จุดแข็ง-จุดอ่อน ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ..... กวนน้ำให้ใส ... สารส้ม ....แนวหน้าออนไลน์ .....หาเสียงให้ปชป.ค่ะ

กระทู้สนทนา
1) เบอร์ หรือหมายเลขประจำตัวในการเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.
ได้รับหมายเลขประจำตัวในการเลือกตั้งครั้งนี้กันไปแล้ว ประกอบด้วย ...................
ในความจริง สำหรับสนามเลือกตั้ง กทม. ผู้สมัครคนใดได้เบอร์อะไร ไม่สำคัญเท่าใด
นัก เพราะผู้สมัครแต่ละคนก็จะมีวิธีนำเสนอตัวเองเพื่อให้ประชาชนจดจำชื่อและหมาย
เลขของตนเองจนได้ส่วนประชาชนจะลงคะแนนให้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ไม่ใช่
หมายเลขสวยเลือกผู้ว่าฯ นะ ไม่ใช่หมอนวด!ขนาดเลือกหมอนวด นักเที่ยวเขายังดู
หน้าตาและฝีมือ ไม่ใช่หลับหูหลับตาเลือกเบอร์แล้วพาขึ้นห้องเลยปี 2543 คุณสมัคร
สุนทรเวช ชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ ท่านได้เบอร์ 7  (คะแนนทิ้งห่างผู้สมัครเลขสวยอย่าง
เบอร์ 9 หรือเบอร์ 1 ไม่เห็นฝุ่น) หรือในปี 2547 คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ชนะเลือกตั้ง
ท่านได้เบอร์ 1

แต่เหตุผลที่ประชาชนไปลงคะแนนให้ก็ไม่ใช่เพราะเบอร์สวยอย่างแน่นอน และใน
ปีต่อๆ มาผู้ชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ก็ไม่ใช่เพราะเบอร์สวยเด่นอะไรเลยที่สำคัญกว่า
เบอร์ คือ ผู้สมัครมีจุดขาย มีความโดดเด่น มีความน่าเชื่อถือ ประทับใจผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งหรือไม่ขืนเชื่อตาม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ที่อ้างว่า “พล.ต.อ.พงศพัศ จับได้
หมายเลข 9 ตามประเพณีโบราณถ้าใครได้เบอร์ 9 จะถือเป็นเรื่องชื่นชม จะก้าวหน้า
จำได้ จำแม่น เพราะเป็นเลขมงคล ฟ้าลิขิตให้...”ถ้าเชื่อเช่นนั้นจริงๆ รองนายกฯ เฉลิม
น่าจะเสนอแก้ไขกฎหมายเลือกตั้ง เปลี่ยนวิธีได้มาซึ่ง ส.ส. ส.ว. หรือแม้แต่ผู้บริหาร
ท้องถิ่นเสียใหม่ ไม่ต้องเลือกตั้งให้เสียเวลา ใช้วิธี “จับฉลาก” เอาเลยเหอะ!

2) สังกัดพรรค หรือไม่สังกัดพรรค?ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตัวเองขณะเดียวกัน ก็มี
โพลที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของคนในสังคมออกมาให้เห็นบางส่วน บอกว่า
โดยการสำรวจของสวนดุสิตโพล ระหว่างวันที่ 15-19 มกราคม 2556  ประเด็นระหว่าง
“ผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง” กับ “ผู้สมัครอิสระ”  คนกรุงเทพฯ จะเลือกใคร?
พบว่าอันดับ 1 เลือกผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง 56.47% เพราะชื่นชอบพรรค
ได้รับการสนับสนุนจากพรรค มีทีมงานคอยช่วยเหลือ  มีแต้มต่อดีกว่า ฯลฯ
อันดับ 2 เลือกผู้สมัครอิสระ 40.08% เพราะดูที่ตัวบุคคล การทำงานแนวคิดเป็นอิสระ
ไม่ต้องขึ้นอยู่กับพรรคการเมือง เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ฯลฯอย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ลึก
ลงไปกว่านั้น ซึ่งจะต้องใช้ข้อมูลข้อเท็จจริง การติดตามพฤติกรรมผู้สมัคร การเฝ้า
สังเกตและประเมินอย่างถี่ถ้วน ไม่สามารถหาคำตอบได้ผ่านการทำโพล เช่นผู้สมัครที่
อ้างว่าอิสระ เชื่อได้แค่ไหนว่าไม่มีนักการเมืองหรือพรรคการเมืองแอบหนุนหลัง?
หรือผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง เชื่อได้แค่ไหนว่าพรรคการเมืองนั้นมีความเป็น
ประชาธิปไตยในความหมายของพรรคการเมืองแท้จริง หรือเป็นแค่เสาไฟฟ้า หรือ
เป็นหุ่นเชิดให้ใครบางคน?

