื่อกฎหมายมันหาความเที่ยงธรรมไม่ได้
ตัวบทกฎหมาย เป็นมารตฐานหาได้จากไหน