ขั้นที่ 4 ฝึกหมุนจักระที่ 5 และ 4
หลังจากที่คุณฝึกเปิดและบริหารจักระที่ 3 เป็นที่เรียบร้อย ลำดับต่อไปคือ จักระที่ 5 และ 4 ทั้งสองจักระนี้ให้ฝึกร่วมกันเพราะการทำงานของหัวใจและหลอดลมนั้นสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก โดยแบ่งการหมุนจักระเป็น 1 ลมหายใจ ต่อ 1 จักระ คุณอาจจะเริ่มจากจักระที่ 5 ก่อน เพราะเป็นต้นทางของลมหายใจ ในขณะที่ฝึกจักระที่ 5 ให้วางมือในท่วงท่าของชุนยะมุทรา Shunya Mudra หรืออากาศมุทรา Akasha Mudra เพื่อหมุนจักระ 5 ต่อเมื่อสิ้นสุด 1 ลมหายใจ ให้ปรับท่วงท่ามาเป็น วายุมุทรา เพื่อหมุนจักระ 4 การฝึกหมุนจักระสลับกันแบบนี้ให้ทำ 1 เซ็ต คือ อย่างละ 5 รอบเท่านั้น
(หมายเหตุ : ให้เลือกใช้มุทราท่าใดท่าหนึ่ง แล้วจำให้ได้ว่าประจำจักระใด)
4.1 ใช้หลักการฝึกเบื้องต้นเหมือนการหมุนจักระ 7 ดึงลมมาให้สุดท้องน้อยเหมือนเดิม จินตภาพรับพลังที่จักระศีรษะเหมือนเดิมทุกประการ หลังจากลมเต็มท้องน้อย ก็ให้เคลื่อนจินตภาพมาอยู่ที่จักระ 5 บริเวณจุดกึ่งกลางระหว่างบ่าสองข้าง ลองเอามือสัมผัสดูจะมีกระดูกที่นูนขึ้นมาเล็กน้อย ให้หมุนบริเวณนั้นนะครับ ไม่ใช่หมุนที่ต้นคอด้านหน้า
4.2 เวลากักลมหายใจอยู่ที่ท้องน้อย เคลื่อนสติไปจับที่จักระ 5 หมุนวนตามเข็มนาฬิกาพอประมาณ 3-5 วิ เท่าที่ร่างกายทำได้ จุดสังเกตเส้นปราณจักระจะวิ่งตามสติของเราไปสู่จุดที่เราต้องการ เราก็สามารถสร้างจินตภาพเพิ่มเติมในเส้นทางการวิ่งเหล่านั้นได้เช่นกันว่า คลื่นพลังกำลังวิ่งอยู่ภายในร่างกายเราแบบไหน หมุนวนตามเข็มนาฬิกาอย่างไร หมุนไปที่อีกจุดหนึ่งอย่างไร และท้ายที่สุดหมุนวนทวนเข็มนาฬิกาออกทางจักระ 7 อย่างไร ไม่ต้องเร่งรีบทำครับ ค่อย ๆ ปรับจินตภาพให้เหมาะสมกับตน
4.3 ทำลักษณะเดียวกันนี้กับจักระที่ 4 ในลมหายใจถัดไป คือสร้างจินตภาพ หมุนวงรัศมีสีเขียวบริเวณกึ่งกลางระหว่างอกสองข้าง ค่อนไปทางข้างหลังนะครับ กะระยะตรงแกนกระดูกสันหลังของเราได้ยิ่งดี หมุนจักระ ที่ 4 บริเวณนั้น และขั้นตอนการหมุน การคืนพลังสู่ห้วงจักรวาลก็ทำเหมือนเดิมอีกเช่นเดียวกัน
ผลจากการฝึกขั้นที่ 4 : สามารถปรับระบบการหายใจของร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้มากขึ้นจากการฝึกหายใจเป็นระบบ รวมถึงประโยชน์จากการจินตภาพ จะทำให้เราได้ฝึกสมองไปพร้อมกัน
