บทนำ
เนื่องจากมีผู้นำหลักธรรมที่สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต ซึ่งได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับการแปลความปฏิจจสมุปบาทไว้ในหนังสือพุทธธรรม ไปเผยแพร่
แล้วตีความว่า สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติ เห็นด้วยเฉพาะแบบขณะจิต
ความจริงคือ สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต
ท่านไม่เห็นด้วยกับการอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบมูลการณ์
ท่านเห็นด้วยกับการอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติ และแบบขณะจิตฯ
เนื้อหาที่อธิบาย
ท่านเขียนเป็นหัวข้อไว้ แล้วหลังจากนั้นก็อธิบาย มีหัวข้อดังนี้
๓. การแปลความหมายหลักปฏิจจสมุปบาท
หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ ถูกนำมาแปลความหมายและอธิบายโดยนัยต่างๆ ซึ่งพอสรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
๑. การอธิบายแบบแสดงวิวัฒนาการของโลกและชีวิต โดยการตีความพุทธพจน์บางแห่งตามตัวอักษร เช่น พุทธดำรัสว่า โลกสมุทัย
[302] เป็นต้น
๒. การอธิบายแบบแสดงกระบวนการเกิด – ดับแห่งชีวิต และความทุกข์ของบุคคล ซึ่งแยกได้เป็น ๒ นัย
ในที่นี้ มุ่งเน้นจะนำเสนอการตีความแบบที่ ๑. จึงปิดหัวข้อย่อยของข้อที่ ๒ ไว้ ผู้ศึกษาคลิกอ่านเพิ่มเติมได้จากข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ๒. การอธิบายแบบแสดงกระบวนการเกิด – ดับแห่งชีวิต และความทุกข์ของบุคคล ซึ่งแยกได้เป็น ๒ นัย
๑) แสดงกระบวนการช่วงกว้างระหว่างชีวิตต่อชีวิต คือ แบบข้ามภพข้ามชาติ
เป็นการแปลความหมายตามรูปศัพท์อีกแบบหนึ่ง
และ เป็นวิธีอธิบายที่พบทั่วไปในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา
ซึ่งขยายความหมายออกไปอย่างละเอียดพิสดาร
ทำให้กระบวนการนี้มีลักษณะเป็นแบบแผน มีขั้นตอนและคำบัญญัติเรียกต่าง ๆ จนดูสลับซับซ้อนแก่ผู้เริ่มศึกษา
๒) แสดงกระบวนการที่หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาในทุกขณะของการดำรงชีวิต
เป็นการแปลความหมายที่แฝงอยู่ในคำอธิบายนัยที่ ๑) นั่นเอง
แต่เล็งเอานัยอันลึกซึ้งหรือนัยประยุกต์ของศัพท์ตามที่เข้าใจว่าเป็นพุทธประสงค์
(หรือเจตนารมณ์ของหลักธรรม) เฉพาะส่วนที่เป็นปัจจุบัน
วิธีอธิบายนัยนี้ยืนยันตัวเองโดยอ้างพุทธพจน์ในพระสูตรได้หลายแห่ง เช่น
ในเจตนาสูตร [303] ทุกขนิโรธสูตร [304] และโลกนิโรธสูตร [305] เป็นต้น
ส่วนในพระอภิธรรม มีบาลีแสดงกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาททั้งหมดที่เกิดครบถ้วนในขณะจิตอันเดียวไว้ด้วย
จัดเป็นตอนหนึ่งในคัมภีร์ทีเดียว [306]
เชิงอรรถ [302] เช่น สํ.นิ. ๑๖/๑๖๔/๘๗ https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=16&A=1950&w=%F1%F6%F4
อรรถกถา ดูคำอธิบายจากความเห็นที่ 1 [https://ppantip.com/topic/43000505/comment1]
[303] สํ.นิ. ๑๖/๑๔๕/๗๘ https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=16&A=1731&w=%F1%F4%F5
[304] สํ.นิ. ๑๖/๑๖๓/๘๗ https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=16&A=1920&w=%F1%F6%F4
[305] สํ.นิ. ๑๖/๑๖๔/๘๗ https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=16&A=1950&w=%F1%F6%F4
[306] อภิธรรมภาชนีย์แห่งปัจจยาการวิภังค์, อภิ.วิ. ๓๕/๒๗๔-๔๓๐/๑๘๕-๒๕๗
ข้อสังเกตของผู้รวบรวม