3) จำเป็นต้องสังกัดพรรครัฐบาลหรือไม่?
เลือกตั้งครั้งนี้ ผู้สมัครพรรครัฐบาลชูธง “ไร้รอยต่อ” อ้างความได้เปรียบว่าตนสังกัด
พรรครัฐบาล สามารถจะประสานงานกับรัฐบาลได้ราบรื่น โดยที่คนระดับนายกรัฐมนตรี
แสดงอาการให้ท้าย ช่วยเหลือ สนับสนุน ซึ่งเป็นการอาศัยสถานะความเป็นรัฐบาลก่อ
ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบอย่างชัดเจนเพราะช่วยสร้างข้ออ้างที่ได้เปรียบผู้สมัคร
ไม่สังกัดพรรครัฐบาล (รวมผู้สมัครอิสระ) ที่เหลือทุกคนมากเข้า ผู้สมัครพรรคเพื่อไทย
ถึงกับอ้างว่าจะสามารถดึงงบประมาณจากรัฐบาลกลางมาใช้ในท้องถิ่น กทม.
พล.ตอ.พงศพัศ ให้สัมภาษณ์ว่า “นโยบายทำได้จริงหรือเปล่า เอาเงินมาจากไหน
แต่สำหรับผมค่อนข้างมั่นใจ เพราะเมื่อเราจะทำงานกับรัฐบาลแบบไร้รอยต่อ
งบประมาณต่างๆ เราพอมีทำ ลำพังงบประมาณของ กทม.ปีละ 5.7 หมื่นล้าน ไม่พอ
แน่ รัฐบาลอุดหนุนไปปีละ 1.2 หมื่นล้าน ก็ไม่พอกับคนประมาณ 10 ล้านคน
ผมจึงไม่มีทางขัดข้องเรื่องงบประมาณ

ฉะนั้น คนก็จะดูว่าพงศพัศบวกกับนโยบายทำได้จริงหรือไม่”พูดง่ายๆ คือ อ้างว่าจะ
อาศัยความเป็นพรรคเดียวกับรับบาลยิ่งลักษณ์ จะเอาเงินภาษีอากรแผ่นดินของคน
ทั้งประเทศมาทำนโยบายหาเสียงเอากับคน กทม.พฤติกรรมแบบนี้ จะมองว่าเป็น
จุดแข็งหรือจุดอ่อน?สำหรับประชาชน กทม.ที่เป็นสาวกพรรคเพื่อไทย เป็นแนวร่วม
เสื้อแดงเต็มตัว แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้จะเป็นจุดแข็ง เพราะได้ความสะใจ
สำหรับประชาชน กทม.ที่ไม่ชอบกลุ่มเผาเมือง แน่นอนว่าจะยิ่งเพิ่มความเกลียดชัง
เพราะรู้สึกว่าถูกเอารัดเอาเปรียบ เสมือนจับบ้านเมืองเป็นตัวประกัน
สำหรับประชาชนที่มีใจรักความเป็นธรรม ไม่ชอบวิธีเล่นการเมืองแบบเอารัดเอาเปรียบ
ฉวยโอกาส ไม่พร้อมจะเป็นขี้ข้าให้ใคร ทำแบบนี้ก็อาจจะเกิดปฏิกิริยาตอบโต้
เกิดความรู้สึกไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมก้มหัว กลายเป็นกระแสต่อต้านตีกลับไปได้เหมือนกัน
ที่อ้างว่า จะเอางบจากรัฐบาลพรรคเดียวกันมาใช้ในนโยบายของ กทม. ก็ควรถูกตอก
กลับหน้าหงายว่า เลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยออกนโยบายหาเสียงคุยโม้
โอ้อวดไว้สารพัด แต่สุดท้ายกลับไม่สามารถทำตามคำคุยโวได้อย่างแท้จริง ค่าครอง
ชีพแพง, ค่าแรงผ่านไปเกือบสองปี, เลิกจ้างคนงานฝุ่นตลบ, เงินเดือน 15,000 บาท
ยังไม่ได้, จำนำข้าว 15,000 ชาวนาก็ได้ไม่ถึง จีทูเจี๊ยะ-จีทูเจ๊ โกงอย่างเหนือเมฆ,
รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายที่คุยไว้ยังไม่มีวี่แวว, ค่าน้ำมันแพงขึ้น, หนี้ท่วมประเทศ
ฯลฯ – ของเก่ายังทำไม่ได้ อย่าดีแต่โม้