วิธีการสังเกตว่าจักระที่ 4-5 ตื่นอย่างสมบูรณ์หรือไม่คือ ทุกครั้งที่เราหายใจ จะรู้สึกได้ถึงความโปร่งโล่งสบายบริเวณปอดและหลอดลม รวมถึงหายใจอิ่มขึ้น ได้รับกลิ่นและรสสัมผัสได้ชัดเจนขึ้นกว่าปกติ แม้กระทั่งเวลาดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่อเราหายใจเข้าก็จะรู้สึกวูบวาบที่บริเวณกระดูกสันหลังทั้ง 2 จุด สลับกันไปมาอย่างไม่สิ้นสุด
ขั้นที่ 5 ฝึกหมุนจักระที่ 2 และ 6
ผู้เขียนให้นิยามการฝึกลำดับนี้ว่า “ฝึกจิตสั่งการ” เพราะอย่างที่ทราบกันแล้วว่า จักระที่ 2 นั้น ถูกกระตุ้นให้ตื่นขึ้น ด้วยใจของเราเป็นใหญ่ เวลาที่เราต้องการอะไร อยากให้เกิดอะไรขึ้น เราจะป้อนข้อมูลจากสมอง และไปสนองความต้องการที่จักระ 2 แห่งนี้ และไม่ว่าความต้องการของเราจะเป็นอะไร จักระที่ 2 จะเป็นตัวส่งพลังงานศักดิ์สิทธิ์ไปสู่ระบบร่างกายว่า ฉันต้องการสิ่งนี้ และอวัยวะส่วนนี้ หรือองค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องตอบสนองสิ่งที่ฉันต้องการ
การที่ผู้เขียนใช้คำว่าพลังงานศักดิ์สิทธิ์ตามชื่อจักระที่ 2 เพราะมันเป็นพลังที่นิยามไม่ได้ ถ้าจะถามว่า “มันเป็นเรื่องของความเชื่อใช่ไหม?” ต้องยอมรับครับว่าใช่ เราไม่สามารถนิยามพลังงานแฝงบางอย่างในร่างกายได้เป็นความจริง เพราะถ้าหากเป็นพลังงาน ATP เราสามารถวัดและประมาณค่าได้ทางวิทยาศาสตร์ แต่พลังแฝงบางอย่างของร่างกาย วิทยาศาสตร์อาจจะยังตอบไม่ได้ แต่มนุษย์ทุกคนรับรู้ได้ เวลาที่คุณต้องการทำอะไรจริงจังถึงแม้จะพักผ่อนน้อย แค่เพียงฝืนร่างกายกลับทำให้มันสำเร็จได้อย่างไม่น่าเชื่อ ผู้เขียนจึงนิยามสิ่งนี้ว่า “พลังงานศักดิ์สิทธิ์” หรือจะเรียกแบบศาสตร์จีนก็คือ “พลังชี่” นั่นเอง พอถึงจุดนี้ทุกท่านจะทราบแล้วนะครับว่า พลังชี่จากตันเถียนล่าง คือตัวส่งความปรารถนาที่จะใช้พลังตามที่ใจต้องการ เดี๋ยวเนื้อหาในหมวดปราณชี่ จะทำให้เข้าใจมากขึ้น
การฝึกหมุนจักระทำเหมือนเดิมทุกประการครับ เพียงแต่เปลี่ยนจุดหมุนช่วงกักลมหายใจ ไปไว้ที่จักระ 2 ก่อน แล้วสลับกับจักระ 6 หมุนวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ที่จักระ 2 ให้จินตภาพถึงรัศมีสีส้มหมุนตามเข็มนาฬิกาขณะที่กักลมบริเวณท้องน้อย และหมุนทวนเข็มนาฬิกาเมื่อปล่อยลมออกจากจมูก แบ่งการปล่อยลมหายใจเป็น 2 ชั้น คือ ปล่อยออกเริ่มที่ท้องน้อย ไล่ขึ้นไปจนถึงศีรษะเช่นเดิม
