--------------------------------------------------------------------------------------------
"บทความนี้เคยโพสไปแล้ว แต่เอามาเรียบเรียงใหม่
ความตั้งใจยังเหมือนเดิม คือ อยากให้ทุกคนหันมาสนใจเรื่องความมั่นคงทางการเงินของตนเอง
ความผิดพลาดที่ผ่านมา คือ โพสๆ หายๆ เรื่องไม่ประติดประต่อ
สิ่งที่ยังคงมีในใจคือ ไฟในใจที่ยังไม่ยอมแพ้ (แม้จะเริ่มใหม่หลายครั้งแล้ว)
สิ่งที่หวัง เป็นกำลังใจให้ผมทำความตั้งใจของตัวเองให้สำเร็จสักที ^ ^"
--------------------------------------------------------------------------------------------
ต่อกันครับ
2.เงินเดือนพอดีค่าใช้จ่าย หรือ เดือนชนเดือน
ใช่ครับ เดือนชนเดือน บางเดือนก็ชนแบบฟกช้ำ บางเดือนก็ชนแบบเลือดซิบๆ มีเงินพอคือ มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือน อาจจะถึงแบบทุลักทุเลแต่ก็ใช้จนถึงเงินเดือนเดือนใหม่ออก (รอดแหละ) กลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มแรกก็คือ เงินเดือนพอใช้เหมือนกันครับ แต่พอแบบพอดี หรือ พอแบบไม่ค่อยพอดีเท่าไหร่ เงินเดือนเท่ากับรายจ่าย
คนเรามีรายจ่ายจำเป็นไม่เหมือนกัน บางคนต้องดูแลครอบครัว พ่อแม่ ส่งเสียน้องเรียน หรือภาระอื่นๆ อันนี้ไม่ขอก้าวล่วง แต่เราจะทำยังไงให้เรามีเงินเหลือออม เพราะการออมคือการเริ่มต้นสู่ความมั่นคงทางการเงิน เพราะว่าถ้าเราอยากมีเงินไปเก็บ ลงทุน จุดแรกของมันก็คือ ต้องมีเงินก่อน พูดแล้วมันจะขัดแย้งใช่ไหมละ ก็บอกอยู่ว่าเดือนชนดือน จะเอาที่ไหนมาออม
มีครับทุกคนเริ่มต้นการออมได้ เราแค่เริ่มไม่ถูก สำหรับคนที่เงินเดือนชนเดือน หรือ มีเงินใช้ แต่ไม่มีเงินเก็บ ตัวช่วยที่จะทำให้เราเห็นกระแสเงินสดของเรา และสามารถวางแผนการเงิน จัดระเบียบการเงินของเรา คือ บัญชีรับจ่าย ครับ เรื่องง่ายๆเปลี่ยนโลกเลย ไม่ง่ายนะบอกเลย การที่คุณจดอะไรทุกๆวันได้ แต่ถ้าคุณทำได้ คุณอาจจะตกใจกับรายจ่ายบางรายการ เช่น น้ำหวาน วันละ 2 แก้ว เอาแบบไม่แพงเวอร์ แก้วละ 30 วันละ 60 บาท มีเงิน ไม่ได้เดือดร้อนขนาดกินอะไรไม่ได้เลยนิ แค่นี้ไม่ได้เหรอ ใช่ไหมครับที่ในใจมันโต้แย้ง
ข้อดีของการทำบัญชีรับจ่าย คือ คุณจะเห็นรายได้ของคุณว่ามาจากทางไหนบ้าง รายจ่ายของคุณออกไปทางไหนบ้าง
