ธปท. เผยหนี้เสียทะลุ 5.5 แสนล้าน สินเชื่อแบงก์หดตัว 2% เคาะมาตรการแก้หนี้ก่อนสิ้นปี
https://www.matichon.co.th/economy/news_4921314
ธปท. เผยไตรมาส 3/67 สินเชื่อแบงก์หดตัว 2% หนี้เสียทะลุ 5.5 แสนล้าน คาดเคาะมาตรการแก้หนี้ร่วม ‘คลัง’ ก่อนสินปี
นางสาว
สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อภาพรวมธนาคารพาณิชย์ (รวมเครือ) ไตรมาส 3/2567 หดตัวที่ 2% เทียบจากช่วงเดียวกันปี 2566 ถือเป็นการหดตัวลงไตรมาสแรก นับตั้งแต่ช่วงปี 2553 ซึ่งยังต้องติดตามภาวะการปล่อยสินเชื่อ การติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจเอสเอ็มอี และครัวเรือนบางกลุ่มที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง รวมถึงธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง และความสามารถในการแข่งขันที่ปรับลดลง ส่งผลให้หนี้เสีย หรือหนี้ไม่ก่อรายได้ (เอ็นพีแอล) มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้น โดยในภาพรวมระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพอยู่ เพราะมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง โดยผลการดำเนินงานไตรมาส 3 อยู่ที่ 7.1 หมื่นล้านบาท ปรับดีขึ้น 9.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากการวัดมูลค่าตราสารทางการเงิน ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง
นางสาว
สุวรรณีกล่าวว่า โดยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 3 ปี 2567 โดยหลักจากการชำระคืนหนี้ที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการจ่ายคืนหนี้ของภาครัฐและธุรกิจขนาดใหญ่ แม้การให้สินเชื่อใหม่ยังมีต่อเนื่องในธุรกิจขนาดใหญ่ในภาคบริการ อสังหาริมทรัพย์ พาณิชย์ อุตสาหกรรมการผลิต อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม แต่ต้องยอมรับว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อที่อยู่อาศัย แม้มีการขยายตัวอยู่แต่มีแนวโน้มชะลอลง ขณะที่สินเชื่อในภาคธุรกิจที่เผชิญปัญหาความสามารถในการแข่งขันยังคงหดตัว โดยเฉพาะในกลุ่มปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิตยังคงหดตัว
นางสาว
สุวรรณีกล่าวว่า ส่วนคุณภาพสินเชื่อยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (stage 3) ไตรมาส 3 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 553.4 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมที่ 2.97% (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานสินเชื่อที่ปรับลดลง) สูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2564 แต่ยังไม่ได้สูงสุดนับตั้งแต่เคยมีมา ผลจากทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยธนาคารพาณิชย์ยังบริหารจัดการคุณภาพหนี้และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยสัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (stage 2) อยู่ที่ 6.86% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจากสินเชื่อธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการจัดชั้นเชิงคุณภาพของธนาคารพาณิชย์ โดยธุรกิจยังสามารถชำระคืนหนี้ได้ตามเงื่อนไขสัญญา และสินเชื่อที่อยู่อาศัย
