ศึกษาดาบญี่ปุ่นด้วยต้นทุนหลักร้อย
กบไสไม้แบบญี่ปุ่น かんな คันนะ หรือ 鉋 คันนะเหมือนกัน กบไสไม้แบบญี่ปุ่นจะต่างจากกบไทยหรือกบฝรั่งคือการทำงานญี่ปุ่นใช้ดึงเข้าหาตัว แต่กบระบบฝรั่งและของไทยกินเนื้อไม้ด้วยการดันออกจากตัว
เราๆท่านๆนักนิยมความคม ผมเข้าใจว่าเป็นส่วนใหญ่หรือจำนวนมากที่ให้ความสนใจเรื่องดาบญี่ปุ่น ดาบซามูไรหรือดาบคาตานะที่เรารู้จักกันดี หัวใจของดาบญี่ปุ่นไม่ใช่รูปทรง ไม่ใช่รูปแบบ แต่เป็นเนื้อหา คือเหล็กหรือโลหะวิทยาแบบญี่ปุ่น
พูดตามตรงนะครับ การศึกษาเรื่องดาบญี่ปุ่นแท้ๆที่เรียกว่านิฮองโตะ 日本刀 เป็นเรื่องลำบากและใช้ต้นทุนสูงมหาศาล การซื้อดาบทำเทียมจากเมืองจีน ก็พอใช้เล่นหรือใช้งานได้ตามเท่าที่คุณภาพของวัสดุและวิธีผลิตจะอำนวยให้ ซึ่งมันก็ยังห่างไกลดาบญี่ปุ่นแท้ๆ การจะรอให้เรามีทุนมากๆหรือหาดาบญี่ปุ่นแท้ๆมาศึกษาก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างห่างไกล แต่การเรียนรู้มันเป็นเรื่องที่ไร้ขีดจำกัด ถ้าเราตั้งใจจะให้รู้มันต้องรู้ให้ได้
วันนี้ผมมีเรื่องราวหรือของชนิดหนึ่งมาแนะนำสำหรับท่านที่กำลังคิดจะศึกษาเรื่องดาบหรือโลหะวิทยาแบบญี่ปุ่น นั่นคือการศึกษาผ่านกบไสไม้
ดาบญี่ปุ่นจัดสร้างขึ้นมาด้วยเหล็กญี่ปุ่นที่เรียกกันว่าทามะฮากาเนะ 玉鋼 ซึ่งเป็นแร่เหล็กที่อยู่ในสภาพสายแร่หรือเม็ดทราย คำว่าทามะจริงๆแล้วหมายถึงหยก ฮากาเนะคือเหล็กกล้า ทามะฮากาเนะก็คือเหล็กหยกหรือเหล็กกล้าหยก ช่างเหล็กชาวญี่ปุ่นจะถลุงแร่ทรายเหล็กหรือทรายหยกนี่ในเตาเผาลักษณะสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าเตาทาทาระ เตาทาทาระหรือบริษัทถลุงทามะฮากาเนะที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคปัจจุบันน่าจะเป็นเตาที่ชื่อว่านิโตะโฮ ของยาสึกิหรือหนึ่งในบริษัทในเครือของฮิตาชิเมทัล
ใบกบไสไม้แบบที่ผมเอามาให้ดูในวันนี้ ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและเนื้อเหล็กที่ไม่ผิดกับการทำเหล็กสำหรับตีดาบ มีใบนึงจารึกหรือตอกอักษรว่า 日本玉鋼 นิฮองทามะฮากาเนะ ( เหล็กกล้าหยกของญี่ปุ่น หรือ เหล็กทามะฮากาเนะของญี่ปุ่น ) โดยในใบกบยังเขียนเป็นภาษาเก่าที่อ่านจากขวาไปซ้ายว่า 鋼玉本日 ซึ่งเป็นการเขียนในยุคต้นๆ ปรกติแล้วภาษาญี่ปุ่นหรืออักษรญี่ปุ่นเขียนจากบนลงล่างและขวาไปซ้าย การเรียงอักษรญี่ปุ่นให้อยู่ในแนวระนาบ ในยุคต้นๆของการปฏิวัติเมจิหรือปฏิวัติอุตสาหกรรม จะยังเขียนอักษรจากขวามาซ้าย เพิ่งจะมาเขียนจากซ้ายไปขวาตามภาษาอังกฤษหรือตามหลักสากลในยุคหลังๆ
