แบงก์ชาติ ชี้สินเชื่อแบงก์ ติดลบสูงสุดรอบ 15ปี เอสเอ็มอี-รายย่อยเดี้ยง
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1167370
แบงก์ชาติ ชี้สินเชื่อระบบแบงก์พาณิชย์ติดลบในรอบ 15 ปีมากสุดนับตั้งแต่ปี 52 หลัง “รายย่อย-เอสเอ็มอี” ขอกู้หดตัว จากการระมัดระวังการปล่อยกู้ จากเครดิตผู้กู้สูงขึ้น เปิดตัวเลขหนี้เสียลดลงมาอยู่ที่ 2.78% จาก 2.97% รับยังไม่สบายใจ “ห่วงหนี้เสียบ้าน” ยังทะยานต่อเนื่อง
นางสาว
สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า หากดูภาพรวมสินเชื่อระบบ “
ธนาคารพาณิชย์” ปี 2657 พบว่า โดยรวมสินเชื่อติดลบที่ 0.4% ซึ่งเป็นการติดลบมากที่สุดในรอบ 15 ปีนับตั้งแต่ปี 2552 และสินเชื่อยังขยายตัวติดลบต่อเนื่อง หากเทียบกับปีก่อนหน้าที่ติดลบ 0.3%
โดยสินเชื่อที่ติดลบ 0.4% โดยเกือบทุกพอร์ตสินเชื่อขยายโตต่ำ และติดลบ ยกเว้นรายใหญ่ที่ยังเห็นการเติบโตสินเชื่อได้ โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ที่ภาพรวมติดลบหนักมาที่ -1.9% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ติดลบเพียง -0.8% หลักๆ มาจากสินเชื่อเช่าซื้อที่หดตัว -9.9%
ซึ่งเป็นการหดตัวไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่า ธปท. จะเห็นสัญญาณการยึดรถเข้าลานประมูลน้อยลง ทำให้ราคารถมือสองกลับมาปรับดีขึ้น แต่ยังเป็นสัญญาณที่ธปท.ต้องจับตาดูอยู่
ขณะที่ สินเชื่อธุรกิจ SMEs หดตัวลดลง ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและรายได้กลุ่มเปราะบางที่ฟื้นตัวช้า
“
สินเชื่อที่หายไป ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากการระมัดระวังในการให้สินเชื่อของแบงก์ด้วย จากเครดิตริสที่เพิ่มสูงขึ้น และในช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อขยายตัวไปเยอะมากในภาวะที่จีดีพีไม่โต จีดีพีติดลบในช่วงโควิด”
หนี้เสียลด แต่ยังวางใจไม่ได้
ส่วนภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ปัจจุบันปรับลดลงทั้งปริมาณและสัดส่วน โดยปริมาณหนี้เสียอยู่ที่ 5.50 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.78% ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ที่อยู่ 5.3 แสนล้านบาท หรืออยู่ที่ 2.97% คิดเป็นหนี้เสียปรับลดลงราว 2 หมื่นล้านบาท
ถือเป็นการปรับลดลงในรอบหลายไตรมาส ยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เอ็นพีแอลปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.82% เป็น 3.88% และมองว่ามาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” จะทำให้หนี้เสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปรับดีขึ้นในรอบไตรมาสถัดไปได้
โดยหนี้เสียที่ปรับดีขึ้น เช่น สินเชื่อธุรกิจปรับลดลงจาก 3.24% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มาอยู่ที่ 3.20% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 สินเชื่อเอสเอ็มอีปรับลดลงจาก 7.01% มาอยู่ที่ 6.92% ธุรกิจรายใหญ่ลดลงจาก 1.18% มาอยู่ที่ 1.00% และสินเชื่อธุรกิจรายย่อยจาก 3.24% มาอยู่ที่ 3.20% โดยเช่าซื้อลดลงจาก 2.34% อยู่ที่ 2.17% และบัตรเครดิตปรับลดลงจาก 3.65% เหลือ 3.12% เป็นผลมาจากการคงมาตรการชำระขั้นต่ำ (Minimum Payment)