ณ จุดนี้จะต้องมีคำถามแน่นอนว่า แล้วทำไมก่อนหน้าที่ดึงลมไปกักที่บริเวณท้องน้อย ไม่ต้องหมุนจักระที่ 2 ทั้งที่บริเวณท้องน้อยเป็นที่อยู่ของจักระศักดิ์สิทธิ์นี้ คำตอบคือ เราจะหมุน ต่อเมื่อเราต้องการใช้งานจักระนี้จริง ๆ เท่านั้น ถ้าการกักลมหายใจเพื่อหมุนจักระอื่น เราไม่จำเป็นต้องทำครับ จักระที่ 2 จะถูกใช้ ต่อเมื่อมีความต้องการจะใช้บางอย่างเท่านั้น และที่สำคัญ จักระ 2 ไม่จำเป็นต้องใช้กับระบบออโต้อย่างจักระ 3-4-5 ทั้งสามส่วนนี้ทำงานแบบอัตโนมัติตลอด 24 ชม. จักระ 2 ไม่สามารถไปสั่งให้หยุดหายใจ หรือหยุดย่อยอาหารได้ ยกเว้นมนุษย์จะพยายามสั่งจากสมองให้ตัวเองหยุดหายใจ แต่การทำได้นั้นน้อยมาก เพราะระบบร่างกายจะบังคับให้เราต้องหายใจถึงแม้จะกลั้นหายใจจนหมดสติไปแล้ว ร่างกายก็จะกลับมาหายใจเองอีกครั้งตามการสั่งการแบบออโต้ไพลอต (autopilot)
![](https://f.ptcdn.info/038/087/000/m707wh8bidKJp3v9CUJ-o.png)
![](https://f.ptcdn.info/038/087/000/m707wsloiENboy26kaD-o.png)
ในท่วงท่าการฝึกนี้ ให้สลับกันระหว่าง วรุณมุทรา Varun Mudra และญาณมุทรา Gyan Mudra ตรงส่วนนี้สอดคล้องกับหลักความเชื่อทางเวทมนตร์อยู่พอสมควรนะครับ เกี่ยวกับเรื่องพลังจิตวิญญาณและไสยศาสตร์ ว่าเป็นการผสานระหว่างธาตุดินและธาตุน้ำ ดินคือจิตวิญญาณ และน้ำคือทางผ่านของวิญญาณ ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องบังเอิญจากการเลือกใช้มุทราในวิถีปฏิบัติส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นนะครับ อย่างที่บอกไปแล้วว่า เรื่องของมุทราให้เป็นอิสระในการใช้ ซึ่งมาถึงตรงนี้ ถ้าใครจะมีคำถามว่า
จากที่อธิบายไปแล้วข้างต้น เมื่อสิ้นสุดลมหายใจ 1 รอบแรก รอบที่สองก็สลับไปสู่จักระที่ 6 ด้วยการหมุนวงรัศมีสีน้ำเงิน ณ บริเวณสมองส่วนหลัง ที่ลิงก์มากลางหน้าผาก อย่างที่บอกไปแล้วนะครับว่า เราจะไม่กำหนดที่จุดกลางหน้าผากในการหมุนจักระนะครับ ไว้จะอธิบายในขั้นถัดไป
หากถามว่า “ในเมื่อต้องฝึกสองจักระควบคู่กัน แบบนี้ท่ามือทั้งสองข้าง ทำสองมุทราพร้อมกันได้หรือไม่?” คำตอบคือได้ครับ แต่เราจะได้ประโยชน์จากการฝึกน้อยกว่าสลับท่ามือหรือเปล่า เพราะการสลับท่ามือเมื่อผ่อนลมหายใจออกจนสุดไปแล้ว และก่อนที่จะเริ่มกระบวนการหายใจใหม่อีกรอบ จะทำให้สติได้ไปจับกับมุทราในเวลานั้น ถ้าคุณมีความสามารถใช้สติจับมุทราได้ในห้วงเวลาที่บอก ก็สามารถฝึกโดยวางท่วงท่ามุทราทั้งสองมือได้ครับ ไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด มองที่ประโยชน์เป็นหลักนะครับผม