ใบกบไสไม้ในแบบปรกติหรือมาตรฐานทั่วไป ใช้วิธีทำเหล็กผสมสองแผ่นหรือลามิเนทแบบสองแผ่น เหล็กเหนียวเป็นส่วนของลำตัวทั้งหมดและเหล็กกล้าเป็นส่วนท้องใบหรือคมมีด ที่เป็นเหล็กเนื้อเดี่ยวตีเหล็กกล้าทั้งชิ้นแล้วชุบแข็งจะพบได้น้อยมาก ผมน่าจะเจออยู่ไม่กี่ตัว
การทำใบกบแบบลามิเนทก็เพื่อคุณประโยชน์ที่ว่า 1. ประหยัดเหล็กกล้า สมัยก่อนเหล็กมันไม่ได้หาง่ายๆเหมือนทุกวันนี้นะครับ เหล็กกล้าหายากและราคาแพง 2. ลับง่าย คือมันต้านหินลับได้เฉพาะส่วนคมมีดที่โผล่มานิดๆที่เหลือเป็นเหล็กเหนียวก็เลยลับง่าย 3. ซึมซับแรงสะเทือนขณะไสไม้ได้ดีกว่า คือไสสบายและไม้ไม่ฉีก ถ้าใบกบที่แข็งทั้งใบบางครั้งมีการสั่นหรือที่เรียกว่ากบกระพือ มันทำให้เมื่อยมือและไม้ฉีกได้ ประโยชน์หลักๆก็น่าจะมีเท่านี้ครับ นอกนั้นก็เป็นการเพิ่มความสวยงามและเป็นการใช้ประโยชน์จากเหล็กเก่าๆหรือเสียๆหายๆเอามาใช้ใหม่ด้วยการทำเหล็กผสม
และใบกบที่พิเศษบางใบหรือบางสำนัก เหล็กเหนียวที่เอามาใช้ทำตัวใบกบหรือเอามาประกบกับเหล็กกล้า เหล็กเหนียวส่วนนี้ทำด้วยเหล็กผสม หรือเหล็กตีทบเหมือนการทำเหล็กสำหรับทำใบดาบ
ใบกบที่ทำด้วยวิธีการนี้จะเห็นชั้นผสมเหล็กที่เราเรียกว่าฮาดะ หรือลายฮาดะ 地肌 หรือจิฮาดะ คือมันมีลายผสมเหล็กฝังอยู่ในเนื้อ และใบกบที่ทำด้วยวิธีนี้นิยมผสมให้มีช่องว่างหรือสารมณฑิลคือรูพรุนๆที่อยู่ในเนื้อเหล็ก ถ้าเป็นงานอื่นๆอย่างใบดาบ ใบมีดตันโตะ หรือใบมีดครัว การมีช่องว่างหรือรูพรุนแบบนี้เค้าจะถือเป็นตำหนิ แต่สำหรับวงการกบไสไม้แล้วเค้าถือเป็นลักษณะเด่น คือยิ่งพรุนๆมากๆยิ่งดี
คือพรุนจากการผสมเหล็กนะครับ ไม่ใช่ผุกร่อนเพราะสนิมกิน เอิ้ก เอิ้ก
ใบกบแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งาน กบตัวที่ผมใช้อยู่ก็เป็นใบกบแบบผสม แม้แต่แผ่นประกับของที่มาคู่กันก็จะเป็นเหล็กผสมด้วยเหมือนกัน ใบกบแบบนี้นอกจากใช้งานตามหน้าที่ของมันแล้ว เรายังใช้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโลหะวิทยาของญี่ปุ่น และใช้หัดลับเหล็กผสมได้ ถ้าเราหาใบดาบไม่ได้ การหัดลับใบกบไสไม้ที่เป็นเหล็กผสมเราจะเข้าใจในเรื่องความแข็งที่ต่างกันของเหล็กแต่ละส่วน ได้ดูการผสมเหล็ก ดูรอยฟลักซ์หรือรอยสารช่วยในการผสมเหล็ก ดูแนวการวิ่งของเกรนเหล็ก ดูรอยต่อระหว่างชั้นแบบที่เรียกว่าเส้นคาสึมิ คือดูได้หลายอย่าง ศึกษาได้หลายเรื่องในการมีและใช้กบไสไม้ดีๆตัวเดียว
เรื่องเหล็กที่ทำใบกบ จริงๆแล้วมันมีความใกล้เคียงทามะฮากาเนะโดยไม่ต้องตีตราหรือรับประกัน ในญี่ปุ่นนอกจากบริษัทใหญ่ที่ผลิตเหล็กออกสู่ตลาดเครื่องมีคมแล้วยังมีผู้ประกอบการรายย่อยที่ขายเหล็กที่ผสมจากแร่ทรายหยก คือถลุงเหล็กตามกรรมวิธีโบราณ ระดับอุตสาหกรรมครัวเรือนก็มี พวกช่างทำกบไสไม้นี่ก็นิยมใช้เหล็กที่ได้แบบโบราณหรือเหล็กที่ผสมกันเอง บางยี่ห้อก็ถลุงเหล็กเองครบกระบวนการเลย
จริงๆแล้วใบกบแบบนี้ก็พบได้น้อยนะครับ ไม่ใช่ว่าดูรูปแล้วก็สั่งซื้อกบไสไม้จากเฟสบุกแล้วจะได้ใบกบเนื้อนี้ทุกตัว มันก็หายากอยู่บ้างแต่ก็พอหากันได้ ไม่ยากเท่าของอื่นๆ ถ้าได้มาซักตัวก็ใช้ทำงานหรือทดลองวิชาหาความรู้ได้จนเราพอใจ
ไม่ว่าจะเป็นท่านที่นิยมดาบญี่ปุ่น หรือไม่ได้ตั้งใจจะศึกษาแต่ชอบของมีคม ใบกบไสไม้หรือกบไสไม้ของญี่ปุ่น ก็จัดเป็นของเล่นหรือของใช้ที่ได้ประโยชน์คุ้มค่าเงินที่จ่ายไปและให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินได้เป็นอย่างดี
ศึกษาดาบญี่ปุ่นด้วยต้นทุนหลักร้อย
กบไสไม้แบบญี่ปุ่น かんな คันนะ หรือ 鉋 คันนะเหมือนกัน กบไสไม้แบบญี่ปุ่นจะต่างจากกบไทยหรือกบฝรั่งคือการทำงานญี่ปุ่นใช้ดึงเข้าหาตัว แต่กบระบบฝรั่งและของไทยกินเนื้อไม้ด้วยการดันออกจากตัว
เราๆท่านๆนักนิยมความคม ผมเข้าใจว่าเป็นส่วนใหญ่หรือจำนวนมากที่ให้ความสนใจเรื่องดาบญี่ปุ่น ดาบซามูไรหรือดาบคาตานะที่เรารู้จักกันดี หัวใจของดาบญี่ปุ่นไม่ใช่รูปทรง ไม่ใช่รูปแบบ แต่เป็นเนื้อหา คือเหล็กหรือโลหะวิทยาแบบญี่ปุ่น
พูดตามตรงนะครับ การศึกษาเรื่องดาบญี่ปุ่นแท้ๆที่เรียกว่านิฮองโตะ 日本刀 เป็นเรื่องลำบากและใช้ต้นทุนสูงมหาศาล การซื้อดาบทำเทียมจากเมืองจีน ก็พอใช้เล่นหรือใช้งานได้ตามเท่าที่คุณภาพของวัสดุและวิธีผลิตจะอำนวยให้ ซึ่งมันก็ยังห่างไกลดาบญี่ปุ่นแท้ๆ การจะรอให้เรามีทุนมากๆหรือหาดาบญี่ปุ่นแท้ๆมาศึกษาก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างห่างไกล แต่การเรียนรู้มันเป็นเรื่องที่ไร้ขีดจำกัด ถ้าเราตั้งใจจะให้รู้มันต้องรู้ให้ได้
วันนี้ผมมีเรื่องราวหรือของชนิดหนึ่งมาแนะนำสำหรับท่านที่กำลังคิดจะศึกษาเรื่องดาบหรือโลหะวิทยาแบบญี่ปุ่น นั่นคือการศึกษาผ่านกบไสไม้
ดาบญี่ปุ่นจัดสร้างขึ้นมาด้วยเหล็กญี่ปุ่นที่เรียกกันว่าทามะฮากาเนะ 玉鋼 ซึ่งเป็นแร่เหล็กที่อยู่ในสภาพสายแร่หรือเม็ดทราย คำว่าทามะจริงๆแล้วหมายถึงหยก ฮากาเนะคือเหล็กกล้า ทามะฮากาเนะก็คือเหล็กหยกหรือเหล็กกล้าหยก ช่างเหล็กชาวญี่ปุ่นจะถลุงแร่ทรายเหล็กหรือทรายหยกนี่ในเตาเผาลักษณะสี่เหลี่ยมที่เรียกว่าเตาทาทาระ เตาทาทาระหรือบริษัทถลุงทามะฮากาเนะที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคปัจจุบันน่าจะเป็นเตาที่ชื่อว่านิโตะโฮ ของยาสึกิหรือหนึ่งในบริษัทในเครือของฮิตาชิเมทัล
ใบกบไสไม้แบบที่ผมเอามาให้ดูในวันนี้ ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีและเนื้อเหล็กที่ไม่ผิดกับการทำเหล็กสำหรับตีดาบ มีใบนึงจารึกหรือตอกอักษรว่า 日本玉鋼 นิฮองทามะฮากาเนะ ( เหล็กกล้าหยกของญี่ปุ่น หรือ เหล็กทามะฮากาเนะของญี่ปุ่น ) โดยในใบกบยังเขียนเป็นภาษาเก่าที่อ่านจากขวาไปซ้ายว่า 鋼玉本日 ซึ่งเป็นการเขียนในยุคต้นๆ ปรกติแล้วภาษาญี่ปุ่นหรืออักษรญี่ปุ่นเขียนจากบนลงล่างและขวาไปซ้าย การเรียงอักษรญี่ปุ่นให้อยู่ในแนวระนาบ ในยุคต้นๆของการปฏิวัติเมจิหรือปฏิวัติอุตสาหกรรม จะยังเขียนอักษรจากขวามาซ้าย เพิ่งจะมาเขียนจากซ้ายไปขวาตามภาษาอังกฤษหรือตามหลักสากลในยุคหลังๆ
ใบกบไสไม้ในแบบปรกติหรือมาตรฐานทั่วไป ใช้วิธีทำเหล็กผสมสองแผ่นหรือลามิเนทแบบสองแผ่น เหล็กเหนียวเป็นส่วนของลำตัวทั้งหมดและเหล็กกล้าเป็นส่วนท้องใบหรือคมมีด ที่เป็นเหล็กเนื้อเดี่ยวตีเหล็กกล้าทั้งชิ้นแล้วชุบแข็งจะพบได้น้อยมาก ผมน่าจะเจออยู่ไม่กี่ตัว
การทำใบกบแบบลามิเนทก็เพื่อคุณประโยชน์ที่ว่า 1. ประหยัดเหล็กกล้า สมัยก่อนเหล็กมันไม่ได้หาง่ายๆเหมือนทุกวันนี้นะครับ เหล็กกล้าหายากและราคาแพง 2. ลับง่าย คือมันต้านหินลับได้เฉพาะส่วนคมมีดที่โผล่มานิดๆที่เหลือเป็นเหล็กเหนียวก็เลยลับง่าย 3. ซึมซับแรงสะเทือนขณะไสไม้ได้ดีกว่า คือไสสบายและไม้ไม่ฉีก ถ้าใบกบที่แข็งทั้งใบบางครั้งมีการสั่นหรือที่เรียกว่ากบกระพือ มันทำให้เมื่อยมือและไม้ฉีกได้ ประโยชน์หลักๆก็น่าจะมีเท่านี้ครับ นอกนั้นก็เป็นการเพิ่มความสวยงามและเป็นการใช้ประโยชน์จากเหล็กเก่าๆหรือเสียๆหายๆเอามาใช้ใหม่ด้วยการทำเหล็กผสม
และใบกบที่พิเศษบางใบหรือบางสำนัก เหล็กเหนียวที่เอามาใช้ทำตัวใบกบหรือเอามาประกบกับเหล็กกล้า เหล็กเหนียวส่วนนี้ทำด้วยเหล็กผสม หรือเหล็กตีทบเหมือนการทำเหล็กสำหรับทำใบดาบ
ใบกบที่ทำด้วยวิธีการนี้จะเห็นชั้นผสมเหล็กที่เราเรียกว่าฮาดะ หรือลายฮาดะ 地肌 หรือจิฮาดะ คือมันมีลายผสมเหล็กฝังอยู่ในเนื้อ และใบกบที่ทำด้วยวิธีนี้นิยมผสมให้มีช่องว่างหรือสารมณฑิลคือรูพรุนๆที่อยู่ในเนื้อเหล็ก ถ้าเป็นงานอื่นๆอย่างใบดาบ ใบมีดตันโตะ หรือใบมีดครัว การมีช่องว่างหรือรูพรุนแบบนี้เค้าจะถือเป็นตำหนิ แต่สำหรับวงการกบไสไม้แล้วเค้าถือเป็นลักษณะเด่น คือยิ่งพรุนๆมากๆยิ่งดี
คือพรุนจากการผสมเหล็กนะครับ ไม่ใช่ผุกร่อนเพราะสนิมกิน เอิ้ก เอิ้ก
ใบกบแบบนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งาน กบตัวที่ผมใช้อยู่ก็เป็นใบกบแบบผสม แม้แต่แผ่นประกับของที่มาคู่กันก็จะเป็นเหล็กผสมด้วยเหมือนกัน ใบกบแบบนี้นอกจากใช้งานตามหน้าที่ของมันแล้ว เรายังใช้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโลหะวิทยาของญี่ปุ่น และใช้หัดลับเหล็กผสมได้ ถ้าเราหาใบดาบไม่ได้ การหัดลับใบกบไสไม้ที่เป็นเหล็กผสมเราจะเข้าใจในเรื่องความแข็งที่ต่างกันของเหล็กแต่ละส่วน ได้ดูการผสมเหล็ก ดูรอยฟลักซ์หรือรอยสารช่วยในการผสมเหล็ก ดูแนวการวิ่งของเกรนเหล็ก ดูรอยต่อระหว่างชั้นแบบที่เรียกว่าเส้นคาสึมิ คือดูได้หลายอย่าง ศึกษาได้หลายเรื่องในการมีและใช้กบไสไม้ดีๆตัวเดียว
เรื่องเหล็กที่ทำใบกบ จริงๆแล้วมันมีความใกล้เคียงทามะฮากาเนะโดยไม่ต้องตีตราหรือรับประกัน ในญี่ปุ่นนอกจากบริษัทใหญ่ที่ผลิตเหล็กออกสู่ตลาดเครื่องมีคมแล้วยังมีผู้ประกอบการรายย่อยที่ขายเหล็กที่ผสมจากแร่ทรายหยก คือถลุงเหล็กตามกรรมวิธีโบราณ ระดับอุตสาหกรรมครัวเรือนก็มี พวกช่างทำกบไสไม้นี่ก็นิยมใช้เหล็กที่ได้แบบโบราณหรือเหล็กที่ผสมกันเอง บางยี่ห้อก็ถลุงเหล็กเองครบกระบวนการเลย
จริงๆแล้วใบกบแบบนี้ก็พบได้น้อยนะครับ ไม่ใช่ว่าดูรูปแล้วก็สั่งซื้อกบไสไม้จากเฟสบุกแล้วจะได้ใบกบเนื้อนี้ทุกตัว มันก็หายากอยู่บ้างแต่ก็พอหากันได้ ไม่ยากเท่าของอื่นๆ ถ้าได้มาซักตัวก็ใช้ทำงานหรือทดลองวิชาหาความรู้ได้จนเราพอใจ
ไม่ว่าจะเป็นท่านที่นิยมดาบญี่ปุ่น หรือไม่ได้ตั้งใจจะศึกษาแต่ชอบของมีคม ใบกบไสไม้หรือกบไสไม้ของญี่ปุ่น ก็จัดเป็นของเล่นหรือของใช้ที่ได้ประโยชน์คุ้มค่าเงินที่จ่ายไปและให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินได้เป็นอย่างดี