เรามาโฟกัสกันที่รายจ่ายครับ รายจ่ายที่คุณจ่ายออกไปนั้น จำเป็น หรือไม่จำเป็น หรือบางรายการ คิด(เอาเอง)ว่าจำเป็น เราจะรู้ได้ เมื่อเราแจงมันออกมาในกระดาษ แล้วมาทบทวนรายการครับ บางทีเราอาจจะตกใจกับบางรายการที่เงินออกแบบ เบี้ยหัวแตก แต่เดือนหนึ่งเยอะมาก เช่น เข้า 7-11 ครั้งละ 100 วันละ 2 ครั้ง (เงินเดือนมีนิ ไม่ได้เดือดร้อน ไม่รู้สึกว่าแปลกอะไร วันละ 100 200), เติมเกมส์ครั้งละ 35 บาท เชื่อมะผมเคยดูย้อนหลัง 3 เดือน เกือบหมื่น, ค่ารถมอไซด์จากห้องไป BTS หรือ ไปคิวรถเมลล์ ครั้งละ 20 บาท วันละ 40 บาท ทั้งๆที่ห่างกันไม่เท่าไหร่แต่เอาสะดวก ถ้าตื่นไวอีกหน่อย เช้าอีกหน่อย เดินช้าๆเรื่อยๆ 5 นาทีก็ถึง (ยกตัวอย่างสำหรับบางคนทีเอาสบายเป็นหลัก) ถ้าเปลี่ยนเป็น ตื่นไวอีกหน่อย เดินช้าๆ ได้ออกกำลังกาย เงินก็ประหยัดไป 40 ทุกวัน ไม่ได้บอกว่า ต้องเดินทุกวันทุกรอบนะครับ วันไหนรีบๆ วันไหนเหนื่อยๆ กะนั่งได้ เพียแต่ชวนคิดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และให้เห็นเฉยๆว่า เงินเรามันหายไปไหนหมด
ให้รางวัลตัวเองได้ครับ กินแก้เหนื่อย เข้า 7-11 ซื้อขนม ซื้อของได้ แต่ถ้าคุณอยากมีเงินออม คุณก็ต้องยอมสละความสุขบางส่วน เพื่อผลลัพธ์ระยะยาว กาแฟ วันละ 60 บาท , 7-11 วันละ 200 อาทิตย์ละ 7 วัน บาท อาทิตย์ละ 260 ต่อสัปดาห์ 1,820 ต่อเดือน ถ้าจะตัดมาออมสัก 500 ต่อเดือน เปลี่ยนเป็น เสาร์ อาทิตย์ไม่กินกาแฟ จะได้ไหมครับ หรือ แค่ กินวันเว้นว้น ยังเหลือๆ บางคนก็คงแย้งในใจ รู้แล้วก็เก็บอยู่แล้วทุกเดือน อย่ามาทำรู้เรื่องคนอื่น มาล้วงกระเป๋าคนอื่น ถ้ามีเงินออมอยู่แล้วก็จะได้ออมเพิ่มครับ
มีออมอยู่แล้วไง วุ่นวายไม่เข้าเรื่อง เก่งมาจากไหน ตัวเองทำได้รึเปล่า มาสอนคนอื่น
เสียงใจในหลายๆคน ซินะครับ ไม่ขอแตกประเด็น แต่จะบอกว่า ทำไมถึงต้องมีเงินออม หรือมีเงินออมเพิ่มขึ้น บางคนอาจจะเคยรู้สึกว่า เสียดายจังเวลาเห็นโปรเงินฝากหลายๆแห่ง หรือไปรู้จักการลงทุนในรูปแบบต่างๆ หรือ เก่ง เชี่ยวชาญ มองออก แต่…..ไม่มีเงินไปลงทุน ใช่ไหมครับ เราถึงต้องเริ่มจากการออม หรือการประหยัดเพื่อการออม เพื่อให้เรามี “ต้นทุน” เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินของเราเองครับ
เราไม่มีต้นทุนมากมายเหมือนกลุ่มแรก คือ เงินเหลือกินเหลือใช้ แต่เราก็ไม่ได้เดือดร้อนมากมายขนาดไม่พอใช้ แต่จะพอใจที่ตรงนี้ หรืออยากจะขยับตัวเองเป็นคน เหลือกินเหลือใช้มั่งละครับ
แล้วเงินออม มันจะช่วยให้เหลือกินเหลือใช้ได้ยังไง ไม่ได้ครับ ออมแพ้เงินเฟ้อ อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ แต่ออมเพื่อไปลงทุน และ เอาดอกผลจากการลงทุนมาใช้จ่าย หรือ ลงทุนต่อทบไปเรื่อยๆ
