เนื่องมาจากที่่ว่าผมอ่านข้อความจากหลายๆคนนะครับ หลายคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการทำประชามติครั้งนี้ ทำเพื่อเป้าหมายอะไร ก็จะมีคนออกมาบอกว่า ทำไมไม่เห็นมีประกาศเลยว่าประชามติจะแก้อะไรยังไงบ้าง
เริ่มต้นผมขอยกขั้นตอนที่คุณศิลาแรงเคยเอามาลงไว้นะครับ
***********************************************
ตามเป้าหมายเดิม ที่เพื่อไทยวางแผนเอาไว้ คือ
ขั้นที่ 1 - ให้ประชาชนเลือกสสร.ก่อน
ขั้นที่ 2 - ให้สสร.พิจารณาว่าจะแก้ไขอะไรบ้าง และจะแก้ไขอย่างไร
ขั้นที่ 3 - ให้นำมาตราที่แก้ไขแล้ว ไปบอกประชาชน และทำประชาวิจารณ์ เพื่อฟังความเห็นของประชาชน แล้วเอากลับมาแก้ไข
ขั้นที่ 4 - แก้ไขมาตราที่มีปัญหาหลังจากทำประชาวิจารณ์ แล้วกลับไปทำขั้นที่ 3 อีกที จนกว่า จะเป็นที่ยอมรับโดยประชาชนส่วนใหญ่
ขั้นที่ 5 - เอาร่างที่ผ่านการทำประชาวิจารณ์ และแก้ไขตามความต้องการของประชาชนแล้ว ไปทำประชามติ
ขั้นที่ 6 - ร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว จะถูกนำขึ้นโปรดเกล้า และประกาศใช้
ตั้งแต่ขั้นที่ 1- 4 ประชาชนจะมีส่วนร่วมนะ
จะเห็นว่ามันมีขั้นตามนี้ครับ ส่วนการทำประชามติครั้งนี้อยู่ที่ขั้นตอนไหน ก็ต้องบอกว่า ยังไม่เริ่มขั้นตอนที่ 1 เลยครับ เพราะอะไร
ก็เพราะว่ามีคนบางกลุ่มไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญ แต่สุดท้ายแล้วจะแก้ให้ได้ก็ต้องถามประชาชนก่อนว่าจะให้แก้หรือไม่ รัฐบาลก็เลยจำเป็นต้องทำประชามติครับนี้ครับ ทั้งๆที่ความจำเป็นของประชามติครั้งนี้จำเป็นหรือไม่ ขอบอกว่าไม่จำเป็นครับ เพราะถึงจะผ่านประชามติครั้งนี้ไปได้ และเริ่มทำตามขั้นตอนด้านบน ก็จะเห็นว่าขั้นตอนสุดท้ายก็ต้องทำประชามติอีกครั้งอยู่ดี
ตามหลักความเป็นจริงควรจะให้โหวตวาระ 3 ผ่านก่อนครับ และก็ให้จัดตั้ง สสร ที่มาจากประชาชนก่อนตามขั้นตอนที่ 1 แล้ว สสร จึงจะเริ่มเขียน รัฐธรรมนูญ ขึ้นมาตามขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอนที่ 3 ก็นำรัฐธรรมนูญบางข้อที่เขียนเสร็จแล้วออกมาถามประชาชนว่าโอเคไหม ถ้าเห็นว่าไม่โอเคก็จะกลับไปแก้ตามขั้นตอนที่ 4 จนกว่าจะลงตัว แล้วจึงเริ่มทำประชามติในขั้นตอนที่ 5 ซึ่งครั้งนี้จะเป็นตัววัดว่าจะใช้หรือไม่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เพิ่งเขียนเสร็จตามขั้นตอน 1 2 3 4 ครับ ถ้าผ่านประชามติแล้วจึงนำร่างดังกล่าวขึ้นโปรดเกล้า และเริ่มประกาศใช้
แต่ทุกวันนี้แค่จะให้ผ่านวาระ 3 ก็มีคนคัดค้านแล้ว โดยที่ยังไม่ทันเริ่มเขียนอะไรเลยด้วยซ้ำ นั่นหมายถึงการคัานอย่างไม่มีเหตุผลครับ เพราะถ้ามีเหตุผลก็ควรจะให้โหวตวาระ 3 ผ่าน แล้วให้ สสร เขียนขึ้นมาใหม่ก่อน แล้วจึงนำแต่ละข้อขึ้นมาโต้แย้งว่าดีหรือไม่ดีอย่างมีรูปธรรมเพราะได้เขียนมาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แต่ตอนนี้ผมเห็นแต่มีการสร้างนามธรรม แล้วเอามาค้านอย่างเดียวโดยไม่มีเหตุผลครับ
ผมเป็นกลาง ผมจึงอยากเห็นสิ่งที่ควรจะได้เห็นก่อน มันถึงจะตัดสินใจได้ว่ามันจะจริงหรือไม่จริงอย่างไรครับ
ปล.ถ้ามีคำผิดบ้างก็ขออภัยด้วยครับ
การทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ที่หลายคนไม่เข้าใจ
เริ่มต้นผมขอยกขั้นตอนที่คุณศิลาแรงเคยเอามาลงไว้นะครับ
***********************************************
ตามเป้าหมายเดิม ที่เพื่อไทยวางแผนเอาไว้ คือ
ขั้นที่ 1 - ให้ประชาชนเลือกสสร.ก่อน
ขั้นที่ 2 - ให้สสร.พิจารณาว่าจะแก้ไขอะไรบ้าง และจะแก้ไขอย่างไร
ขั้นที่ 3 - ให้นำมาตราที่แก้ไขแล้ว ไปบอกประชาชน และทำประชาวิจารณ์ เพื่อฟังความเห็นของประชาชน แล้วเอากลับมาแก้ไข
ขั้นที่ 4 - แก้ไขมาตราที่มีปัญหาหลังจากทำประชาวิจารณ์ แล้วกลับไปทำขั้นที่ 3 อีกที จนกว่า จะเป็นที่ยอมรับโดยประชาชนส่วนใหญ่
ขั้นที่ 5 - เอาร่างที่ผ่านการทำประชาวิจารณ์ และแก้ไขตามความต้องการของประชาชนแล้ว ไปทำประชามติ
ขั้นที่ 6 - ร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติแล้ว จะถูกนำขึ้นโปรดเกล้า และประกาศใช้
ตั้งแต่ขั้นที่ 1- 4 ประชาชนจะมีส่วนร่วมนะ
จะเห็นว่ามันมีขั้นตามนี้ครับ ส่วนการทำประชามติครั้งนี้อยู่ที่ขั้นตอนไหน ก็ต้องบอกว่า ยังไม่เริ่มขั้นตอนที่ 1 เลยครับ เพราะอะไร
ก็เพราะว่ามีคนบางกลุ่มไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญ แต่สุดท้ายแล้วจะแก้ให้ได้ก็ต้องถามประชาชนก่อนว่าจะให้แก้หรือไม่ รัฐบาลก็เลยจำเป็นต้องทำประชามติครับนี้ครับ ทั้งๆที่ความจำเป็นของประชามติครั้งนี้จำเป็นหรือไม่ ขอบอกว่าไม่จำเป็นครับ เพราะถึงจะผ่านประชามติครั้งนี้ไปได้ และเริ่มทำตามขั้นตอนด้านบน ก็จะเห็นว่าขั้นตอนสุดท้ายก็ต้องทำประชามติอีกครั้งอยู่ดี
ตามหลักความเป็นจริงควรจะให้โหวตวาระ 3 ผ่านก่อนครับ และก็ให้จัดตั้ง สสร ที่มาจากประชาชนก่อนตามขั้นตอนที่ 1 แล้ว สสร จึงจะเริ่มเขียน รัฐธรรมนูญ ขึ้นมาตามขั้นตอนที่ 2 และขั้นตอนที่ 3 ก็นำรัฐธรรมนูญบางข้อที่เขียนเสร็จแล้วออกมาถามประชาชนว่าโอเคไหม ถ้าเห็นว่าไม่โอเคก็จะกลับไปแก้ตามขั้นตอนที่ 4 จนกว่าจะลงตัว แล้วจึงเริ่มทำประชามติในขั้นตอนที่ 5 ซึ่งครั้งนี้จะเป็นตัววัดว่าจะใช้หรือไม่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เพิ่งเขียนเสร็จตามขั้นตอน 1 2 3 4 ครับ ถ้าผ่านประชามติแล้วจึงนำร่างดังกล่าวขึ้นโปรดเกล้า และเริ่มประกาศใช้
แต่ทุกวันนี้แค่จะให้ผ่านวาระ 3 ก็มีคนคัดค้านแล้ว โดยที่ยังไม่ทันเริ่มเขียนอะไรเลยด้วยซ้ำ นั่นหมายถึงการคัานอย่างไม่มีเหตุผลครับ เพราะถ้ามีเหตุผลก็ควรจะให้โหวตวาระ 3 ผ่าน แล้วให้ สสร เขียนขึ้นมาใหม่ก่อน แล้วจึงนำแต่ละข้อขึ้นมาโต้แย้งว่าดีหรือไม่ดีอย่างมีรูปธรรมเพราะได้เขียนมาเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว แต่ตอนนี้ผมเห็นแต่มีการสร้างนามธรรม แล้วเอามาค้านอย่างเดียวโดยไม่มีเหตุผลครับ
ผมเป็นกลาง ผมจึงอยากเห็นสิ่งที่ควรจะได้เห็นก่อน มันถึงจะตัดสินใจได้ว่ามันจะจริงหรือไม่จริงอย่างไรครับ
ปล.ถ้ามีคำผิดบ้างก็ขออภัยด้วยครับ