มีผู้นำโลกนิโรธสูตร ไปตีความทั้งแบบมูลการณ์ และ แบบขณะจิตเดียว
การนำโลกนิโรธสูตรไปตีความแบบมูลการณ์โดยอ้างคำว่าโลก ความเกิดแห่งโลก ซึ่งผิดไปจากหลักพุทธธรรม
ในการอธิบายแบบที่ ๑
บางครั้ง
มีผู้พยายามตีความหมายให้หลักปฏิจจสมุปบาทเป็นทฤษฎีแสดงต้นกำเนิดของโลก
โดยถือเอาอวิชชาเป็นมูลการณ์ (The First Cause) [307] แล้วจึงวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับหัวข้อทั้ง ๑๒ นั้น
เชิงอรรถ
[307] ผู้ตีความหมายอย่างนี้
บางพวกแปลคำ “อวิชชา” ว่า สิ่งหรือภาวะที่ไม่มีความรู้ จึงอธิบายว่า วัตถุเป็นต้นกำเนิดแห่งชีวิต
บางพวกแปลคำ “อวิชชา” ว่า ภาวะที่ไม่อาจรู้ได้ หรือ ภาวะที่ไม่มีใครรู้ถึง จึงอธิบายอวิชชาเป็น God ไปเสีย
ส่วนคำว่า “สังขาร” ก็ตีความหมายคลุมเอาสังขตธรรมไปเสียทั้งหมด ดังนี้เป็นต้น
อ้างอิง
https://book.watnyanaves.net/buddhadhamma/index.php?cid=84&pid=56
และคลิกอ่านที่มุมขวามมือด้านบนของหน้าจอฯ
เนื่องจากพื้นที่พิมพ์ตัวอักษรจำกัด ผู้รวบรวมลงภาพเอกสารหน้าถัดไป ไว้ดังนี้

งานนิพนธิ์อื่น ที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายปฎิจจสมุปบาทแบบมูลการณ์
มองดู ฉันทะ-ตัณหา ไล่มาตั้งแต่เจงกิสข่าน
https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/668
ผู้ศึกษาคลิกดาวน์โหลดจากไฟล์ pdf
ผู้รวบรวม นำภาพอักษรบางตอนมาให้อ่าน ดังนี้


อ่านศึกษาร่วมกับงานนิพนธ์อื่น ๆ ที่สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต ได้นิพนธ์ไว้ พอสรุปได้ว่า
1. ท่านอธิบายความเป็นมาการอธิบายปฏิจจสมุปบาท ว่า แต่ละแบบอย่างมีความเป็นมาอย่งไร
2. ท่านไม่ยอมรับการอธิบายแบบมูลการณ์ โดยแสดงเหตุผลว่า ขัดกับหลักพุทธธรรม
อ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ พุทธธรรม พุทธธรรมออนไลน์ หน้า 168 จนถึง 182
ตัวอย่างพระสูตรที่แสดงถึงพระตถาคตปฏิเสธพระเจ้าผู้สร้าง
ติตถายตนสูตร ว่าด้วยที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=106
พุทธศาสนิกชน ควรรู้ว่า
อาจจะมีผู้แอบอ้างคำสอน เรื่อง อวิชชา ปฏิจจสมุปบาท (อิทัปปัจจยตา) ในพระพุทธศาสนาไปขยายความว่าคืออันเดียวกันกับมูลการณ์ของผู้สร้าง
และ ควรรู้ว่า
มีพุทธศาสนิกชนบางพวกที่อธิบายปฏิจจสมุปบาทโดยพยายามค้นหาเสาะหาที่มาของจิตดวงแรกของการกำเนิดมนุษย์คนแรกในจักรวาฬนี้
พยายามอธิบายต้นกำเนิดปฏิจจสมุปบาท ตลอดจนถึงอธิบายต้นกำเนิดมนุษย์แบบปฐมเหตุ นั่นคือ เป็นการกล่าวผิดไปจากหลักคำสอนของพระตถาคต
ข้อควรระวัง : ระวังจะพลัดหลงไปเชื่อหลักการอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบมูลการณ์ ซึ่งไม่ใช่หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา
เชิญผู้ศึกษา แสดงความเห็นอิงอรรถ อิงธรรม อิงหลักฐาน
ระวังไว้ถ้าไม่แม่นหลัก จะติดกับดักเป็นมิจฉาทิฏฐิ อันได้แก่ลัทธิเทพเจ้าบันดาลถือเอาอวิชชาและคำว่าอิทัปปัจจยตาเป็นมูลการณ์
เนื่องจากมีผู้นำหลักธรรมที่สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต ซึ่งได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับการแปลความปฏิจจสมุปบาทไว้ในหนังสือพุทธธรรม ไปเผยแพร่
แล้วตีความว่า สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต ไม่เห็นด้วยกับการอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติ เห็นด้วยเฉพาะแบบขณะจิต
