ในบทความนี้เราจะมาทบทวนการหมุนจักระตั้งแต่การเริ่มฟอกบริหารปอด และเริ่มการหมุนจักระที่7 ไปจักระที่3 ไล่ไปจักระที่ 4,5 และ 2,6 กันนะครับ สำหรับบทความในก่อนหน้านี้ท่านที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ มาฝึกไปพร้อมๆกันนะครับตามบทความและวิดิโอประกอบบทความด้านล่างได้เลยครับ
ขั้นที่2ฝึกหมุนจักระที่ 7
2.1ลำดับการหมุนจักระ ให้เริ่มจากจักระที่ 7 เมื่อคุณฝึกฟอกปราณบริหารปอดฯ และหลอดลมสำเร็จแล้ว ให้เริ่มฝึกสมาธิปราณจักระที่ 7 คือทำทุกขั้นตอนเหมือนเดิม แต่เวลาฝึกหมุนจักระให้หลับตาเหมือนนั่งสมาธิ และเปลี่ยนให้แผ่วเบาลง ปล่อยตัวตามสบาย สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมคือ เมื่อดึงลมหายใจเข้า ให้จินตภาพว่ามีรัศมีวงกลมสีม่วงกำลังหมุนเวียนไปตามเข็มนาฬิกาที่บริเวณกลางศีรษะ หมุนวนอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องเร็ว หมุนให้เราจับภาพในจินตนาการได้ว่า พลังงานจากห้วงจักรวาลกำลังไหลผ่านรัศมีสีม่วงลงมาตามลมหายใจ และไปสิ้นสุดที่บริเวณท้องน้อยเหมือนเดิม การฝึกขั้นที่สองนี้ ลักษณะมือยังคงอยู่ในท่า ฮาคินีมุทราอยู่อย่างนั้น ทำเช่นเดิมกับขั้นตอนที่ 1 ทุกประการ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือจินตภาพที่กำหนดให้ชัดเจนที่สุด และในการจินตภาพทุกครั้ง ให้ผู้ฝึกกำหนดความรู้สึกไปอยู่บริเวณจักระดังกล่าวเสมอ เทคนิคการไล่ความรู้สึกไปตามเส้นปราณจะคุ้นเคยเมื่อทำการฝึกบ่อยครั้งขึ้น กล่าวคือ #รู้สึกว่าหมุนอยู่ตรงนั้น #รู้สึกว่าเคลื่อนจากจุดนั้นไปตามกระดูกสันหลัง #ความรู้สึกจะไล่ไปพร้อมกับลมหายใจ #เคลื่อนเข้าและออกอย่างช้า #สติจับจินตภาพ
สำหรับจักระ 7 แนะนำว่าให้ใช้ฮาคินีมุทรา Hakini Mudra นะครับ เพราะไหลเวียนพลังจากนิ้วทั้ง 5 ได้สมบูรณ์กว่า เหมาะแก่การหมุนจักระ 7 มาก จากประสบการณ์ตรง ถ้าจะเลือกใช้ปราณมุทราสำหรับจักระ 7 ก็ไม่ผิดอะไรครับ แต่ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าปราณมุทราเหมาะแก่การทำสมาธิแบบลึกมากกว่า คือการดำดิ่งไปสู่ห้วงจักรวาล จินตภาพไปว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล ประมาณนั้น ในการหมุนจักระแนะนำฮาคินีครับผม
2.2 เมื่อลมหายใจกักอยู่ที่บริเวณท้องน้อย ให้จินตภาพว่า คลื่นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า กำลังดูแลระบบการทำงานในร่างกาย ให้ความอบอุ่น และหมุนวนไปทั่วเรือนร่าง จังหวะนี้ ยังคงจินตภาพหมุนรัศมีสีม่วงของจักระ 7 ไปตามเข็มนาฬิกาเช่นเดิมนะครับ กักลมไว้ 3-5 วินาทีเช่นเดิม