ผลของการฝึกขั้นที่ 5 : ช่วยเปิดพลังด้านการเห็นภาพ บำรุงระบบประสาทและสายตา จะมองเห็นทุกอย่างได้แจ่มชัดขึ้นทั้งในโลกจริง และโลกทับซ้อน อาจจะเห็นมากกว่าที่ตาเนื้อเห็น หรือได้ยินมากกว่าที่หูคนปกติได้ยิน ซึ่งไม่ต้องคิดว่าเป็นเรื่องแปลกอะไรหากคุณฝึกสำเร็จในขั้นนั้น เพราะทุกสรรพสิ่งเป็นธรรมชาติ ทั้งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ก็ตามที เห็นก็คือเห็น ได้ยินก็คือได้ยิน อย่าไปยึดติด อย่าไปหลงกลทางจิต และอย่าไว้ใจจิตของตน บางทีเราอาจกำลังถูกหลอกจากกลไกทางจิตใต้สำนึกของเราอยู่ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การฝึกในขั้นที่ 5 นี้จะมีความเสี่ยงเรื่องของภาพหลอนที่อาจเกิดจากการปรุงแต่ง หรือพยายามอย่างเข้มข้นที่จะเห็น อยากได้ยิน อยากสัมผัสจนเกินขอบเขต หรือแม้กระทั่งการพยายามบีบกดสมองด้วยการกำหนดความรู้สึกอย่างหนักไปที่จักระ 7 และ 6
ซึ่งวิธีการฝึกแบบนี้เป็นวิธีที่ผิดนะครับ คุณจะไม่ได้อะไรเลยนอกจากเสียสุขภาพจิต และดีไม่ดีการทำงานของสมองจะมีปัญหาด้วย คุณอาจจะแยกไม่ออกระหว่างภาพจริงหรือภาพที่เกิดจากการมโนขึ้นเพราะปรุงแต่งจิตอย่างผิดเพี้ยน วิธีการแก้ก็คือ ให้มีสติตลอดเวลาในการฝึก ซึ่งสิ่งที่จะช่วยดึงสติคุณได้ในสูตรปราณวิถีนี้ ก็คือมุทราครับ การสลับมุทราจะดึงสติกลับมาที่มือเสมอ และจะไม่ปล่อยให้จิตล่องลอยไปกับสิ่งลวงลี้ลับแต่อย่างใด ช่วยให้ร่างกายปรับสมดุลอย่างถูกต้อง
นอกจากสิ่งที่กล่าวมานี้ การหมุนจักระที่ 2 และ 6 จะช่วยเสริมด้านพลังความคิดและสติปัญญา การฝึกสำเร็จคือคุณจะมีสติดำรงมั่นอยู่ในสมาธิมุทราไม่หลุดลอยไปตามภาพที่เข้ามาในหัว และผลข้างเคียงคือไออุ่นเวลาหมุนจักระ จะสลับสับเปลี่ยนไปตามรอบระหว่างจักระทั้งสอง และไออุ่นนั้นจะประทับอย่างถาวรอยู่ที่กลางหน้าผาก นั่นหมายความว่า หากคุณเปิดจักระที่ 6 สำเร็จ กลางหน้าผากของคุณจะมีพลังงานหมุนเวียนตลอดเวลา เป็นลักษณะไออุ่นที่คอยกระตุ้นความรู้สึกกลางหน้าผาก เวลาที่กำหนดจิตหรือรู้สึกถึงสัมผัสกลางหน้าผาก ตาที่สามก็จะทำงาน