กาแฟวันละ 60 บาท ถ้าเราใช้จ่ายปกติ ก็ควักเงินจากกระเป๋าเราจ่าย กลับกัน ถ้าเราลงทุนอะไรที่ได้ปันผลกลับ เฉลี่ยแล้วได้วันละ 60 บาท จะเท่ากับเรากินกาแฟฟรีทุกวัน (ต่างกันไหมครับ) แต่จะลงทุนอะไรให้ได้วันละ 60 เดือนละ 1,800 ปีละ 21,000 ยาก เข้าใจครับ เงินทุนต้องไม่ใช่น้อย แต่เพื่อให้เห็นภาพ ต่อให้เงินทุน 1,000,000 ยังต้องได้ผลตอบแทนปีละ 2.1% เลย ถึงจะได้ 21,000 ต่อปี แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้
เอาใกล้ตัวอีกนิด เก็บเงินซื้อทองให้ได้สักบาท หรือ สัก สามบาท แล้วเอาเป็นทุนไว้ ซื้อขายทองเก็งกำไร ได้กำไรส่วนต่างทีละ 500 ที่ละ 1000 ก็สนุกไปอีกแบบ
ที่จะบอกคือ เราออมเล็กออมน้อย เราไม่อยากออมหรอกครับ เพราะมันเพิ่มทีละ 100 ทีละ 1,000 มันไม่ว้าวเหมือนกลุ่มแรก
เราต้องมีเป้าหมายก่อนว่าเราจะออมไปทำไม
เพื่อให้เราไม่ดูถูกเงินเล็กเงินน้อยที่ค่อยๆเก็บ เงินออมคือจุดเริ่มของการลงทุน การลงทุนมีหลายแบบ เราไม่รู้หรอก เราจะชอบแบบไหน จนกว่าเราจะได้ลงไปศึกษา และลองทดลอง ว่ามันจะถูกจริตกับเรารึเปล่า นั่นไง พูดไปพูดมา จากเรื่องเงินไม่พอเก็บ ไปออกเรื่องการลงทุนเฉย พอก่อนดีกว่า มันจะยาวไป ค่อยแตกประเด็นกันทีหลัง
เคยสงสัยไหม สถานะการเงินของเราเป็นแบบไหน (2/3)
"บทความนี้เคยโพสไปแล้ว แต่เอามาเรียบเรียงใหม่
ความตั้งใจยังเหมือนเดิม คือ อยากให้ทุกคนหันมาสนใจเรื่องความมั่นคงทางการเงินของตนเอง
ความผิดพลาดที่ผ่านมา คือ โพสๆ หายๆ เรื่องไม่ประติดประต่อ
สิ่งที่ยังคงมีในใจคือ ไฟในใจที่ยังไม่ยอมแพ้ (แม้จะเริ่มใหม่หลายครั้งแล้ว)
สิ่งที่หวัง เป็นกำลังใจให้ผมทำความตั้งใจของตัวเองให้สำเร็จสักที ^ ^"
--------------------------------------------------------------------------------------------
ต่อกันครับ
2.เงินเดือนพอดีค่าใช้จ่าย หรือ เดือนชนเดือน
ใช่ครับ เดือนชนเดือน บางเดือนก็ชนแบบฟกช้ำ บางเดือนก็ชนแบบเลือดซิบๆ มีเงินพอคือ มีเงินใช้ถึงสิ้นเดือน อาจจะถึงแบบทุลักทุเลแต่ก็ใช้จนถึงเงินเดือนเดือนใหม่ออก (รอดแหละ) กลุ่มนี้แตกต่างจากกลุ่มแรกก็คือ เงินเดือนพอใช้เหมือนกันครับ แต่พอแบบพอดี หรือ พอแบบไม่ค่อยพอดีเท่าไหร่ เงินเดือนเท่ากับรายจ่าย
คนเรามีรายจ่ายจำเป็นไม่เหมือนกัน บางคนต้องดูแลครอบครัว พ่อแม่ ส่งเสียน้องเรียน หรือภาระอื่นๆ อันนี้ไม่ขอก้าวล่วง แต่เราจะทำยังไงให้เรามีเงินเหลือออม เพราะการออมคือการเริ่มต้นสู่ความมั่นคงทางการเงิน เพราะว่าถ้าเราอยากมีเงินไปเก็บ ลงทุน จุดแรกของมันก็คือ ต้องมีเงินก่อน พูดแล้วมันจะขัดแย้งใช่ไหมละ ก็บอกอยู่ว่าเดือนชนดือน จะเอาที่ไหนมาออม
มีครับทุกคนเริ่มต้นการออมได้ เราแค่เริ่มไม่ถูก สำหรับคนที่เงินเดือนชนเดือน หรือ มีเงินใช้ แต่ไม่มีเงินเก็บ ตัวช่วยที่จะทำให้เราเห็นกระแสเงินสดของเรา และสามารถวางแผนการเงิน จัดระเบียบการเงินของเรา คือ บัญชีรับจ่าย ครับ เรื่องง่ายๆเปลี่ยนโลกเลย ไม่ง่ายนะบอกเลย การที่คุณจดอะไรทุกๆวันได้ แต่ถ้าคุณทำได้ คุณอาจจะตกใจกับรายจ่ายบางรายการ เช่น น้ำหวาน วันละ 2 แก้ว เอาแบบไม่แพงเวอร์ แก้วละ 30 วันละ 60 บาท มีเงิน ไม่ได้เดือดร้อนขนาดกินอะไรไม่ได้เลยนิ แค่นี้ไม่ได้เหรอ ใช่ไหมครับที่ในใจมันโต้แย้ง
ข้อดีของการทำบัญชีรับจ่าย คือ คุณจะเห็นรายได้ของคุณว่ามาจากทางไหนบ้าง รายจ่ายของคุณออกไปทางไหนบ้าง
เรามาโฟกัสกันที่รายจ่ายครับ รายจ่ายที่คุณจ่ายออกไปนั้น จำเป็น หรือไม่จำเป็น หรือบางรายการ คิด(เอาเอง)ว่าจำเป็น เราจะรู้ได้ เมื่อเราแจงมันออกมาในกระดาษ แล้วมาทบทวนรายการครับ บางทีเราอาจจะตกใจกับบางรายการที่เงินออกแบบ เบี้ยหัวแตก แต่เดือนหนึ่งเยอะมาก เช่น เข้า 7-11 ครั้งละ 100 วันละ 2 ครั้ง (เงินเดือนมีนิ ไม่ได้เดือดร้อน ไม่รู้สึกว่าแปลกอะไร วันละ 100 200), เติมเกมส์ครั้งละ 35 บาท เชื่อมะผมเคยดูย้อนหลัง 3 เดือน เกือบหมื่น, ค่ารถมอไซด์จากห้องไป BTS หรือ ไปคิวรถเมลล์ ครั้งละ 20 บาท วันละ 40 บาท ทั้งๆที่ห่างกันไม่เท่าไหร่แต่เอาสะดวก ถ้าตื่นไวอีกหน่อย เช้าอีกหน่อย เดินช้าๆเรื่อยๆ 5 นาทีก็ถึง (ยกตัวอย่างสำหรับบางคนทีเอาสบายเป็นหลัก) ถ้าเปลี่ยนเป็น ตื่นไวอีกหน่อย เดินช้าๆ ได้ออกกำลังกาย เงินก็ประหยัดไป 40 ทุกวัน ไม่ได้บอกว่า ต้องเดินทุกวันทุกรอบนะครับ วันไหนรีบๆ วันไหนเหนื่อยๆ กะนั่งได้ เพียแต่ชวนคิดเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และให้เห็นเฉยๆว่า เงินเรามันหายไปไหนหมด
ให้รางวัลตัวเองได้ครับ กินแก้เหนื่อย เข้า 7-11 ซื้อขนม ซื้อของได้ แต่ถ้าคุณอยากมีเงินออม คุณก็ต้องยอมสละความสุขบางส่วน เพื่อผลลัพธ์ระยะยาว กาแฟ วันละ 60 บาท , 7-11 วันละ 200 อาทิตย์ละ 7 วัน บาท อาทิตย์ละ 260 ต่อสัปดาห์ 1,820 ต่อเดือน ถ้าจะตัดมาออมสัก 500 ต่อเดือน เปลี่ยนเป็น เสาร์ อาทิตย์ไม่กินกาแฟ จะได้ไหมครับ หรือ แค่ กินวันเว้นว้น ยังเหลือๆ บางคนก็คงแย้งในใจ รู้แล้วก็เก็บอยู่แล้วทุกเดือน อย่ามาทำรู้เรื่องคนอื่น มาล้วงกระเป๋าคนอื่น ถ้ามีเงินออมอยู่แล้วก็จะได้ออมเพิ่มครับ
มีออมอยู่แล้วไง วุ่นวายไม่เข้าเรื่อง เก่งมาจากไหน ตัวเองทำได้รึเปล่า มาสอนคนอื่น
เสียงใจในหลายๆคน ซินะครับ ไม่ขอแตกประเด็น แต่จะบอกว่า ทำไมถึงต้องมีเงินออม หรือมีเงินออมเพิ่มขึ้น บางคนอาจจะเคยรู้สึกว่า เสียดายจังเวลาเห็นโปรเงินฝากหลายๆแห่ง หรือไปรู้จักการลงทุนในรูปแบบต่างๆ หรือ เก่ง เชี่ยวชาญ มองออก แต่…..ไม่มีเงินไปลงทุน ใช่ไหมครับ เราถึงต้องเริ่มจากการออม หรือการประหยัดเพื่อการออม เพื่อให้เรามี “ต้นทุน” เพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินของเราเองครับ
เราไม่มีต้นทุนมากมายเหมือนกลุ่มแรก คือ เงินเหลือกินเหลือใช้ แต่เราก็ไม่ได้เดือดร้อนมากมายขนาดไม่พอใช้ แต่จะพอใจที่ตรงนี้ หรืออยากจะขยับตัวเองเป็นคน เหลือกินเหลือใช้มั่งละครับ
แล้วเงินออม มันจะช่วยให้เหลือกินเหลือใช้ได้ยังไง ไม่ได้ครับ ออมแพ้เงินเฟ้อ อย่างที่หลายๆคนเข้าใจ แต่ออมเพื่อไปลงทุน และ เอาดอกผลจากการลงทุนมาใช้จ่าย หรือ ลงทุนต่อทบไปเรื่อยๆ
กาแฟวันละ 60 บาท ถ้าเราใช้จ่ายปกติ ก็ควักเงินจากกระเป๋าเราจ่าย กลับกัน ถ้าเราลงทุนอะไรที่ได้ปันผลกลับ เฉลี่ยแล้วได้วันละ 60 บาท จะเท่ากับเรากินกาแฟฟรีทุกวัน (ต่างกันไหมครับ) แต่จะลงทุนอะไรให้ได้วันละ 60 เดือนละ 1,800 ปีละ 21,000 ยาก เข้าใจครับ เงินทุนต้องไม่ใช่น้อย แต่เพื่อให้เห็นภาพ ต่อให้เงินทุน 1,000,000 ยังต้องได้ผลตอบแทนปีละ 2.1% เลย ถึงจะได้ 21,000 ต่อปี แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้
เอาใกล้ตัวอีกนิด เก็บเงินซื้อทองให้ได้สักบาท หรือ สัก สามบาท แล้วเอาเป็นทุนไว้ ซื้อขายทองเก็งกำไร ได้กำไรส่วนต่างทีละ 500 ที่ละ 1000 ก็สนุกไปอีกแบบ
ที่จะบอกคือ เราออมเล็กออมน้อย เราไม่อยากออมหรอกครับ เพราะมันเพิ่มทีละ 100 ทีละ 1,000 มันไม่ว้าวเหมือนกลุ่มแรก
เราต้องมีเป้าหมายก่อนว่าเราจะออมไปทำไม
เพื่อให้เราไม่ดูถูกเงินเล็กเงินน้อยที่ค่อยๆเก็บ เงินออมคือจุดเริ่มของการลงทุน การลงทุนมีหลายแบบ เราไม่รู้หรอก เราจะชอบแบบไหน จนกว่าเราจะได้ลงไปศึกษา และลองทดลอง ว่ามันจะถูกจริตกับเรารึเปล่า นั่นไง พูดไปพูดมา จากเรื่องเงินไม่พอเก็บ ไปออกเรื่องการลงทุนเฉย พอก่อนดีกว่า มันจะยาวไป ค่อยแตกประเด็นกันทีหลัง