
มติศาลรธน.ชี้"คดีซาอุฯ" สืบพยานตปท.ไม่ได้ อธิบดีศาลอาญาเห็นต่าง
ผลจากมติศาลรัฐธรรมนูญ ชุดที่มี วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธาน
มีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยการส่งประเด็นไปสืบพยานคดีอุ้มฆ่า มูฮัมหมัด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจและเชื้อพระวงศ์ซาอุดีอาระเบีย ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี ตามพ.ร.บ.ความ ร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 มาตรา 41
ระบุขัดต่อหลักนิติธรรมและเป็นบทบัญญัติที่จำกัดต่อสิทธิของจำเลยในคดีอาญา
จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรค 2 มาตรา 29 และมาตรา 10 (2) (3) (4) (7)
อันมีมูลเหตุมาจาก พล.ต.ท. สมคิด บุญถนอม อดีตจเรตำรวจ จำเลยในคดีร่วมกันอุ้มฆ่านายมูฮัมหมัด อัลรูไวลี่
ที่ขอให้ศาลอาญาส่งคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอาญาที่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปนำสืบพยานปาก พ.ต.ท. สุวิชชัย แก้วผลึก ที่ยูเออี
จึงมีเสียงสะท้อนทั้งจากอัยการและนักวิชาการ ตลอดจนสังคมในวงกว้าง
สำหรับอัยการยืนยันว่าได้กระทำการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงให้มากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ถามค้านแล้ว แต่จำเลยไม่กระทำ
อีกทั้งพ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศ เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้การยอมรับ
เช่นเดียวกับนักวิชาการสะท้อนว่าศาลรัฐธรรมนูญ น่าจะวินิจฉัยเฉพาะความเห็นที่แย้งกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ไม่ควรเป็นเรื่องที่เห็นแย้งกับคดีอาญา
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7
เคยเป็นพยานจำเลยในคดีอาญา ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฟ้องหมิ่นประมาท น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่เขียนบทความดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากที่วินิจฉัยคดีให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นายกฯ พ้นผิดในคดีซุกหุ้น
ปัจจุบันเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ยืนยันคดีนี้หากมีการสืบพยานไว้แล้ว จะนำคำพยานปากนี้มาเป็นหลักฐานไม่ได้เลย เพราะจะเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ
ย้ำด้วยว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญ ไม่ได้หมายความว่าพ.ร.บ. ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 ไม่ดี
แต่พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวควรมีรายละเอียดที่เปิดโอกาสให้กับฝ่ายจำเลยมากกว่านี้
เพราะรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติไว้ว่าการดำเนินคดีทางอาญาจำเป็นจะต้องเปิดโอกาสให้จำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ โดยให้จำเลยได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เข้าถึงพยานการตรวจสอบพยานหลักฐานได้หมด
ดังนั้น ต้องปรับปรุงกฎหมายนี้ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
ทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอัน ดับ 2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ยอมรับว่าคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้กระทบแค่คดีนักธุรกิจเชื้อพระวงศ์ซาอุฯเท่านั้น
แต่ยังส่งผลกระทบถึงคดีที่ต้องไปสืบพยานในต่างประเทศทั้งหมด
ที่สำคัญ ผลคำวินิจฉัยนี้ถือว่าจำเลยได้ประโยชน์
ยืนยันจะหารือกับรองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญาและองค์คณะสำนวนของสำนวนคดีนี้อย่างละเอียด ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าอย่างไร ผลคำวินิจฉัยมีมากน้อยแค่ไหน จะกระทบต่อการพิจารณาคดีนี้หรือคดีอื่นๆ อย่างไร
เพราะตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ศาลส่งประเด็นไปสืบพยานต่างประเทศ ตามพ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศหลายคดี
โดยเฉพาะคดียาเสพติดระหว่างประเทศ ซึ่งต้องนำคำวินิจฉัยมาแปลความหาข้อยุติในฐานะของศาลอาญา
ระบุด้วยว่า ในเมื่อศาลยังไม่ได้รับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ ถือว่าศาลยังไม่ รับรู้
ดังนั้น กระบวนการในการพิจารณาของศาล จะเป็นไปตามที่นัดไว้ในวันที่ 20 พ.ค.นี้
หรือถ้าหากศาลได้รับก่อน ก็จะพิจารณาพร้อมกันในวันนัดเดิม
ด้านคนร้อง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม
เกิด 25 มี.ค. 2495 น้องชายของพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา
นตท.12 นรต.28 ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ วปอ. รุ่นที่ 4616
อดีตผบก.เชียงราย ผู้บังคับการกองตำรวจทางหลวง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และผช.ผบ.ตร.
เคยได้รับมอบหมายให้เข้าไปสืบสวนติดตามคนร้ายที่ฆ่า 3 เจ้าหน้าที่ทูตซาอุฯ ซึ่งเข้ามาติด ตามเรื่องเพชรซาอุฯในยุคนั้น
ก่อนถูกดีเอสไอออกหมายเรียกคดีอุ้มฆ่า มูฮัมหมัด อัลรูไวลี่ เหตุเกิดเมื่อปี 2533
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROemIyTXdNVEUzTURNMU5nPT0=§ionid=TURNd09RPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB4Tnc9PQ==
ปอลิง.วีระกรรมมากมายเลยครับศาลชุดนี้...