“การฝึกตาที่สามตามวิชาปราณจักระมุทรา”
กำหนดจิตไปที่หน้าผากก็เท่ากับเป็นการเปิด ปล่อยใจปล่อยกายใช้ชีวิตธรรมดาก็เท่ากับการปิด เวลามองสิ่งใดไปพร้อมกับการกำหนดความรู้สึกที่กลางหน้าผาก หน้าผากจะดึงพลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากห้วงมิติของจักระที่ 6 (บริเวณสมองส่วนหลัง) มาอยู่ที่กลางหน้าผาก เมื่อเราเชื่อมต่อจักระที่ 6 กับจุดตาที่สาม เท่ากับเปิด เมื่อเราปล่อยใจปล่อยกาย ผ่อนลมหายใจด้วยการฟอกปราณบริหารปอดฯ เท่ากับเป็นการปิด
😊คิดเห็นอย่างไรเข้ามาคอมเมนต์กันได้ครับ😊
อ้างอิงเนื้อหาจากหนังสือ
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต
การหมุนทุกจักระใน 1 รอบฝึก ตอนที่2
หลังจากที่คุณฝึกเปิดและบริหารจักระที่ 3 เป็นที่เรียบร้อย ลำดับต่อไปคือ จักระที่ 5 และ 4 ทั้งสองจักระนี้ให้ฝึกร่วมกันเพราะการทำงานของหัวใจและหลอดลมนั้นสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก โดยแบ่งการหมุนจักระเป็น 1 ลมหายใจ ต่อ 1 จักระ คุณอาจจะเริ่มจากจักระที่ 5 ก่อน เพราะเป็นต้นทางของลมหายใจ ในขณะที่ฝึกจักระที่ 5 ให้วางมือในท่วงท่าของชุนยะมุทรา Shunya Mudra หรืออากาศมุทรา Akasha Mudra เพื่อหมุนจักระ 5 ต่อเมื่อสิ้นสุด 1 ลมหายใจ ให้ปรับท่วงท่ามาเป็น วายุมุทรา เพื่อหมุนจักระ 4 การฝึกหมุนจักระสลับกันแบบนี้ให้ทำ 1 เซ็ต คือ อย่างละ 5 รอบเท่านั้น
4.2 เวลากักลมหายใจอยู่ที่ท้องน้อย เคลื่อนสติไปจับที่จักระ 5 หมุนวนตามเข็มนาฬิกาพอประมาณ 3-5 วิ เท่าที่ร่างกายทำได้ จุดสังเกตเส้นปราณจักระจะวิ่งตามสติของเราไปสู่จุดที่เราต้องการ เราก็สามารถสร้างจินตภาพเพิ่มเติมในเส้นทางการวิ่งเหล่านั้นได้เช่นกันว่า คลื่นพลังกำลังวิ่งอยู่ภายในร่างกายเราแบบไหน หมุนวนตามเข็มนาฬิกาอย่างไร หมุนไปที่อีกจุดหนึ่งอย่างไร และท้ายที่สุดหมุนวนทวนเข็มนาฬิกาออกทางจักระ 7 อย่างไร ไม่ต้องเร่งรีบทำครับ ค่อย ๆ ปรับจินตภาพให้เหมาะสมกับตน
4.3 ทำลักษณะเดียวกันนี้กับจักระที่ 4 ในลมหายใจถัดไป คือสร้างจินตภาพ หมุนวงรัศมีสีเขียวบริเวณกึ่งกลางระหว่างอกสองข้าง ค่อนไปทางข้างหลังนะครับ กะระยะตรงแกนกระดูกสันหลังของเราได้ยิ่งดี หมุนจักระ ที่ 4 บริเวณนั้น และขั้นตอนการหมุน การคืนพลังสู่ห้วงจักรวาลก็ทำเหมือนเดิมอีกเช่นเดียวกัน
