นับตั้งแต่ ปี 2546 จนถึงปัจจุบัน กระทรวงพลังงาน โดย กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ดำเนินโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากสถาบันการเงินในประเทศยังไม่มั่นใจในการให้สินเชื่อทางด้านพลังงาน ทั้งที่โครงการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนนั้น จะก่อให้เกิดผลดีต่อประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน การลดการนำเข้าเชื้อเพลิง การลดภาวะเรือนกระจก เป็นต้น โดยการดำเนินโครงการนั้น พพ. ได้รับการจัดสรรจากเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มาเป็นทุนหมุนเวียนในการปล่อยผ่านสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ ไปยังผู้ประกอบการที่ประสงค์จะลงทุนทางด้านการอนุรักษ์พลังงานหรือพลังงานทดแทน ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ไม่เกินร้อยละ 4 โดยสถาบันการเงินจะต้องนำเงินต้นที่ได้รับคืนแก่กองทุนฯ ตามระยะเวลาที่กำหนดไม่เกิน 7 ปี รวมเป็นเงินหมุนเวียนที่ได้รับจากกองทุนฯ ทั้ง 5 ระยะ ประมาณ 7,500 ล้านบาท
ปัจจุบัน คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มีมติเห็นชอบให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานดำเนินงานโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นโครงการเงินหมุนเวียนในระยะที่ 6 โดยมีวงเงินจำนวน 1,489 ล้านบาท ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการในการปล่อยสินเชื่อโดยใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่ โรงงาน อาคาร อาคารก่อสร้างใหม่ที่ผ่านเกณฑ์อนุรักษ์พลังงาน และบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) เป็นต้น นอกจากนี้แล้วทางกองทุนฯ ยังเน้นให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการสมทบเงินลงทุนในโครงการเพิ่มมากขึ้นด้วย
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
อายุเงินกู้ : ไม่เกิน 5 ปี และโครงการที่มีระยะเวลาคืนทุน ไม่เกิน 7 ปี
ช่องทางปล่อยกู้ : ผ่านสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการโดยต้องรับผิดชอบเงินที่ปล่อยกู้ทั้งหมด เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ผู้มีสิทธิ์กู้ : 1. อาคารและโรงงานควบคุมตาม พรบ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
2. โรงงาน/อาคารทั่วไป (นอกข่ายควบคุม)
3. อาคารก่อสร้างใหม่ที่ผ่านเกณฑ์อนุรักษ์พลังงาน
4. บริษัทจัดการพลังงาน (ESCO)
วงเงินกู้ : ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อโครงการ
อัตราดอกเบี้ย : ไม่เกินร้อยละ 3.5 ต่อปี (ระหว่างสถาบันการเงินกับผู้กู้)
โดยโครงการที่มีสิทธิขอรับการสนับสนุนต้องเป็นโครงการที่เข้าข่าย ดังนี้
-โครงการอนุรักษ์พลังงาน ตาม พรบ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 7 และ มาตรา 17
-อาคารก่อสร้างใหม่ที่ผ่านเกณฑ์อนุรักษ์พลังงานตามกฎกระทรวงกำหนด
-โครงการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้บริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) ในการดำเนินการ
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่สามารถรวมในการลงทุนดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานได้ เช่น
-ค่าอุปกรณ์ และค่าติดตั้ง
-ค่าที่ปรึกษาที่ใช้ในการออกแบบ ควบคุม และรับประกันผลการประหยัดพลังงาน (ESCO)
-ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการติดตั้ง หรือจำเป็นในการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องจักร เช่น ค่าก่อสร้างฐานรองรับเครื่องจักร เป็นต้น
-ค่าขนส่ง ค่ารื้อถอน ภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าใช้จ่ายข้างต้น
-ค่าใช้จ่ายที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พิจารณาว่าเหมาะสม
ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่เข้าข่ายในการลงทุนดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานได้ เช่น
-ค่าที่ดิน ค่าปรับปรุงที่ดิน หรือค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อที่ดิน
-ค่าสิ่งก่อสร้างอื่นที่มิได้มีความจำเป็นโดยตรงกับการใช้หรือการติดตั้งอุปกรณ์/เครื่องจักรเพื่อการประหยัดพลังงาน เช่น สถานีจ่ายไฟฟ้า หม้อแปลงหลัก ค่าก่อสร้างอาคาร เป็นต้น
-ค่าใช้จ่ายที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พิจารณาว่าไม่เหมาะสม
“ถือเป็นโอกาสดี ที่ กองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็น และความสำคัญของการลงทุนเพื่อดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานของผู้ประกอบการมาโดยตลอด และได้รับทราบเพิ่มเติมว่าตอนนี้กำลังจะมีการเพิ่มวงเงินหมุนเวียนโครงการอีกกว่า 3,000 ล้านบาท อีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการทราบแล้ว รีบใช้บริการได้เลยครับ”
สถาบันการเงินหนุนพลังงานทดแทน ให้สินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ......
ปัจจุบัน คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มีมติเห็นชอบให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานดำเนินงานโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานโดยสถาบันการเงิน ซึ่งถือเป็นโครงการเงินหมุนเวียนในระยะที่ 6 โดยมีวงเงินจำนวน 1,489 ล้านบาท ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการในการปล่อยสินเชื่อโดยใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่ โรงงาน อาคาร อาคารก่อสร้างใหม่ที่ผ่านเกณฑ์อนุรักษ์พลังงาน และบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) เป็นต้น นอกจากนี้แล้วทางกองทุนฯ ยังเน้นให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในการสมทบเงินลงทุนในโครงการเพิ่มมากขึ้นด้วย
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
อายุเงินกู้ : ไม่เกิน 5 ปี และโครงการที่มีระยะเวลาคืนทุน ไม่เกิน 7 ปี
ช่องทางปล่อยกู้ : ผ่านสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการโดยต้องรับผิดชอบเงินที่ปล่อยกู้ทั้งหมด เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ผู้มีสิทธิ์กู้ : 1. อาคารและโรงงานควบคุมตาม พรบ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535
2. โรงงาน/อาคารทั่วไป (นอกข่ายควบคุม)
3. อาคารก่อสร้างใหม่ที่ผ่านเกณฑ์อนุรักษ์พลังงาน
4. บริษัทจัดการพลังงาน (ESCO)
วงเงินกู้ : ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อโครงการ
อัตราดอกเบี้ย : ไม่เกินร้อยละ 3.5 ต่อปี (ระหว่างสถาบันการเงินกับผู้กู้)
โดยโครงการที่มีสิทธิขอรับการสนับสนุนต้องเป็นโครงการที่เข้าข่าย ดังนี้
-โครงการอนุรักษ์พลังงาน ตาม พรบ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 7 และ มาตรา 17
-อาคารก่อสร้างใหม่ที่ผ่านเกณฑ์อนุรักษ์พลังงานตามกฎกระทรวงกำหนด
-โครงการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้บริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) ในการดำเนินการ
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่สามารถรวมในการลงทุนดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานได้ เช่น
-ค่าอุปกรณ์ และค่าติดตั้ง
-ค่าที่ปรึกษาที่ใช้ในการออกแบบ ควบคุม และรับประกันผลการประหยัดพลังงาน (ESCO)
-ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการติดตั้ง หรือจำเป็นในการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องจักร เช่น ค่าก่อสร้างฐานรองรับเครื่องจักร เป็นต้น
-ค่าขนส่ง ค่ารื้อถอน ภาษีนำเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าใช้จ่ายข้างต้น
-ค่าใช้จ่ายที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พิจารณาว่าเหมาะสม
ส่วนค่าใช้จ่ายที่ไม่เข้าข่ายในการลงทุนดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานได้ เช่น
-ค่าที่ดิน ค่าปรับปรุงที่ดิน หรือค่าใช้จ่ายอื่นเพื่อที่ดิน
-ค่าสิ่งก่อสร้างอื่นที่มิได้มีความจำเป็นโดยตรงกับการใช้หรือการติดตั้งอุปกรณ์/เครื่องจักรเพื่อการประหยัดพลังงาน เช่น สถานีจ่ายไฟฟ้า หม้อแปลงหลัก ค่าก่อสร้างอาคาร เป็นต้น
-ค่าใช้จ่ายที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน พิจารณาว่าไม่เหมาะสม
“ถือเป็นโอกาสดี ที่ กองทุนเพื่อการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็น และความสำคัญของการลงทุนเพื่อดำเนินโครงการอนุรักษ์พลังงานของผู้ประกอบการมาโดยตลอด และได้รับทราบเพิ่มเติมว่าตอนนี้กำลังจะมีการเพิ่มวงเงินหมุนเวียนโครงการอีกกว่า 3,000 ล้านบาท อีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการทราบแล้ว รีบใช้บริการได้เลยครับ”