วิธีเจริญอายุ 120 ปี ด้วยอิทธิบาทสี่
เขียนโดย ปัญญาทีโป
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๕:๕๖ น.
งานเขียนชิ้นนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่มีการจัดพิมพ์หนังสือ “วิมุตตะมิติ มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน” ออกเผยแพร่แล้ว หลังจากนั้นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองท่านหนึ่งได้ขอให้คุณไพศาล พืชมงคล ช่วยเขียนวิธีการเจริญอายุตลอดกัปหรือ 120 ปี ด้วยอิทธิบาทสี่ เพื่อนำเสนอบุคคลสำคัญ จึงเป็นเหตุให้เขียนเรื่องนี้
การเจริญอายุด้วยอิทธิบาทสี่เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งใน พระพุทธศาสนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสยืนยันและรับรองผลเป็นมั่นคง คงเหลือแต่วิธีการซึ่งมิได้ทรงตรัสไว้ อันเนื่องมาจากในโพธิกาลนั้นตรัสเพียงเท่านั้น ก็เป็นที่รู้ เป็นที่เข้าใจอย่างดีแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านนานไป วิธีปฏิบัติเพื่อเจริญอายุด้วยอิทธิบาทสี่ก็เลือนไป งานเขียนชิ้นนี้จึงเท่ากับเป็นการเริ่มต้นหรือฟื้นฟูในส่วนวิธีการ ซึ่งนักปฏิบัติชาวพุทธพึงร่วมกันปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์แท้ต่อไป.
๑.ความในพระสูตร “ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ … ดูกรอานนท์ ผู้หนึ่งผู้ใดเจริญอิทธิบาทสี่ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งไว้เนือง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดีโดยชอบแล้ว ผู้นั้นเมื่อปรารถนาก็พึงดำรงชีวิตได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป”
๒.ความหมายของความในพระสูตร
“ทำให้มาก” หมายถึงการเจริญอิทธิบาทสี่ โดยอาศัยสมาธิให้มากให้ต่อเนื่อง
“ทำให้เป็นประหนึ่งยาน” คือการอาศัยอิทธิบาทในสมาธิเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อทำให้ความ “ปรารถนา” ปรากฏเป็นจริง
“ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุ” คือการเจริญอิทธิบาทโดยกำลังสมาธิจนจิตมีความตั้งมั่นสูงสุด ไม่มีโทมนัส โสมนัส มีแต่ความเป็นอุเบกขาและสติมั่นคง
“อบรมไว้” คือการเจริญอิทธิบาทโดยอาศัยกำลังสมาธิให้มีความก้าวหน้ามั่นคงเป็นลำดับไป
“ปรารภด้วยดีโดยชอบ” คือการพิจารณาเห็นความจริงตามธรรมชาติว่าอายุ สังขารนั้นมีปกติยืนยาวได้ถึงกัปหรือกว่ากัป และอิทธิบาทธรรมคือยานหรือเครื่องมือในการทำให้อายุ สังขารเป็นธรรมชาติ คือยืนยาวถึงกัปหรือกว่ากัป แล้วมีความปรารถนาที่จะมีอายุถึงกัปหรือกว่ากัป
“เมื่อปรารถนา” คือการตั้งอธิษฐานหรือกระทำอธิษฐานฤทธิ์ ปรารถนาให้อายุ สังขารยืนยาวตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป (คำว่าปรารถนาโดยทั่วไปอาจมีความหมายโน้มไปในลักษณะที่มีกิเลสเจือปน แต่ปรารถนาในที่นี้มีความหมายในลักษณะที่ใกล้เคียงกับคำที่ว่าเจตนา นั่นคือเมื่อปรารภด้วยดีโดยชอบแล้วจิตก็น้อมไปตั้งอธิษฐานโดยมีเจตนาให้อายุ สังขารเจริญตลอดกัปหรือกว่ากัป : นี่คือปัญหาของภาษาที่อาจทำให้ความเข้าใจไขว้เขวห่างไกลออกไปจากพุทธธรรม)
๓.ตัวอย่างในระยะใกล้ของการเจริญอิทธิบาทสี่
ในโพธิกาลและอดีตกาลโพ้นมีแบบอย่างมากมาย แต่เฉพาะในระยะใกล้นี้ก็มีตัวอย่างให้เห็นถึงการเจริญอิทธิบาทสี่ เช่น