ศาลรัฐธรรมนูญ อีกแล้วครับท่าน..มติศาลรธน.ชี้"คดีซาอุฯ" สืบพยานตปท.ไม่ได้ อธิบดีศาลอาญาเห็นต่าง
ผลจากมติศาลรัฐธรรมนูญ ชุดที่มี วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ เป็นประธาน
มีมติ 5 ต่อ 4 วินิจฉัยการส่งประเด็นไปสืบพยานคดีอุ้มฆ่า มูฮัมหมัด อัลรูไวลี่ นักธุรกิจและเชื้อพระวงศ์ซาอุดีอาระเบีย ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี ตามพ.ร.บ.ความ ร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ.2535 มาตรา 41
ระบุขัดต่อหลักนิติธรรมและเป็นบทบัญญัติที่จำกัดต่อสิทธิของจำเลยในคดีอาญา
จึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรค 2 มาตรา 29 และมาตรา 10 (2) (3) (4) (7)
อันมีมูลเหตุมาจาก พล.ต.ท. สมคิด บุญถนอม อดีตจเรตำรวจ จำเลยในคดีร่วมกันอุ้มฆ่านายมูฮัมหมัด อัลรูไวลี่
ที่ขอให้ศาลอาญาส่งคำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลอาญาที่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปนำสืบพยานปาก พ.ต.ท. สุวิชชัย แก้วผลึก ที่ยูเออี
จึงมีเสียงสะท้อนทั้งจากอัยการและนักวิชาการ ตลอดจนสังคมในวงกว้าง
สำหรับอัยการยืนยันว่าได้กระทำการตามขั้นตอนของกฎหมาย เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงให้มากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ถามค้านแล้ว แต่จำเลยไม่กระทำ
อีกทั้งพ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศ เกือบทุกประเทศทั่วโลกให้การยอมรับ
เช่นเดียวกับนักวิชาการสะท้อนว่าศาลรัฐธรรมนูญ น่าจะวินิจฉัยเฉพาะความเห็นที่แย้งกับรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ไม่ควรเป็นเรื่องที่เห็นแย้งกับคดีอาญา
วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7
เคยเป็นพยานจำเลยในคดีอาญา ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฟ้องหมิ่นประมาท น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่เขียนบทความดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากที่วินิจฉัยคดีให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นายกฯ พ้นผิดในคดีซุกหุ้น
ปัจจุบันเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ยืนยันคดีนี้หากมีการสืบพยานไว้แล้ว จะนำคำพยานปากนี้มาเป็นหลักฐานไม่ได้เลย เพราะจะเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ
ย้ำด้วยว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญ ไม่ได้หมายความว่าพ.ร.บ. ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 ไม่ดี
แต่พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวควรมีรายละเอียดที่เปิดโอกาสให้กับฝ่ายจำเลยมากกว่านี้
เพราะรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติไว้ว่าการดำเนินคดีทางอาญาจำเป็นจะต้องเปิดโอกาสให้จำเลยได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ โดยให้จำเลยได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เข้าถึงพยานการตรวจสอบพยานหลักฐานได้หมด
ดังนั้น ต้องปรับปรุงกฎหมายนี้ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
ทวี ประจวบลาภ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอัน ดับ 2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ยอมรับว่าคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้กระทบแค่คดีนักธุรกิจเชื้อพระวงศ์ซาอุฯเท่านั้น
แต่ยังส่งผลกระทบถึงคดีที่ต้องไปสืบพยานในต่างประเทศทั้งหมด
ที่สำคัญ ผลคำวินิจฉัยนี้ถือว่าจำเลยได้ประโยชน์
ยืนยันจะหารือกับรองอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอาญาและองค์คณะสำนวนของสำนวนคดีนี้อย่างละเอียด ว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าอย่างไร ผลคำวินิจฉัยมีมากน้อยแค่ไหน จะกระทบต่อการพิจารณาคดีนี้หรือคดีอื่นๆ อย่างไร
เพราะตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ศาลส่งประเด็นไปสืบพยานต่างประเทศ ตามพ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศหลายคดี
โดยเฉพาะคดียาเสพติดระหว่างประเทศ ซึ่งต้องนำคำวินิจฉัยมาแปลความหาข้อยุติในฐานะของศาลอาญา
ระบุด้วยว่า ในเมื่อศาลยังไม่ได้รับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ ถือว่าศาลยังไม่ รับรู้
ดังนั้น กระบวนการในการพิจารณาของศาล จะเป็นไปตามที่นัดไว้ในวันที่ 20 พ.ค.นี้
หรือถ้าหากศาลได้รับก่อน ก็จะพิจารณาพร้อมกันในวันนัดเดิม
ด้านคนร้อง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม
เกิด 25 มี.ค. 2495 น้องชายของพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา
นตท.12 นรต.28 ปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ วปอ. รุ่นที่ 4616
อดีตผบก.เชียงราย ผู้บังคับการกองตำรวจทางหลวง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 และผช.ผบ.ตร.
เคยได้รับมอบหมายให้เข้าไปสืบสวนติดตามคนร้ายที่ฆ่า 3 เจ้าหน้าที่ทูตซาอุฯ ซึ่งเข้ามาติด ตามเรื่องเพชรซาอุฯในยุคนั้น
ก่อนถูกดีเอสไอออกหมายเรียกคดีอุ้มฆ่า มูฮัมหมัด อัลรูไวลี่ เหตุเกิดเมื่อปี 2533
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROemIyTXdNVEUzTURNMU5nPT0=§ionid=TURNd09RPT0=&day=TWpBeE15MHdNeTB4Tnc9PQ==
ปอลิง.วีระกรรมมากมายเลยครับศาลชุดนี้...