โรคกระดูกพรุนหรือกระดูกโปร่งบาง จะมีปริมาณเนื้อกระดูกลดลง และโครงสร้างภายในของกระดูกเปลี่ยนแปลง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลง เกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น ในระยะแรกผู้ป่วยมักจะปกติดีจนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุทำให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น ทั้งที่เป็นอุบัติเหตุไม่รุนแรง เช่น ลื่นล้ม หรือ ตกเก้าอี้ แล้วเกิดกระดูกข้อมือหัก กระดูกสะโพกหัก
โรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยเป็นลำดับที่ 2 รองจากโรคข้อเสื่อม โดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติ
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 30-40 ขณะที่ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้เพียงร้อยละ 10 และพบว่า ในผู้หญิงไทยอายุ 55 ปี เป็นโรคนี้ร้อยละ 20 แต่ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 60 จะเห็นว่าทุกคนมีโอกาสที่จะมีโรคกระดูกพรุนแอบแฝงอยู่
การสูญเสียเนื้อกระดูก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเหมือนเดิมได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันและรักษาตั้งแต่เริ่มแรกก่อนจะเกิดกระดูกหัก
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนก็คือ ได้รับแคลเซียมน้อยเกินไป
ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันจะแตกต่างกัน เช่น
คนทั่วไป ควรได้รับวันละ 800 มิลลิกรัม
เด็กและวัยรุ่น ควรได้รับวันละ 800-1,200 มิลลิกรัม
ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับวันละ 1,500-2,000 มิลลิกรัม
ผู้หญิงช่วงหมดประจำเดือน ควรได้รับวันละ 1,500 มิลลิกรัม
ผู้สูงอายุ ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น น้ำนม กุ้งแห้ง กะปิ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งตัว เต้าหู้เหลือง น้ำเต้าหู้ หรือ อาหารจานเดียว เช่น ข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วใส่ไข่ ข้าวราดไก่ผัดกระเพรา ขนมจีนน้ำยา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม
ถ้าได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารประจำวันอย่างพอเพียง ก็ไม่จำเป็นต้องได้แคลเซียมเสริม นอกจากบางคนอาจได้แคลเซียมจากอาหารไม่พอเพียง หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน
ถ้าได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอนานประมาณ 18 เดือน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้
ในผู้สูงอายุควรได้รับแคลเซียมร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน แคลซิโทนิน หรือ วิตามินดี ซึ่งจะช่วยให้แคลเซี่ยมถูกดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น
วิตามินดี ส่วนใหญ่ได้รับจากแสงอาทิตย์ (ช่วงเช้าและเย็น) และอาหาร ซึ่งค่อนข้างเพียงพอ ยกเว้นในผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้าน ไม่ค่อยได้ออกไปตากแดด ทำให้ในผู้สูงอายุบางรายขาดวิตามินดี อาจต้องทานวิตามินดีเสริมด้วย
จากการศึกษาพบว่า ในผู้ที่กินยาเม็ดแคลเซียมน้อยกว่าวันละ 2 กรัม ไม่พบว่ามีนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น และไม่ทำให้เกิดกระดูกงอกเพิ่มมากขึ้น
(กระดูกงอกมักเกิดจากข้อเสื่อม ไม่เกี่ยวกับยาเม็ดแคลเซียม)
การเลือกชนิดของแคลเซียมเสริม ปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อจะเลือกใช้แคลเซียมเสริม ได้แก่
1. ชนิดและปริมาณของเกลือแคลเซียม จะทำให้ร่างกายได้รับแตกต่างกันไป เช่น
แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 40
แคลเซียมซิเตท (calcium citrate) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 21
แคลเซียมแลคเตท (calcium lactate) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 13
แคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 9
2. ความสะดวกในการกิน จำนวนเม็ดที่ต้องกินในแต่ละวันขึ้นอยู่กับปริมาณแคลเซียมที่ต้องการ ถ้าเป็นยาที่มีแคลเซียมต่ำ เม็ดยาที่ต้องกินก็จะต้องมากขึ้น ทำให้ไม่สะดวกและทำให้ความสม่ำเสมอในการกินแคลเซียมน้อยลง
3. ราคา ราคาของยาเม็ดแคลเซียมแตกต่างกันมาก โดยทั่วไปยาเม็ดธรรมดาจะราคาถูกกว่ายาเม็ดแคปซูล ส่วนยาเม็ดฟู่จะราคาแพงที่สุด สำหรับผู้สูงอายุที่อาจมีปัญหาการดูดซึมของยาอาจจำเป็นต้องใช้แบบเม็ดฟู่
4. ส่วนผสมอื่นๆ ในยาเม็ดแคลเซียม เช่น วิตามินดี วิตามินซี แร่ธาตุอื่นๆ ในผู้ที่ขาดสารเหล่านี้ ก็จะได้ประโยชน์เพิ่มเติม แต่ผู้ที่ไม่ขาดสารเหล่านี้ก็ไม่จำเป็น เพราะยาเม็ดแคลเซียมที่มีส่วนผสมเสริมจะมีราคาแพงขึ้นไปด้วย
ยาเม็ดแคลเซียม ตัวช่วยสำหรับกระดูกของคุณ
โรคกระดูกพรุนพบได้บ่อยเป็นลำดับที่ 2 รองจากโรคข้อเสื่อม โดยที่ไม่แสดงอาการผิดปกติ
ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 30-40 ขณะที่ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้เพียงร้อยละ 10 และพบว่า ในผู้หญิงไทยอายุ 55 ปี เป็นโรคนี้ร้อยละ 20 แต่ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคนี้ถึงร้อยละ 60 จะเห็นว่าทุกคนมีโอกาสที่จะมีโรคกระดูกพรุนแอบแฝงอยู่
การสูญเสียเนื้อกระดูก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเหมือนเดิมได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือ การป้องกันและรักษาตั้งแต่เริ่มแรกก่อนจะเกิดกระดูกหัก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนก็คือ ได้รับแคลเซียมน้อยเกินไป
ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับในแต่ละวันจะแตกต่างกัน เช่น
คนทั่วไป ควรได้รับวันละ 800 มิลลิกรัม
เด็กและวัยรุ่น ควรได้รับวันละ 800-1,200 มิลลิกรัม
ผู้หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ควรได้รับวันละ 1,500-2,000 มิลลิกรัม
ผู้หญิงช่วงหมดประจำเดือน ควรได้รับวันละ 1,500 มิลลิกรัม
ผู้สูงอายุ ควรได้รับวันละ 1,000 มิลลิกรัม
อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น น้ำนม กุ้งแห้ง กะปิ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อยที่กินได้ทั้งตัว เต้าหู้เหลือง น้ำเต้าหู้ หรือ อาหารจานเดียว เช่น ข้าวขาหมู ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วใส่ไข่ ข้าวราดไก่ผัดกระเพรา ขนมจีนน้ำยา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารประจำวันอย่างพอเพียง ก็ไม่จำเป็นต้องได้แคลเซียมเสริม นอกจากบางคนอาจได้แคลเซียมจากอาหารไม่พอเพียง หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน
ถ้าได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอนานประมาณ 18 เดือน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักได้
ในผู้สูงอายุควรได้รับแคลเซียมร่วมกับฮอร์โมนเอสโตรเจน แคลซิโทนิน หรือ วิตามินดี ซึ่งจะช่วยให้แคลเซี่ยมถูกดูดซึมได้ดียิ่งขึ้น วิตามินดี ส่วนใหญ่ได้รับจากแสงอาทิตย์ (ช่วงเช้าและเย็น) และอาหาร ซึ่งค่อนข้างเพียงพอ ยกเว้นในผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้าน ไม่ค่อยได้ออกไปตากแดด ทำให้ในผู้สูงอายุบางรายขาดวิตามินดี อาจต้องทานวิตามินดีเสริมด้วย
จากการศึกษาพบว่า ในผู้ที่กินยาเม็ดแคลเซียมน้อยกว่าวันละ 2 กรัม ไม่พบว่ามีนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น และไม่ทำให้เกิดกระดูกงอกเพิ่มมากขึ้น (กระดูกงอกมักเกิดจากข้อเสื่อม ไม่เกี่ยวกับยาเม็ดแคลเซียม)
การเลือกชนิดของแคลเซียมเสริม ปัจจัยที่ควรพิจารณาเมื่อจะเลือกใช้แคลเซียมเสริม ได้แก่
1. ชนิดและปริมาณของเกลือแคลเซียม จะทำให้ร่างกายได้รับแตกต่างกันไป เช่น
แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 40
แคลเซียมซิเตท (calcium citrate) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 21
แคลเซียมแลคเตท (calcium lactate) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 13
แคลเซียมกลูโคเนต (calcium gluconate) ได้รับแคลเซียมร้อยละ 9
2. ความสะดวกในการกิน จำนวนเม็ดที่ต้องกินในแต่ละวันขึ้นอยู่กับปริมาณแคลเซียมที่ต้องการ ถ้าเป็นยาที่มีแคลเซียมต่ำ เม็ดยาที่ต้องกินก็จะต้องมากขึ้น ทำให้ไม่สะดวกและทำให้ความสม่ำเสมอในการกินแคลเซียมน้อยลง
3. ราคา ราคาของยาเม็ดแคลเซียมแตกต่างกันมาก โดยทั่วไปยาเม็ดธรรมดาจะราคาถูกกว่ายาเม็ดแคปซูล ส่วนยาเม็ดฟู่จะราคาแพงที่สุด สำหรับผู้สูงอายุที่อาจมีปัญหาการดูดซึมของยาอาจจำเป็นต้องใช้แบบเม็ดฟู่
4. ส่วนผสมอื่นๆ ในยาเม็ดแคลเซียม เช่น วิตามินดี วิตามินซี แร่ธาตุอื่นๆ ในผู้ที่ขาดสารเหล่านี้ ก็จะได้ประโยชน์เพิ่มเติม แต่ผู้ที่ไม่ขาดสารเหล่านี้ก็ไม่จำเป็น เพราะยาเม็ดแคลเซียมที่มีส่วนผสมเสริมจะมีราคาแพงขึ้นไปด้วย
นายแพทย์พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
http://cmu2807.bloggang.com