2.3 เมื่อผ่อนลมหายใจออก เปลี่ยนจากการผ่อนออกทางปากเป็นผ่อนออกทางจมูกอย่างช้า อาจจะนับถอยหลังตามสูตรที่บางคนให้ไว้ก็ได้เช่น ดึงลมเข้า 4 วินาที กักไว้ 4 วินาที ปล่อยออก 8 วินาที สูตรนี้ก็ไม่เสียหาย แต่จากประสบการณ์แล้ว เมื่อเราฝึกจนชำนาญ จะสามารถกักลมได้นานขึ้นอีกเล็กน้อย และผ่อนลมออกได้ยาวขึ้นเล็กน้อย เช่น อาจจะ กักไว้ 5-7 วินาที และผ่อนออกทางจมูก 8-10 วินาที ก็สามารถทำได้
ในขณะเดียวกันที่ผ่อนลมหายใจออก ให้จินตภาพว่ารัศมีสีม่วงบนศีรษะ กำลังหมุนทวนเข็มนาฬิกา ไม่ต้องเร่งการหมุน ปล่อยตามธรรมชาติให้สอดคล้องกับการผ่อนลมหายใจ และจินตภาพซ้อนไปว่า พลังงานจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจักรวาล กำลังแผ่ออกทางศีรษะ กลับคืนสู่จักรวาลอย่างเหลือประมาณ (รับมาอย่างเต็มเปี่ยม และส่งคืนอย่างเหลือประมาณ) ขั้นตอนนี้ให้ใช้จิตเมตตานำทาง เปรียบเสมือนการแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์บนผืนโลก และเทคนิคการผ่อนลมหายใจนี้ใช้กับทุกการหมุนจักระในลำดับต่อไปด้วย ดังนั้น ต้องฝึกการหมุนจักระที่ 7 นี้ให้คล่องเสียก่อน ก่อนที่จะไปฝึกหมุนจักระขั้นต่อไป (หมุนจักระ 1 เซ็ต คือทำ 5-10 รอบเท่านั้น)
“ฝึกฌานจักระมุทรา”2.4 ทำลักษณะเดียวกันนี้ไปเรื่อย ๆ ประมาณ 10 รอบ แล้วสลับกับการฝึกฌานจักระ นั่นก็คือสลับมาดึงลมหายใจแบบปกติไม่ต้องกักลม 3-5 วินาที ดึงลงสุดแล้วผ่อนออกสุดเหมือนการนั่งสมาธิผ่อนคลายโดยทั่วไป ต่างกันที่จินตภาพคือการเพ่งความรู้สึกว่ารับพลังเข้ามาผ่านจักระ 7 มีแสงรัศมีสีม่วงปรากฎในจินตภาพ แสงเหล่านั้นหมุนเวียนเองตามธรรมธาติ เราไม่ได้พยายามเอาจิตเข้าไปหมุนเหมือนตอนหมุนจักระ พลังเหล่านั้นไหลลงสู่ท้องน้อยจนสุด หยุดชั่วขณะหนึ่งก็ผ่อนลมออกช้า ๆ เบา ๆ เหมือนเดิม ไม่ต้องกักลมที่ท้อง เหมือนสูตรหมุน เพ่งอารมณ์ไปตามจักระที่ฝึก และสามารถฝึกได้นานตามที่คุณต้องการ หากผ่านไปแล้วสัก 10 นาที คุณจะสามารถฝึกหมุนจักระ1 เซ็ต ก็สามารถทำได้ และก่อนจบการฝึกปราณทุกครั้ง ให้ทำการฟอกปราณบริหารปอด จบแล้วอย่าพึ่งรีบลุก ให้ร่างกายผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์เสียก่อนแล้วจึงค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ
*** ถึงแม้การกลั้นลมหายใจ หรือกักลมดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากพยายามฝึกเกร็งมากเกินไปกับคนที่ฝึกใหม่ อาจจะส่งผลให้หน้ามืด เวียนศีรษะ หรือมือเท้าชาได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่นโรคหัวใจ, โรคความดันโลหิต, โรคหอบ, โรคภูมิแพ้, โรคหลอดเลือดหัวใจ, เป็นลมพิษบ่อย หรือผู้ที่ต้องใช้ยาเพื่อรักษาอาการทางจิตเวช ฯลฯ เพราะระยะอาการของโรคนั้นแตกต่างกัน คุณจะต้องทำการปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเพื่อสอบถามก่อนที่จะตัดสินใจฝึกปราณวิถีในลักษณะหมุนจักระและกักลม