อ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในบริเวณช่องท้องมากจนทำให้เกิดการหลั่งของสารที่ไปกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลิน, ระบบการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินของร่างกายผิดปกติ, ระดับน้ำตาลและความดันโลหิตสูงอีกด้วย รวมทั้งการอุดตันของไขมันที่หลอดเลือดแดงภายในอวัยวะที่สำคัญอย่าหัวใจและสมอง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของโรคเรื้อรังอย่างหลากหลาย
สาเหตุของอ้วนลงพุง
- รับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
- ไม่ออกกำลังกาย
- กรรมพันธุ์
- อายุที่เพิ่มสูงขึ้น
- น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
- ใช้ยาบางประเภท เช่น อินซูลิน, สเตียรอยด์ และยารักษาโรคทางจิตเวช
- สูบบุหรี่
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญน้ำตาลและไขมันของสตรีที่หมดประจำเดือนไปแล้ว
- โรคหรือภาวะความผิดปกติบริเวณต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะไฮโปไทรอยด์
อ้วนลงพุงต้องมีรอบเอวเท่าไร ?
การวัดรอบเอวควรทำในช่วงเช้าก่อนรับประทานอาหารมื้อแรก ซึ่งจะวัดในท่ายืนตรงขณะหายใจออก โดยให้สายวัดอยู่ตรงจุดกึ่งกลางระหว่างขอบล่างของซี่โครงสุดท้าย จนถึงจุดสูงสุดของกระดูกสะโพก สำหรับผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว ผู้หญิงเกิน 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว จะถือว่าอ้วนลงพุง นอกจากนี้มีเกณฑ์อื่นที่ใช้ประเมินต่อภาวะนี้ ได้แก่
- น้ำตาลในเลือดมีระดับสูงกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ความดันในโลหิตสูงกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท
- ระดับไตรกลีเซอไรด์เท่ากับหรือมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ไขมันดีในร่างกายผู้ชายมีค่าน้อยกว่า 40 และผู้หญิงไม่ถึง 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
อ้วนลงพุงอันตรายอย่างไร ?
เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายหลายชนิด เช่น
- ไขมันอุดตัน
- โรคหัวใจ
- เส้นเลือดในสมองอุดตัน
- สมองขาดเลือด
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- เบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- ไขมันพอกตับ
- มะเร็ง
- นิ่วในถุงน้ำดี
- โรคเกาต์
- ข้อเสื่อม
- ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- เส้นเลือดขอด
อ้วนลงพุงสามารถลดได้อย่างไร ?
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
- เน้นการบริโภคผัก, ผลไม้ และธัญพืช
- หลีกเลี่ยงอาหาร, เครื่องดื่ม ขนมที่มีรสชาติจัดจนเกินไป โดยเฉพาะรสหวาน มัน เค็ม
- ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อควบคุมระดับไขมัน, น้ำตาล และความดันในโลหิต
- ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 วัน ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที
- ทำกิจกรรมที่เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน เช่น งานบ้าน, ใช้บันไดแทนการขึ้นหรือลงลิฟต์
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
แม้ว่าการใช้สายวัดรอบเอวจะบอกถึงขนาดของหน้าท้องได้ แต่ระดับไขมันและน้ำตาลจะต้องทำการเจาะเลือด แต่ทุกท่านควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อหาค่าหรือความผิดปกติต่าง ๆ อีกทั้งยังมีแพทย์และเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำทางด้านการลดความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้น โดยปรับโภชนาการ วิธีออกกำลังกายของแต่ละบุคคล เพราะแต่ละท่านจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของกายภาพ, สรีระ, น้ำหนักตัว ซึ่งหากทำโดยไม่ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอาจส่งผลต่อการบาดเจ็บหรือโรคแทรกซ้อนขึ้น
อ้วนลงพุงกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม
- ไม่ออกกำลังกาย
- กรรมพันธุ์
- อายุที่เพิ่มสูงขึ้น
- น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
- ใช้ยาบางประเภท เช่น อินซูลิน, สเตียรอยด์ และยารักษาโรคทางจิตเวช
- สูบบุหรี่
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญน้ำตาลและไขมันของสตรีที่หมดประจำเดือนไปแล้ว
- โรคหรือภาวะความผิดปกติบริเวณต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะไฮโปไทรอยด์
อ้วนลงพุงต้องมีรอบเอวเท่าไร ?
การวัดรอบเอวควรทำในช่วงเช้าก่อนรับประทานอาหารมื้อแรก ซึ่งจะวัดในท่ายืนตรงขณะหายใจออก โดยให้สายวัดอยู่ตรงจุดกึ่งกลางระหว่างขอบล่างของซี่โครงสุดท้าย จนถึงจุดสูงสุดของกระดูกสะโพก สำหรับผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร หรือ 36 นิ้ว ผู้หญิงเกิน 80 เซนติเมตร หรือ 32 นิ้ว จะถือว่าอ้วนลงพุง นอกจากนี้มีเกณฑ์อื่นที่ใช้ประเมินต่อภาวะนี้ ได้แก่
- น้ำตาลในเลือดมีระดับสูงกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ความดันในโลหิตสูงกว่า 130/85 มิลลิเมตรปรอท
- ระดับไตรกลีเซอไรด์เท่ากับหรือมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
- ไขมันดีในร่างกายผู้ชายมีค่าน้อยกว่า 40 และผู้หญิงไม่ถึง 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
อ้วนลงพุงอันตรายอย่างไร ?
เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายหลายชนิด เช่น
- ไขมันอุดตัน
- โรคหัวใจ
- เส้นเลือดในสมองอุดตัน
- สมองขาดเลือด
- อัมพฤกษ์ อัมพาต
- เบาหวาน
- ความดันโลหิตสูง
- ไขมันพอกตับ
- มะเร็ง
- นิ่วในถุงน้ำดี
- โรคเกาต์
- ข้อเสื่อม
- ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- เส้นเลือดขอด
อ้วนลงพุงสามารถลดได้อย่างไร ?
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
- เน้นการบริโภคผัก, ผลไม้ และธัญพืช
- หลีกเลี่ยงอาหาร, เครื่องดื่ม ขนมที่มีรสชาติจัดจนเกินไป โดยเฉพาะรสหวาน มัน เค็ม
- ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อควบคุมระดับไขมัน, น้ำตาล และความดันในโลหิต
- ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-5 วัน ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที
- ทำกิจกรรมที่เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน เช่น งานบ้าน, ใช้บันไดแทนการขึ้นหรือลงลิฟต์
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
แม้ว่าการใช้สายวัดรอบเอวจะบอกถึงขนาดของหน้าท้องได้ แต่ระดับไขมันและน้ำตาลจะต้องทำการเจาะเลือด แต่ทุกท่านควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อหาค่าหรือความผิดปกติต่าง ๆ อีกทั้งยังมีแพทย์และเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำทางด้านการลดความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้น โดยปรับโภชนาการ วิธีออกกำลังกายของแต่ละบุคคล เพราะแต่ละท่านจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของกายภาพ, สรีระ, น้ำหนักตัว ซึ่งหากทำโดยไม่ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอาจส่งผลต่อการบาดเจ็บหรือโรคแทรกซ้อนขึ้น