ความจริงคือ สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต ท่านไม่เห็นด้วยกับการอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบมูลการณ์
ท่านเห็นด้วยกับการอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติ และแบบขณะจิตฯ
เนื้อหาที่อธิบาย
ท่านเขียนเป็นหัวข้อไว้ แล้วหลังจากนั้นก็อธิบาย มีหัวข้อดังนี้
๓. การแปลความหมายหลักปฏิจจสมุปบาท
หลักปฏิจจสมุปบาทนี้ ถูกนำมาแปลความหมายและอธิบายโดยนัยต่างๆ ซึ่งพอสรุปเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
๑. การอธิบายแบบแสดงวิวัฒนาการของโลกและชีวิต โดยการตีความพุทธพจน์บางแห่งตามตัวอักษร เช่น พุทธดำรัสว่า โลกสมุทัย[302] เป็นต้น
๒. การอธิบายแบบแสดงกระบวนการเกิด – ดับแห่งชีวิต และความทุกข์ของบุคคล ซึ่งแยกได้เป็น ๒ นัย
ในที่นี้ มุ่งเน้นจะนำเสนอการตีความแบบที่ ๑. จึงปิดหัวข้อย่อยของข้อที่ ๒ ไว้ ผู้ศึกษาคลิกอ่านเพิ่มเติมได้จากข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในการอธิบายแบบที่ ๑
บางครั้งมีผู้พยายามตีความหมายให้หลักปฏิจจสมุปบาทเป็นทฤษฎีแสดงต้นกำเนิดของโลก
โดยถือเอาอวิชชาเป็นมูลการณ์ (The First Cause) [307] แล้วจึงวิวัฒนาการต่อมาตามลำดับหัวข้อทั้ง ๑๒ นั้น
เชิงอรรถ [307] ผู้ตีความหมายอย่างนี้
บางพวกแปลคำ “อวิชชา” ว่า สิ่งหรือภาวะที่ไม่มีความรู้ จึงอธิบายว่า วัตถุเป็นต้นกำเนิดแห่งชีวิต
บางพวกแปลคำ “อวิชชา” ว่า ภาวะที่ไม่อาจรู้ได้ หรือ ภาวะที่ไม่มีใครรู้ถึง จึงอธิบายอวิชชาเป็น God ไปเสีย
ส่วนคำว่า “สังขาร” ก็ตีความหมายคลุมเอาสังขตธรรมไปเสียทั้งหมด ดังนี้เป็นต้น
อ้างอิง https://book.watnyanaves.net/buddhadhamma/index.php?cid=84&pid=56
และคลิกอ่านที่มุมขวามมือด้านบนของหน้าจอฯ
เนื่องจากพื้นที่พิมพ์ตัวอักษรจำกัด ผู้รวบรวมลงภาพเอกสารหน้าถัดไป ไว้ดังนี้
งานนิพนธิ์อื่น ที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายปฎิจจสมุปบาทแบบมูลการณ์
มองดู ฉันทะ-ตัณหา ไล่มาตั้งแต่เจงกิสข่าน
https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/668
ผู้ศึกษาคลิกดาวน์โหลดจากไฟล์ pdf
ผู้รวบรวม นำภาพอักษรบางตอนมาให้อ่าน ดังนี้
อ่านศึกษาร่วมกับงานนิพนธ์อื่น ๆ ที่สมเด็จ ป.อ.ปยุตฺโต ได้นิพนธ์ไว้ พอสรุปได้ว่า
1. ท่านอธิบายความเป็นมาการอธิบายปฏิจจสมุปบาท ว่า แต่ละแบบอย่างมีความเป็นมาอย่งไร
2. ท่านไม่ยอมรับการอธิบายแบบมูลการณ์ โดยแสดงเหตุผลว่า ขัดกับหลักพุทธธรรม
อ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือ พุทธธรรม พุทธธรรมออนไลน์ หน้า 168 จนถึง 182
ตัวอย่างพระสูตรที่แสดงถึงพระตถาคตปฏิเสธพระเจ้าผู้สร้าง
ติตถายตนสูตร ว่าด้วยที่เกิดแห่งทิฏฐิเป็นดุจท่า
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=20&siri=106
พุทธศาสนิกชน ควรรู้ว่า
อาจจะมีผู้แอบอ้างคำสอน เรื่อง อวิชชา ปฏิจจสมุปบาท (อิทัปปัจจยตา) ในพระพุทธศาสนาไปขยายความว่าคืออันเดียวกันกับมูลการณ์ของผู้สร้าง
และ ควรรู้ว่า
มีพุทธศาสนิกชนบางพวกที่อธิบายปฏิจจสมุปบาทโดยพยายามค้นหาเสาะหาที่มาของจิตดวงแรกของการกำเนิดมนุษย์คนแรกในจักรวาฬนี้
พยายามอธิบายต้นกำเนิดปฏิจจสมุปบาท ตลอดจนถึงอธิบายต้นกำเนิดมนุษย์แบบปฐมเหตุ นั่นคือ เป็นการกล่าวผิดไปจากหลักคำสอนของพระตถาคต
ข้อควรระวัง : ระวังจะพลัดหลงไปเชื่อหลักการอธิบายปฏิจจสมุปบาทแบบมูลการณ์ ซึ่งไม่ใช่หลักคำสอนในพระพุทธศาสนา
เชิญผู้ศึกษา แสดงความเห็นอิงอรรถ อิงธรรม อิงหลักฐาน