จากการที่กระทรวงพาณิชย์ จัดให้มีคาราวานรถธงฟ้าเคลื่อนที่ เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูก ช่วยผู้มีรายได้น้อย
คือประเด็นก็ไม่มีอะไร เอาของราคาถูกกว่าราคาตลาด ไปขายให้ประชาชน ซึ่งทำให้ประชาชนประหยัดขึ้น มันก็ดีอยู่แล้ว
แต่ที่อยากคุยวันนี้ ก็คือ ขอโฟกัสไปที่ข้าวถุง 5 กก. ราคา 70 บาท ซึ่งทำมาต่อเนื่อง ตั้งแต่การทำขายในร้านถูกใจ (อาจจะมีการทำมาก่อนหน้านั้น แต่ไม่น่าจะมีปริมาณมาก)
โดยการทำข้าวถุงร้านถูกใจนั้น ทางคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ กำหนดราคาขายให้ อคส. ในราคา 38.125 บาท ต่อข้าว 5 กก. โดยให้อคส. เป็นคนปรับปรุงคุณภาพ ทำการบรรจุถุง และส่งไปถึงปลายทาง (จุดขาย)
โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมด ให้จ่ายเป็นข้าวสาร ในราคาวันนั้น ๆ แทน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดังนั้น สมมติว่า กระทรวงกำหนดว่า จะให้ร้านถูกใจ ได้กำไรประมาณ 20% หรือคือขายให้ร้านถูกใจในราคา 58 บาท เพื่อไปขาย 70 บาท (กำไร 12 บาท)
ซึ่งจากต้นทุน 38 บาท เป็นราคาขายให้ร้านถูกใจ 58 บาท ก็มีส่วนต่าง 20 บาท
โดยตอนแรก ผมเข้าใจมาโดยตลอดว่า 20 บาทนี้ จะเป็นค่าใช้จ่ายในการทำข้าวถุง (ปรับปรุงคุณภาพ บรรจุถุุง และค่าขนส่งไปปลายทาง) แต่พออ่านอีกที ก็เห็นว่า มีการอนุมัติให้จ่ายค่าใช้จ่ายตามจริงด้วย
ก็เลยสงสัยว่า 20 บาทนี้ (กก.ละ 4 บาท) จะเป็นกำไรของใคร
ที่พูดไปข้างบน ก็อยากตั้งข้อสังเกต ไว้ดังนี้
1. เหตุผลของการกำหนดราคาจำหน่ายข้าวถุง 5 กก.ไว้ 70 บาทนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะเริ่มต้นจากการมีข้าวมาอยู่ในมือรัฐบาล ก็เพราะต้องการช่วยชาวนาให้ขายข้าวได้ราคาดีขึ้น ซึ่งคาดผลต่อเนื่องได้ว่า ราคาข้าวสารน่าจะแพงขึ้น
แต่เมื่อรัฐบาลกำหนดอีกนโยบาย คืออยากช่วยชาวบ้าน โดยการขายข้าวราคาถูกให้ประชาชน ทำไมต้องขายในราคาต่ำกว่าท้องตลาดมากขนาดนั้น จาก 120 เหลือ 70 บาท
2. การกำหนดราคาขายข้าว จากสต๊อกของรัฐให้ อคส. ทำไมถึงต้องกำหนดในราคาต่ำขนาดนั้น เพราะต้นทุนของรัฐอย่างที่รู้กันคร่าว ๆ ก็ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 24 บาท การขายในราคาต่ำกว่า 8 บาท แบบนี้ ก็หมายความว่า ขายแล้วขาดทุนถึง กก.ละ 16 บาท หรือตันละ 16,000 บาท ทีเดียว
แล้วยังต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอีก ก็ยิ่งทำให้มีผลขาดทุนสูงขึ้น
3. เมื่อกำหนดราคาขาย ราคาต้นทุน แล้วแยกค่าใช้จ่ายออกมา เพราะเหตุใด ต้องกำหนดให้มีส่วนต่าง ถึง กก.ละ 4 บาท ทำไมไม่ขายออกมาในราคาที่เป็นราคาต้นทุนของคนขายไปเลย
การทำข้าวถุงถูกใจนี้ ถ้ามองเฉพาะส่วนมีข้าวราคาถูกขายให้ประชาชน ก็เป็นโครงการที่ดี แต่พอมองตั้งแต่การเอาข้าวออกจากโกดังของรัฐ มาบรรจุถุง จนไปถึงร้านค้าที่ขาย จะเห็นว่า อาจจะเป็นเพราะว่า เน้นคำว่าขายถูกนำหน้า อะไรก็ตามก็เลยดูเหมือนมันจะราคาถูกไปหมด ก็สมเหตุสมผล
ก็หวังว่า การทำข้าวถุงถูกใจนั้น จะเป็นการพยายามระบายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลเป็นหลัก โดยมีผลพลอยได้ในการช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนเท่านั้น จะไม่มีผลประโยชน์อื่นซ่อนอยู่ เพราะแค่นี้ ประเทศก็ลงทุนกับข้าวไปเยอะมากแล้ว
