ชี้ผู้ประกอบการลดต้นทุนพลังงาน
ผู้ประกอบการแห่เข้าระบบ ESCO หวังลดต้นทุนเชื้อเพลิง 30-40% หนีค่าแรงพุ่ง "พพ."เผยแนวโน้มผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มต่อเนื่อง 300 โครงการต่อปี ส่งผลให้ช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีเม็ดเงินลงทุนไปแล้ว 5 พันล้านบาท ตั้งเป้าตัวเลขสะสมลดใช้พลังงานต่อจีดีพีปีนี้แตะ 4% ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงานระยะยาว 20 ปี
นายดนัย เอกกมล ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากต้นทุนค่าแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศเวลานี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการตื่นตัวในการลดต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ที่ผู้ประกอบการได้หันมาอนุรักษ์พลังงานโดยบริษัทจัดการพลังงาน หรือESCO มากขึ้น
ทั้งนี้ เห็นได้จากมีโครงการที่เข้าร่วมในระบบ ESCO เพิ่มขึ้นเป็น 300 โครงการต่อปี จากช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ 100 โครงการต่อปี ส่วนหนึ่งมาจากราคาพลังงานที่เริ่มสูงขึ้น เพราะมีราคาแพง ขณะเดียวกันมีการการขยายโครงการ ESCO ครอบคลุมจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีโครงการลงทุนแล้วคิดเป็นมูลค่าลงทุน 5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 1 พันล้านบาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปีนี้จะมีตัวเลขสะสมค่าดัชนีการใช้พลังงานรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) อยู่ที่ 4% เทียบกับปี 2554 อยู่ที่ 3% ภายใต้การจัดการของแผนอนุรักษ์พลังงานระยะ 20 ปี(2554-2573) ซึ่งกำหนดไว้ที่ 25% นอกจากนี้เชื่อว่าสถานประกอบการยังมีศักยภาพในการบริหารจัดการพลังงานได้อีกมาก และยิ่งค่าแรงงานขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาททั่วประเทศด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจเพื่อลดต้นทุนพลังงานมากขึ้น เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐได้ ดังนั้นจึงต้องเพิ่มประสิทธิภาพของตนเองมากขึ้น
"ที่ผ่านมา พพ. ได้มีการส่งเสริม ESCO ในหลาย ๆ รูปแบบทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อเป็นการสานต่อผลงานจากปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้กองทุนสนับสนุนทางการเงินในรูปสินเชื่อและการลงทุนโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนหรือ ESCO FUND จึงได้อนุมัติเงินทุนจำนวน 500 ล้านบาท สำหรับกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ พพ.ยังมีแผนขยาย ESCO ไปยังต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยยังคงใช้ 7 จังหวัดหลักเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี สงขลา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ และระนอง โดยจะเน้นจังหวัดพื้นที่เขตอุตสาหกรรม เพราะมีการใช้พลังงานในการผลิตค่อนข้างมาก โดยโครงการดังกล่าวจะช่วยให้สถานประกอบการประหยัดพลังงานได้ถึง 30-40%
นอกจากจะช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการแล้ว ยังสามารถลดการใช้พลังงานของประเทศด้วยนางพิมพิชม วรัชต์ญารมย์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง กล่าวว่า จังหวัดระนองเพิ่งเข้าร่วมโครงการ ESCO เป็นปีแรก ส่วนหนึ่งมาจากค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว ขณะเดียวกันเล็งเห็นว่าการลดใช้พลังงานเป็นสิ่งสำคัญและเป็นจิตสำนึกที่ผู้ประกอบการทุกรายควรทำ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐได้ ดังนั้นก็ต้องทำใจยอมรับค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น แล้วหันมาปรับตัวให้สามารถอยู่ได้
นายหิน นววงศ์ รองประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะทำงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานโดยกลไกบริษัท กล่าวว่า การจัดงาน Thailand ESCO Fair 2013 ในครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมให้สถานประกอบการที่มีความพร้อม และมีศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงาน สามารถเลือกลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งการจัดงาน "ESCO Business Matching" ให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการประหยัดพลังงานโดยกลไกบริษัทจัดการพลังงาน และสนใจที่จะลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงานได้เจรจาด้านธุรกิจอนุรักษ์พลังงานโดยกลไกบริษัทจัดการพลังงานได้อย่างตรงตามเป้าหมายที่ผู้ประกอบการต้องการ อาทิ เงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำเพียง 4% ซึ่งกำหนดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อโครงการ เป็นต้น
[b]ชี้ผู้ประกอบการลดต้นทุนพลังงาน[/b]