แต่การลดลงของหนี้เสีย ส่วนหนึ่งมาจากความพยายามของการลดหนี้ในช่วงสิ้นปี และเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อเอสเอ็มอี และรายย่อย ทำให้ลูกหนี้ถูกขยับจาก การเป็นหนี้เสียในกลุ่ม Stage 3 ไปอยู่ในกลุ่มสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Stage 2) เพิ่มขึ้นมาอยู่ 6.98% ขณะที่ยอดตัวเลขปรับโครงสร้างหนี้สะสมอยู่ที่ 7.18 ล้านบัญชี และคิดเป็นมูลหนี้อยู่ที่ 2.66 ล้านล้านบาท
“
หนี้เสียลดลง แต่ก็เรียนว่าเราก็ไม่ได้สบายใจ กับตัวเลขเอ็นพีแอล ที่อาจจะปรับดีขึ้นในไตรมาสนี้ ดังนั้น คงต้องดูกันยาวๆ เพราะโดยปกติไตรมาส 4 ก็จะเป็นช่วงที่สถาบันการเงินพยายามจะบริหารจัดการตัวเอ็นพีแอล เพื่อปิดงบ ดังนั้น ต้องยังติดตามกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด มันก็ต้องสะท้อนไปกลับมาที่รายได้ต้องฟื้นตัวด้วย เพราะหากรายได้ไม่กลับมาก็แก้ปัญหาระยะยาวไม่ได้ มันก็จะเป็นการลดภาระชั่วคราว นอกจากนี้ ธปท.มองว่า ที่ต้องติดตามใกล้ชิด และเป็นห่วงคือ กลุ่มสินเชื่อบ้าน ที่หนี้เสียยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ที่ธปท.ต้องติดตามใกล้ชิด”
ระดมทุนผ่านตราสารหนี้หดตัว 3 ไตรมาส
สำหรับ ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2567 ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง
โดยหากดูด้านเงินกองทุนต่อสินเทรัพย์เสี่ยงของระบบธนาคารพาณิชย์ โดยรวมอยู่ระดับสูงที่ 20.4% ด้านสภาพคล่อง(LCR)ขึ้นมาอยู่ที่ 206.4% ส่วนใหญ่มาจากสินทรัพย์สภาพคล่องที่ปรับเพิ่มขึ้น ด้านเงินสำรอง (NPL Coverage ratio) ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 177.1% หลักๆ เลยก็มาจากปริมาณ เอ็นพีแอลที่ลดลงประมาณ 20,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากดูด้านอัตราการขยายตัวของสินเชื่อและตราสารหนี้ พบว่าสินเชื่อหดตัว ขณะที่การระดมทุนผ่านตราสารหนี้หดตัวต่อเนื่อง โดยการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ หดตัวเป็นไตรมาสที่3 โดยไตรมาสล่าสุดหดตัวที่ 2.5% ตามความต้องการลดลง โดยหดตัวในเกือบทุกภาคธุรกิจ ทั้งอุตสาหกรรมก่อสร้างอสังหาฯ ยกเว้นการออกตราสารหนี้มากขึ้นใน กลุ่มสาธารณูปโภค
แต่โดยรวมยังชะลอตัวของการออกตราสารหนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากปัจจัยที่กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุน ที่มีความระมัดระวังมากขึ้น และมีการเลือกถือตราสารที่มีคุณภาพดีขึ้น
ปชน. ชงกมธ.ที่ดินสอบ นิคมลำตะคอง-สนามกอล์ฟอนุทิน เชื่อเคลียร์ไม่ยาก ถ้ารัฐทำงานตรงไปตรงมา
https://www.matichon.co.th/politics/news_5055992
‘พูนศักดิ์’ ชง ‘กมธ.ที่ดินฯ’ สอบ ‘นิคมลำตะคอง-สนามกอล์ฟอนุทิน’ เชื่อ เคลียร์ที่ดินทับซ้อนไม่ยาก แม้มีนักการเมืองเกี่ยว ขอ ‘สคทช.’ เป็นตัวกลาง เร่งทำวันแมพ แก้ปัญหายั่งยืน
