สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ลงพื้นที่ติดตามผลการสนับสนุนโครงการด้านพลังงาน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อดูความคืบหน้าและขยายผลโครงการเพิ่มมั่นคงด้านพลังงาน ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เปิดเผยว่าในปัจจุบันกองทุนอนุรักษ์ฯ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือกของประเทศ มายาวนานกว่า 25 ปี โดยในระหว่างวันที่ 15 - 17 ธันวาคม ที่ผ่านมานี้ ได้พาคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เข้าเยี่ยมชม และติดตามความก้าวหน้าโครงการเด่นที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุน ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่
โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ใน ศูนย์ป้องกันทางอากาศ (สถานีเรดาร์) ซึ่งกองทัพอากาศได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เนื่องจากศูนย์ป้องกันทางอากาศ (สถานีเรดาร์) ตั้งอยู่ภายในสถานีรายงานดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมต้องพึ่งพากระแสไฟฟ้าจากสายส่งตัวเมืองเชียงใหม่ขึ้นดอยที่สูงชัน บางครั้งเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง จากกิ่งไม้หักทับสายไฟ ทำให้ต้องใช้ไฟสำรองจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน ดังนั้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย และแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นที่ 60 ตารางเมตร บนหลังคาอาคารพร้อมเก็บสำรองพลังงานไว้ในแบตเตอรี่เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบด้วยขนาด 800 kW ทำให้สถานีเรดาร์ดอยอินทนนท์ สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยเสริมเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับหน่วยงานความมั่นคงของชาติเป็นอย่างมาก
โครงการการพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตถ่านชีวภาพอัดเม็ดค่าความร้อนสูงจากวัสดุทางการเกษตร แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Pyrolysis) เนื่องจากในภาคเหนือมีพื้นที่เป็นเขตเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหา กลุ่มควันพิษจากการเผาไหม้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและการเผาไร่อยู่บ่อยครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้สนับสนุนให้ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการคิดค้นกระบวนการผลิตถ่านชีวภาพ โดยใช้กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis Process) `ซึ่งเป็นกระบวนการสลายตัวของสารด้วยความร้อนในสภาวะไร้อากาศ หรืออับอากาศในช่วงอุณหภูมิสูง เพื่อให้ได้ถ่านชีวภาพที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าถ่านหิน เป็นพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ ที่สะอาดและลดการนำเข้าด้านพลังงาน อีกทั้งยังมีการกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการชีวมวลที่เกิดขึ้นในชุมชน และในภาคเกษตรโดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ : มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นหนึ่งในผู้เข้ารอบการคัดเลือกผ่านเข้ารอบสุดท้ายโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ จากสถาบันอาคารเขียวไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน (สนพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดทำแผนตามเกณฑ์ตัวชี้วัดทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ พลังงานอัจฉริยะ การสัญจรอัจฉริยะ ชุมชนอัจฉริยะ สภาพแวดล้อมอัจฉริยะ เศรษฐกิจอัจฉริยะ อาคารอัจฉริยะ การบริหารจัดการอัจฉริยะ และนวัตกรรมอัจฉริยะ (Smart Energy, Smart Mobility, Smart Community, Smart Environment, Smart Economy, Smart Building, Smart Governance, Smart Innovation ) ซึ่งในขณะนี้ผลงานโครงการฯ ถึงขั้นตอนที่ 3 เพื่อพิจารณา การเป็นองค์กรต้นแบบของ Smart City-Clean Energy ต่อไป การจัดทำโครงการฯ ดังกล่าว ยังเป็นโครงการที่สนับสนุน แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 ของยุทธศาสตร์เชิงรุกนวัตกรรม ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่มุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีแนวคิดหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การรักษา สภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน การใช้การบริหารจัดการแบบอัจฉริยะ และที่สำคัญต้องคำนึงถึงชุมชนเมืองมหาวิทยาลัย และชุมชนรอบข้างด้วย
โครงการสาธิตการใช้ประโยชน์จากก๊าซไบโอมีเทนด้วยระบบท่อส่งก๊าซ (City Gas Grid) เพื่อทดแทนก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การสนับสนุน โครงการผลิตก๊าซชีวภาพมาโดยตลอด โครงการ City Gas Grid นี้เป็นการพัฒนาการใช้ก๊าซชีวภาพอีกระดับหนึ่ง โดยนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปใช้ในระดับครัวเรือน ด้วยการสาธิตการติดตั้งระบบท่อส่งก๊าซชีวภาพที่ได้มาตรฐาน ในการวางท่อมีความปลอดภัยในด้านวิศวกรรมจนไปสู่ครัวเรือน ซึ่งได้สาธิตการติดตั้งให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านโรงวัว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 125 ครัวเรือน เพื่อใช้ทดแทนการใช้ LPG ได้มากกว่า 17,200 กิโลกรัม/ปี คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 430,000 บาท/ปี โดยได้รับความร่วมมือจากฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด เพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบปลอดการใช้ LPG และมีความยั่งยืนด้านพลังงาน
“กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีบทบาทในการพัฒนาส่งเสริมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงานและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก และมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ไปสู่ทุกภาคส่วน อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวเศรษฐกิจประชารัฐ เพื่อความมั่นคงของประเทศ” ดร.ทวารัฐ กล่าวเพิ่มเติม
ติดตามข้อมูลโครงการและผลงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ที่ www.enconfund.go.th และ Facebook EnconfundThailand
สนพ.ลงพื้นที่ติดตามและโชว์ผลงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จ.เชียงใหม่
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ลงพื้นที่ติดตามผลการสนับสนุนโครงการด้านพลังงาน จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อดูความคืบหน้าและขยายผลโครงการเพิ่มมั่นคงด้านพลังงาน ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และโฆษกกระทรวงพลังงาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เปิดเผยว่าในปัจจุบันกองทุนอนุรักษ์ฯ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือกของประเทศ มายาวนานกว่า 25 ปี โดยในระหว่างวันที่ 15 - 17 ธันวาคม ที่ผ่านมานี้ ได้พาคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เข้าเยี่ยมชม และติดตามความก้าวหน้าโครงการเด่นที่กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุน ณ จังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่
โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ใน ศูนย์ป้องกันทางอากาศ (สถานีเรดาร์) ซึ่งกองทัพอากาศได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เนื่องจากศูนย์ป้องกันทางอากาศ (สถานีเรดาร์) ตั้งอยู่ภายในสถานีรายงานดอยอินทนนท์จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมต้องพึ่งพากระแสไฟฟ้าจากสายส่งตัวเมืองเชียงใหม่ขึ้นดอยที่สูงชัน บางครั้งเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง จากกิ่งไม้หักทับสายไฟ ทำให้ต้องใช้ไฟสำรองจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้น้ำมัน ดังนั้นเพื่อลดค่าใช้จ่าย และแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนพื้นที่ 60 ตารางเมตร บนหลังคาอาคารพร้อมเก็บสำรองพลังงานไว้ในแบตเตอรี่เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบด้วยขนาด 800 kW ทำให้สถานีเรดาร์ดอยอินทนนท์ สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยเสริมเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับหน่วยงานความมั่นคงของชาติเป็นอย่างมาก
โครงการการพัฒนาต้นแบบระบบการผลิตถ่านชีวภาพอัดเม็ดค่าความร้อนสูงจากวัสดุทางการเกษตร แบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Pyrolysis) เนื่องจากในภาคเหนือมีพื้นที่เป็นเขตเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหา กลุ่มควันพิษจากการเผาไหม้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและการเผาไร่อยู่บ่อยครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดย สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงได้สนับสนุนให้ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดำเนินการคิดค้นกระบวนการผลิตถ่านชีวภาพ โดยใช้กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis Process) `ซึ่งเป็นกระบวนการสลายตัวของสารด้วยความร้อนในสภาวะไร้อากาศ หรืออับอากาศในช่วงอุณหภูมิสูง เพื่อให้ได้ถ่านชีวภาพที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าถ่านหิน เป็นพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ ที่สะอาดและลดการนำเข้าด้านพลังงาน อีกทั้งยังมีการกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการชีวมวลที่เกิดขึ้นในชุมชน และในภาคเกษตรโดยเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
โครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ : มช. (เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ พลังงานสะอาด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นหนึ่งในผู้เข้ารอบการคัดเลือกผ่านเข้ารอบสุดท้ายโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ จากสถาบันอาคารเขียวไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงาน (สนพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดทำแผนตามเกณฑ์ตัวชี้วัดทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ พลังงานอัจฉริยะ การสัญจรอัจฉริยะ ชุมชนอัจฉริยะ สภาพแวดล้อมอัจฉริยะ เศรษฐกิจอัจฉริยะ อาคารอัจฉริยะ การบริหารจัดการอัจฉริยะ และนวัตกรรมอัจฉริยะ (Smart Energy, Smart Mobility, Smart Community, Smart Environment, Smart Economy, Smart Building, Smart Governance, Smart Innovation ) ซึ่งในขณะนี้ผลงานโครงการฯ ถึงขั้นตอนที่ 3 เพื่อพิจารณา การเป็นองค์กรต้นแบบของ Smart City-Clean Energy ต่อไป การจัดทำโครงการฯ ดังกล่าว ยังเป็นโครงการที่สนับสนุน แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 ของยุทธศาสตร์เชิงรุกนวัตกรรม ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ที่มุ่งเน้นการเป็นผู้นำด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีแนวคิดหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การรักษา สภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน การใช้การบริหารจัดการแบบอัจฉริยะ และที่สำคัญต้องคำนึงถึงชุมชนเมืองมหาวิทยาลัย และชุมชนรอบข้างด้วย
โครงการสาธิตการใช้ประโยชน์จากก๊าซไบโอมีเทนด้วยระบบท่อส่งก๊าซ (City Gas Grid) เพื่อทดแทนก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือน กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้ให้การสนับสนุน โครงการผลิตก๊าซชีวภาพมาโดยตลอด โครงการ City Gas Grid นี้เป็นการพัฒนาการใช้ก๊าซชีวภาพอีกระดับหนึ่ง โดยนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ไปใช้ในระดับครัวเรือน ด้วยการสาธิตการติดตั้งระบบท่อส่งก๊าซชีวภาพที่ได้มาตรฐาน ในการวางท่อมีความปลอดภัยในด้านวิศวกรรมจนไปสู่ครัวเรือน ซึ่งได้สาธิตการติดตั้งให้กับชาวบ้านในหมู่บ้านโรงวัว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 125 ครัวเรือน เพื่อใช้ทดแทนการใช้ LPG ได้มากกว่า 17,200 กิโลกรัม/ปี คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 430,000 บาท/ปี โดยได้รับความร่วมมือจากฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ บริษัท รวมพรมิตรฟาร์ม จำกัด เพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบปลอดการใช้ LPG และมีความยั่งยืนด้านพลังงาน
“กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีบทบาทในการพัฒนาส่งเสริมด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนแผนอนุรักษ์พลังงานและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก และมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ไปสู่ทุกภาคส่วน อีกทั้งสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเป็นรูปธรรม ตามแนวเศรษฐกิจประชารัฐ เพื่อความมั่นคงของประเทศ” ดร.ทวารัฐ กล่าวเพิ่มเติม
ติดตามข้อมูลโครงการและผลงานกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ที่ www.enconfund.go.th และ Facebook EnconfundThailand