“ปี 2563 สัดส่วนหนี้เสียอยู่ประมาณ 3.1% ส่วนปี 2553 อยู่ที่ 3.6% ซึ่งตัวเลขในปัจจุบันถือเป็นจุดที่เรากังวล แต่ไม่ได้กระจายตัวในวงกว้าง หนี้เสียกระจุกอยู่ในลูกหนี้ที่มีความเปราะบาง ลูกหนี้ธุรกิจ มีปัญหาเดิมและผ่านการช่วยเหลือมาแล้ว ถือเป็นความกังวลในกลุ่มลูกหนี้ที่มีความเปราะบางเป็นหลัก ที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท ทั้งรายประจำหรืออาชีพอิสระ โดยยอดคงค้างหนี้เสียในระบบอยู่ประมาณ 5.5 แสนล้านบาท ขณะที่ยอดหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษค้างชำระระหว่าง 1-3 เดือน ใกล้เป็นเอ็นพีแอล (SM) อยู่ที่ 1,277,028 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 3 คาดว่าจะลดลงเล็กน้อยจากระดับ 89.6% ต่อจีดีพีเทียบกับในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา” นางสาว
สุวรรณีกล่าว
นางสาว
สุวรรณีกล่าวว่า สินเชื่อบัตรเครดิต ติดลบเป็นไตรมาสที่ 2 แต่เห็นยอดการชำระคืนเพิ่มมากขึ้นหลังจากมีการปรับขั้นต่ำในการชำระหนี้ ขณะที่ยอดใช้จ่ายในไตรมาส 2 มีการปรับเพิ่มขึ้นกว่าเดิม สะท้อนถึงการใช้จ่ายที่กลับคืนมาแล้ว ส่วนสินเชื่อบ้านพบการชะลอตัวโดยเฉพาะในที่อยู่อาศัยแนวราบ ราคาต่ำกว่า 3-5 ล้านบาท ด้านสินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวในส่วนสินเชื่อจำนำทะเบียนรถเท่านั้น โดยการให้สินเชื่อเพิ่มเทียบการชำระคืนหนี้ของระบบธนาคารพาณิชย์ มีการปล่อยสินเชื่อที่ 4.24 ล้านล้านบาท การชำระคืนที่ 4.21 ล้านล้านบาท เมื่อรวมการบริหารจัดการของธนาคารพาณิชย์ทำให้สินเชื่อมีการหดตัว แต่ยังคงมีเม็ดเงินใหม่ปล่อยเข้าไป โดยมีเซกเตอร์และธุรกิจที่มีปัญหาด้านการแข่งขัน หรือเอสเอ็มอีที่ไม่ฟื้นตัว ได้รับการอนุมัติสินเชื่อยากขึ้น
นางสาว
สุวรรณีกล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างหนี้สะสมของระบบสถาบันการเงินในรอบ 9 เดือน ปี 2567 มีจำนวนบัญชีที่ได้รับความช่วยเหลือสะสม 6.10 ล้านบัญชี แบ่งเป็นลูกหนี้ธนาคาร และสถาบันการเงิน 1.90 ล้านบัญชี, ลูกหนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) 4.20 ล้านบัญชี โดยคิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือสะสม 2.08 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นธนาคาร และสถาบันการเงิน 0.80 ล้านล้านบาท และ SFIs 1.27 ล้านล้านบาท
นางสาว
สุวรรณีกล่าวว่า ด้านความคืบหน้ามาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง จะซับซ้อนกันหรือไม่ ต้องบอกว่า ธปท.ทำร่วมกับรัฐบาล กระทรวงการคลัง และสมาคมธนาคารไทย (TBA) ในการออกมาตรการช่วยเหลือแก้หนี้ครัวเรือน เจาะกลุ่มที่มีปัญหาจริงๆ ซึ่งรายละเอียดคาดว่าจะเห็นความชัดเจนก่อนสิ้นปี 2567 โดย ธปท.กังวลการก่อให้เกิดวัฒนธรรมจงใจผิดนัดชำระหนี้ (Moral Hazard) จึงมีวันที่กำหนดการเป็นหนี้เสีย (Cut-off) โดยแหล่งเงินทุนที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ส่วนหนึ่งจะมาจากการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) เหลือ 0.23% จากเดิม 0.46% และเงินส่วนหนึ่งจากธนาคารพาณิชย์เข้ามาช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยคาดว่าจะเห็นความชัดเจนก่อนสิ้นปี 2567 นี้
“
โครงการที่จะออกมา จะมีการกำหนดคุณสมบัติของลูกหนี้ ไม่ได้เป็นการบังคับลูกหนี้ แต่จะเป็นทางเลือกให้เลือกสมัครเข้ามา เลือกเงื่อนไขและเกณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกหนี้ เพราะแต่ละโครงการหรือมาตรการก็มีเงื่อนไขแตกต่างกัน โดยปกติการลด FIDF ครึ่งหนึ่ง การชำระหนี้จะขยับไปครึ่งปี ซึ่งการตัดสินใจการปรับลด FIDF ขึ้นอยู่กับ ธปท. แต่ในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้จะขึ้นอยู่กับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะว่าจะจัดสรรการชำระหนี้อย่างไร จะชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยก่อนหรือหลัง โดยเชื่อว่าจะเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือลูกหนี้จริงๆ ไม่ได้เป็นเพียงการลดภาระแล้ว” นางสาว
สุวรรณีกล่าว.