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา นาย
พูนศักดิ์ จันทร์จำปี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาฯ เปิดเผยว่า วันนี้ กมธ.ที่ดินฯ จะนำเรื่องที่ดินทับซ้อนในพื้นที่นิคมลำตะคอง ซึ่งรวมไปถึงที่ดินของครอบครัวนาย
อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าสู่ที่ประชุม เพื่อขอมติที่ประชุมว่าจะเดินหน้าตรวจสอบเรื่องนี้หรือไม่ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่ามีพื้นที่ทับซ้อน ทำให้การออกโฉนดที่ดินล่าช้าและมีประชาชนร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2567 ซึ่งตนได้ให้ตรวจสอบเรื่องนี้ มา 3-4 เดือนแล้ว และล่าสุดได้รับเอกสารมาครบเรียบร้อยแล้ว จึงคิดว่าน่าจะนำของมติที่ประชุมเดินหน้าเป็นวาระใหญ่ของที่ประชุมได้หรือไม่
เมื่อถามว่า มองประเด็นเรื่องพื้นที่ครอบครัวของนายอนุทินอย่างไร นาย
พูนศักดิ์กล่าวว่า ตนไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นประเด็นการเมือง แต่มองเป็นเรื่องของข้อกฎหมายมากกว่า และต้องการที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน เพราะตอนนี้มีภาคประชาชน ประมาณ 800 แปลง ร้องเข้ามาว่าไม่ได้มีการพิสูจน์เรื่องของการทับซ้อนและออกเอกสารสิทธิ์ให้ ซึ่งเราต้องยกมาตรวจสอบทั้งหมดไม่ใช่แค่แปลงใดแปลงหนึ่ง แต่ก็ยอมรับว่าแปลงของครอบครัวนาย
อนุทิน ก็ต้องได้รับการตรวจสอบด้วย โดยจะต้องไปดูวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินนิคมสร้างตนเองว่ากำหนดให้ทำอะไร และยอมรับว่า เมื่อครอบครองครบ 5 ปีแล้วสามารถขอออกเป็นโฉนดได้ แต่ก็ต้องดูด้วยว่าเมื่อออกเป็นโฉนดแล้วเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งาน สามารถทำได้หรือไม่ ทั้งนี้ ยังเป็นคำถามของ กมธ.อยู่ จึงคิดว่าเป็นหนึ่งที่ต้องตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ตนได้พูดคุยกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) อยากจะขอให้เป็นตัวกลาง เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทั้งหมด และจากที่ทราบตอนนี้ สคทช. ก็กำลังตรวจสอบในพื้นที่ลำตะคองอยู่
เมื่อถามย้ำว่ากรณีนี้มีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจะทำให้เข้าเคลียร์ที่ดินทับซ้อนยากขึ้นหรือไม่ นายพูนศักดิ์กล่าวว่า ไม่ยาก เพียงแค่หน่วยงานรัฐ ทำงานตรงไปตรงมา และ สคทช. ก็ต้องเคลียร์เรื่องวันแมพให้ได้ เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทั้งประเทศได้อย่างยั่งยืน ไม่มีปัญหาซ้ำ
“
ต้องช่วยกันแก้ทีละเส้น ต้องใช้เวลา ทาง กมธ.จะช่วยตรวจสอบถึงแม้จะเป็นที่ดินของนักการเมือง หรือของใครก็ตามเรายินดีที่จะเข้าไปร่วมในการตรวจสอบ” นายพูนศักดิ์กล่าว
นาย
พูนศักดิ์กล่าวต่อว่า ตอนนี้ผู้ที่ถือครองที่ดินอาจจะมีโฉนด เพราะถือครองครบ 5 ปีแล้วออกโฉนดได้ และอาจจะเปลี่ยนมือที่ 2 3 หรือ 4 ทำให้เจ้าของปัจจุบันถือโฉนดอย่างถูกต้อง แต่ก็ต้องกลับไปดูวัตถุประสงค์ของนิคมสร้างตนเองด้วยว่าเขาให้ทำอะไร และต้องเป็นไปตามที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่ต้นหรือไม่ ทาง กมธ.กำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่