แต่คุณสามารถฝึกในรูปแบบฌานจักระได้อย่างผ่อนคลายไม่ฝืนจนเกินไป ทำเท่าที่ร่างกายคุณตอบสนองและรู้สึกดีก็เพียงพอ ***
แต่สำหรับนักกีฬาที่มีกิจกรรมในการกลั้นหายใจอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเช่น นักดำน้ำ หรือนักว่ายน้ำ หรือกิจกรรมบางอย่างที่เมื่อต้องใช้ความอดทนในการทำกิจกรรม ร่างกายจะตอบสนองโดยสั่งให้คุณกลั้นหายใจชั่วขณะแบบอัตโนมัติ เหมือนที่เราจะมักพูดกันเวลาต้องการยกของหนักว่า “อ่าว .. ฮึบ” นั่นคือการที่ร่างกายสูดลมหายใจเข้าและกลั้นหายใจเพื่อยกขึ้น อาจจะเกิดจากการหายใจที่เร็วขึ้นและแรงขึ้น หลังจากนั้นกักลมหายใจไว้เพื่อเพิ่มแรง และผลการวิจัยจาก European Journal of Applied Physiology ก็แสดงให้เห็นว่านักกีฬาที่ผสมผสานการฝึกแบบเข้มข้นร่วมกับการฝึกกลั้นหายใจที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถทนทานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
หรือจากการศึกษาทางวิชาการของ ดร.แอนดรู เวล (Dr.Andrew Weil) นายแพทย์ชื่อดังในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญแพทย์บูรณาการ (Intergrative Medicine) กล่าวถึงเทคนิคการหายใจแบบ 4-7-8 (สูดลม 4 วินาที, กักลมไว้ 7 วินาที และผ่อนลมออกทางปาก 8 วินาที) ว่าเป็นพื้นฐานของผู้ฝึกปราณายามะในแบบโยคะ ซึ่งช่วยควบคุมลมหายใจให้ช้าลง ปรับสภาวะร่างกายได้ดีขึ้น สามารถช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น
ถึงแม้จะมีงานวิจัยมากมายกล่าวถึงข้อดีของการฝึกกลั้นหายใจ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ฝึกจะทำอะไรที่เกินขอบเขตความพอดี ดังนั้น การฝึกในลักษณะฟอกปราณบริหารปอด และการหมุนจักระ จึงควรทำอย่างเหมาะสมสลับกับการฝึกฌานจักระ บางคนอ่านเจอบทความเรื่องกลั้นหายใจมีประโยชน์ช่วยปรับให้ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง และความคงทนต่อสภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงขึ้น จึงทำการฝึกกลั้นหายใจเป็นเวลานาน เช่น 1-3 นาที แบบนั้นอาจไม่ส่งผลดีต่อร่างกายอย่างที่คิด ดังนั้น การฝึกฝนร่างกายให้พอเหมาะพอดีกับพัฒนาการย่อมมีผลสำเร็จที่สุกงอมกว่าการเร่ง การรีบ หรือการพยายามทำเกินตัวนะครับ
ผลจากการฝึกขั้นที่ 2 : จะทำให้สมองปลอดโปร่งขึ้น คิดงาน วางแผนงาน หรือการจัดระเบียบความคิดดีขึ้น รับรู้ถึงคลื่นพลังแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย และส่งคืนกลับสู่จักรวาลได้ชัดเจนขึ้น