หุ้นไทยปิดลบ 5.06 จุด
https://tna.mcot.net/business-1452430
กทม. 26 พ.ย.- SET ปิดวันนี้ 1,438.25 จุด ลดลง 5.06 จุด หรือ (-0.35%) มูลค่าซื้อขาย 37,226.32 ล้านบาท
SET ปิดวันนี้ 1,438.25 จุด ลดลง 5.06 จุด หรือ (-0.35%) มูลค่าซื้อขาย 37,226.32 ล้านบาท นักวิเคราะห์ฯ เผยตลาดหุ้นไทยวันนี้พักตัว รับแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงานจากราคาน้ำมันดิบร่วง เพราะอิสราเอลบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกลุ่มอิชบอลเลาะห์ ประกอบกับมีแรงขายกลุ่ม GULF อีกทั้งกังวลสงครามการค้ากลับมาอีกครั้งหลังทรัมป์ขึ้นผู้นำสหรัฐ อย่างไรก็ดี ได้ Sentiment บวกจากการส่งออกของไทยในเดือนต.ค.ดีกว่าคาดมาก กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ถุงมือยาง ไก่ส่งออก เครื่องดื่ม พรุ่งนี้คาดตลาดน่าจะอยู่ในโซนพักตัว ให้แนวรับที่ 1,430 จุด แนวต้านที่ 1,450 จุด .-สำนักข่าวไทย
เขากระโดงไม่จบ! กมธ.ที่ดิน นัดถก 27พ.ย.นี้ เชิญ ทล. แจง หลังพบรฟท.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4921036
กมธ.ที่ดิน ถกที่ดินเขากระโดง 27 พ.ย. เชิญ ‘กรมทางหลวง’ แจงหลังพบข้อมูล รฟท. ให้เช่าพื้นที่ ตัดถนนเข้าสนามกีฬาของเอกชน ขณะที่ ‘มท.1-รมว.คมนาคม’ ตอบรับเข้าชี้แจง แต่ไม่ทราบมาเองหรือส่งตัวแทน
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน นาย
ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภา ให้สัมภาษณ์ว่าในการประชุม กมธ.ที่มีวาระพิจารณาข้อพิพาทปัญหาที่ดินเขากระโดงในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 27 พ.ย.
เวลา 09.30 น.นั้น
ล่าสุด บุคคลตามหน่วยงานที่ถูกเชิญได้ตอบรับมาทั้งหมด ได้แก่ รมว.มหาดไทย รมว.คมนาคม อธิบดีกรมที่ดิน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แต่เมื่อถึงเวลาประชุมแล้วบุคคลที่ถูกเชิญจะส่งตัวแทนมาหรือไม่ ต้องรอตรวจสอบในวันประชุมอีกครั้ง
นาย
ฐิติกันต์กล่าวต่อว่า กมธ.ได้เชิญหน่วยงานเพิ่มเติมอีก 1 หน่วย คือ กรมทางหลวง เนื่องจากได้รับทราบข้อมูลว่ามีการขอเช่าพื้นที่ รฟท.เพื่อทำถนนไปยังสนามกีฬาที่สร้างในพื้นที่ที่พิพาทเขากระโดง
โดยขณะนี้ยังไม่ทราบว่าเป็นการขอเช่าที่ดินที่เป็นไปโดยชอบหรือไม่ เพราะปกติการขอเช่าพื้นที่ต้องใช้เพื่อกิจการของหน่วยงาน แต่กรณีที่เกิดขึ้นคือการขอเช่าพื้นที่เพื่อทำถนนเข้าไปยังพื้นที่สนามกีฬาของเอกชน ซึ่งประกอบกิจการที่ไม่ใช่กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการรถไฟ
ทั้งนี้ การขอเช่าพื้นที่ดังกล่าวทราบว่าเกิดขึ้นในยุครัฐบาลชุดที่ผ่านมา โดยอดีต รมว.คมนาคม เป็นของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นการเอื้อประโยชน์กันหรือไม่ ต้องรอตรวจสอบอีกครั้ง
นาย
ฐิติกันต์กล่าวด้วยว่า สำหรับการพิจารณาที่ กมธ.ตั้งประเด็นตรวจสอบเพิ่มเติม คือ
1. การออกโฉนดในพื้นที่ของ รฟท.นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมไปถึงการครอบครองพื้นที่แปลงใหญ่ ได้ออกโฉนดด้วยหรือไม่
และ 2. การรังวัดของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีขั้นตอนอย่างไร เนื่องจากในเอกสารไม่ปรากฏลายเซ็นของเจ้าหน้าที่ นอกจากนั้นต้องการขอข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม เช่นนำพื้นที่ไปใช้ในเชิงธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของการรถไฟ
ด่วน! "ปัตตานี" น้ำท่วมฉับพลัน!! ผู้ว่าฯเตรียมประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ 2 อำเภอ สั่งเฝ้าระวัง 6 อำเภอ
https://siamrath.co.th/n/583213
วันที่ 26 พ.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดปัตตานีอย่างต่อเนื่องหลายวัน หลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศแจ้งเตือนให้พื้นที่ภาคใต้ตอนล่างระวังฝนตกหนักและอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ ไปจนถึงวันที่ 30 พย.นี้ ซึ่งหลังจากฝนที่ตกตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่องหลายวันในพื้นที่ทั้ง 12 อำเภอของ จ.ปัตตานี ทำให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมและน้ำท่วมขัง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร รวมไปถึงถนนทั้งสายหลักและสายรอง นอกจากนี้บางพื้นที่ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มจนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร เส้นทางภายในหมู่บ้านมีน้ำท่วมสูง ซึ่งทำให้ทางจังหวัดและอำเภอที่ประสบภัยน้ำท่วมได้ออกมาสำรวจและเข้าทำการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้น โดยทางจังหวัดปัตตานีได้แจ้งไปยังทุกอำเภอให้เฝ้าติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดเมื่อเวลา 13.00 น. นาง
พาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานีได้ลงพื้นที่อำเภอมายอ เนื่องจากได้รับรายงานว่าได้เกิดน้ำท่วมสาเหตุจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่องหลายวัน ประกอบกับน้ำป่าไหลหลากจากภูเขาทำให้ 7 ตำบล 25 หมู่บ้าน 1,400 ครัวเรือนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม บางหมู่บ้านมีน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตรถนนทางเข้าหมู่บ้านถูกน้ำท่วม ทำให้รถเล็กที่ต้องเข้าออกหมู่บ้านด้วยความยากลำบาก
JJNY : 5in1 ธปท.เผยหนี้เสียทะลุ 5.5 แสนล.│หุ้นไทยปิดลบ│เขากระโดงไม่จบ!│"ปัตตานี"น้ำท่วมฉับพลัน!!│รัสเซียส่งโดรนโจมตี
https://www.matichon.co.th/economy/news_4921314
ธปท. เผยไตรมาส 3/67 สินเชื่อแบงก์หดตัว 2% หนี้เสียทะลุ 5.5 แสนล้าน คาดเคาะมาตรการแก้หนี้ร่วม ‘คลัง’ ก่อนสินปี
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สินเชื่อภาพรวมธนาคารพาณิชย์ (รวมเครือ) ไตรมาส 3/2567 หดตัวที่ 2% เทียบจากช่วงเดียวกันปี 2566 ถือเป็นการหดตัวลงไตรมาสแรก นับตั้งแต่ช่วงปี 2553 ซึ่งยังต้องติดตามภาวะการปล่อยสินเชื่อ การติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจเอสเอ็มอี และครัวเรือนบางกลุ่มที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง รวมถึงธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง และความสามารถในการแข่งขันที่ปรับลดลง ส่งผลให้หนี้เสีย หรือหนี้ไม่ก่อรายได้ (เอ็นพีแอล) มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้น โดยในภาพรวมระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพอยู่ เพราะมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง โดยผลการดำเนินงานไตรมาส 3 อยู่ที่ 7.1 หมื่นล้านบาท ปรับดีขึ้น 9.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลจากการเพิ่มขึ้นของกำไรจากการวัดมูลค่าตราสารทางการเงิน ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง
นางสาวสุวรรณีกล่าวว่า โดยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 3 ปี 2567 โดยหลักจากการชำระคืนหนี้ที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการจ่ายคืนหนี้ของภาครัฐและธุรกิจขนาดใหญ่ แม้การให้สินเชื่อใหม่ยังมีต่อเนื่องในธุรกิจขนาดใหญ่ในภาคบริการ อสังหาริมทรัพย์ พาณิชย์ อุตสาหกรรมการผลิต อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม แต่ต้องยอมรับว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคประเภทสินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อที่อยู่อาศัย แม้มีการขยายตัวอยู่แต่มีแนวโน้มชะลอลง ขณะที่สินเชื่อในภาคธุรกิจที่เผชิญปัญหาความสามารถในการแข่งขันยังคงหดตัว โดยเฉพาะในกลุ่มปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ขณะที่สินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิตยังคงหดตัว
นางสาวสุวรรณีกล่าวว่า ส่วนคุณภาพสินเชื่อยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (stage 3) ไตรมาส 3 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 553.4 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเอ็นพีแอลต่อสินเชื่อรวมที่ 2.97% (ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานสินเชื่อที่ปรับลดลง) สูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4/2564 แต่ยังไม่ได้สูงสุดนับตั้งแต่เคยมีมา ผลจากทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค โดยธนาคารพาณิชย์ยังบริหารจัดการคุณภาพหนี้และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยสัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (stage 2) อยู่ที่ 6.86% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจากสินเชื่อธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการจัดชั้นเชิงคุณภาพของธนาคารพาณิชย์ โดยธุรกิจยังสามารถชำระคืนหนี้ได้ตามเงื่อนไขสัญญา และสินเชื่อที่อยู่อาศัย
“ปี 2563 สัดส่วนหนี้เสียอยู่ประมาณ 3.1% ส่วนปี 2553 อยู่ที่ 3.6% ซึ่งตัวเลขในปัจจุบันถือเป็นจุดที่เรากังวล แต่ไม่ได้กระจายตัวในวงกว้าง หนี้เสียกระจุกอยู่ในลูกหนี้ที่มีความเปราะบาง ลูกหนี้ธุรกิจ มีปัญหาเดิมและผ่านการช่วยเหลือมาแล้ว ถือเป็นความกังวลในกลุ่มลูกหนี้ที่มีความเปราะบางเป็นหลัก ที่มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท ทั้งรายประจำหรืออาชีพอิสระ โดยยอดคงค้างหนี้เสียในระบบอยู่ประมาณ 5.5 แสนล้านบาท ขณะที่ยอดหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษค้างชำระระหว่าง 1-3 เดือน ใกล้เป็นเอ็นพีแอล (SM) อยู่ที่ 1,277,028 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 3 คาดว่าจะลดลงเล็กน้อยจากระดับ 89.6% ต่อจีดีพีเทียบกับในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา” นางสาวสุวรรณีกล่าว
นางสาวสุวรรณีกล่าวว่า สินเชื่อบัตรเครดิต ติดลบเป็นไตรมาสที่ 2 แต่เห็นยอดการชำระคืนเพิ่มมากขึ้นหลังจากมีการปรับขั้นต่ำในการชำระหนี้ ขณะที่ยอดใช้จ่ายในไตรมาส 2 มีการปรับเพิ่มขึ้นกว่าเดิม สะท้อนถึงการใช้จ่ายที่กลับคืนมาแล้ว ส่วนสินเชื่อบ้านพบการชะลอตัวโดยเฉพาะในที่อยู่อาศัยแนวราบ ราคาต่ำกว่า 3-5 ล้านบาท ด้านสินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวในส่วนสินเชื่อจำนำทะเบียนรถเท่านั้น โดยการให้สินเชื่อเพิ่มเทียบการชำระคืนหนี้ของระบบธนาคารพาณิชย์ มีการปล่อยสินเชื่อที่ 4.24 ล้านล้านบาท การชำระคืนที่ 4.21 ล้านล้านบาท เมื่อรวมการบริหารจัดการของธนาคารพาณิชย์ทำให้สินเชื่อมีการหดตัว แต่ยังคงมีเม็ดเงินใหม่ปล่อยเข้าไป โดยมีเซกเตอร์และธุรกิจที่มีปัญหาด้านการแข่งขัน หรือเอสเอ็มอีที่ไม่ฟื้นตัว ได้รับการอนุมัติสินเชื่อยากขึ้น
นางสาวสุวรรณีกล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างหนี้สะสมของระบบสถาบันการเงินในรอบ 9 เดือน ปี 2567 มีจำนวนบัญชีที่ได้รับความช่วยเหลือสะสม 6.10 ล้านบัญชี แบ่งเป็นลูกหนี้ธนาคาร และสถาบันการเงิน 1.90 ล้านบัญชี, ลูกหนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) 4.20 ล้านบัญชี โดยคิดเป็นยอดภาระหนี้ที่ได้รับการช่วยเหลือสะสม 2.08 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นธนาคาร และสถาบันการเงิน 0.80 ล้านล้านบาท และ SFIs 1.27 ล้านล้านบาท
นางสาวสุวรรณีกล่าวว่า ด้านความคืบหน้ามาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง จะซับซ้อนกันหรือไม่ ต้องบอกว่า ธปท.ทำร่วมกับรัฐบาล กระทรวงการคลัง และสมาคมธนาคารไทย (TBA) ในการออกมาตรการช่วยเหลือแก้หนี้ครัวเรือน เจาะกลุ่มที่มีปัญหาจริงๆ ซึ่งรายละเอียดคาดว่าจะเห็นความชัดเจนก่อนสิ้นปี 2567 โดย ธปท.กังวลการก่อให้เกิดวัฒนธรรมจงใจผิดนัดชำระหนี้ (Moral Hazard) จึงมีวันที่กำหนดการเป็นหนี้เสีย (Cut-off) โดยแหล่งเงินทุนที่จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือ ส่วนหนึ่งจะมาจากการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) เหลือ 0.23% จากเดิม 0.46% และเงินส่วนหนึ่งจากธนาคารพาณิชย์เข้ามาช่วยเหลือเพิ่มเติม โดยคาดว่าจะเห็นความชัดเจนก่อนสิ้นปี 2567 นี้
“โครงการที่จะออกมา จะมีการกำหนดคุณสมบัติของลูกหนี้ ไม่ได้เป็นการบังคับลูกหนี้ แต่จะเป็นทางเลือกให้เลือกสมัครเข้ามา เลือกเงื่อนไขและเกณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกหนี้ เพราะแต่ละโครงการหรือมาตรการก็มีเงื่อนไขแตกต่างกัน โดยปกติการลด FIDF ครึ่งหนึ่ง การชำระหนี้จะขยับไปครึ่งปี ซึ่งการตัดสินใจการปรับลด FIDF ขึ้นอยู่กับ ธปท. แต่ในส่วนของการจัดสรรการชำระหนี้จะขึ้นอยู่กับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะว่าจะจัดสรรการชำระหนี้อย่างไร จะชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยก่อนหรือหลัง โดยเชื่อว่าจะเป็นมาตรการที่ช่วยเหลือลูกหนี้จริงๆ ไม่ได้เป็นเพียงการลดภาระแล้ว” นางสาวสุวรรณีกล่าว.
หุ้นไทยปิดลบ 5.06 จุด
https://tna.mcot.net/business-1452430
กทม. 26 พ.ย.- SET ปิดวันนี้ 1,438.25 จุด ลดลง 5.06 จุด หรือ (-0.35%) มูลค่าซื้อขาย 37,226.32 ล้านบาท
SET ปิดวันนี้ 1,438.25 จุด ลดลง 5.06 จุด หรือ (-0.35%) มูลค่าซื้อขาย 37,226.32 ล้านบาท นักวิเคราะห์ฯ เผยตลาดหุ้นไทยวันนี้พักตัว รับแรงขายหุ้นกลุ่มพลังงานจากราคาน้ำมันดิบร่วง เพราะอิสราเอลบรรลุข้อตกลงหยุดยิงกลุ่มอิชบอลเลาะห์ ประกอบกับมีแรงขายกลุ่ม GULF อีกทั้งกังวลสงครามการค้ากลับมาอีกครั้งหลังทรัมป์ขึ้นผู้นำสหรัฐ อย่างไรก็ดี ได้ Sentiment บวกจากการส่งออกของไทยในเดือนต.ค.ดีกว่าคาดมาก กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ถุงมือยาง ไก่ส่งออก เครื่องดื่ม พรุ่งนี้คาดตลาดน่าจะอยู่ในโซนพักตัว ให้แนวรับที่ 1,430 จุด แนวต้านที่ 1,450 จุด .-สำนักข่าวไทย
เขากระโดงไม่จบ! กมธ.ที่ดิน นัดถก 27พ.ย.นี้ เชิญ ทล. แจง หลังพบรฟท.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4921036
กมธ.ที่ดิน ถกที่ดินเขากระโดง 27 พ.ย. เชิญ ‘กรมทางหลวง’ แจงหลังพบข้อมูล รฟท. ให้เช่าพื้นที่ ตัดถนนเข้าสนามกีฬาของเอกชน ขณะที่ ‘มท.1-รมว.คมนาคม’ ตอบรับเข้าชี้แจง แต่ไม่ทราบมาเองหรือส่งตัวแทน
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภา ให้สัมภาษณ์ว่าในการประชุม กมธ.ที่มีวาระพิจารณาข้อพิพาทปัญหาที่ดินเขากระโดงในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 27 พ.ย.
เวลา 09.30 น.นั้น
ล่าสุด บุคคลตามหน่วยงานที่ถูกเชิญได้ตอบรับมาทั้งหมด ได้แก่ รมว.มหาดไทย รมว.คมนาคม อธิบดีกรมที่ดิน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แต่เมื่อถึงเวลาประชุมแล้วบุคคลที่ถูกเชิญจะส่งตัวแทนมาหรือไม่ ต้องรอตรวจสอบในวันประชุมอีกครั้ง
นายฐิติกันต์กล่าวต่อว่า กมธ.ได้เชิญหน่วยงานเพิ่มเติมอีก 1 หน่วย คือ กรมทางหลวง เนื่องจากได้รับทราบข้อมูลว่ามีการขอเช่าพื้นที่ รฟท.เพื่อทำถนนไปยังสนามกีฬาที่สร้างในพื้นที่ที่พิพาทเขากระโดง
โดยขณะนี้ยังไม่ทราบว่าเป็นการขอเช่าที่ดินที่เป็นไปโดยชอบหรือไม่ เพราะปกติการขอเช่าพื้นที่ต้องใช้เพื่อกิจการของหน่วยงาน แต่กรณีที่เกิดขึ้นคือการขอเช่าพื้นที่เพื่อทำถนนเข้าไปยังพื้นที่สนามกีฬาของเอกชน ซึ่งประกอบกิจการที่ไม่ใช่กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการรถไฟ
ทั้งนี้ การขอเช่าพื้นที่ดังกล่าวทราบว่าเกิดขึ้นในยุครัฐบาลชุดที่ผ่านมา โดยอดีต รมว.คมนาคม เป็นของพรรคภูมิใจไทย ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นการเอื้อประโยชน์กันหรือไม่ ต้องรอตรวจสอบอีกครั้ง
นายฐิติกันต์กล่าวด้วยว่า สำหรับการพิจารณาที่ กมธ.ตั้งประเด็นตรวจสอบเพิ่มเติม คือ
1. การออกโฉนดในพื้นที่ของ รฟท.นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมไปถึงการครอบครองพื้นที่แปลงใหญ่ ได้ออกโฉนดด้วยหรือไม่
และ 2. การรังวัดของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีขั้นตอนอย่างไร เนื่องจากในเอกสารไม่ปรากฏลายเซ็นของเจ้าหน้าที่ นอกจากนั้นต้องการขอข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม เช่นนำพื้นที่ไปใช้ในเชิงธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของการรถไฟ
ด่วน! "ปัตตานี" น้ำท่วมฉับพลัน!! ผู้ว่าฯเตรียมประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ 2 อำเภอ สั่งเฝ้าระวัง 6 อำเภอ
https://siamrath.co.th/n/583213
วันที่ 26 พ.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดปัตตานีอย่างต่อเนื่องหลายวัน หลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศแจ้งเตือนให้พื้นที่ภาคใต้ตอนล่างระวังฝนตกหนักและอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ ไปจนถึงวันที่ 30 พย.นี้ ซึ่งหลังจากฝนที่ตกตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่องหลายวันในพื้นที่ทั้ง 12 อำเภอของ จ.ปัตตานี ทำให้หลายพื้นที่มีน้ำท่วมและน้ำท่วมขัง เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร รวมไปถึงถนนทั้งสายหลักและสายรอง นอกจากนี้บางพื้นที่ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มจนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎร เส้นทางภายในหมู่บ้านมีน้ำท่วมสูง ซึ่งทำให้ทางจังหวัดและอำเภอที่ประสบภัยน้ำท่วมได้ออกมาสำรวจและเข้าทำการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้น โดยทางจังหวัดปัตตานีได้แจ้งไปยังทุกอำเภอให้เฝ้าติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดเมื่อเวลา 13.00 น. นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานีได้ลงพื้นที่อำเภอมายอ เนื่องจากได้รับรายงานว่าได้เกิดน้ำท่วมสาเหตุจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่องหลายวัน ประกอบกับน้ำป่าไหลหลากจากภูเขาทำให้ 7 ตำบล 25 หมู่บ้าน 1,400 ครัวเรือนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม บางหมู่บ้านมีน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตรถนนทางเข้าหมู่บ้านถูกน้ำท่วม ทำให้รถเล็กที่ต้องเข้าออกหมู่บ้านด้วยความยากลำบาก