เปิด 8 ข้อเสนอ "ศุภณัฐ" ส่งถึง กทม. ชี้มุ่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง "ชัชชาติ" รับช่วยเข็นต่อ
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2842715
นาย
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตนได้เข้าพบนาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. โดยนำเสนอ 8 ประเด็นในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อประโยชน์ต่อคนกรุงเทพฯ ดังนี้
1. เสนอให้แก้ไขระเบียบงบประมาณนำไปพัฒนาซ่อมแซมสาธารณูปโภคให้โครงการที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ที่มีปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินของเอกชน กทม.ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณไปดูแลได้ทั่วถึง ทั้งซ่อมถนน ซ่อมไฟ ลอกท่อ ติดตั้ง CCTV
2. เสนอให้ออกมาตรฐานความปลอดภัยถนน และสุขอนามัยมาจัดการแก้ปัญหาตลาดที่ตัวถนนตัดผ่านติดกรรมสิทธิ์ผู้ปล่อยเช่า ปล่อยให้ถนนทรุดพัง ไม่มีการลอกท่อ มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะยุงลาย และก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ซึ่งหากออกข้อบังคับได้ จะทำให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องมาดูแลเรื่องเหล่านี้
3. จากปัญหาลักลอบขายของบนฟุตปาทงานเกษตรแฟร์ มีออร์กาไนซ์ทำเป็นขบวนการเรียกเก็บค่าเช่า จึงเสนอให้ทำจุดผ่อนผันชั่วคราว และเปิดลงทะเบียนให้สิทธิ์ขายของเป็นการนำธุรกิจใต้ดินขึ้นมาบนดิน
นาย
ศุภณัฐกล่าวอีกว่า
4. เสนอให้ขยายทางเข้าซอยข้างศาลอาญาหรือขอใช้ถนนของศาลอาญาเป็นทางผ่าน เพื่อเชื่อมถนนระหว่างลาดพร้าวซอย 1, ซอย 15, พหลโยธิน 24 และ ถ.รัชดาภิเษก โดยต้องขออนุญาตกับทางศาลอาญา และการรถไฟฯ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน
5. เสนอให้ กทม.แก้ข้อบัญญัติควบคุมอาคาร เพิ่มสัดส่วนห้องน้ำหญิง แก้ปัญหาผู้หญิงต่อคิวเข้าห้องน้ำนาน ในอาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า สถานีขนส่ง สนามกีฬา สถานที่ราชการ
6.แก้ปัญหารถติดหน้าห้างสรรพสินค้า และสถานีขนส่งรถโดยสาร เสนอให้ทำที่จอดรถสาธารณะ หน้าอาคารใกล้ถนนใหญ่ ขอให้ กทม.แก้ไขข้อบัญญัติควบคุมอาคารด้วย และมองว่าราชประสงค์โมเดลไม่ช่วยตอบโจทย์แก้ปัญหาเรื่องรถติด
7. เสนอให้ขยายระยะเวลาฟิตเนส 37 แห่งในกรุงเทพฯ พร้อมติดเครื่องฟอกอากาศทุกที่ เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 สูง
8. เร่งตรวจสอบและรื้อป้ายโฆษณายักษ์ที่ลักลอบทำผิดกฎหมายบริเวณแนวรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ต้องเอาจริงรื้อให้ไว อย่าปล่อยให้ตีเนียนแหกกฎหมาย หารายได้ค่าโฆษณาเป็นแสนบาทต่อเดือน ทั้งนี้ นายชัชชาติรับปากว่าจะช่วยแก้ปัญหา และประสานต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลให้ตรงจุด พร้อมกันนี้ ให้กำหนดระยะเวลาการแก้ปัญหาแต่ละเรื่องและติดตามเป็นระยะ.