ผลจากการฝึกขั้นที่ 4 : สามารถปรับระบบการหายใจของร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้มากขึ้นจากการฝึกหายใจเป็นระบบ รวมถึงประโยชน์จากการจินตภาพ จะทำให้เราได้ฝึกสมองไปพร้อมกัน
วิธีการสังเกตว่าจักระที่ 4-5 ตื่นอย่างสมบูรณ์หรือไม่คือ ทุกครั้งที่เราหายใจ จะรู้สึกได้ถึงความโปร่งโล่งสบายบริเวณปอดและหลอดลม รวมถึงหายใจอิ่มขึ้น ได้รับกลิ่นและรสสัมผัสได้ชัดเจนขึ้นกว่าปกติ แม้กระทั่งเวลาดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่อเราหายใจเข้าก็จะรู้สึกวูบวาบที่บริเวณกระดูกสันหลังทั้ง 2 จุด สลับกันไปมาอย่างไม่สิ้นสุด
ขั้นที่ 5 ฝึกหมุนจักระที่ 2 และ 6
ผู้เขียนให้นิยามการฝึกลำดับนี้ว่า “ฝึกจิตสั่งการ” เพราะอย่างที่ทราบกันแล้วว่า จักระที่ 2 นั้น ถูกกระตุ้นให้ตื่นขึ้น ด้วยใจของเราเป็นใหญ่ เวลาที่เราต้องการอะไร อยากให้เกิดอะไรขึ้น เราจะป้อนข้อมูลจากสมอง และไปสนองความต้องการที่จักระ 2 แห่งนี้ และไม่ว่าความต้องการของเราจะเป็นอะไร จักระที่ 2 จะเป็นตัวส่งพลังงานศักดิ์สิทธิ์ไปสู่ระบบร่างกายว่า ฉันต้องการสิ่งนี้ และอวัยวะส่วนนี้ หรือองค์ประกอบเหล่านี้ จะต้องตอบสนองสิ่งที่ฉันต้องการ
การที่ผู้เขียนใช้คำว่าพลังงานศักดิ์สิทธิ์ตามชื่อจักระที่ 2 เพราะมันเป็นพลังที่นิยามไม่ได้ ถ้าจะถามว่า “มันเป็นเรื่องของความเชื่อใช่ไหม?” ต้องยอมรับครับว่าใช่ เราไม่สามารถนิยามพลังงานแฝงบางอย่างในร่างกายได้เป็นความจริง เพราะถ้าหากเป็นพลังงาน ATP เราสามารถวัดและประมาณค่าได้ทางวิทยาศาสตร์ แต่พลังแฝงบางอย่างของร่างกาย วิทยาศาสตร์อาจจะยังตอบไม่ได้ แต่มนุษย์ทุกคนรับรู้ได้ เวลาที่คุณต้องการทำอะไรจริงจังถึงแม้จะพักผ่อนน้อย แค่เพียงฝืนร่างกายกลับทำให้มันสำเร็จได้อย่างไม่น่าเชื่อ ผู้เขียนจึงนิยามสิ่งนี้ว่า “พลังงานศักดิ์สิทธิ์” หรือจะเรียกแบบศาสตร์จีนก็คือ “พลังชี่” นั่นเอง พอถึงจุดนี้ทุกท่านจะทราบแล้วนะครับว่า พลังชี่จากตันเถียนล่าง คือตัวส่งความปรารถนาที่จะใช้พลังตามที่ใจต้องการ เดี๋ยวเนื้อหาในหมวดปราณชี่ จะทำให้เข้าใจมากขึ้น
การฝึกหมุนจักระทำเหมือนเดิมทุกประการครับ เพียงแต่เปลี่ยนจุดหมุนช่วงกักลมหายใจ ไปไว้ที่จักระ 2 ก่อน แล้วสลับกับจักระ 6 หมุนวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ที่จักระ 2 ให้จินตภาพถึงรัศมีสีส้มหมุนตามเข็มนาฬิกาขณะที่กักลมบริเวณท้องน้อย และหมุนทวนเข็มนาฬิกาเมื่อปล่อยลมออกจากจมูก แบ่งการปล่อยลมหายใจเป็น 2 ชั้น คือ ปล่อยออกเริ่มที่ท้องน้อย ไล่ขึ้นไปจนถึงศีรษะเช่นเดิม
ณ จุดนี้จะต้องมีคำถามแน่นอนว่า แล้วทำไมก่อนหน้าที่ดึงลมไปกักที่บริเวณท้องน้อย ไม่ต้องหมุนจักระที่ 2 ทั้งที่บริเวณท้องน้อยเป็นที่อยู่ของจักระศักดิ์สิทธิ์นี้ คำตอบคือ เราจะหมุน ต่อเมื่อเราต้องการใช้งานจักระนี้จริง ๆ เท่านั้น ถ้าการกักลมหายใจเพื่อหมุนจักระอื่น เราไม่จำเป็นต้องทำครับ จักระที่ 2 จะถูกใช้ ต่อเมื่อมีความต้องการจะใช้บางอย่างเท่านั้น และที่สำคัญ จักระ 2 ไม่จำเป็นต้องใช้กับระบบออโต้อย่างจักระ 3-4-5 ทั้งสามส่วนนี้ทำงานแบบอัตโนมัติตลอด 24 ชม. จักระ 2 ไม่สามารถไปสั่งให้หยุดหายใจ หรือหยุดย่อยอาหารได้ ยกเว้นมนุษย์จะพยายามสั่งจากสมองให้ตัวเองหยุดหายใจ แต่การทำได้นั้นน้อยมาก เพราะระบบร่างกายจะบังคับให้เราต้องหายใจถึงแม้จะกลั้นหายใจจนหมดสติไปแล้ว ร่างกายก็จะกลับมาหายใจเองอีกครั้งตามการสั่งการแบบออโต้ไพลอต (autopilot)
จากที่อธิบายไปแล้วข้างต้น เมื่อสิ้นสุดลมหายใจ 1 รอบแรก รอบที่สองก็สลับไปสู่จักระที่ 6 ด้วยการหมุนวงรัศมีสีน้ำเงิน ณ บริเวณสมองส่วนหลัง ที่ลิงก์มากลางหน้าผาก อย่างที่บอกไปแล้วนะครับว่า เราจะไม่กำหนดที่จุดกลางหน้าผากในการหมุนจักระนะครับ ไว้จะอธิบายในขั้นถัดไป
หากถามว่า “ในเมื่อต้องฝึกสองจักระควบคู่กัน แบบนี้ท่ามือทั้งสองข้าง ทำสองมุทราพร้อมกันได้หรือไม่?” คำตอบคือได้ครับ แต่เราจะได้ประโยชน์จากการฝึกน้อยกว่าสลับท่ามือหรือเปล่า เพราะการสลับท่ามือเมื่อผ่อนลมหายใจออกจนสุดไปแล้ว และก่อนที่จะเริ่มกระบวนการหายใจใหม่อีกรอบ จะทำให้สติได้ไปจับกับมุทราในเวลานั้น ถ้าคุณมีความสามารถใช้สติจับมุทราได้ในห้วงเวลาที่บอก ก็สามารถฝึกโดยวางท่วงท่ามุทราทั้งสองมือได้ครับ ไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด มองที่ประโยชน์เป็นหลักนะครับผม
