JJNY : เงิน 10000 มีส่วนทำให้สนับสนุนรบ.│คนใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นลด│PM 2.5 เกินมาตรฐาน 9 เขต│แผ่นดินถล่มมณฑลเสฉวน

โพลชี้ ผู้สูงวัยนำเงิน 10000 ไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รับมีส่วนทำให้สนับสนุนรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_5040554
 
 
นิด้าโพลชี้ ผู้สูงวัยนำเงิน 10000 ไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ยอมรับมีส่วนทำให้สนับสนุนรัฐบาล
 
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ผู้สูงอายุรับเงินสด 10,000 บาท แล้วจะสนับสนุนรัฐบาลไหม” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ทั้งตนเอง และ/หรือคนในครอบครัว ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง
 
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการนำเงินไปใช้จ่ายของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือ คนในครอบครัวที่ได้รับเงินจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 86.18 ระบุว่า ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (รวมค่าน้ำ ค่าไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง) รองลงมา ร้อยละ 26.26 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ (เช่น ซื้อยารักษาโรค หาหมอ) ร้อยละ 13.66 ระบุว่า ใช้หนี้ ร้อยละ 11.98 ระบุว่า เก็บออมไว้สำหรับอนาคต ร้อยละ 9.24 ระบุว่า ใช้ลงทุนการค้า ร้อยละ 8.70 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ร้อยละ 4.35 ระบุว่า ใช้ซื้อหวย สลากกินแบ่งรัฐบาล ร้อยละ 1.76 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 0.53 ระบุว่า ใช้ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มือถือ และเครื่องมือสื่อสาร ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ใช้จ่ายเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ใช้จ่าย เพื่อการบันเทิง (เช่น เลี้ยงสังสรรค์ ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ เป็นต้น)
 
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการสนับสนุนรัฐบาลของผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นตนเอง และ/หรือคนในครอบครัวที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.89 ระบุว่า มีส่วนทำให้สนับสนุนรัฐบาล รองลงมา ร้อยละ 30.69 ระบุว่า จะมีหรือไม่มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็สนับสนุนรัฐบาลอยู่แล้ว ร้อยละ 14.35 ระบุว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่สนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 10.07 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร


 
คนใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นลด เหตุไม่สะดวก-ตรงวันเสาร์
https://tna.mcot.net/politics-1486393

กทม. 9 ก.พ. – สวนดุสิตโพล ชี้ คนใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นลด เหตุไม่สะดวก-ตรงกับวันเสาร์ กกต. ถูกตั้งคำถามเรื่องประชาสัมพันธ์
 
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สวนดุสิตโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศเรื่อง “ควันหลงเลือกตั้งท้องถิ่น”กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,386  คน โดยสำรวจทางออนไลน์และภาคสนามระหว่างวันที่ 4-7 ก.พ. 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.28 ไปเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายกอบจ.) เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 ที่ผ่านมา อีกร้อยละ 36.72 ไม่ได้ไปเพราะติดภารกิจต้องทำงาน โดยคิดว่าสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้น้อยกว่าที่คาดการณ์เพราะติดธุระ ไม่สะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิ ร้อยละ 68.99 รองลงมาคือ ตรงกับวันเสาร์ ร้อยละ 47.18 ทั้งนี้มองว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นกับการเลือกตั้งระดับชาติมีความแตกต่างกัน ร้อยละ 52.89 เพราะผู้สมัครท้องถิ่นเป็นคนในพื้นที่ รู้และเข้าใจปัญหาของชุมชนได้ดี มีความใกล้ชิดประชาชนมากกว่า โดยสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเลือกตั้งนายก อบจ. ครั้งนี้ คือ ประชาชนมีแนวคิดใหม่ ๆ ในการเลือกผู้บริหารท้องถิ่น ร้อยละ 54.91 สุดท้ายในแง่ของผลการเลือกตั้งที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดนั้นอาจต้องรอดูผลลัพธ์ในระยะยาว ร้อยละ 26.98
 
น.ส.พรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล เปิดเผยว่า ควันหลงการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้สะท้อนถึงความซับซ้อนของอำนาจในแต่ละพื้นที่ ผู้ใช้สิทธิที่ลดลงจากความไม่สะดวกและการเลือกตั้งที่ตรงกับวันเสาร์และการตั้งคำถามถึงการประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สร้างความสงสัยให้กับประชาชน สำหรับพรรคการเมืองที่ลงสนามแบบเปิดหน้า การเลือกตั้งครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดว่า ประชาชนต้องการ “ผู้นำใกล้ชิด” และ “เข้าใจพื้นที่” มากกว่าผู้นำในเชิงนโยบายกว้าง ๆ ซึ่งแตกต่างจากการเมืองระดับชาติ 
 
ผศ.อัญชลี รัตนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตร์ โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยว่า หากพิจารณาสถิติของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 1 ก.พ. 2568 เป็นตัวชี้วัดการทำงานของ กกต. ก็คงต้องกล่าวว่าประสบความล้มเหลวในด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เนื่องจากจำนวนประชาชนที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีสัดส่วนเพียง 58 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการเลือกตั้ง อบจ. ทั่วประเทศในวันที่ 20 ธ.ค. 2563 ซึ่งมีสัดส่วน 62.86 เปอร์เซ็นต์ ลดลงถึง 4.86 เปอร์เซ็นต์ จากผลสำรวจพบว่าสาเหตุที่ทำให้จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้น้อย เนื่องจากประชาชนไม่สะดวกในการเดินทางไปใช้สิทธิ เพราะติดภารกิจ และเป็นวันเสาร์ ประชาชนที่ทำงานในภาคเอกชนบางบริษัทยังคงต้องทำงานตามปกติ ซึ่งมีความสอดคล้องกับเสียงสะท้อนของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ
 
ผศ.อัญชลี กล่าวอีกว่า ผลกระทบที่ตามมาคือ ทำให้ประชาชนที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิถูกจำกัดสิทธิจากเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 5 ประการเป็นเวลา 2 ปี เว้นแต่ได้แจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งในช่วงระยะเวลาที่กำหนด คือ ก่อนการเลือกตั้ง 7 วันหรือภายใน 7 วันนับหลังวันเลือกตั้ง เช่นเดียวกับกรณีของบัตรเสียจำนวน 900,000 ใบ สะท้อนความล้มเหลวในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์กับประชาชนแต่ให้ความสำคัญกับความสะดวกในการบริหารจัดการของ กกต. มากกว่า ส่วนประชาชนที่ไปใช้สิทธิแต่กากบาทในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนก็เป็นเสียงสะท้อนของความไม่เชื่อมั่นในตัวผู้สมัครรับเลือกตั้งของแต่ละพื้นที่ แม้จะมีนโยบายดี แม้จะมีสังกัดพรรคใหญ่แต่ยังไม่รัก ไม่มั่นใจ จึงไม่เลือก.-312-สำนักข่าวไทย


 
กทม.ฝุ่นฟุ้ง PM 2.5 เกินมาตรฐาน 9 เขต
https://www.innnews.co.th/news/criminal/news_838841/

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2568เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 26.0-47.9 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 33.4 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลงเกินมาตรฐาน อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 12 พื้นที่
 
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 26-47 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 9 พื้นที่ คือ

1. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลนคราภิบาล : มีค่าเท่ากับ 47.0 มคก./ลบ.ม.
2. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 40.6 มคก./ลบ.ม.
3. เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 39.7 มคก./ลบ.ม.
4. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 39.6 มคก./ลบ.ม.
5. เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.
6. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.
7. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 38.6 มคก./ลบ.ม.
8. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.
9. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 38.0 มคก./ลบ.ม.
 
ในช่วงวันที่ 9 ก.พ. 2568 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “ดี” ขณะที่ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะเปิดสลับปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง ส่วนวันที่ 10-12 ก.พ. การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์”ไม่ดี” ประกอบกับมีอินเวอร์ชั่นใกล้ผิวพื้น ทำให้มลพิษทางอากาศแพร่กระจายได้อย่างจำกัด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และวันที่ 13-17 ก.พ.มีแนวโน้มลดลง และคาดการณ์วันนี้ อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่