JJNY : สินเชื่อแบงก์ ติดลบสูงสุดรอบ 15ปี│ปชน.ชงกมธ.ที่ดินสอบ│เปิด 8 ข้อเสนอ "ศุภณัฐ"ส่งถึงกทม.│จีนย้ำร่วมมือไทย-เมียนมา
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1167370
แบงก์ชาติ ชี้สินเชื่อระบบแบงก์พาณิชย์ติดลบในรอบ 15 ปีมากสุดนับตั้งแต่ปี 52 หลัง “รายย่อย-เอสเอ็มอี” ขอกู้หดตัว จากการระมัดระวังการปล่อยกู้ จากเครดิตผู้กู้สูงขึ้น เปิดตัวเลขหนี้เสียลดลงมาอยู่ที่ 2.78% จาก 2.97% รับยังไม่สบายใจ “ห่วงหนี้เสียบ้าน” ยังทะยานต่อเนื่อง
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า หากดูภาพรวมสินเชื่อระบบ “ธนาคารพาณิชย์” ปี 2657 พบว่า โดยรวมสินเชื่อติดลบที่ 0.4% ซึ่งเป็นการติดลบมากที่สุดในรอบ 15 ปีนับตั้งแต่ปี 2552 และสินเชื่อยังขยายตัวติดลบต่อเนื่อง หากเทียบกับปีก่อนหน้าที่ติดลบ 0.3%
โดยสินเชื่อที่ติดลบ 0.4% โดยเกือบทุกพอร์ตสินเชื่อขยายโตต่ำ และติดลบ ยกเว้นรายใหญ่ที่ยังเห็นการเติบโตสินเชื่อได้ โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ที่ภาพรวมติดลบหนักมาที่ -1.9% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ติดลบเพียง -0.8% หลักๆ มาจากสินเชื่อเช่าซื้อที่หดตัว -9.9%
ซึ่งเป็นการหดตัวไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับเพิ่มขึ้น แม้ว่า ธปท. จะเห็นสัญญาณการยึดรถเข้าลานประมูลน้อยลง ทำให้ราคารถมือสองกลับมาปรับดีขึ้น แต่ยังเป็นสัญญาณที่ธปท.ต้องจับตาดูอยู่
ขณะที่ สินเชื่อธุรกิจ SMEs หดตัวลดลง ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและรายได้กลุ่มเปราะบางที่ฟื้นตัวช้า
“สินเชื่อที่หายไป ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากการระมัดระวังในการให้สินเชื่อของแบงก์ด้วย จากเครดิตริสที่เพิ่มสูงขึ้น และในช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อขยายตัวไปเยอะมากในภาวะที่จีดีพีไม่โต จีดีพีติดลบในช่วงโควิด”
หนี้เสียลด แต่ยังวางใจไม่ได้
ส่วนภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ปัจจุบันปรับลดลงทั้งปริมาณและสัดส่วน โดยปริมาณหนี้เสียอยู่ที่ 5.50 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.78% ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 2567 ที่อยู่ 5.3 แสนล้านบาท หรืออยู่ที่ 2.97% คิดเป็นหนี้เสียปรับลดลงราว 2 หมื่นล้านบาท
ถือเป็นการปรับลดลงในรอบหลายไตรมาส ยกเว้นสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เอ็นพีแอลปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.82% เป็น 3.88% และมองว่ามาตรการ “คุณสู้ เราช่วย” จะทำให้หนี้เสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยปรับดีขึ้นในรอบไตรมาสถัดไปได้
โดยหนี้เสียที่ปรับดีขึ้น เช่น สินเชื่อธุรกิจปรับลดลงจาก 3.24% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มาอยู่ที่ 3.20% ในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 สินเชื่อเอสเอ็มอีปรับลดลงจาก 7.01% มาอยู่ที่ 6.92% ธุรกิจรายใหญ่ลดลงจาก 1.18% มาอยู่ที่ 1.00% และสินเชื่อธุรกิจรายย่อยจาก 3.24% มาอยู่ที่ 3.20% โดยเช่าซื้อลดลงจาก 2.34% อยู่ที่ 2.17% และบัตรเครดิตปรับลดลงจาก 3.65% เหลือ 3.12% เป็นผลมาจากการคงมาตรการชำระขั้นต่ำ (Minimum Payment)