ผู้ประกอบการแห่เข้าระบบ ESCO หวังลดต้นทุนเชื้อเพลิง 30-40% หนีค่าแรงพุ่ง "พพ."เผยแนวโน้มผู้เข้าร่วมโครงการเพิ่มต่อเนื่อง 300 โครงการต่อปี ส่งผลให้ช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีเม็ดเงินลงทุนไปแล้ว 5 พันล้านบาท ตั้งเป้าตัวเลขสะสมลดใช้พลังงานต่อจีดีพีปีนี้แตะ 4% ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงานระยะยาว 20 ปี
นายดนัย เอกกมล ผู้อำนวยการสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากต้นทุนค่าแรงงานที่ปรับเพิ่มขึ้น 300 บาทต่อวันทั่วประเทศเวลานี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการตื่นตัวในการลดต้นทุนการผลิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ที่ผู้ประกอบการได้หันมาอนุรักษ์พลังงานโดยบริษัทจัดการพลังงาน หรือESCO มากขึ้น
ทั้งนี้ เห็นได้จากมีโครงการที่เข้าร่วมในระบบ ESCO เพิ่มขึ้นเป็น 300 โครงการต่อปี จากช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ 100 โครงการต่อปี ส่วนหนึ่งมาจากราคาพลังงานที่เริ่มสูงขึ้น เพราะมีราคาแพง ขณะเดียวกันมีการการขยายโครงการ ESCO ครอบคลุมจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีโครงการลงทุนแล้วคิดเป็นมูลค่าลงทุน 5 พันล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 1 พันล้านบาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปีนี้จะมีตัวเลขสะสมค่าดัชนีการใช้พลังงานรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) อยู่ที่ 4% เทียบกับปี 2554 อยู่ที่ 3% ภายใต้การจัดการของแผนอนุรักษ์พลังงานระยะ 20 ปี(2554-2573) ซึ่งกำหนดไว้ที่ 25% นอกจากนี้เชื่อว่าสถานประกอบการยังมีศักยภาพในการบริหารจัดการพลังงานได้อีกมาก และยิ่งค่าแรงงานขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาททั่วประเทศด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจเพื่อลดต้นทุนพลังงานมากขึ้น เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐได้ ดังนั้นจึงต้องเพิ่มประสิทธิภาพของตนเองมากขึ้น
"ที่ผ่านมา พพ. ได้มีการส่งเสริม ESCO ในหลาย ๆ รูปแบบทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อเป็นการสานต่อผลงานจากปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้กองทุนสนับสนุนทางการเงินในรูปสินเชื่อและการลงทุนโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนหรือ ESCO FUND จึงได้อนุมัติเงินทุนจำนวน 500 ล้านบาท สำหรับกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ พพ.ยังมีแผนขยาย ESCO ไปยังต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยยังคงใช้ 7 จังหวัดหลักเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี สงขลา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ และระนอง โดยจะเน้นจังหวัดพื้นที่เขตอุตสาหกรรม เพราะมีการใช้พลังงานในการผลิตค่อนข้างมาก โดยโครงการดังกล่าวจะช่วยให้สถานประกอบการประหยัดพลังงานได้ถึง 30-40%
นอกจากจะช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการแล้ว ยังสามารถลดการใช้พลังงานของประเทศด้วยนางพิมพิชม วรัชต์ญารมย์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง กล่าวว่า จังหวัดระนองเพิ่งเข้าร่วมโครงการ ESCO เป็นปีแรก ส่วนหนึ่งมาจากค่าแรงที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว ขณะเดียวกันเล็งเห็นว่าการลดใช้พลังงานเป็นสิ่งสำคัญและเป็นจิตสำนึกที่ผู้ประกอบการทุกรายควรทำ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการคงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐได้ ดังนั้นก็ต้องทำใจยอมรับค่าแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น แล้วหันมาปรับตัวให้สามารถอยู่ได้
นายหิน นววงศ์ รองประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะทำงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานโดยกลไกบริษัท กล่าวว่า การจัดงาน Thailand ESCO Fair 2013 ในครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่น และส่งเสริมให้สถานประกอบการที่มีความพร้อม และมีศักยภาพในการอนุรักษ์พลังงาน สามารถเลือกลงทุนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งการจัดงาน "ESCO Business Matching" ให้ผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการประหยัดพลังงานโดยกลไกบริษัทจัดการพลังงาน และสนใจที่จะลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงานได้เจรจาด้านธุรกิจอนุรักษ์พลังงานโดยกลไกบริษัทจัดการพลังงานได้อย่างตรงตามเป้าหมายที่ผู้ประกอบการต้องการ อาทิ เงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำเพียง 4% ซึ่งกำหนดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อโครงการ เป็นต้น