“จิตเป็นธรรมชาติที่ไม่เกิดไม่ดับไม่สลาย”
จิตไม่ได้อยู่ในมิติของความกว้างแคบ ของกาลเวลา จะพูดว่าอยู่ตรงนั้นอยู่ตรงนี้ไม่ได้ จะว่ากว้างใหญ่เท่ากับจักรวาลก็ได้ เท่ากับท้องฟ้าก็ได้ หรือเล็กเท่ากับร่างกายก็ได้ เท่ากับตัวมดก็ได้ แล้วแต่ว่าจะเอาอะไรมาเป็นตัววัดจิต ถ้าเอาร่างกายเป็นตัววัด จิตก็ใหญ่เท่าร่างกาย ถ้าเอาช้างเป็นตัววัด จิตก็จะใหญ่กว่า แต่ความจริงจิตไม่ได้เป็นตัวช้าง ไม่ได้เป็นตัวมนุษย์ เหมือนกับโทรศัพท์มือถือ ที่มีหลายขนาด มีทั้งเล็กมีทั้งใหญ่ แต่คลื่นที่เข้าไปในเครื่องโทรศัพท์ก็เข้าไปได้หมดทุกเครื่อง จิตเป็นเหมือนกระแสคลื่นที่เข้ามาครอบร่างกาย สามารถไปได้ทั่วจักรวาลภายในเสี้ยววินาที อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า เพียงแต่อ้าแขนออกไปปั๊บก็ไปถึงแล้ว ถึงโลกนั้นถึงโลกนี้แล้ว อย่าไปคิดเรื่องจิตมากนัก เพราะเป็นอจินไตยสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติจะรู้อยู่แก่ใจ รู้ว่าไม่จำเป็นต้องรู้ว่าจิตอยู่ตรงไหน เพราะอยู่กับตัวตลอดเวลา ที่คุยกันอยู่นี้ก็คือตัวจิต ไม่ใช่ร่างกาย ที่เป็นเพียงเครื่องมือของจิต แต่จิตมองไม่เห็นตัวจิตเอง ก็เลยคิดไปต่างๆนานา จิตไม่รู้จักตัวเอง เพราะไปหลงยึดร่างกายเป็นตัวจิต ตัวเราที่แท้จริงคือตัวจิต เราอยู่ตรงไหนจิตก็อยู่ตรงนั้น จิตอยู่ตรงไหนเราก็อยู่ตรงนั้น แต่เราไม่รู้ เพราะไม่เคยเห็นจิตอยู่ในสภาพของจิตล้วนๆ แต่เห็นอยู่กับร่างกาย เห็นอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ก็เลยคิดว่าจิตอยู่ตรงนั้น
ไม่ต้องกังวลเรื่องของจิต เพราะจิตเป็นธรรมชาติที่ไม่เกิดไม่ดับไม่สลาย เหมือนธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ ก็ไม่หายไปไหน มารวมกันเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แล้วเดี๋ยวก็กลายเป็นอย่างอื่นไป เช่นอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ก็มาจากการผสมผสานของดินน้ำลมไฟ มาเป็นผักเป็นเนื้อเป็นผลไม้ พอเข้ามาในร่างกายส่วนหนึ่งก็เป็นขนเป็นผมเป็นเล็บเป็นฟันฯลฯ ส่วนที่ร่างกายไม่ต้องการก็ถ่ายออกมา ก็กลับไปสู่ดินน้ำลมไฟอยู่ดี เวลาถ่ายในป่า พอแห้งก็กลายเป็นดินไป น้ำก็ระเหยไป วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ รีไซเคิลไปเรื่อยๆ ถ้าพูดภาษาสมัยใหม่ จิตก็รีไซเคิลไปเรื่อยๆ จากร่างนี้ก็ไปอีกร่างหนึ่ง ก็ยังเป็นจิตอยู่อย่างเดิม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่รู้ว่าจิตเป็นอะไร แต่อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรกับจิตต่างหาก จะทำอย่างไรไม่ให้จิตทุกข์ ปัญหาอยู่ตรงนั้น เหมือนกับคนที่ถูกยิงด้วยลูกธนู ฝังอยู่ในร่างกาย มีคนจะมาช่วยเอาลูกธนูออก มารักษาแผลให้ ก็ห้ามไว้ก่อน อย่าพึ่งทำอะไร ไปถามก่อนว่าคนที่ยิงชื่ออะไร เป็นผู้หญิง ผู้ชาย มีอายุเท่าไหร่ เป็นคนชั้นไหน ถ้ามัวไปหาข้อมูล แผลก็เน่าตายพอดี นี่ก็เหมือนกัน ไม่ต้องไปรู้หรอกว่าใจเป็นอย่างไร กว้างใหญ่ลึกแคบ อยู่ตรงไหน เวลาบริสุทธิ์แล้วจะเป็นอย่างไร ไม่ต้องไปสนใจ รักษาให้หายเถอะ ทำให้บริสุทธิ์เถิด ปัญหามันอยู่ตรงนั้นแล้ว แล้วจะรู้เอง ไม่ต้องไปสงสัยว่าพระพุทธเจ้าตายไปแล้วจะไปอยู่ตรงไหน สามารถติดต่อกับเราได้หรือไม่
วันนี้ก็มีคนมาถามว่า พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้ว ยังติดต่อกับคนที่มีชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ก็บอกว่าไม่รู้นะ แต่ก็มีพระอาจารย์ท่านเล่าว่า เวลาท่านเข้าสมาธิ ก็มีพระพุทธเจ้าพระอรหันต์มาสนทนาธรรมกับท่าน จะมาในรูปแบบไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน มาหรือไม่ ก็ไม่ได้แก้ปัญหาของเรา ถ้ามาแสดงธรรม แต่เราไม่เอามาปฏิบัติก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ถ้าไม่มาแต่เราเอาธรรมะคำสอนของท่านมาปฏิบัติ ก็จะเกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปคิดว่านิพพานเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วหายไปไหน สาบสูญหรือเปล่า เป็นปัญหาโลกแตก คิดไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร มาทำหน้าที่ที่ต้องทำดีกว่า มานั่งสมาธิกันให้จิตสงบ มาเจริญปัญญา พิจารณาอสุภะ พิจารณาปฏิกูลทุกครั้งก่อนจะรับประทานอาหาร จะได้เป็นศิษย์มีครู
พระเณรเวลาจะใช้สอยปัจจัย ๔ ท่านบังคับให้พิจารณา เรียกว่าปฏิสังขาโยนิโส ให้พิจารณาจีวร อาหารบิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคทุกครั้งที่จะบริโภค จะรับประทานอาหารเพื่อดับความหิว ไม่ได้รับประทานเพื่อความสนุกสนานเฮฮา เหมือนคนบางคนเวลากินอาหาร ต้องจัดงานเชิญคนมาเป็นร้อย อย่างนี้ไม่ใช่เรื่องของการกินอาหารแล้ว ไม่ได้ปฏิสังขาโยนิโสไม่ได้พิจารณาถึงเหตุผลตามธรรม การใส่เสื้อผ้าก็เพื่อปกปิดร่างกายเท่านั้นเอง ถ้าพิจารณาก็จะไม่ซื้อเสื้อผ้าชุดละหมื่นชุดละแสนกัน ประดับพลอยประดับเพชร เป็นบ้ากันไป ติดไปทำไม มันได้ประโยชน์อะไร เสื้อผ้าที่ไม่ได้ประดับเพชรประดับพลอย ก็ปกปิดร่างกายได้เหมือนกัน เพราะไม่ปฏิสังขาโยนิโส ถ้าพิจารณา เวลาจีวรเก่าแล้วต้องปะ จะได้ไม่รังเกียจ ถ้าหลงตามแฟชั่นเวลาเห็นคนอื่นใส่ผ้าใหม่ๆไม่มีปะเลย จะรู้สึกน้อยอกน้อยใจมีปมด้อย อย่างพระมหากัสสปะนี่ ผ้าท่านปะจนไม่เห็นผ้าผืนเดิม ก็ยังใช้ได้อยู่ ใช้เพื่อปกปิดร่างกายเท่านั้น ไว้ห่มไว้ห่อร่างกาย ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วความหลงในเครื่องนุ่งห่มจะถูกกำจัดไปหมดเลย จะอยู่อย่างพอเพียงจริงๆ อยู่อย่างสมถะจริงๆ.