ขณะเดียวกัน บรรดาผู้สมัครที่ไม่ได้สังกัดพรรครัฐบาล
ก็พยายามหาจุดขาย-จุดแข็งของตนเอง เพื่อช่วงชิงพื้นที่ในหัวใจประชาชน เช่น
ชูความเป็นอิสระ ชูผลงาน ชูเกียรติประวัติส่วนบุคคล ฯลฯ
ในขณะเดียวกันก็คงรุกกลับไปที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่า ถึงใครจะเข้ามาเป็นผู้ว่าฯ กทม.
รัฐบาลก็ไม่สามารถจะเลือกปฏิบัติ หรือกลั่นแกล้งด้วยการกั๊กงบประมาณ
ไม่ช่วยเหลือในการทำงาน หรือแสร้งทำให้เกิดรอยต่อ
ถ้าจำเป็นว่าผู้บริหารท้องถิ่น จะต้องเป็นคนของพรรครัฐบาลกลาง หรือเป็นkiข้าของ
รัฐบาล เพื่อมิให้เกิดรอยต่อ เขาก็คงจะไม่เปิดพื้นที่ให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น
กันทั่วประเทศดอกกระมังตรงกันข้าม รัฐบาลยิ่งลักษณ์สามารถแต่งตั้งผู้ว่าราชการ
จังหวัดได้ทั่วประเทศ 76 จังหวัด จะเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกผู้ว่าฯ ของตนเอง
โดยไม่เข้าไปสั่งการ ข่มขู่ หรือบังคับ ไม่ได้สักจังหวัดเลยเชียวหรือ?

ถ้ารัฐบาลจะละเว้น หรือกลั่นแกล้ง ประชาชนชาว กทม.เพียงเพราะเขาไม่ยอมเลือก
พรรครัฐบาลเข้ามามีอำนาจเหนือ กทม. คิดว่าคน กทม.เขาจะยอมก้มหัวให้ข่มเหง
เอาตามอำเภอใจ อย่างนั้นหรือ?พรุ่งนี้ จะมาไล่เรียง จุดแข็ง-จุดอ่อน ของผู้สมัครผู้ว่าฯ
กทม. ในประเด็นที่น่าสนใจต่อให้จบ

สารส้ม

http://www.naewna.com/politic/columnist/5038

เมื่อ "แนวหน้า"  หาเสียงให้  ประชาธิปัตย์  ไม่ว่าจะเบอร์ 16  ไม่มีปัญหา
...ก็ไม่รู้ว่า  จะไปแย่งเบอร์เลขตัวเดียวกันทำไม ?
แล้วก็เลยหาเรื่องถล่ม รัฐบาลพร้อมกันไปด้วย  .....อ่านกันหน่อยค่ะ...
เพื่อให้รู้ว่า  จุดขายของปชป.  คือแบบไหน  สำหรับเลือกตั้ง ผู้ว่า..คราวนี้
ผู้สมัตรหาเสียงแบบสร้างสรร ..แต่เรื่องแบบถล่มกันนี่ ...กองเชียรทำไห้... ฮาาาาาา
สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่