ผลของการฝึกขั้นที่ 5 : ช่วยเปิดพลังด้านการเห็นภาพ บำรุงระบบประสาทและสายตา จะมองเห็นทุกอย่างได้แจ่มชัดขึ้นทั้งในโลกจริง และโลกทับซ้อน อาจจะเห็นมากกว่าที่ตาเนื้อเห็น หรือได้ยินมากกว่าที่หูคนปกติได้ยิน ซึ่งไม่ต้องคิดว่าเป็นเรื่องแปลกอะไรหากคุณฝึกสำเร็จในขั้นนั้น เพราะทุกสรรพสิ่งเป็นธรรมชาติ ทั้งที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้ก็ตามที เห็นก็คือเห็น ได้ยินก็คือได้ยิน อย่าไปยึดติด อย่าไปหลงกลทางจิต และอย่าไว้ใจจิตของตน บางทีเราอาจกำลังถูกหลอกจากกลไกทางจิตใต้สำนึกของเราอยู่ก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การฝึกในขั้นที่ 5 นี้จะมีความเสี่ยงเรื่องของภาพหลอนที่อาจเกิดจากการปรุงแต่ง หรือพยายามอย่างเข้มข้นที่จะเห็น อยากได้ยิน อยากสัมผัสจนเกินขอบเขต หรือแม้กระทั่งการพยายามบีบกดสมองด้วยการกำหนดความรู้สึกอย่างหนักไปที่จักระ 7 และ 6
ซึ่งวิธีการฝึกแบบนี้เป็นวิธีที่ผิดนะครับ คุณจะไม่ได้อะไรเลยนอกจากเสียสุขภาพจิต และดีไม่ดีการทำงานของสมองจะมีปัญหาด้วย คุณอาจจะแยกไม่ออกระหว่างภาพจริงหรือภาพที่เกิดจากการมโนขึ้นเพราะปรุงแต่งจิตอย่างผิดเพี้ยน วิธีการแก้ก็คือ ให้มีสติตลอดเวลาในการฝึก ซึ่งสิ่งที่จะช่วยดึงสติคุณได้ในสูตรปราณวิถีนี้ ก็คือมุทราครับ การสลับมุทราจะดึงสติกลับมาที่มือเสมอ และจะไม่ปล่อยให้จิตล่องลอยไปกับสิ่งลวงลี้ลับแต่อย่างใด ช่วยให้ร่างกายปรับสมดุลอย่างถูกต้อง
นอกจากสิ่งที่กล่าวมานี้ การหมุนจักระที่ 2 และ 6 จะช่วยเสริมด้านพลังความคิดและสติปัญญา การฝึกสำเร็จคือคุณจะมีสติดำรงมั่นอยู่ในสมาธิมุทราไม่หลุดลอยไปตามภาพที่เข้ามาในหัว และผลข้างเคียงคือไออุ่นเวลาหมุนจักระ จะสลับสับเปลี่ยนไปตามรอบระหว่างจักระทั้งสอง และไออุ่นนั้นจะประทับอย่างถาวรอยู่ที่กลางหน้าผาก นั่นหมายความว่า หากคุณเปิดจักระที่ 6 สำเร็จ กลางหน้าผากของคุณจะมีพลังงานหมุนเวียนตลอดเวลา เป็นลักษณะไออุ่นที่คอยกระตุ้นความรู้สึกกลางหน้าผาก เวลาที่กำหนดจิตหรือรู้สึกถึงสัมผัสกลางหน้าผาก ตาที่สามก็จะทำงาน
“การฝึกตาที่สามตามวิชาปราณจักระมุทรา”
กำหนดจิตไปที่หน้าผากก็เท่ากับเป็นการเปิด ปล่อยใจปล่อยกายใช้ชีวิตธรรมดาก็เท่ากับการปิด เวลามองสิ่งใดไปพร้อมกับการกำหนดความรู้สึกที่กลางหน้าผาก หน้าผากจะดึงพลังคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากห้วงมิติของจักระที่ 6 (บริเวณสมองส่วนหลัง) มาอยู่ที่กลางหน้าผาก เมื่อเราเชื่อมต่อจักระที่ 6 กับจุดตาที่สาม เท่ากับเปิด เมื่อเราปล่อยใจปล่อยกาย ผ่อนลมหายใจด้วยการฟอกปราณบริหารปอดฯ เท่ากับเป็นการปิด
"ปราณวิถี" สูตรลมหายใจบริหารกายจิต