กัณฑ์ที่ ๒๗๖ วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๐ (จุลธรรมนำใจ ๗)
“กินเพื่ออยู่”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
จิตเป็นธรรมชาติที่ไม่เกิดไม่ดับไม่สลาย
จิตไม่ได้อยู่ในมิติของความกว้างแคบ ของกาลเวลา จะพูดว่าอยู่ตรงนั้นอยู่ตรงนี้ไม่ได้ จะว่ากว้างใหญ่เท่ากับจักรวาลก็ได้ เท่ากับท้องฟ้าก็ได้ หรือเล็กเท่ากับร่างกายก็ได้ เท่ากับตัวมดก็ได้ แล้วแต่ว่าจะเอาอะไรมาเป็นตัววัดจิต ถ้าเอาร่างกายเป็นตัววัด จิตก็ใหญ่เท่าร่างกาย ถ้าเอาช้างเป็นตัววัด จิตก็จะใหญ่กว่า แต่ความจริงจิตไม่ได้เป็นตัวช้าง ไม่ได้เป็นตัวมนุษย์ เหมือนกับโทรศัพท์มือถือ ที่มีหลายขนาด มีทั้งเล็กมีทั้งใหญ่ แต่คลื่นที่เข้าไปในเครื่องโทรศัพท์ก็เข้าไปได้หมดทุกเครื่อง จิตเป็นเหมือนกระแสคลื่นที่เข้ามาครอบร่างกาย สามารถไปได้ทั่วจักรวาลภายในเสี้ยววินาที อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า เพียงแต่อ้าแขนออกไปปั๊บก็ไปถึงแล้ว ถึงโลกนั้นถึงโลกนี้แล้ว อย่าไปคิดเรื่องจิตมากนัก เพราะเป็นอจินไตยสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติจะรู้อยู่แก่ใจ รู้ว่าไม่จำเป็นต้องรู้ว่าจิตอยู่ตรงไหน เพราะอยู่กับตัวตลอดเวลา ที่คุยกันอยู่นี้ก็คือตัวจิต ไม่ใช่ร่างกาย ที่เป็นเพียงเครื่องมือของจิต แต่จิตมองไม่เห็นตัวจิตเอง ก็เลยคิดไปต่างๆนานา จิตไม่รู้จักตัวเอง เพราะไปหลงยึดร่างกายเป็นตัวจิต ตัวเราที่แท้จริงคือตัวจิต เราอยู่ตรงไหนจิตก็อยู่ตรงนั้น จิตอยู่ตรงไหนเราก็อยู่ตรงนั้น แต่เราไม่รู้ เพราะไม่เคยเห็นจิตอยู่ในสภาพของจิตล้วนๆ แต่เห็นอยู่กับร่างกาย เห็นอยู่กับรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ก็เลยคิดว่าจิตอยู่ตรงนั้น
ไม่ต้องกังวลเรื่องของจิต เพราะจิตเป็นธรรมชาติที่ไม่เกิดไม่ดับไม่สลาย เหมือนธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ ก็ไม่หายไปไหน มารวมกันเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แล้วเดี๋ยวก็กลายเป็นอย่างอื่นไป เช่นอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ก็มาจากการผสมผสานของดินน้ำลมไฟ มาเป็นผักเป็นเนื้อเป็นผลไม้ พอเข้ามาในร่างกายส่วนหนึ่งก็เป็นขนเป็นผมเป็นเล็บเป็นฟันฯลฯ ส่วนที่ร่างกายไม่ต้องการก็ถ่ายออกมา ก็กลับไปสู่ดินน้ำลมไฟอยู่ดี เวลาถ่ายในป่า พอแห้งก็กลายเป็นดินไป น้ำก็ระเหยไป วนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ รีไซเคิลไปเรื่อยๆ ถ้าพูดภาษาสมัยใหม่ จิตก็รีไซเคิลไปเรื่อยๆ จากร่างนี้ก็ไปอีกร่างหนึ่ง ก็ยังเป็นจิตอยู่อย่างเดิม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่รู้ว่าจิตเป็นอะไร แต่อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรกับจิตต่างหาก จะทำอย่างไรไม่ให้จิตทุกข์ ปัญหาอยู่ตรงนั้น เหมือนกับคนที่ถูกยิงด้วยลูกธนู ฝังอยู่ในร่างกาย มีคนจะมาช่วยเอาลูกธนูออก มารักษาแผลให้ ก็ห้ามไว้ก่อน อย่าพึ่งทำอะไร ไปถามก่อนว่าคนที่ยิงชื่ออะไร เป็นผู้หญิง ผู้ชาย มีอายุเท่าไหร่ เป็นคนชั้นไหน ถ้ามัวไปหาข้อมูล แผลก็เน่าตายพอดี นี่ก็เหมือนกัน ไม่ต้องไปรู้หรอกว่าใจเป็นอย่างไร กว้างใหญ่ลึกแคบ อยู่ตรงไหน เวลาบริสุทธิ์แล้วจะเป็นอย่างไร ไม่ต้องไปสนใจ รักษาให้หายเถอะ ทำให้บริสุทธิ์เถิด ปัญหามันอยู่ตรงนั้นแล้ว แล้วจะรู้เอง ไม่ต้องไปสงสัยว่าพระพุทธเจ้าตายไปแล้วจะไปอยู่ตรงไหน สามารถติดต่อกับเราได้หรือไม่
วันนี้ก็มีคนมาถามว่า พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ที่นิพพานไปแล้ว ยังติดต่อกับคนที่มีชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ก็บอกว่าไม่รู้นะ แต่ก็มีพระอาจารย์ท่านเล่าว่า เวลาท่านเข้าสมาธิ ก็มีพระพุทธเจ้าพระอรหันต์มาสนทนาธรรมกับท่าน จะมาในรูปแบบไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน มาหรือไม่ ก็ไม่ได้แก้ปัญหาของเรา ถ้ามาแสดงธรรม แต่เราไม่เอามาปฏิบัติก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ถ้าไม่มาแต่เราเอาธรรมะคำสอนของท่านมาปฏิบัติ ก็จะเกิดประโยชน์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปคิดว่านิพพานเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วหายไปไหน สาบสูญหรือเปล่า เป็นปัญหาโลกแตก คิดไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร มาทำหน้าที่ที่ต้องทำดีกว่า มานั่งสมาธิกันให้จิตสงบ มาเจริญปัญญา พิจารณาอสุภะ พิจารณาปฏิกูลทุกครั้งก่อนจะรับประทานอาหาร จะได้เป็นศิษย์มีครู
พระเณรเวลาจะใช้สอยปัจจัย ๔ ท่านบังคับให้พิจารณา เรียกว่าปฏิสังขาโยนิโส ให้พิจารณาจีวร อาหารบิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคทุกครั้งที่จะบริโภค จะรับประทานอาหารเพื่อดับความหิว ไม่ได้รับประทานเพื่อความสนุกสนานเฮฮา เหมือนคนบางคนเวลากินอาหาร ต้องจัดงานเชิญคนมาเป็นร้อย อย่างนี้ไม่ใช่เรื่องของการกินอาหารแล้ว ไม่ได้ปฏิสังขาโยนิโสไม่ได้พิจารณาถึงเหตุผลตามธรรม การใส่เสื้อผ้าก็เพื่อปกปิดร่างกายเท่านั้นเอง ถ้าพิจารณาก็จะไม่ซื้อเสื้อผ้าชุดละหมื่นชุดละแสนกัน ประดับพลอยประดับเพชร เป็นบ้ากันไป ติดไปทำไม มันได้ประโยชน์อะไร เสื้อผ้าที่ไม่ได้ประดับเพชรประดับพลอย ก็ปกปิดร่างกายได้เหมือนกัน เพราะไม่ปฏิสังขาโยนิโส ถ้าพิจารณา เวลาจีวรเก่าแล้วต้องปะ จะได้ไม่รังเกียจ ถ้าหลงตามแฟชั่นเวลาเห็นคนอื่นใส่ผ้าใหม่ๆไม่มีปะเลย จะรู้สึกน้อยอกน้อยใจมีปมด้อย อย่างพระมหากัสสปะนี่ ผ้าท่านปะจนไม่เห็นผ้าผืนเดิม ก็ยังใช้ได้อยู่ ใช้เพื่อปกปิดร่างกายเท่านั้น ไว้ห่มไว้ห่อร่างกาย ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วความหลงในเครื่องนุ่งห่มจะถูกกำจัดไปหมดเลย จะอยู่อย่างพอเพียงจริงๆ อยู่อย่างสมถะจริงๆ.
กัณฑ์ที่ ๒๗๖ วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๐ (จุลธรรมนำใจ ๗)
“กินเพื่ออยู่”
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต