กินยังไงให้เห็นผล แนะวิธีกินแคลเซียมที่ถูกต้อง ป้องกันกระดูกพรุน พร้อมข้อควรระวัง
อาหารเสริมกินสุ่มสี่สุ่มห้า แทนที่จะได้ประโยชน์ อาจส่งผลเสียต่อร่างการได้ เพราะการกินอาหารเสริมเองก็มีหลักการเช่นกัน นายแพทย์เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้แชร์ทริคการกินแคลเซียมให้ถูกวิธีผ่านเพจ “หมอเจด“
โดยระบุข้อความว่า “ถ้าอ่านโพสต์นี้จบ คุณจะเข้าใจแคลเซียม และกินอย่างถูกวิธีแน่นอน!!
หลายคนเห็นเรื่องกระดูกพรุนแล้ว ก็เกิดความกังวล อยากกินแคลเซียมแต่จะกินยังไงให้ดี กินยังไงให้ถูก เดี๋ยวผมเล่าให้ฟัง
เรามาทำความรู้จักกับแคลเซียมก่อน แคลเซียมมีทั้งในจากอาหารตามธรรมชาติ และมีแบบอาหารเสริม ซึ่งแคลเซียมจากธรรมชาติมีเยอะแยะเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น งา ปลาตัวเล็กตัวน้อย โยเกิร์ตไขมันต่ำ นมถั่วเหลือง เป็นต้น
สิ่งแรกที่อยากให้ดูคือปริมาณแคลเซียม ในแต่ละวัยมีปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับแตกต่างกัน เทียบง่ายๆโดยใช้นมเป็นตัววัดนะ นม 1 แก้วมีแคลเซียม 300 มิลลิกรัม
ถ้าเป็นคนอายุน้อยกว่า 40 ปี ควรได้รับแคลเซียม 800 มก. /วัน = นมประมาณ 3 แก้ว
คน 51 ปีขึ้นไปควรได้รับแคลเซียม 1,000 มก. /วัน = นมประมาณ 4แก้ว
คนท้อง หรือคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มก. /วัน = นม ประมาณ6 แก้ว
ถ้าใครอ่านแล้วรู้สึกว่าขาดหรือกังวลว่าจะทานไม่ถึง ถามว่าจะทานอาหารเสริมเพิ่มได้ไหม ผมก็ตอบว่าได้ครับ แต่ต้องเลือกอันที่เหมาะกับเรา
แบ่งเป็นแบบนี้
1.แคลเซียมคาร์บอนเนต จะมีปริมาณแคลเซียม 40% แต่ดูดซึมได้ประมาณ 10% หมายความว่าถ้าข้างกล่องเขียนว่ามีแคลเซียม1,000 มิลลิกรัม จะมีแคลเซียมจริงๆอยู่ที่ 400 มิลลิกรัม ตัวนี้จะใช้กรดในกระเพาะอาหารในการละลาย เป็นตัวที่ฮิตสุดเพราะมีราคาถูก ข้อเสียคืออาจทำให้ท้องอืด และอาจทำให้เสี่ยงนิ่ว และหินปูนได้
2.แคลเซียมซิเตรต มีปริมาณแคลเซียมอยู่ที่ 21% ดูดซึมได้ 50% นั่นหมายถึงว่าดูดซึมดีกว่า แคลเซียมคาร์บอนเนต ละลายง่าย เพื่อการดูดซึมที่ดีต้องกินพร้อมอาหารนะ การดูดซึมได้ดีขึ้น ทำให้เสี่ยงนิ่ว หินปูน และท้องอืดน้อยกว่าแคลเซียมคาร์บอนเนต
3.แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต มีปริมาณแคลเซียม 13 % แต่จุดเด่นคือดูดซึมได้ 90% ตัวนี้การดูดซึมดีเลยทำให้ไม่เสี่ยงนิ่ว และหินปูนในร่างกาย และไม่ส่งผลให้ท้องอืดด้วยนะ
แต่ย้ำว่าแต่เรื่องการดูดซึมกับปริมาณที่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ไม่ได้บอกว่าอะไรดีกว่าอะไร สำคัญที่สุดคือ กินให้ถูกและกินให้เป็นสำคัญสุด เพราะร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน
กินผิดวิธีจะเป็นไรไหม?
ถ้ากินผิดวิธี จะเกิดปัญหาตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องท้องอืด เกิดจากการที่เรากินแคลเซียมที่ดูดซึมได้ไม่ดี นอกจากนี้ถ้าเรารับแคลเซียมมากไป จะส่งผลให้มันไปสะสมตามที่ต่างๆของร่างกาย เช่น เต้านม หลอดเลือด หรือกลายเป็นนิ่วที่ไตก็ได้ ซึ่งก็เป็นข้อที่ต้องควรระวัง
ข้อควรระวังในการกินแคลเซียม
ใครกินยาลดกรดอาจจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไรถ้ากินตัวแคลเซียมคาร์บอเนท
ห้ามกินคู่ยาความดันบางกลุ่ม/ยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม ต้องปรึกษาหมอก่อนทาน
ไม่ควรกินหลังจากกินผักเยอะๆ เพราะจะท้องอืด
กินยังไงให้ได้ผล?
ต้องตอบว่าต้องลองประเมินประมาณที่เรารับแคลเซียมต่อวันก่อน คุณทานมากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี เอาตามที่พอเหมาะดีสุด และสิ่งสำคัญอีกสิ่งที่ห้ามลืมคือ อย่าลืมหาทานวิตามินที่ช่วยเสริมการทำงานของแคลเซียมเซียมด้วยนะ
ไม่ว่าจะเป็นวิตามินดี ที่ได้รับจากแสงแดด หรือจะเติมด้วยอาหารก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นแซลมอน น้ำมันตับปลา ทูน่า เห็ดหอมสด ตัวนี้จะช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียมในบริเวณกะเพราะอาหาร
อีกตัวคือแมกนีเซียม พบได้ในผักใบเขียว ธัญพืช และอื่นๆอีกมากมาย จะคอยช่วยคอยส่งและดูดซึมแคลเซียม แถมยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟันด้วยนะ
และที่สำคัญอย่าลืมบำรุงกระดูกแล้ว เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุนด้วย
เดาว่าทุกคนน่าจะเข้าใจเรื่องแคลเซียมมากขึ้นนะ ยังไงกระดูกพรุนก็สำคัญมาก ไม่ต้องรอจนวัยทองแล้วค่อยบำรุงนะ ถ้าเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว แคลเซียมอาจจะไม่ช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มตั้งแต่ตอนที่มีโอกาส มันก็เหมือนกับการออมเงินแหละ ถ้าเราออมวันนี้ เราก็จะมีใช้ตอนอายุเยอะ ยังไงก็ดูแลตัวเองกันด้วยนะครับทุกคน ใครมีคำถามหรืออยากปรึกษาคอมเมนต์ได้เลยน้า หมอเจด…เจตนาดี”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.matichon.co.th/social/news_5027772
แนะวิธีกินแคลเซียมที่ถูกต้อง ป้องกันกระดูกพรุน พร้อมข้อควรระวัง
อาหารเสริมกินสุ่มสี่สุ่มห้า แทนที่จะได้ประโยชน์ อาจส่งผลเสียต่อร่างการได้ เพราะการกินอาหารเสริมเองก็มีหลักการเช่นกัน นายแพทย์เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้แชร์ทริคการกินแคลเซียมให้ถูกวิธีผ่านเพจ “หมอเจด“
โดยระบุข้อความว่า “ถ้าอ่านโพสต์นี้จบ คุณจะเข้าใจแคลเซียม และกินอย่างถูกวิธีแน่นอน!!
หลายคนเห็นเรื่องกระดูกพรุนแล้ว ก็เกิดความกังวล อยากกินแคลเซียมแต่จะกินยังไงให้ดี กินยังไงให้ถูก เดี๋ยวผมเล่าให้ฟัง
เรามาทำความรู้จักกับแคลเซียมก่อน แคลเซียมมีทั้งในจากอาหารตามธรรมชาติ และมีแบบอาหารเสริม ซึ่งแคลเซียมจากธรรมชาติมีเยอะแยะเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น งา ปลาตัวเล็กตัวน้อย โยเกิร์ตไขมันต่ำ นมถั่วเหลือง เป็นต้น
สิ่งแรกที่อยากให้ดูคือปริมาณแคลเซียม ในแต่ละวัยมีปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับแตกต่างกัน เทียบง่ายๆโดยใช้นมเป็นตัววัดนะ นม 1 แก้วมีแคลเซียม 300 มิลลิกรัม
ถ้าเป็นคนอายุน้อยกว่า 40 ปี ควรได้รับแคลเซียม 800 มก. /วัน = นมประมาณ 3 แก้ว
คน 51 ปีขึ้นไปควรได้รับแคลเซียม 1,000 มก. /วัน = นมประมาณ 4แก้ว
คนท้อง หรือคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 1,200 มก. /วัน = นม ประมาณ6 แก้ว
ถ้าใครอ่านแล้วรู้สึกว่าขาดหรือกังวลว่าจะทานไม่ถึง ถามว่าจะทานอาหารเสริมเพิ่มได้ไหม ผมก็ตอบว่าได้ครับ แต่ต้องเลือกอันที่เหมาะกับเรา
แบ่งเป็นแบบนี้
1.แคลเซียมคาร์บอนเนต จะมีปริมาณแคลเซียม 40% แต่ดูดซึมได้ประมาณ 10% หมายความว่าถ้าข้างกล่องเขียนว่ามีแคลเซียม1,000 มิลลิกรัม จะมีแคลเซียมจริงๆอยู่ที่ 400 มิลลิกรัม ตัวนี้จะใช้กรดในกระเพาะอาหารในการละลาย เป็นตัวที่ฮิตสุดเพราะมีราคาถูก ข้อเสียคืออาจทำให้ท้องอืด และอาจทำให้เสี่ยงนิ่ว และหินปูนได้
2.แคลเซียมซิเตรต มีปริมาณแคลเซียมอยู่ที่ 21% ดูดซึมได้ 50% นั่นหมายถึงว่าดูดซึมดีกว่า แคลเซียมคาร์บอนเนต ละลายง่าย เพื่อการดูดซึมที่ดีต้องกินพร้อมอาหารนะ การดูดซึมได้ดีขึ้น ทำให้เสี่ยงนิ่ว หินปูน และท้องอืดน้อยกว่าแคลเซียมคาร์บอนเนต
3.แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต มีปริมาณแคลเซียม 13 % แต่จุดเด่นคือดูดซึมได้ 90% ตัวนี้การดูดซึมดีเลยทำให้ไม่เสี่ยงนิ่ว และหินปูนในร่างกาย และไม่ส่งผลให้ท้องอืดด้วยนะ
แต่ย้ำว่าแต่เรื่องการดูดซึมกับปริมาณที่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ไม่ได้บอกว่าอะไรดีกว่าอะไร สำคัญที่สุดคือ กินให้ถูกและกินให้เป็นสำคัญสุด เพราะร่างกายมนุษย์เป็นสิ่งที่แต่ละคนไม่เหมือนกัน
กินผิดวิธีจะเป็นไรไหม?
ถ้ากินผิดวิธี จะเกิดปัญหาตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องท้องอืด เกิดจากการที่เรากินแคลเซียมที่ดูดซึมได้ไม่ดี นอกจากนี้ถ้าเรารับแคลเซียมมากไป จะส่งผลให้มันไปสะสมตามที่ต่างๆของร่างกาย เช่น เต้านม หลอดเลือด หรือกลายเป็นนิ่วที่ไตก็ได้ ซึ่งก็เป็นข้อที่ต้องควรระวัง
ข้อควรระวังในการกินแคลเซียม
ใครกินยาลดกรดอาจจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไรถ้ากินตัวแคลเซียมคาร์บอเนท
ห้ามกินคู่ยาความดันบางกลุ่ม/ยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม ต้องปรึกษาหมอก่อนทาน
ไม่ควรกินหลังจากกินผักเยอะๆ เพราะจะท้องอืด
กินยังไงให้ได้ผล?
ต้องตอบว่าต้องลองประเมินประมาณที่เรารับแคลเซียมต่อวันก่อน คุณทานมากไปก็ไม่ดี น้อยไปก็ไม่ดี เอาตามที่พอเหมาะดีสุด และสิ่งสำคัญอีกสิ่งที่ห้ามลืมคือ อย่าลืมหาทานวิตามินที่ช่วยเสริมการทำงานของแคลเซียมเซียมด้วยนะ
ไม่ว่าจะเป็นวิตามินดี ที่ได้รับจากแสงแดด หรือจะเติมด้วยอาหารก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นแซลมอน น้ำมันตับปลา ทูน่า เห็ดหอมสด ตัวนี้จะช่วยเรื่องการดูดซึมแคลเซียมในบริเวณกะเพราะอาหาร
อีกตัวคือแมกนีเซียม พบได้ในผักใบเขียว ธัญพืช และอื่นๆอีกมากมาย จะคอยช่วยคอยส่งและดูดซึมแคลเซียม แถมยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟันด้วยนะ
และที่สำคัญอย่าลืมบำรุงกระดูกแล้ว เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุนด้วย
เดาว่าทุกคนน่าจะเข้าใจเรื่องแคลเซียมมากขึ้นนะ ยังไงกระดูกพรุนก็สำคัญมาก ไม่ต้องรอจนวัยทองแล้วค่อยบำรุงนะ ถ้าเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว แคลเซียมอาจจะไม่ช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มตั้งแต่ตอนที่มีโอกาส มันก็เหมือนกับการออมเงินแหละ ถ้าเราออมวันนี้ เราก็จะมีใช้ตอนอายุเยอะ ยังไงก็ดูแลตัวเองกันด้วยนะครับทุกคน ใครมีคำถามหรืออยากปรึกษาคอมเมนต์ได้เลยน้า หมอเจด…เจตนาดี”...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.matichon.co.th/social/news_5027772