แต่การลดลงของหนี้เสีย ส่วนหนึ่งมาจากความพยายามของการลดหนี้ในช่วงสิ้นปี และเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อเอสเอ็มอี และรายย่อย ทำให้ลูกหนี้ถูกขยับจาก การเป็นหนี้เสียในกลุ่ม Stage 3 ไปอยู่ในกลุ่มสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Stage 2) เพิ่มขึ้นมาอยู่ 6.98% ขณะที่ยอดตัวเลขปรับโครงสร้างหนี้สะสมอยู่ที่ 7.18 ล้านบัญชี และคิดเป็นมูลหนี้อยู่ที่ 2.66 ล้านล้านบาท
“หนี้เสียลดลง แต่ก็เรียนว่าเราก็ไม่ได้สบายใจ กับตัวเลขเอ็นพีแอล ที่อาจจะปรับดีขึ้นในไตรมาสนี้ ดังนั้น คงต้องดูกันยาวๆ เพราะโดยปกติไตรมาส 4 ก็จะเป็นช่วงที่สถาบันการเงินพยายามจะบริหารจัดการตัวเอ็นพีแอล เพื่อปิดงบ ดังนั้น ต้องยังติดตามกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด มันก็ต้องสะท้อนไปกลับมาที่รายได้ต้องฟื้นตัวด้วย เพราะหากรายได้ไม่กลับมาก็แก้ปัญหาระยะยาวไม่ได้ มันก็จะเป็นการลดภาระชั่วคราว นอกจากนี้ ธปท.มองว่า ที่ต้องติดตามใกล้ชิด และเป็นห่วงคือ กลุ่มสินเชื่อบ้าน ที่หนี้เสียยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ที่ธปท.ต้องติดตามใกล้ชิด”
ระดมทุนผ่านตราสารหนี้หดตัว 3 ไตรมาส
สำหรับ ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2567 ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง
โดยหากดูด้านเงินกองทุนต่อสินเทรัพย์เสี่ยงของระบบธนาคารพาณิชย์ โดยรวมอยู่ระดับสูงที่ 20.4% ด้านสภาพคล่อง(LCR)ขึ้นมาอยู่ที่ 206.4% ส่วนใหญ่มาจากสินทรัพย์สภาพคล่องที่ปรับเพิ่มขึ้น ด้านเงินสำรอง (NPL Coverage ratio) ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 177.1% หลักๆ เลยก็มาจากปริมาณ เอ็นพีแอลที่ลดลงประมาณ 20,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากดูด้านอัตราการขยายตัวของสินเชื่อและตราสารหนี้ พบว่าสินเชื่อหดตัว ขณะที่การระดมทุนผ่านตราสารหนี้หดตัวต่อเนื่อง โดยการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ หดตัวเป็นไตรมาสที่3 โดยไตรมาสล่าสุดหดตัวที่ 2.5% ตามความต้องการลดลง โดยหดตัวในเกือบทุกภาคธุรกิจ ทั้งอุตสาหกรรมก่อสร้างอสังหาฯ ยกเว้นการออกตราสารหนี้มากขึ้นใน กลุ่มสาธารณูปโภค
แต่โดยรวมยังชะลอตัวของการออกตราสารหนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากปัจจัยที่กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุน ที่มีความระมัดระวังมากขึ้น และมีการเลือกถือตราสารที่มีคุณภาพดีขึ้น
ปชน. ชงกมธ.ที่ดินสอบ นิคมลำตะคอง-สนามกอล์ฟอนุทิน เชื่อเคลียร์ไม่ยาก ถ้ารัฐทำงานตรงไปตรงมา
https://www.matichon.co.th/politics/news_5055992
‘พูนศักดิ์’ ชง ‘กมธ.ที่ดินฯ’ สอบ ‘นิคมลำตะคอง-สนามกอล์ฟอนุทิน’ เชื่อ เคลียร์ที่ดินทับซ้อนไม่ยาก แม้มีนักการเมืองเกี่ยว ขอ ‘สคทช.’ เป็นตัวกลาง เร่งทำวันแมพ แก้ปัญหายั่งยืน
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาฯ เปิดเผยว่า วันนี้ กมธ.ที่ดินฯ จะนำเรื่องที่ดินทับซ้อนในพื้นที่นิคมลำตะคอง ซึ่งรวมไปถึงที่ดินของครอบครัวนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าสู่ที่ประชุม เพื่อขอมติที่ประชุมว่าจะเดินหน้าตรวจสอบเรื่องนี้หรือไม่ เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่ามีพื้นที่ทับซ้อน ทำให้การออกโฉนดที่ดินล่าช้าและมีประชาชนร้องเรียนมาตั้งแต่ปี 2567 ซึ่งตนได้ให้ตรวจสอบเรื่องนี้ มา 3-4 เดือนแล้ว และล่าสุดได้รับเอกสารมาครบเรียบร้อยแล้ว จึงคิดว่าน่าจะนำของมติที่ประชุมเดินหน้าเป็นวาระใหญ่ของที่ประชุมได้หรือไม่
เมื่อถามว่า มองประเด็นเรื่องพื้นที่ครอบครัวของนายอนุทินอย่างไร นายพูนศักดิ์กล่าวว่า ตนไม่ได้มองเรื่องนี้เป็นประเด็นการเมือง แต่มองเป็นเรื่องของข้อกฎหมายมากกว่า และต้องการที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน เพราะตอนนี้มีภาคประชาชน ประมาณ 800 แปลง ร้องเข้ามาว่าไม่ได้มีการพิสูจน์เรื่องของการทับซ้อนและออกเอกสารสิทธิ์ให้ ซึ่งเราต้องยกมาตรวจสอบทั้งหมดไม่ใช่แค่แปลงใดแปลงหนึ่ง แต่ก็ยอมรับว่าแปลงของครอบครัวนายอนุทิน ก็ต้องได้รับการตรวจสอบด้วย โดยจะต้องไปดูวัตถุประสงค์ของการใช้ที่ดินนิคมสร้างตนเองว่ากำหนดให้ทำอะไร และยอมรับว่า เมื่อครอบครองครบ 5 ปีแล้วสามารถขอออกเป็นโฉนดได้ แต่ก็ต้องดูด้วยว่าเมื่อออกเป็นโฉนดแล้วเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้งาน สามารถทำได้หรือไม่ ทั้งนี้ ยังเป็นคำถามของ กมธ.อยู่ จึงคิดว่าเป็นหนึ่งที่ต้องตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม ตนได้พูดคุยกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) อยากจะขอให้เป็นตัวกลาง เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทั้งหมด และจากที่ทราบตอนนี้ สคทช. ก็กำลังตรวจสอบในพื้นที่ลำตะคองอยู่
เมื่อถามย้ำว่ากรณีนี้มีนักการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจะทำให้เข้าเคลียร์ที่ดินทับซ้อนยากขึ้นหรือไม่ นายพูนศักดิ์กล่าวว่า ไม่ยาก เพียงแค่หน่วยงานรัฐ ทำงานตรงไปตรงมา และ สคทช. ก็ต้องเคลียร์เรื่องวันแมพให้ได้ เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทั้งประเทศได้อย่างยั่งยืน ไม่มีปัญหาซ้ำ
“ต้องช่วยกันแก้ทีละเส้น ต้องใช้เวลา ทาง กมธ.จะช่วยตรวจสอบถึงแม้จะเป็นที่ดินของนักการเมือง หรือของใครก็ตามเรายินดีที่จะเข้าไปร่วมในการตรวจสอบ” นายพูนศักดิ์กล่าว
นายพูนศักดิ์กล่าวต่อว่า ตอนนี้ผู้ที่ถือครองที่ดินอาจจะมีโฉนด เพราะถือครองครบ 5 ปีแล้วออกโฉนดได้ และอาจจะเปลี่ยนมือที่ 2 3 หรือ 4 ทำให้เจ้าของปัจจุบันถือโฉนดอย่างถูกต้อง แต่ก็ต้องกลับไปดูวัตถุประสงค์ของนิคมสร้างตนเองด้วยว่าเขาให้ทำอะไร และต้องเป็นไปตามที่เคยประกาศไว้ตั้งแต่ต้นหรือไม่ ทาง กมธ.กำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่
เปิด 8 ข้อเสนอ "ศุภณัฐ" ส่งถึง กทม. ชี้มุ่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง "ชัชชาติ" รับช่วยเข็นต่อ
https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2842715
นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพฯ กล่าวว่า ตนได้เข้าพบนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. โดยนำเสนอ 8 ประเด็นในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อประโยชน์ต่อคนกรุงเทพฯ ดังนี้
1. เสนอให้แก้ไขระเบียบงบประมาณนำไปพัฒนาซ่อมแซมสาธารณูปโภคให้โครงการที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ที่มีปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดินของเอกชน กทม.ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณไปดูแลได้ทั่วถึง ทั้งซ่อมถนน ซ่อมไฟ ลอกท่อ ติดตั้ง CCTV
2. เสนอให้ออกมาตรฐานความปลอดภัยถนน และสุขอนามัยมาจัดการแก้ปัญหาตลาดที่ตัวถนนตัดผ่านติดกรรมสิทธิ์ผู้ปล่อยเช่า ปล่อยให้ถนนทรุดพัง ไม่มีการลอกท่อ มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะยุงลาย และก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ซึ่งหากออกข้อบังคับได้ จะทำให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ต้องมาดูแลเรื่องเหล่านี้
3. จากปัญหาลักลอบขายของบนฟุตปาทงานเกษตรแฟร์ มีออร์กาไนซ์ทำเป็นขบวนการเรียกเก็บค่าเช่า จึงเสนอให้ทำจุดผ่อนผันชั่วคราว และเปิดลงทะเบียนให้สิทธิ์ขายของเป็นการนำธุรกิจใต้ดินขึ้นมาบนดิน
นายศุภณัฐกล่าวอีกว่า
4. เสนอให้ขยายทางเข้าซอยข้างศาลอาญาหรือขอใช้ถนนของศาลอาญาเป็นทางผ่าน เพื่อเชื่อมถนนระหว่างลาดพร้าวซอย 1, ซอย 15, พหลโยธิน 24 และ ถ.รัชดาภิเษก โดยต้องขออนุญาตกับทางศาลอาญา และการรถไฟฯ ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน
5. เสนอให้ กทม.แก้ข้อบัญญัติควบคุมอาคาร เพิ่มสัดส่วนห้องน้ำหญิง แก้ปัญหาผู้หญิงต่อคิวเข้าห้องน้ำนาน ในอาคารขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า สถานีขนส่ง สนามกีฬา สถานที่ราชการ
6.แก้ปัญหารถติดหน้าห้างสรรพสินค้า และสถานีขนส่งรถโดยสาร เสนอให้ทำที่จอดรถสาธารณะ หน้าอาคารใกล้ถนนใหญ่ ขอให้ กทม.แก้ไขข้อบัญญัติควบคุมอาคารด้วย และมองว่าราชประสงค์โมเดลไม่ช่วยตอบโจทย์แก้ปัญหาเรื่องรถติด
7. เสนอให้ขยายระยะเวลาฟิตเนส 37 แห่งในกรุงเทพฯ พร้อมติดเครื่องฟอกอากาศทุกที่ เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 สูง
8. เร่งตรวจสอบและรื้อป้ายโฆษณายักษ์ที่ลักลอบทำผิดกฎหมายบริเวณแนวรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว ต้องเอาจริงรื้อให้ไว อย่าปล่อยให้ตีเนียนแหกกฎหมาย หารายได้ค่าโฆษณาเป็นแสนบาทต่อเดือน ทั้งนี้ นายชัชชาติรับปากว่าจะช่วยแก้ปัญหา และประสานต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลให้ตรงจุด พร้อมกันนี้ ให้กำหนดระยะเวลาการแก้ปัญหาแต่ละเรื่องและติดตามเป็นระยะ.