๓.๑ กรณีสมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์พระอุปัชฌาย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุปสมบท ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงประชวรหนัก มีอาการมาก ไม่อาจทรงพระวรกายตั้งอยู่ให้เป็นปกติได้นาน ๆ ถึงขนาดที่ทรงวิตกว่าเมื่อถึงกาลพิธีอุปสมบทอาจจะไม่สามารถลงพระอุโบสถได้ แต่ในที่สุดก็ทรงรำลึกถึงความในพระสูตรข้างต้น ดังนั้นเมื่อถึงเวลาจะลงพระอุโบสถเพื่อทำพิธีอุปสมบทพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว สมเด็จพระสังฆราชเจ้าก็ได้เข้าสมาธิเจริญอิทธิบาท แต่ทรงตั้งปรารถนาเพียงแค่ให้สามารถดำรงพระวรกายเพื่อทำพิธีอุปสมบทให้เสร็จ สิ้นเท่านั้น และตลอดเวลาดังกล่าวก็ทรงปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์จน ตลอดพิธีด้วยกำลังอำนาจสมาธิและอิทธิบาทนั้น
๓.๒ เมื่อครั้งที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสอาพาธหนัก มีอาการมาก มีอาการหัวใจวาย เส้นเลือดหัวใจตีบ น้ำท่วมปอด และความดันโลหิตสูงมาก คณะแพทย์หลวงลงไปที่ไชยา แล้วอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปถวายท่านเจ้าคุณ ถึงเตียงผู้ป่วย เมื่อท่านเจ้าคุณพยุงกายในท่านั่งสมาธิบนเตียงผู้ป่วยแล้ว แพทย์หลวงได้อัญเชิญพระราชกระแสว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขออาราธนาว่า อย่าเพิ่งดับขันธ์ ขอให้อยู่ช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาก่อน ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณอึ้งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพยักหน้า และกล่าวว่าอาตมารับอาราธนาแต่จะอยู่เพียงเท่าที่เหตุปัจจัยจะอำนวยให้เท่านั้น
คืนวันนั้นท่านเจ้าคุณได้เข้าสมาธิ เจริญอิทธิบาทสี่ตามที่รับอาราธนา ในวันรุ่งขึ้นอาการเส้นเลือดหัวใจตีบหายไป อาการน้ำท่วมปอดลดลงเกือบหมด ความดันโลหิตสูงลดลงเป็นปกติ หลังจากพักฟื้นระยะหนึ่งท่านเจ้าคุณก็หายเป็นปกติและปฏิบัติศาสนกิจต่อมาอีก หลายปี จนถึงปลายปีก่อนดับขันธ์เป็นเดือนธันวาคม ท่านเจ้าคุณได้ปลงอายุสังขารท่ามกลางพุทธบริษัทจำนวนมากว่าได้รับอาราธนาพระ เจ้าอยู่หัวไว้ และได้อยู่ต่อมาเป็นเวลาสมควรแล้ว ภาระหน้าที่หมดแล้ว เหตุปัจจัยที่จะอยู่ไม่มีแล้ว จึงขอลาท่านทั้งหลาย
เหตุการณ์ในวันนั้นในพลันที่ท่านเจ้าคุณปลงอายุสังขารเสร็จ สายลมกรรโชกแรง ใบไม้ร่วงกราวทั้งสวนโมกข์ พุทธบริษัทร่ำไห้ทั่วทั้งลานธรรม และมีการแจ้งข่าวเรื่องท่านเจ้าคุณปลงอายุสังขารไปยังสานุศิษย์โดยถ้วนหน้ากัน
๓.๓ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงประชวรหนัก มีอาการมาก มีข่าวลือไปถึงเขมรว่าทรงสิ้นพระชนม์แล้ว แต่ปรากฏว่าไม่เป็นความจริง
ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมสมเด็จพระสังฆราชถึงเตียงที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่าพระอาจารย์ พระอาจารย์ หม่อมฉันและพระราชินีมาเยี่ยม ยาที่ไหนดี หมอที่ไหนดี ก็หามาช่วยรักษาพระอาจารย์หมดแล้ว ต่อไปนี้พระอาจารย์ต้องช่วยพระองค์เองแล้ว จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับ
สมเด็จพระสังฆราชทรงเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า ในเวลานั้นพระองค์เข้าอยู่ในภวังค์ (โคม่า) แล้ว ครั้นได้ยินพระสุรเสียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สติก็ฟื้นกลับมา ทรงได้ยินกระแสพระราชดำรัสชัดเจน ทรงรู้สึกพระองค์ว่าทรงพยักหน้า และทรงรำลึกถึงความในพระสูตรข้างต้นนี้ พระสติก็ตั้งมั่น และทรงเจริญอิทธิบาทสี่ ทำให้พระองค์สร่างคลายจากพระอาการประชวร
๔. อิทธิบาทสี่คืออะไร?
