ศาลตรวจและรับอุทธรณ์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ม.225 ป.วิ.พ แต่ศาลไม่สั่งให้แก้ไข จนถูกยกอุทธรณ์ ใครควรรับผิดชอบหรอ?

ถ้าอุทธรณ์ถูกยกด้วยเหตุว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งเพราะไม่มีเนื้อหาตามแบบฟอร์มศาลตามมาตรา 225 ป.วิ.พ ด้านล่างนี้ จนคู่ความไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะถูกยกอุทธรณ์/ฎีกา แบบงงๆ แล้วทำไมแบบฟอร์มศาลจึงไม่ระบุให้ชัดแจ้งไปเลยล่ะว่าอุทธรณ์/ฎีกาจะต้องมีข้อความครบถ้วนชัดแจ้ง ตามมาตรา 225 ป.วิ.พ หรือกฎหมายประกอบอื่นๆอย่างไรบ้าง อาทิ

1) เรื่องย่อของประเด็นข้อพิพาทและข้อกฎหมายทั้งหมดที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์

2) ข้อโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาและคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลว่าพิพากษาคดีผิดหรือวินิจฉัยผิดอย่างไร และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร

3) คำขอให้ศาลอุทธรณ์/ฎีกามีคำสั่งหรือคำพิพากษาว่าอย่างไร

4) หากเป็นฎีกาต้องมีคำขออนุญาตฎีกาด้วย

เพื่อประชาชนจะได้ไม่เสียเวลาและเสียโอกาสในการต่อสู้คดีไปกับขั้นตอนและพิธีกรรมตามกฎหมายจำนวนมากของศาลอย่างทุกวันนี้ แทนที่จะประชาชนจะได้ต่อสู้และเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมด้วยเนื้อหาสาระ แต่กลับต้องถูกยกอุทธรณ์/ฎีกา ด้วยพิธีกรรมซึ่งกระบวนการยุติธรรมกลับไม่ระบุไปเลยในแบบฟอร์มศาลว่าจะให้กรอกข้อมูลอะไรบ้าง 

แบบฟอร์มศาลยุติธรรมควรปรับเปลี่ยนให้เหมือนใบฟอร์มใบสมัครงานได้แล้วไหมนะ เพื่อ ปชช จะได้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและแนบเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่มีแต่แบบฟอร์มเปล่าๆและให้คู่ความต่อสู้กับระเบียบและพิธีกรรมจนหาทางเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไม่ได้เลย ซึ่งทำให้ ปชช ตาดำๆต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการถ่ายเอกสารเป็นจำนวนมาก (หน้าละ 2 บาท)

จึงไม่ทราบว่ากฎหมายมีไว้ให้ใครปฏิบัติ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่