3.1 ใช้หลักการฝึกเบื้องต้นเหมือนการหมุนจักระที่ 7 คือเริ่มจากจินตภาพจากจักระที่ 7 เป็นรัศมีสีม่วงหมุนวน พลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไหลเคลื่อนไปตามแนวกระดูกสันหลังสู่จักระที่ 3 ในขณะเดียวกันดึงลมหายใจลงให้สุดท้องน้อย หน้าท้องพองออกเหมือนเดิม แต่เมื่อดึงลมสุดท้องน้อยแล้ว ในขณะที่กักลม ให้สร้างจินตภาพที่สองขึ้น คือรัศมีสีเหลืองกำลังหมุนตามเข็มนาฬิกาอยู่บริเวณแนวสะดือตัดไปสู่กระดูกสันหลัง ในขณะที่ฝึกจักระ 3 นี้ ลักษณะมืออยู่ในท่วงท่าอัคนีมุทรา Agni Mudra มุทราแห่งไฟ บางตำราเรียกท่านี้ว่าสุริยามุทรา ดังภาพ (จินตภาพหมุนที่บริเวณกระดูกสันหลังแนวเดียวกันนั้น ไม่ใช่หมุนที่สะดือนะครับ) กักลมไว้ 3 -5 วินาทีตามสูตร แล้วค่อย ๆ ผ่อนลมออกทางจมูก)
3.2 ขณะที่ผ่อนลมออก ให้นับเป็นวินาทีก็ได้จะได้สะดวกต่อการฝึก คือ ในขณะที่กักลมไว้หมุนจักระ 3 วินาที ไปตามเข็มนาฬิกาสำเร็จแล้ว ตอนผ่อนลมออก ให้หมุนรัศมีสีเหลืองทวนเข็มนาฬิกาสัก 3 วินาที แล้วในขณะเคลื่อนออกจากจมูกอย่างช้า ก็ให้จินตภาพจับสายลมหายใจออก เลื่อนขึ้นเรื่อย ๆ สัก 2-5 วินาที เลื่อนไปจนสุดที่กลางกระหม่อม เมื่อไปถึงให้หมุนจักระ 7 ให้จินตภาพว่ารัศมีสีม่วงกำลังหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนกระทั่งปล่อยลมออกจนหมด จินตนาการถึงพลังที่ส่งกลับคืนสู่ห้วงจักรวาลด้วยความเมตตาเป็นที่ตั้งเหมือนเดิม
3.3 ฝึกลักษณะนี้ตามสูตรคือ ฝึก 1 เซ็ต หมุนจักระ 5-10 รอบ แล้วสลับไปฝึกฌานจักระ เพื่อผ่อนคลายร่างกาย ระยะเวลาการฝึกแล้วแต่ความสะดวก ซึ่งเวลาและสถานที่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากเรามีชีวิตในช่วงเวลาที่เร่งรีบ อาจฝึกวันละ 5 นาทีก็เพียงพอ เพื่อให้สามารถจดจำขั้นตอนได้อย่างแม่นยำ และเมื่อมีเวลามากขึ้น หรือสถานที่อำนวยต่อการฝึก คุณก็สามารถเข้าฌานจักระฝึกสลับไปกับการหมุนจักระที่ต้องการ
3.4 เมื่อยุติการฝึกฌานจักระทุกครั้ง ให้ทำการฟอกปราณบริหารปอดฯ ตามขั้นตอนที่ 1 เป็นประจำ เป็นอันเสร็จสิ้นการหมุนจักระ 3
ผลจากการฝึกขั้นที่ 3 : เปิดจุดรับพลังงานที่จักระ 3 ให้ตื่นขึ้นเพื่อดูแลระบบเผาผลาญ การย่อยอาหาร และการดูดซับสารอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเพิ่มการทำงานให้กับระบบย่อยอาหาร ขจัดของเสียออกจากร่างกาย ช่วยในการส่งพลังงาน ATP ไปกักตุนที่จักระ 1 และเซลล์ทุกส่วนของกล้ามเนื้ออย่างสมดุล หรือทรงพลังกว่าคนปกติ
วิธีการสังเกตว่าจักระเปิดสมบูรณ์หรือไม่ อย่างที่ยกตัวอย่างจักระ 7 หากเปิดสมบูรณ์ ความรู้สึกนึกคิดของคุณจะเปลี่ยนไปทันที จะมีความวูบวาบบริเวณกลางศีรษะเวลาที่ฝึก ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อจิตสร้างจินตภาพไปจับตรงไหน ความรู้สึกจะชัดเจนตรงนั้น ความวูบวาบนั้นจะมีความอุ่น บางคนจะรู้สึกเหมือนมีถุงร้อนมาประคบ แบบนั้นก็ถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อฝึกมาถึงจักระที่ 3 แน่นอนว่าความรู้สึกแบบเดียวกันจะเกิดขึ้นที่จักระ 3 และสิ่งที่สังเกตได้ชัดคือความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ระบบย่อยอาหารจะดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นไปด้วย บางคนคิดว่ากระเพาะอาหารและลำไส้ของฉันถูกดูแลอย่างดีแล้ว ก็ไม่เลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ มันก็จะเกิดโทษแต่ภายหลังเอาได้ เราไม่จำเป็นต้องงดสิ่งที่ชอบ แต่เราจำกัดสิ่งที่ชอบให้พอเหมาะพอควรได้ เพื่อระบบขับเคลื่อนร่างกายที่มีประสิทธิภาพ
ในตอนหน้าเราจะมาฝึกขั้นตอนที่4กันต่อนะครับ
😊คิดเห็นอย่างไรเข้ามาคอมเมนต์กันได้ครับ😊
อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต
การหมุนทุกจักระใน 1 รอบฝึก
ขั้นที่2ฝึกหมุนจักระที่ 7
2.1ลำดับการหมุนจักระ ให้เริ่มจากจักระที่ 7 เมื่อคุณฝึกฟอกปราณบริหารปอดฯ และหลอดลมสำเร็จแล้ว ให้เริ่มฝึกสมาธิปราณจักระที่ 7 คือทำทุกขั้นตอนเหมือนเดิม แต่เวลาฝึกหมุนจักระให้หลับตาเหมือนนั่งสมาธิ และเปลี่ยนให้แผ่วเบาลง ปล่อยตัวตามสบาย สิ่งที่ต้องเพิ่มเติมคือ เมื่อดึงลมหายใจเข้า ให้จินตภาพว่ามีรัศมีวงกลมสีม่วงกำลังหมุนเวียนไปตามเข็มนาฬิกาที่บริเวณกลางศีรษะ หมุนวนอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องเร็ว หมุนให้เราจับภาพในจินตนาการได้ว่า พลังงานจากห้วงจักรวาลกำลังไหลผ่านรัศมีสีม่วงลงมาตามลมหายใจ และไปสิ้นสุดที่บริเวณท้องน้อยเหมือนเดิม การฝึกขั้นที่สองนี้ ลักษณะมือยังคงอยู่ในท่า ฮาคินีมุทราอยู่อย่างนั้น ทำเช่นเดิมกับขั้นตอนที่ 1 ทุกประการ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือจินตภาพที่กำหนดให้ชัดเจนที่สุด และในการจินตภาพทุกครั้ง ให้ผู้ฝึกกำหนดความรู้สึกไปอยู่บริเวณจักระดังกล่าวเสมอ เทคนิคการไล่ความรู้สึกไปตามเส้นปราณจะคุ้นเคยเมื่อทำการฝึกบ่อยครั้งขึ้น กล่าวคือ #รู้สึกว่าหมุนอยู่ตรงนั้น #รู้สึกว่าเคลื่อนจากจุดนั้นไปตามกระดูกสันหลัง #ความรู้สึกจะไล่ไปพร้อมกับลมหายใจ #เคลื่อนเข้าและออกอย่างช้า #สติจับจินตภาพ
สำหรับจักระ 7 แนะนำว่าให้ใช้ฮาคินีมุทรา Hakini Mudra นะครับ เพราะไหลเวียนพลังจากนิ้วทั้ง 5 ได้สมบูรณ์กว่า เหมาะแก่การหมุนจักระ 7 มาก จากประสบการณ์ตรง ถ้าจะเลือกใช้ปราณมุทราสำหรับจักระ 7 ก็ไม่ผิดอะไรครับ แต่ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าปราณมุทราเหมาะแก่การทำสมาธิแบบลึกมากกว่า คือการดำดิ่งไปสู่ห้วงจักรวาล จินตภาพไปว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล ประมาณนั้น ในการหมุนจักระแนะนำฮาคินีครับผม