ตั้งแต่ซื้อแพง ขายถูก แล้ว ถ้ายังต้องแถมด้วยการโดนโกงเพิ่มไปอีก คงต้องบอกว่า รัฐบาลล้มเหลวในการจัดการเรื่องข้าว อย่างแท้จริง
ข้าวถูกใจ ยิ่งทำใครยิ่งรวย
คือประเด็นก็ไม่มีอะไร เอาของราคาถูกกว่าราคาตลาด ไปขายให้ประชาชน ซึ่งทำให้ประชาชนประหยัดขึ้น มันก็ดีอยู่แล้ว
แต่ที่อยากคุยวันนี้ ก็คือ ขอโฟกัสไปที่ข้าวถุง 5 กก. ราคา 70 บาท ซึ่งทำมาต่อเนื่อง ตั้งแต่การทำขายในร้านถูกใจ (อาจจะมีการทำมาก่อนหน้านั้น แต่ไม่น่าจะมีปริมาณมาก)
โดยการทำข้าวถุงร้านถูกใจนั้น ทางคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ กำหนดราคาขายให้ อคส. ในราคา 38.125 บาท ต่อข้าว 5 กก. โดยให้อคส. เป็นคนปรับปรุงคุณภาพ ทำการบรรจุถุง และส่งไปถึงปลายทาง (จุดขาย)
โดยค่าใช้จ่ายทั้งหมด ให้จ่ายเป็นข้าวสาร ในราคาวันนั้น ๆ แทน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ดังนั้น สมมติว่า กระทรวงกำหนดว่า จะให้ร้านถูกใจ ได้กำไรประมาณ 20% หรือคือขายให้ร้านถูกใจในราคา 58 บาท เพื่อไปขาย 70 บาท (กำไร 12 บาท)
ซึ่งจากต้นทุน 38 บาท เป็นราคาขายให้ร้านถูกใจ 58 บาท ก็มีส่วนต่าง 20 บาท
โดยตอนแรก ผมเข้าใจมาโดยตลอดว่า 20 บาทนี้ จะเป็นค่าใช้จ่ายในการทำข้าวถุง (ปรับปรุงคุณภาพ บรรจุถุุง และค่าขนส่งไปปลายทาง) แต่พออ่านอีกที ก็เห็นว่า มีการอนุมัติให้จ่ายค่าใช้จ่ายตามจริงด้วย
ก็เลยสงสัยว่า 20 บาทนี้ (กก.ละ 4 บาท) จะเป็นกำไรของใคร
ที่พูดไปข้างบน ก็อยากตั้งข้อสังเกต ไว้ดังนี้
1. เหตุผลของการกำหนดราคาจำหน่ายข้าวถุง 5 กก.ไว้ 70 บาทนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะเริ่มต้นจากการมีข้าวมาอยู่ในมือรัฐบาล ก็เพราะต้องการช่วยชาวนาให้ขายข้าวได้ราคาดีขึ้น ซึ่งคาดผลต่อเนื่องได้ว่า ราคาข้าวสารน่าจะแพงขึ้น
แต่เมื่อรัฐบาลกำหนดอีกนโยบาย คืออยากช่วยชาวบ้าน โดยการขายข้าวราคาถูกให้ประชาชน ทำไมต้องขายในราคาต่ำกว่าท้องตลาดมากขนาดนั้น จาก 120 เหลือ 70 บาท
2. การกำหนดราคาขายข้าว จากสต๊อกของรัฐให้ อคส. ทำไมถึงต้องกำหนดในราคาต่ำขนาดนั้น เพราะต้นทุนของรัฐอย่างที่รู้กันคร่าว ๆ ก็ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 24 บาท การขายในราคาต่ำกว่า 8 บาท แบบนี้ ก็หมายความว่า ขายแล้วขาดทุนถึง กก.ละ 16 บาท หรือตันละ 16,000 บาท ทีเดียว
แล้วยังต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอีก ก็ยิ่งทำให้มีผลขาดทุนสูงขึ้น
3. เมื่อกำหนดราคาขาย ราคาต้นทุน แล้วแยกค่าใช้จ่ายออกมา เพราะเหตุใด ต้องกำหนดให้มีส่วนต่าง ถึง กก.ละ 4 บาท ทำไมไม่ขายออกมาในราคาที่เป็นราคาต้นทุนของคนขายไปเลย
การทำข้าวถุงถูกใจนี้ ถ้ามองเฉพาะส่วนมีข้าวราคาถูกขายให้ประชาชน ก็เป็นโครงการที่ดี แต่พอมองตั้งแต่การเอาข้าวออกจากโกดังของรัฐ มาบรรจุถุง จนไปถึงร้านค้าที่ขาย จะเห็นว่า อาจจะเป็นเพราะว่า เน้นคำว่าขายถูกนำหน้า อะไรก็ตามก็เลยดูเหมือนมันจะราคาถูกไปหมด ก็สมเหตุสมผล
ก็หวังว่า การทำข้าวถุงถูกใจนั้น จะเป็นการพยายามระบายข้าวในสต๊อกของรัฐบาลเป็นหลัก โดยมีผลพลอยได้ในการช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนเท่านั้น จะไม่มีผลประโยชน์อื่นซ่อนอยู่ เพราะแค่นี้ ประเทศก็ลงทุนกับข้าวไปเยอะมากแล้ว
ตั้งแต่ซื้อแพง ขายถูก แล้ว ถ้ายังต้องแถมด้วยการโดนโกงเพิ่มไปอีก คงต้องบอกว่า รัฐบาลล้มเหลวในการจัดการเรื่องข้าว อย่างแท้จริง