อิทธิบาทสี่เป็นวิหารธรรมชนิดหนึ่ง คือเป็นที่ตั้ง ที่อาศัยของจิต เนื่องจากร่างกายต้องมีอาคารเป็นที่พักที่อาศัย หลบร้อนหลบหนาวให้ปลอดภัยจากอันตราย จิตก็มีอาคารเป็นที่พักอาศัย คือวิหารธรรม หากไม่มีวิหารธรรมจิตก็จะเปลี่ยวเปล่าล่อนจ้อนร้อนรุ่มและเป็นอันตรายได้โดย ง่าย วิหารธรรมใดจิตเข้าไปตั้งไปอาศัยก็ได้ชื่อว่าจิตสถิตในวิหารธรรมนั้น เช่น พรหมวิหาร อานาปานสติวิหาร อิทธิบาทวิหาร อริยวิหาร ตถาคตวิหาร เป็นต้น อริยวิหารและตถาคตวิหารนั้นเป็นวิหารธรรมขั้นสูง ตั้งแต่การบรรลุถึงอรูปฌานจนถึงภูมิพระอรหันต์ ส่วนพรหมวิหาร อานาปานสติวิหาร อิทธิบาทวิหารเป็นวิหารธรรมที่คนธรรมดาทั่วไปเข้าถึงได้ และเมื่อเจริญธรรมเหล่านั้นแล้วก็สามารถตั้งจิตไว้ในวิหารธรรมเหล่านั้นได้ และสามารถยกระดับที่สูงขึ้นไปได้ ดังที่พระตถาคตเจ้าทรงตรัสว่าพระองค์มีปกติอยู่ในอานาปานสติวิหาร
อิทธิบาทสี่เป็นองค์ธรรมแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ความสำเร็จทั้งปวงไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมจักสำเร็จได้ด้วยอิทธิบาททั้ง นั้น หากขาดอิทธิบาทแล้วก็ยากที่จะประสพความสำเร็จ การฝึกฝนอบรมจิตและการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาพระตถาคตเจ้าจึงทรงเน้น ทรงย้ำเป็นอันมากว่าต้องอาศัยอิทธิบาท
อิทธิบาทเป็นรากฐานหรือบาทฐานของอิทธิปาฏิหาริย์ นั่นคือการกระทำความสำเร็จอย่างอัศจรรย์ต้องอาศัยอิทธิบาท เหตุนี้อิทธิบาทธรรมสี่ประการคือฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา จึงได้ชื่อว่าอิทธิบาท ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่าเท้าหรือรากฐานของการกระทำความสำเร็จที่อัศจรรย์ ถ้าไม่มีเท้าก็เดินไม่ได้ฉันใด ไม่มีอิทธิบาทก็กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ไม่ได้ฉันนั้น
เพราะการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์นั้นต้องอาศัยกำลังสี่อย่าง คือ กำลังสมาธิ กำลังฌาน กำลังอิทธิบาท และกำลังอธิษฐาน กำลังทั้งหมดนี้กำลังอิทธิบาทก็คือกำลังเท้าหรือรากฐานของการทำความสำเร็จ ที่อัศจรรย์นั่นเอง
ในอดีตกาลโพ้น การมีอายุตลอดกัปเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา ดังที่พระตถาคตเจ้าทรงตรัสไว้ในหลายที่ว่าในกัปก่อน ๆ อายุมนุษย์เกินกว่าหมื่นปีก็มี และค่อยๆลดลงโดยลำดับ เพราะมนุษย์ทำเหตุปัจจัยให้อายุลดลงเอง และทรงตรัสว่าในปัจจุบันกัปนี้มนุษย์มีอายุแค่ ๑๐๐ ปี มากน้อยไปกว่านี้ก็ไม่มาก แต่ความหมายของคำว่ากัปในปัจจุบันกัปคือ ๑๒๐ ปี ดังนั้นจึงทรงแสดงไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่าผู้ที่เจริญอิทธิบาทสี่สามารถ ปรารถนาให้มีอายุตลอดกัปหรือกว่ากัปได้ คือ มีอายุถึง ๑๒๐ ปีหรือเกินกว่า ๑๒๐ ปีได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้มีพระคุณอันประเสริฐ ทรงเลิศในธรรม ทรงแจ้งในคำตรัสสอนของพระบรมศาสดาในประการนี้อย่างดีเป็นแน่
ดังที่ทรงตรัสใน กาลมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีหนึ่งว่า "พระองค์จะมีพระชนมายุ ๑๒๐ ปี"
๕. วิธีเจริญอิทธิบาทสี่ตามความในพระสูตร
โดยที่วิธีฝึกฝนอบรมจิตเพื่อบรรลุถึงวิมุตตะมิตินั้นมีอยู่สามหนทาง คือหนทาง วชิรวิมุต ปัญญาวิมุต และเจโตวิมุต ดังนั้นผู้ที่ฝึกฝนอบรมจิตไม่ว่าหนทางไหนก็มีวิสัยและสามารถเจริญอิทธิบาท ได้ทั้งสิ้น ยกเว้นก็แต่ผู้ที่เดินหนทางวชิรวิมุตในขั้นต้น กำลังของจิตและสมาธิอาจจะห่างไกลและไม่เป็นระบบที่จะมีกำลังพอเพียง ในขณะที่ผู้ที่ฝึกฝนอบรมในหนทางปัญญาวิมุตและเจโตวิมุตกำลังจิต กำลังสมาธิจะก่อตัวเกิดขึ้นเป็นลำดับ ๆ ไป
การเจริญอิทธิบาทสี่เพื่อการเจริญอายุนั้นเป็นอธิษฐานฤทธิ์ชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงง่ายและสะดวกสำหรับผู้ปฏิบัติในหนทางเจโตวิมุต คือตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌานก็อยู่ในวิสัยที่จะเจริญอิทธิ บาทสี่เพื่อปรารภความมีอายุยืนตลอดกัปได้ทั้งนั้น
สำหรับผู้ปฏิบัติในหนทางปัญญาวิมุตในขั้นต้นของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น กำลังจิตและกำลังสมาธิยังอ่อนอยู่ ไม่อยู่ในขีดขั้นที่จะเจริญอิทธิบาทสี่ให้เป็นผลได้ แต่เมื่อใดที่กายสงบรำงับ เวทนาสงบรำงับ คือปฏิบัติถึงขั้นที่สี่ของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วก็เริ่มตั้งต้นอยู่ใน วิสัยที่จะเจริญอิทธิบาทสี่ให้เป็นผลได้
การเจริญอิทธิบาทสี่ให้เป็นผลได้อย่างสมบูรณ์แน่นอนก็คือการเจริญอิทธิบาท สี่ในขณะที่ได้จตุตถฌานแล้ว นามกายแปรสภาพเป็นทิพยกายแล้ว กำลังสมาธิ กำลังฌานและกำลังอิทธิบาทอยู่ในขั้นสูง และกำลังอธิษฐานก็อยู่ในขั้นสูง จึงกระทำอธิษฐานฤทธิ์ด้วยอิทธิบาทได้อย่างสมบูรณ์
แต่ลำดับของการได้ผลตั้งแต่ขั้นต้น ๆ ก็มีอยู่ นั่นคือเริ่มตั้งแต่จิตเป็นสมาหิโตคือตั้งมั่นเป็นปาริสุทโธคือมีความ บริสุทธิ์ เป็นกัมมนิโยคือมีกำลังควรแก่การทำงานของจิตตามฐานะและลำดับภูมิ ก็อยู่ในวิสัยที่จะเจริญอิทธิบาทสี่ได้ ต่างกันก็ตรงระดับของภูมิธรรม ถ้าภูมิธรรมต่ำก็ได้ผลน้อยไม่เต็มที่ ภูมิธรรมสูงก็ได้ผลมาก ที่ได้ผลน้อยคือได้ผลไม่ถึง ๑๒๐ ปี หรือยังมีโรคร้ายกลุ้มรุมบ้าง ถ้าได้ผลสมบูรณ์ก็ได้ผลถึงกัป และมีสุขภาพกายใจดีด้วย
โดยสรุป เมื่อจะเจริญอิทธิบาทสี่ก็ต้องทำจิตให้เป็นสมาธิและมีอารมณ์ปีติ สุข เกิดขึ้น คือตั้งแต่ปีติ สุข ที่เกิดแต่วิเวกเป็นลำดับไป เป็นปีติ สุข เกิดแต่สมาธิ และละ ปีติ สุข จนเป็นอุเบกขาในที่สุด
สำหรับผู้ที่บรรลุถึงจตุตถฌานหรือบรรลุถึงจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว เมื่อจะเจริญอิทธิบาทสี่ก็ต้องถอนอารมณ์ออกจากอุเบกขา ออกจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธิ และกำหนดอารมณ์ปีติ สุข ที่ปราศจากอามิสให้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในอารมณ์นี้คืออารมณ์ที่จะเจริญอิทธิบาท เพราะในอารมณ์อุเบกขานั้นตั้งอธิษฐานไม่ได้
ระดับของสมาธิในอัปปนาสมาธิก็ตั้งอธิษฐานไม่ได้ การเจริญอิทธิบาทจึงต้องถอนกำลังสมาธิออกมาจากอัปปนาสมาธิมาอยู่ที่อุปจาร สมาธิก่อนเสมอ
แม้อิทธิบาทจะประกอบด้วยองค์สี่ แต่แท้จริงก็เป็นองค์เดียว ดุจดังเชือกที่มีด้ายร้อยรวมกันถึง ๔ เส้น ด้ายทั้ง ๔ เส้นก็คือเชือกเส้นเดียวคืออิทธิบาท
วิธีเจริญอายุ 120 ปี ด้วยอิทธิบาทสี่
เขียนโดย ปัญญาทีโป
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๕:๕๖ น.
งานเขียนชิ้นนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่มีการจัดพิมพ์หนังสือ “วิมุตตะมิติ มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน” ออกเผยแพร่แล้ว หลังจากนั้นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองท่านหนึ่งได้ขอให้คุณไพศาล พืชมงคล ช่วยเขียนวิธีการเจริญอายุตลอดกัปหรือ 120 ปี ด้วยอิทธิบาทสี่ เพื่อนำเสนอบุคคลสำคัญ จึงเป็นเหตุให้เขียนเรื่องนี้
การเจริญอายุด้วยอิทธิบาทสี่เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งใน พระพุทธศาสนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสยืนยันและรับรองผลเป็นมั่นคง คงเหลือแต่วิธีการซึ่งมิได้ทรงตรัสไว้ อันเนื่องมาจากในโพธิกาลนั้นตรัสเพียงเท่านั้น ก็เป็นที่รู้ เป็นที่เข้าใจอย่างดีแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านนานไป วิธีปฏิบัติเพื่อเจริญอายุด้วยอิทธิบาทสี่ก็เลือนไป งานเขียนชิ้นนี้จึงเท่ากับเป็นการเริ่มต้นหรือฟื้นฟูในส่วนวิธีการ ซึ่งนักปฏิบัติชาวพุทธพึงร่วมกันปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์แท้ต่อไป.
๑.ความในพระสูตร “ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ … ดูกรอานนท์ ผู้หนึ่งผู้ใดเจริญอิทธิบาทสี่ ทำให้มาก ทำให้เป็นประหนึ่งยาน ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งไว้เนือง ๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดีโดยชอบแล้ว ผู้นั้นเมื่อปรารถนาก็พึงดำรงชีวิตได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป”
๒.ความหมายของความในพระสูตร
“ทำให้มาก” หมายถึงการเจริญอิทธิบาทสี่ โดยอาศัยสมาธิให้มากให้ต่อเนื่อง
“ทำให้เป็นประหนึ่งยาน” คือการอาศัยอิทธิบาทในสมาธิเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อทำให้ความ “ปรารถนา” ปรากฏเป็นจริง
“ทำให้เป็นประหนึ่งวัตถุ” คือการเจริญอิทธิบาทโดยกำลังสมาธิจนจิตมีความตั้งมั่นสูงสุด ไม่มีโทมนัส โสมนัส มีแต่ความเป็นอุเบกขาและสติมั่นคง
“อบรมไว้” คือการเจริญอิทธิบาทโดยอาศัยกำลังสมาธิให้มีความก้าวหน้ามั่นคงเป็นลำดับไป
“ปรารภด้วยดีโดยชอบ” คือการพิจารณาเห็นความจริงตามธรรมชาติว่าอายุ สังขารนั้นมีปกติยืนยาวได้ถึงกัปหรือกว่ากัป และอิทธิบาทธรรมคือยานหรือเครื่องมือในการทำให้อายุ สังขารเป็นธรรมชาติ คือยืนยาวถึงกัปหรือกว่ากัป แล้วมีความปรารถนาที่จะมีอายุถึงกัปหรือกว่ากัป
“เมื่อปรารถนา” คือการตั้งอธิษฐานหรือกระทำอธิษฐานฤทธิ์ ปรารถนาให้อายุ สังขารยืนยาวตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป (คำว่าปรารถนาโดยทั่วไปอาจมีความหมายโน้มไปในลักษณะที่มีกิเลสเจือปน แต่ปรารถนาในที่นี้มีความหมายในลักษณะที่ใกล้เคียงกับคำที่ว่าเจตนา นั่นคือเมื่อปรารภด้วยดีโดยชอบแล้วจิตก็น้อมไปตั้งอธิษฐานโดยมีเจตนาให้อายุ สังขารเจริญตลอดกัปหรือกว่ากัป : นี่คือปัญหาของภาษาที่อาจทำให้ความเข้าใจไขว้เขวห่างไกลออกไปจากพุทธธรรม)
๓.ตัวอย่างในระยะใกล้ของการเจริญอิทธิบาทสี่
ในโพธิกาลและอดีตกาลโพ้นมีแบบอย่างมากมาย แต่เฉพาะในระยะใกล้นี้ก็มีตัวอย่างให้เห็นถึงการเจริญอิทธิบาทสี่ เช่น
๓.๑ กรณีสมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์พระอุปัชฌาย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอุปสมบท ครั้งนั้นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงประชวรหนัก มีอาการมาก ไม่อาจทรงพระวรกายตั้งอยู่ให้เป็นปกติได้นาน ๆ ถึงขนาดที่ทรงวิตกว่าเมื่อถึงกาลพิธีอุปสมบทอาจจะไม่สามารถลงพระอุโบสถได้ แต่ในที่สุดก็ทรงรำลึกถึงความในพระสูตรข้างต้น ดังนั้นเมื่อถึงเวลาจะลงพระอุโบสถเพื่อทำพิธีอุปสมบทพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว สมเด็จพระสังฆราชเจ้าก็ได้เข้าสมาธิเจริญอิทธิบาท แต่ทรงตั้งปรารถนาเพียงแค่ให้สามารถดำรงพระวรกายเพื่อทำพิธีอุปสมบทให้เสร็จ สิ้นเท่านั้น และตลอดเวลาดังกล่าวก็ทรงปฏิบัติหน้าที่พระอุปัชฌาย์ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์จน ตลอดพิธีด้วยกำลังอำนาจสมาธิและอิทธิบาทนั้น
๓.๒ เมื่อครั้งที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสอาพาธหนัก มีอาการมาก มีอาการหัวใจวาย เส้นเลือดหัวใจตีบ น้ำท่วมปอด และความดันโลหิตสูงมาก คณะแพทย์หลวงลงไปที่ไชยา แล้วอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปถวายท่านเจ้าคุณ ถึงเตียงผู้ป่วย เมื่อท่านเจ้าคุณพยุงกายในท่านั่งสมาธิบนเตียงผู้ป่วยแล้ว แพทย์หลวงได้อัญเชิญพระราชกระแสว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขออาราธนาว่า อย่าเพิ่งดับขันธ์ ขอให้อยู่ช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาก่อน ครั้งนั้นท่านเจ้าคุณอึ้งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพยักหน้า และกล่าวว่าอาตมารับอาราธนาแต่จะอยู่เพียงเท่าที่เหตุปัจจัยจะอำนวยให้เท่านั้น
คืนวันนั้นท่านเจ้าคุณได้เข้าสมาธิ เจริญอิทธิบาทสี่ตามที่รับอาราธนา ในวันรุ่งขึ้นอาการเส้นเลือดหัวใจตีบหายไป อาการน้ำท่วมปอดลดลงเกือบหมด ความดันโลหิตสูงลดลงเป็นปกติ หลังจากพักฟื้นระยะหนึ่งท่านเจ้าคุณก็หายเป็นปกติและปฏิบัติศาสนกิจต่อมาอีก หลายปี จนถึงปลายปีก่อนดับขันธ์เป็นเดือนธันวาคม ท่านเจ้าคุณได้ปลงอายุสังขารท่ามกลางพุทธบริษัทจำนวนมากว่าได้รับอาราธนาพระ เจ้าอยู่หัวไว้ และได้อยู่ต่อมาเป็นเวลาสมควรแล้ว ภาระหน้าที่หมดแล้ว เหตุปัจจัยที่จะอยู่ไม่มีแล้ว จึงขอลาท่านทั้งหลาย
เหตุการณ์ในวันนั้นในพลันที่ท่านเจ้าคุณปลงอายุสังขารเสร็จ สายลมกรรโชกแรง ใบไม้ร่วงกราวทั้งสวนโมกข์ พุทธบริษัทร่ำไห้ทั่วทั้งลานธรรม และมีการแจ้งข่าวเรื่องท่านเจ้าคุณปลงอายุสังขารไปยังสานุศิษย์โดยถ้วนหน้ากัน
๓.๓ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงประชวรหนัก มีอาการมาก มีข่าวลือไปถึงเขมรว่าทรงสิ้นพระชนม์แล้ว แต่ปรากฏว่าไม่เป็นความจริง
ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จเยี่ยมสมเด็จพระสังฆราชถึงเตียงที่ประทับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสว่าพระอาจารย์ พระอาจารย์ หม่อมฉันและพระราชินีมาเยี่ยม ยาที่ไหนดี หมอที่ไหนดี ก็หามาช่วยรักษาพระอาจารย์หมดแล้ว ต่อไปนี้พระอาจารย์ต้องช่วยพระองค์เองแล้ว จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับ
สมเด็จพระสังฆราชทรงเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า ในเวลานั้นพระองค์เข้าอยู่ในภวังค์ (โคม่า) แล้ว ครั้นได้ยินพระสุรเสียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สติก็ฟื้นกลับมา ทรงได้ยินกระแสพระราชดำรัสชัดเจน ทรงรู้สึกพระองค์ว่าทรงพยักหน้า และทรงรำลึกถึงความในพระสูตรข้างต้นนี้ พระสติก็ตั้งมั่น และทรงเจริญอิทธิบาทสี่ ทำให้พระองค์สร่างคลายจากพระอาการประชวร
๔. อิทธิบาทสี่คืออะไร?
อิทธิบาทสี่เป็นวิหารธรรมชนิดหนึ่ง คือเป็นที่ตั้ง ที่อาศัยของจิต เนื่องจากร่างกายต้องมีอาคารเป็นที่พักที่อาศัย หลบร้อนหลบหนาวให้ปลอดภัยจากอันตราย จิตก็มีอาคารเป็นที่พักอาศัย คือวิหารธรรม หากไม่มีวิหารธรรมจิตก็จะเปลี่ยวเปล่าล่อนจ้อนร้อนรุ่มและเป็นอันตรายได้โดย ง่าย วิหารธรรมใดจิตเข้าไปตั้งไปอาศัยก็ได้ชื่อว่าจิตสถิตในวิหารธรรมนั้น เช่น พรหมวิหาร อานาปานสติวิหาร อิทธิบาทวิหาร อริยวิหาร ตถาคตวิหาร เป็นต้น อริยวิหารและตถาคตวิหารนั้นเป็นวิหารธรรมขั้นสูง ตั้งแต่การบรรลุถึงอรูปฌานจนถึงภูมิพระอรหันต์ ส่วนพรหมวิหาร อานาปานสติวิหาร อิทธิบาทวิหารเป็นวิหารธรรมที่คนธรรมดาทั่วไปเข้าถึงได้ และเมื่อเจริญธรรมเหล่านั้นแล้วก็สามารถตั้งจิตไว้ในวิหารธรรมเหล่านั้นได้ และสามารถยกระดับที่สูงขึ้นไปได้ ดังที่พระตถาคตเจ้าทรงตรัสว่าพระองค์มีปกติอยู่ในอานาปานสติวิหาร
อิทธิบาทสี่เป็นองค์ธรรมแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา ความสำเร็จทั้งปวงไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมจักสำเร็จได้ด้วยอิทธิบาททั้ง นั้น หากขาดอิทธิบาทแล้วก็ยากที่จะประสพความสำเร็จ การฝึกฝนอบรมจิตและการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาพระตถาคตเจ้าจึงทรงเน้น ทรงย้ำเป็นอันมากว่าต้องอาศัยอิทธิบาท
อิทธิบาทเป็นรากฐานหรือบาทฐานของอิทธิปาฏิหาริย์ นั่นคือการกระทำความสำเร็จอย่างอัศจรรย์ต้องอาศัยอิทธิบาท เหตุนี้อิทธิบาทธรรมสี่ประการคือฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา จึงได้ชื่อว่าอิทธิบาท ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่าเท้าหรือรากฐานของการกระทำความสำเร็จที่อัศจรรย์ ถ้าไม่มีเท้าก็เดินไม่ได้ฉันใด ไม่มีอิทธิบาทก็กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ไม่ได้ฉันนั้น
เพราะการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์นั้นต้องอาศัยกำลังสี่อย่าง คือ กำลังสมาธิ กำลังฌาน กำลังอิทธิบาท และกำลังอธิษฐาน กำลังทั้งหมดนี้กำลังอิทธิบาทก็คือกำลังเท้าหรือรากฐานของการทำความสำเร็จ ที่อัศจรรย์นั่นเอง
ในอดีตกาลโพ้น การมีอายุตลอดกัปเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องธรรมดา ดังที่พระตถาคตเจ้าทรงตรัสไว้ในหลายที่ว่าในกัปก่อน ๆ อายุมนุษย์เกินกว่าหมื่นปีก็มี และค่อยๆลดลงโดยลำดับ เพราะมนุษย์ทำเหตุปัจจัยให้อายุลดลงเอง และทรงตรัสว่าในปัจจุบันกัปนี้มนุษย์มีอายุแค่ ๑๐๐ ปี มากน้อยไปกว่านี้ก็ไม่มาก แต่ความหมายของคำว่ากัปในปัจจุบันกัปคือ ๑๒๐ ปี ดังนั้นจึงทรงแสดงไว้ในมหาปรินิพพานสูตรว่าผู้ที่เจริญอิทธิบาทสี่สามารถ ปรารถนาให้มีอายุตลอดกัปหรือกว่ากัปได้ คือ มีอายุถึง ๑๒๐ ปีหรือเกินกว่า ๑๒๐ ปีได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้มีพระคุณอันประเสริฐ ทรงเลิศในธรรม ทรงแจ้งในคำตรัสสอนของพระบรมศาสดาในประการนี้อย่างดีเป็นแน่
ดังที่ทรงตรัสใน กาลมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีหนึ่งว่า "พระองค์จะมีพระชนมายุ ๑๒๐ ปี"
๕. วิธีเจริญอิทธิบาทสี่ตามความในพระสูตร
โดยที่วิธีฝึกฝนอบรมจิตเพื่อบรรลุถึงวิมุตตะมิตินั้นมีอยู่สามหนทาง คือหนทาง วชิรวิมุต ปัญญาวิมุต และเจโตวิมุต ดังนั้นผู้ที่ฝึกฝนอบรมจิตไม่ว่าหนทางไหนก็มีวิสัยและสามารถเจริญอิทธิบาท ได้ทั้งสิ้น ยกเว้นก็แต่ผู้ที่เดินหนทางวชิรวิมุตในขั้นต้น กำลังของจิตและสมาธิอาจจะห่างไกลและไม่เป็นระบบที่จะมีกำลังพอเพียง ในขณะที่ผู้ที่ฝึกฝนอบรมในหนทางปัญญาวิมุตและเจโตวิมุตกำลังจิต กำลังสมาธิจะก่อตัวเกิดขึ้นเป็นลำดับ ๆ ไป
การเจริญอิทธิบาทสี่เพื่อการเจริญอายุนั้นเป็นอธิษฐานฤทธิ์ชนิดหนึ่ง ดังนั้นจึงง่ายและสะดวกสำหรับผู้ปฏิบัติในหนทางเจโตวิมุต คือตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌานก็อยู่ในวิสัยที่จะเจริญอิทธิ บาทสี่เพื่อปรารภความมีอายุยืนตลอดกัปได้ทั้งนั้น
สำหรับผู้ปฏิบัติในหนทางปัญญาวิมุตในขั้นต้นของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น กำลังจิตและกำลังสมาธิยังอ่อนอยู่ ไม่อยู่ในขีดขั้นที่จะเจริญอิทธิบาทสี่ให้เป็นผลได้ แต่เมื่อใดที่กายสงบรำงับ เวทนาสงบรำงับ คือปฏิบัติถึงขั้นที่สี่ของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้วก็เริ่มตั้งต้นอยู่ใน วิสัยที่จะเจริญอิทธิบาทสี่ให้เป็นผลได้
การเจริญอิทธิบาทสี่ให้เป็นผลได้อย่างสมบูรณ์แน่นอนก็คือการเจริญอิทธิบาท สี่ในขณะที่ได้จตุตถฌานแล้ว นามกายแปรสภาพเป็นทิพยกายแล้ว กำลังสมาธิ กำลังฌานและกำลังอิทธิบาทอยู่ในขั้นสูง และกำลังอธิษฐานก็อยู่ในขั้นสูง จึงกระทำอธิษฐานฤทธิ์ด้วยอิทธิบาทได้อย่างสมบูรณ์
แต่ลำดับของการได้ผลตั้งแต่ขั้นต้น ๆ ก็มีอยู่ นั่นคือเริ่มตั้งแต่จิตเป็นสมาหิโตคือตั้งมั่นเป็นปาริสุทโธคือมีความ บริสุทธิ์ เป็นกัมมนิโยคือมีกำลังควรแก่การทำงานของจิตตามฐานะและลำดับภูมิ ก็อยู่ในวิสัยที่จะเจริญอิทธิบาทสี่ได้ ต่างกันก็ตรงระดับของภูมิธรรม ถ้าภูมิธรรมต่ำก็ได้ผลน้อยไม่เต็มที่ ภูมิธรรมสูงก็ได้ผลมาก ที่ได้ผลน้อยคือได้ผลไม่ถึง ๑๒๐ ปี หรือยังมีโรคร้ายกลุ้มรุมบ้าง ถ้าได้ผลสมบูรณ์ก็ได้ผลถึงกัป และมีสุขภาพกายใจดีด้วย
โดยสรุป เมื่อจะเจริญอิทธิบาทสี่ก็ต้องทำจิตให้เป็นสมาธิและมีอารมณ์ปีติ สุข เกิดขึ้น คือตั้งแต่ปีติ สุข ที่เกิดแต่วิเวกเป็นลำดับไป เป็นปีติ สุข เกิดแต่สมาธิ และละ ปีติ สุข จนเป็นอุเบกขาในที่สุด
สำหรับผู้ที่บรรลุถึงจตุตถฌานหรือบรรลุถึงจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว เมื่อจะเจริญอิทธิบาทสี่ก็ต้องถอนอารมณ์ออกจากอุเบกขา ออกจากอัปปนาสมาธิสู่อุปจารสมาธิ และกำหนดอารมณ์ปีติ สุข ที่ปราศจากอามิสให้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในอารมณ์นี้คืออารมณ์ที่จะเจริญอิทธิบาท เพราะในอารมณ์อุเบกขานั้นตั้งอธิษฐานไม่ได้
ระดับของสมาธิในอัปปนาสมาธิก็ตั้งอธิษฐานไม่ได้ การเจริญอิทธิบาทจึงต้องถอนกำลังสมาธิออกมาจากอัปปนาสมาธิมาอยู่ที่อุปจาร สมาธิก่อนเสมอ
แม้อิทธิบาทจะประกอบด้วยองค์สี่ แต่แท้จริงก็เป็นองค์เดียว ดุจดังเชือกที่มีด้ายร้อยรวมกันถึง ๔ เส้น ด้ายทั้ง ๔ เส้นก็คือเชือกเส้นเดียวคืออิทธิบาท