2.3 เมื่อผ่อนลมหายใจออก เปลี่ยนจากการผ่อนออกทางปากเป็นผ่อนออกทางจมูกอย่างช้า อาจจะนับถอยหลังตามสูตรที่บางคนให้ไว้ก็ได้เช่น ดึงลมเข้า 4 วินาที กักไว้ 4 วินาที ปล่อยออก 8 วินาที สูตรนี้ก็ไม่เสียหาย แต่จากประสบการณ์แล้ว เมื่อเราฝึกจนชำนาญ จะสามารถกักลมได้นานขึ้นอีกเล็กน้อย และผ่อนลมออกได้ยาวขึ้นเล็กน้อย เช่น อาจจะ กักไว้ 5-7 วินาที และผ่อนออกทางจมูก 8-10 วินาที ก็สามารถทำได้
ในขณะเดียวกันที่ผ่อนลมหายใจออก ให้จินตภาพว่ารัศมีสีม่วงบนศีรษะ กำลังหมุนทวนเข็มนาฬิกา ไม่ต้องเร่งการหมุน ปล่อยตามธรรมชาติให้สอดคล้องกับการผ่อนลมหายใจ และจินตภาพซ้อนไปว่า พลังงานจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจักรวาล กำลังแผ่ออกทางศีรษะ กลับคืนสู่จักรวาลอย่างเหลือประมาณ (รับมาอย่างเต็มเปี่ยม และส่งคืนอย่างเหลือประมาณ) ขั้นตอนนี้ให้ใช้จิตเมตตานำทาง เปรียบเสมือนการแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์บนผืนโลก และเทคนิคการผ่อนลมหายใจนี้ใช้กับทุกการหมุนจักระในลำดับต่อไปด้วย ดังนั้น ต้องฝึกการหมุนจักระที่ 7 นี้ให้คล่องเสียก่อน ก่อนที่จะไปฝึกหมุนจักระขั้นต่อไป (หมุนจักระ 1 เซ็ต คือทำ 5-10 รอบเท่านั้น)
“ฝึกฌานจักระมุทรา”2.4 ทำลักษณะเดียวกันนี้ไปเรื่อย ๆ ประมาณ 10 รอบ แล้วสลับกับการฝึกฌานจักระ นั่นก็คือสลับมาดึงลมหายใจแบบปกติไม่ต้องกักลม 3-5 วินาที ดึงลงสุดแล้วผ่อนออกสุดเหมือนการนั่งสมาธิผ่อนคลายโดยทั่วไป ต่างกันที่จินตภาพคือการเพ่งความรู้สึกว่ารับพลังเข้ามาผ่านจักระ 7 มีแสงรัศมีสีม่วงปรากฎในจินตภาพ แสงเหล่านั้นหมุนเวียนเองตามธรรมธาติ เราไม่ได้พยายามเอาจิตเข้าไปหมุนเหมือนตอนหมุนจักระ พลังเหล่านั้นไหลลงสู่ท้องน้อยจนสุด หยุดชั่วขณะหนึ่งก็ผ่อนลมออกช้า ๆ เบา ๆ เหมือนเดิม ไม่ต้องกักลมที่ท้อง เหมือนสูตรหมุน เพ่งอารมณ์ไปตามจักระที่ฝึก และสามารถฝึกได้นานตามที่คุณต้องการ หากผ่านไปแล้วสัก 10 นาที คุณจะสามารถฝึกหมุนจักระ1 เซ็ต ก็สามารถทำได้ และก่อนจบการฝึกปราณทุกครั้ง ให้ทำการฟอกปราณบริหารปอด จบแล้วอย่าพึ่งรีบลุก ให้ร่างกายผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์เสียก่อนแล้วจึงค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ
*** ถึงแม้การกลั้นลมหายใจ หรือกักลมดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากพยายามฝึกเกร็งมากเกินไปกับคนที่ฝึกใหม่ อาจจะส่งผลให้หน้ามืด เวียนศีรษะ หรือมือเท้าชาได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่นโรคหัวใจ, โรคความดันโลหิต, โรคหอบ, โรคภูมิแพ้, โรคหลอดเลือดหัวใจ, เป็นลมพิษบ่อย หรือผู้ที่ต้องใช้ยาเพื่อรักษาอาการทางจิตเวช ฯลฯ เพราะระยะอาการของโรคนั้นแตกต่างกัน