พระสูตรนี้ ใช่ ปฏิจจสมุปบาท แบบ วาระจิตหนึ่ง หรือไม่?

ความนำ
นักอภิธรรม (ของผมผู้หนึ่ง) กล่าวว่า

พระสูตร (๕ อาคม) ที่ตรัส ปฏิจจสมุปบาททั้งหมดในพระสุตตันตะปิฎกนั้น (ใคร?ละที่) สามารถอธิบายได้ ๒ แบบ

อธิบายแบบที่ ๑ (แบบพระสุตตันตนัย)


--- ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด (สมุทัย)  แบบ พระสูตร --- "ตามที่พระเถระครั้งปฐมสังคายนารักษามา (ภาษาที่ใช้ หรือ โดยบัญญัติ) ล้วน "ต้องเนื่องกับ อัทธา ๓" (คำนี้ มีในวิสุทธิมัคค์  ซึ่งวิสุทธิมัคค์ไม่ใช่อธิบายพระไตรปิฎกตอนใดตอนหนึ่งโดยเฉพาะ) คือ ๓ ภพ ๓ ชาติ ทุกๆ พระสูตร

เช่น
พระสูตร --- เพราะมี อวิชชา  เป็น ปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย <----- ก็จะอธิบาย ด้วย อาศัยคำว่า อัทธา ๓ ตามที่ปรากฎใน วิสุทธิมัคค์ คือ ปฏิจจสมุปบาทแบบ ๓ ภพ ๓ชาติ (ทั้งๆ ที่ วิสุทธิมัคค์ ไม่ใช่ อธิบายพระไตรปิฎก ตอนใดตอนหนึ่งโดยเฉพาะ ฯ)


อธิบายแบบที่ ๒ (แบบพระอภิธัมนัย - อภิธัมมัตถสังคหะ)


--- ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด (สมุทัย)  แบบ พระอภิธัมฯ --- คือ เอา "องค์ธรรม ตามพระอภิธัมมัตถสังคหะ" มา "แทนที่ คำ พระพุทธภาษิต ตามที่พระเถระครั้งปฐมสังคายนารักษา จากพระโอษฐ์มา

ตัวอย่าง เช่น

พระสูตร (พระเถระครั้งปฐมสังคายนารักษามา) --- เพราะมี อวิชชา  เป็น ปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย ---
พระอภิธัม (พระอนุรุทธาจารย์ ภิกษุลังกาสิงหล) ก็เอา "องค์ธรรม คือ"  "โมหะเจตสิก" แทน คำว่า "อวิชชา  / สังขาร  ก็เอา เจตสิก ๕๐ ประเภท มาแทน "สังขารทั้งหลาย"

เป็นต้น

^^^^
ข้างบน  คือ วิธีการสื่อสาร แบบนักอภิธัมฯ  เมื่อแสดง ว่า "ปฏิจจสมุปบาท ทุกๆ พระสูตร  ที่พระเถระครั้งปฐมสังคายนารักษามา" นั้น

----- สามารถ อธิบายได้ (ตามที่นักอภิธัม ฯ ศึกษามา) ๒ แบบ -----




แล้ว ยังมี ปฏิจจสมุปบาทแบบ ที่ ๓  คือ "ปฏิจจสมุปบาทแบบวาระจิตเดียว"



ครั้นขอให้ อธิบาย ปฏิจจสมุปบาทแบบวาระจิตเดียว หรือ ขณะจิตเดียว หรือขณะจิตหนึ่ง พร้อม อ้างพระสูตร ตามที่พระเถระครั้งปฐมสังคายนารักษามา

สหายธรรมนั้น "ยังไม่อธิบาย"  (เพราะเหตุใด ยกไว้)



ประเด็นสนทนา
ปฏิจจสมุปบาทแบบวาระจิตเดียว "อธิบาย อย่างไร? ตามที่ตรัสไว้" เช่น
(๑) พระสูตรที่ตรัสตั้งต้นที่ อวิชชา
กับ
(๒) พระสูตรที่ไม่ตรัสตั้งต้นที่อวิชชา


ตามด้วย

พระสูตรใด (๑)  ที่ ท่านเห็นว่า นั่นไง = ปฏิจจสมุปบาทแบบวาระจิตเดียว (หรือ ขณะจิตหนึ่ง)
หรือว่า
พระสูตรใด (๒) ที่ ท่านเห็นว่า นั่นไง = ปฏิจจสมุปบาทแบบวาระจิตเดียว (หรือขณะจิตหนึ่ง)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่