คุณจะต้องทำการปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเพื่อสอบถามก่อนที่จะตัดสินใจฝึกปราณวิถีในลักษณะหมุนจักระและกักลม แต่คุณสามารถฝึกในรูปแบบฌานจักระได้อย่างผ่อนคลายไม่ฝืนจนเกินไป ทำเท่าที่ร่างกายคุณตอบสนองและรู้สึกดีก็เพียงพอ ***
แต่สำหรับนักกีฬาที่มีกิจกรรมในการกลั้นหายใจอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเช่น นักดำน้ำ หรือนักว่ายน้ำ หรือกิจกรรมบางอย่างที่เมื่อต้องใช้ความอดทนในการทำกิจกรรม ร่างกายจะตอบสนองโดยสั่งให้คุณกลั้นหายใจชั่วขณะแบบอัตโนมัติ เหมือนที่เราจะมักพูดกันเวลาต้องการยกของหนักว่า “อ่าว .. ฮึบ” นั่นคือการที่ร่างกายสูดลมหายใจเข้าและกลั้นหายใจเพื่อยกขึ้น อาจจะเกิดจากการหายใจที่เร็วขึ้นและแรงขึ้น หลังจากนั้นกักลมหายใจไว้เพื่อเพิ่มแรง และผลการวิจัยจาก European Journal of Applied Physiology ก็แสดงให้เห็นว่านักกีฬาที่ผสมผสานการฝึกแบบเข้มข้นร่วมกับการฝึกกลั้นหายใจที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถทนทานได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
หรือจากการศึกษาทางวิชาการของ ดร.แอนดรู เวล (Dr.Andrew Weil) นายแพทย์ชื่อดังในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญแพทย์บูรณาการ (Intergrative Medicine) กล่าวถึงเทคนิคการหายใจแบบ 4-7-8 (สูดลม 4 วินาที, กักลมไว้ 7 วินาที และผ่อนลมออกทางปาก 8 วินาที) ว่าเป็นพื้นฐานของผู้ฝึกปราณายามะในแบบโยคะ ซึ่งช่วยควบคุมลมหายใจให้ช้าลง ปรับสภาวะร่างกายได้ดีขึ้น สามารถช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น
ถึงแม้จะมีงานวิจัยมากมายกล่าวถึงข้อดีของการฝึกกลั้นหายใจ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้ฝึกจะทำอะไรที่เกินขอบเขตความพอดี ดังนั้น การฝึกในลักษณะฟอกปราณบริหารปอด และการหมุนจักระ จึงควรทำอย่างเหมาะสมสลับกับการฝึกฌานจักระ บางคนอ่านเจอบทความเรื่องกลั้นหายใจมีประโยชน์ช่วยปรับให้ร่างกายใช้ออกซิเจนน้อยลง และความคงทนต่อสภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงขึ้น จึงทำการฝึกกลั้นหายใจเป็นเวลานาน เช่น 1-3 นาที แบบนั้นอาจไม่ส่งผลดีต่อร่างกายอย่างที่คิด ดังนั้น การฝึกฝนร่างกายให้พอเหมาะพอดีกับพัฒนาการย่อมมีผลสำเร็จที่สุกงอมกว่าการเร่ง การรีบ หรือการพยายามทำเกินตัวนะครับ
ผลจากการฝึกขั้นที่ 2 : จะทำให้สมองปลอดโปร่งขึ้น คิดงาน วางแผนงาน หรือการจัดระเบียบความคิดดีขึ้น รับรู้ถึงคลื่นพลังแม่เหล็กไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย และส่งคืนกลับสู่จักรวาลได้ชัดเจนขึ้น
3.2 ขณะที่ผ่อนลมออก ให้นับเป็นวินาทีก็ได้จะได้สะดวกต่อการฝึก คือ ในขณะที่กักลมไว้หมุนจักระ 3 วินาที ไปตามเข็มนาฬิกาสำเร็จแล้ว ตอนผ่อนลมออก ให้หมุนรัศมีสีเหลืองทวนเข็มนาฬิกาสัก 3 วินาที แล้วในขณะเคลื่อนออกจากจมูกอย่างช้า ก็ให้จินตภาพจับสายลมหายใจออก เลื่อนขึ้นเรื่อย ๆ สัก 2-5 วินาที เลื่อนไปจนสุดที่กลางกระหม่อม เมื่อไปถึงให้หมุนจักระ 7 ให้จินตภาพว่ารัศมีสีม่วงกำลังหมุนทวนเข็มนาฬิกาจนกระทั่งปล่อยลมออกจนหมด จินตนาการถึงพลังที่ส่งกลับคืนสู่ห้วงจักรวาลด้วยความเมตตาเป็นที่ตั้งเหมือนเดิม
3.3 ฝึกลักษณะนี้ตามสูตรคือ ฝึก 1 เซ็ต หมุนจักระ 5-10 รอบ แล้วสลับไปฝึกฌานจักระ เพื่อผ่อนคลายร่างกาย ระยะเวลาการฝึกแล้วแต่ความสะดวก ซึ่งเวลาและสถานที่ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากเรามีชีวิตในช่วงเวลาที่เร่งรีบ อาจฝึกวันละ 5 นาทีก็เพียงพอ เพื่อให้สามารถจดจำขั้นตอนได้อย่างแม่นยำ และเมื่อมีเวลามากขึ้น หรือสถานที่อำนวยต่อการฝึก คุณก็สามารถเข้าฌานจักระฝึกสลับไปกับการหมุนจักระที่ต้องการ
3.4 เมื่อยุติการฝึกฌานจักระทุกครั้ง ให้ทำการฟอกปราณบริหารปอดฯ ตามขั้นตอนที่ 1 เป็นประจำ เป็นอันเสร็จสิ้นการหมุนจักระ 3
ผลจากการฝึกขั้นที่ 3 : เปิดจุดรับพลังงานที่จักระ 3 ให้ตื่นขึ้นเพื่อดูแลระบบเผาผลาญ การย่อยอาหาร และการดูดซับสารอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเพิ่มการทำงานให้กับระบบย่อยอาหาร ขจัดของเสียออกจากร่างกาย ช่วยในการส่งพลังงาน ATP ไปกักตุนที่จักระ 1 และเซลล์ทุกส่วนของกล้ามเนื้ออย่างสมดุล หรือทรงพลังกว่าคนปกติ
วิธีการสังเกตว่าจักระเปิดสมบูรณ์หรือไม่ อย่างที่ยกตัวอย่างจักระ 7 หากเปิดสมบูรณ์ ความรู้สึกนึกคิดของคุณจะเปลี่ยนไปทันที จะมีความวูบวาบบริเวณกลางศีรษะเวลาที่ฝึก ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อจิตสร้างจินตภาพไปจับตรงไหน ความรู้สึกจะชัดเจนตรงนั้น ความวูบวาบนั้นจะมีความอุ่น บางคนจะรู้สึกเหมือนมีถุงร้อนมาประคบ แบบนั้นก็ถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อฝึกมาถึงจักระที่ 3 แน่นอนว่าความรู้สึกแบบเดียวกันจะเกิดขึ้นที่จักระ 3 และสิ่งที่สังเกตได้ชัดคือความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ระบบย่อยอาหารจะดีขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นไปด้วย บางคนคิดว่ากระเพาะอาหารและลำไส้ของฉันถูกดูแลอย่างดีแล้ว ก็ไม่เลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ มันก็จะเกิดโทษแต่ภายหลังเอาได้ เราไม่จำเป็นต้องงดสิ่งที่ชอบ แต่เราจำกัดสิ่งที่ชอบให้พอเหมาะพอควรได้ เพื่อระบบขับเคลื่อนร่างกายที่มีประสิทธิภาพ
ในตอนหน้าเราจะมาฝึกขั้นตอนที่4กันต่อนะครับ
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต